สถาบันการเงินมี2ประเภทได้แก่อะไรบ้าง

สถาบันทางการเงิน

สถาบันการเงินมี2ประเภทได้แก่อะไรบ้าง

สถาบันการเงินมี2ประเภทได้แก่อะไรบ้าง

สถาบันการเงินแบ่งตามลักษณะของกิจการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร หมายถึง สถาบันการเงินที่ดำเนินงานรับฝากเงินที่สามารถไถ่ถอนคืนได้ และให้กู้ยืม เป็นช่องทางการเชื่อมโยงระหว่างผู้ออมกับผู้ต้องการเงินทุน 
ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ

2. สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร หมายถึง สถาบันการเงินที่จัดตั้งเพื่อดำเนินธุรกิจเฉพาะสาขาของธุรกิจ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายของสถาบันการเงินนั้น ๆ
เช่น บริษัทเงินทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นต้น

สถาบันการเงินมี2ประเภทได้แก่อะไรบ้าง

บทบาท และหน้าที่และความสำคัญของสถาบันการเงิน 

 1.ธนาคารแห่งประเทศไทย

               บทบาทและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485   ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551  สรุปได้ดังนี้

               1. เป็นผู้ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคารแต่ผู้เดียว ในราชอาณาจักร               2. กำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบการเงินของประเทศ เพื่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ               3. บริหารจัดการสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย การนำสินทรัพย์ไปลงทุนหาประโยชน์ โดยคำนึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง  ผลประโยชน์ตอบแทนของสินทรัพย์ และความเสี่ยงในการบริหารจัดการ               4. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล มีอำนาจหน้าที่ในการรับจ่ายเงินเพื่อบัญชีฝากของกระทรวงการคลัง การรับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ หรือของมีค่าอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ของรัฐบาล   

               5. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
  มีอำนาจหน้าที่ในการให้กู้ยืมเงินหรือให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงิน รับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ หรือของมีค่าอย่างอื่นของสถาบันการเงิน แต่จะไม่รับฝากเงินจากประชาชนโดยตรง               6. จัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงินจัดตั้งระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงินและบริหารจัดการระบบดังกล่าวให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ               7. กำกับ ตรวจสอบ วิเคราะห์ฐานะและการดำเนินงานของสถาบันการเงิน รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน เพื่อให้มีเสถียรภาพ               8. บริหารจัดการ ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมทั้งบริหารจัดการสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตรา ตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา               9. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

2. ธนาคารพาณิชย์

                ธนาคารพาณิชย์ เป็นธนาคารที่มีบทบาท หน้าที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจ เพราะมีปริมาณเงินหมุนเวียนและมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลมากที่สุด เป็นแหล่งเงินฝากของประชาชน มาให้กู้ยืมที่สำคัญที่สุด
ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่บริการที่สำคัญ ดังนี้

               1. การรับฝากเงิน ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้แก่ เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และเงินฝากประเภทอื่นๆ ตามที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ โดยให้ผลตอบแทน เป็น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากแต่ละประเภท

               2. ให้กู้ยืมเงิน เป็นบทบาทสำคัญทางด้านการเงินให้กู้ยืมเพื่อการลงทุนและเพื่อการบริโภค มีที่มีระยะเวลาในการชำระหนี้และเสียอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดในเงื่อนไขในการกู้ยืม

               3. การให้บริการอื่น ๆ เช่น การโอนเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ การเรียกเก็บเงินเนื่องจากการโอนเงินระหว่างกัน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การให้เช่าตู้นิรภัย เพื่อเก็บสิ่งของมีค่าและสิ่งสำคัญของลูกค้า เป็นต้น

ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ

1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)เป็นธนาคารของรัฐบาล ที่มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน อำนวยความสะดวกเพื่อส่งเสริมอาชีพและการดำเนินงานให้แก่เกษตรกรทั้งรายบุคคล
รายกลุ่ม และสถาบันเกษตรกรทั้งระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว 
2. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ( ธ.อ.ส.)เป็นธนาคารของรัฐบาล  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีอาคารและที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง 

3. ธนาคารออมสินเป็นธนาคารของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมเงินออมจากประชาชน แล้วนำมาให้รัฐบาลกู้ยืม ส่งเสริมการออมของเยาวชนและประชาชนเพื่อปลูกฝังการประหยัดและการออมเงิน


4. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Export-Import Bank Of Thailand : EXIM BANK)  อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการส่งออกและการนำเข้า


5. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 
(Small and Medium Enterprise Development Bank Of Thailand : SME BANK) มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนา

ส่งเสริม ช่วยเหลือ และสนับสนุนการจัดตั้ง การดำเนินงานการขยาย หรือการปรับปรุงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร 

1. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์  เป็นสถาบันการเงินที่ระดมเงินออมจากประชาชน  โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำหน่ายแก่ประชาชน แล้วนำเงินที่กู้ยืมแก่ธุรกิจและอุตสาหกรรมโดยทั่วไป
ส่วนบริษัทหลักทรัพย์ หมายถึง สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ จำหน่ายหลักทรัพย์ และถ้าได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ
เงินทุนควบคู่กับธุรกิจหลักทรัพย์ เรียกว่า บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์  


2. สหกรณ์การเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืม ส่งเสริมการออม ช่วยเหลือในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตรและการจำหน่ายผลิตผล
รวมทั้งส่งเสริมและเผยแพร่ด้านวิชาการการเกษตรสมัยใหม่ให้แก่สมาชิก


3. สหกรณออมทรัพย์
 ทำหน้าที่รับฝากและให้กู้ยืมแก่สมาชิกโดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นการระดมเงินในรูปของค่าหุ้นและเงินฝาก แล้วนำกำไรมาแบ่งปันให้แก่สมาชิกในรูปเงินปันผล

4. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ทำหน้าที่รับฝากและให้กู้ยืมแก่สมาชิกภายในท้องที่ของสหกรณ์ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นการระดมเงินในรูปของค่าหุ้นและเงินฝาก แล้วนำกำไรมาแบ่งปันให้แก่สมาชิกในรูปเงินปันผล


5. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
 เป็นสถาบันการเงินของเอกชนที่ระดมเงินทุนด้วยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินขายให้กับประชาชน  และให้ประชาชนกู้ยืมเงินเพื่อซื้อที่ดินและสร้างที่อยู่อาศัย


6. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 
2517 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดให้มีแหล่งกลางสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์
ส่งเสริมการออมทรัพย์และการระดมเงินทุนในประเทศ
 มีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน อำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์ 


7. บริษัทประกันภัย
   เป็นสถาบันการเงินที่เป็นองค์กรอิสระอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ทำหน้าที่ระดมเงินออมจากประชาชนโดยออกเป็นหนังสือสัญญา เรียกว่า กรมธรรม์ มีทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย มีวัตถุประสงค์เพื่อรับโอนความเสี่ยง หากเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
บริษัทจะชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เอาประกันหรือผู้รับผลประโยชน์ 

สถาบันการเงินมี2ประเภทได้แก่อะไรบ้าง

สหกรณ์กับองค์กรธุรกิจรูปอื่น มีลักษณะคล้ายกันในข้อที่มีการรวมทุนและมีการประกอบธุรกิจซื้อ-ขาย แต่มีหลักการที่แตกต่างกันหลายประการ ดังต่อไปนี้

1. สหกรณ์กับห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด

1.1 วัตถุประสงค์ การรวมกันเป็นสหกรณ์มีความมุ่งหมายเพื่อต้องการให้บริการแก่สมาชิกเป็นส่วนใหญ่ ส่วนบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนรวบรวมผู้ถือหุ้นจัดตั้งขึ้น เพื่อทำการค้ากับบุคคลภายนอก

1.2 ลักษณะการรวม สหกรณ์เป็นองค์กรของผู้มีกำลังทรัพย์น้อย ไม่อาจถือเอาทุนเป็นหลักในการรวมได้ สหกรณ์ถือว่าการรวมคนเป็นหลักสำคัญ และเพื่อให้กลุ่มคนที่รวมกันมีกำลังเข้มแข็ง สหกรณ์จึงต้องมีการกำหนดและคัดเลือกลักษณะตลอดจนคุณสมบัติของสมาชิกที่จะเข้าร่วมในสหกรณ์ ส่วนในบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนนั้นถือหลักการรวมทุนเป็นสำคัญ บุคคลทีมีเงินสามารถเข้าถือหุ้นของบริษัทได้ ไม่เลือกว่าบุคคลนั้นจะมีลักษณะนิสัยอย่งไรหรืออยู่ใกล้ไกลเพียงใด การรวมกันในสหกรณ์เป็นการรวมของผู้ที่อ่อนแอในทางทรัพย์ให้มีกำลังเข้มแข็งขึ้น เพื่อมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ส่วนการรวมกันของบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนเป็นการรวมผู้ที่มีกำลังทรัพย์อยู่แล้ว ให้มีกำลังเข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อทำการค้าหากำไร

1.3 หุ้นและมูลค่าหุ้น หุ้นของสหกรณ์ไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องกำหนดจำนวนทุนเรือนหุ้นไว้ก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ ดังนั้น สหกรณ์จึงมีหุ้นที่จะจำหน่ายให้แก่สมาชิกใหม่อยู่เสมอ ราคาหุ้นของสหกรณ์จะคงที่ มูลค่าหุ้นของสหกรณ์ มักกำหนดไว้ค่อนข้างต่ำเพื่อเปิดโอกาสให้ผุ้มีกำลังทรัพย์น้อยเข้าเป็นสมาชิกได้ สำหรับหุ้นของบริษัทจำกัด กฎหมายบังคับให้ต้องกำหนดจำนวนทุนเรือนหุ้น และต้องมีผู้จองหุ้นไว้ครบจำนวนก่อนขอจดทะเบียนตั้งขึ้นเป็นบริษัทด้วยเหตุนี้ถ้ากิจกรรมของบริษัทสามารถจ่างเงินปันผลได้สูงก็มีผู้ต้องการซื้อหุ้นของบรษัทจึงอาจขึ้นลงได้เหมือนสินค้าอย่างหนึ่ง นอกจากนี้มูลค่าหุ้นของบริษัทมักกำหนดไว้สูงเพื่อให้เงินทุนตามจำนวนที่ต้องการโดยคนถือหุ้นจะมีจำนวนมากหรือน้อยไม่ถือเป็นข้อสำคัญ

1.4 การควบคุมและการออกเสียง สหกรณ์ถือหลักการรวมคนจึงให้ความเคารพต่อสิทธิของบุคคลเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้สมาชิกของสหกรณ์ทุกคนไม่ว่าจะถือหุ้นมากหรือน้อยย่อยมีสิทธิออกเสียงลงคุแนนให้สหกรณ์ได้คนละหนึ่งเสียงเหมือนกันหมดยกเว้นผู้แทนสหกรณ์ในระดับชุมนุมสหกรณ์อาจให้มีเสียงเพิ่มขึ้นตามระบบสัดส่วน ตามที่กำหนดในข้อบังคับของชุมนุมสหกรณ์นั้นก็ได้ (มาตรา 106) และสมาชิกต้องมาใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเอง จะมอบให้บุคคลอื่นมาออกเสียงแทนไม่ได้ ดังนั้นอำนาจในสหกรณ์จึงตกอยู่กับเสียงข้างมากของสมาชิก ส่วนบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วน ซึ่งถือหลักการรวมทุนจึงให้ความเคารพในเงินทุนค่าหุ้นเป็นสำคัญ โดยการให้สิทธิออกเสียงตามจำนวนหุ้นที่ถือ และยังสามารถมอบให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาออกเสียงแทนได้ อำนาจในบริษัทจึงตกอยู่กับผู้ถือหุ้นมาก กล่าวคือทุนมีบทบาทในการประชุมด้วยนั่นเอง

1.5 การแบ่งกำไร จากการที่สมาชิกทำธุรกิจซื้อขายกับสหกรณ์จึงทำให้เกิดกำไรหรือเงินส่วนเกินขึ้น ดังนั้นการแบ่งกำไรของสหกรณ์จึงเท่ากับการจ่ายคือส่วนที่สหกรณ์รับเกินให้สมาชิกในรูปการจ่ายเงินเฉลี่ยคืน ตามส่วนแห่งปริมาณธุรกิจที่สมาชิกทำกับสหกรณ์และจำนวนหุ้นที่ถือ สำหรับบริษัทจำกัดจะทำการติดต่อซื้อขายกับบุคคลภายนอกสมาชิกบริษัทลงทุนถือหุ้นในบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงถือหลักการแบ่งเงินปันผลตามหุ้นที่ถือ ไม่ได้คำนึงถึงว่าผู้ถือหุ้นจะมีการติดต่อซื้อขายกับบริษัทหรือไม่
เราอาจเปรียบเทียบให้เห็นความแต่กต่างระหว่างสหกรณ์กับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ได้ดังนี้

ลักษณะ

สหกรณ์

ห้างหุ้นส่วน/บริษัท จำกัด

1. วัตถุประสงค์

ดำเนินธุรกิจและบริการเพื่อช่วยเหลือสมาชิก ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

ดำเนินธุรกิจเพื่อการค้า ทำธุรกิจกับบุคคลภายนอกเพื่อแสวงหากำไรให้มากที่สุด 

2. ลักษณะการรวมกัน

มุ่งด้านการรวบรวมคนมากกว่าทุน

มุ่งด้านการรวบรวมทุนต้องการทุนในการดำเนินงานมาก 

3. หุ้นและมูลค่าหุ้น

ราคาหุ้นคงที่และมีอัตราต่ำเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถือหุ้นได้ หุ้นมีจำนวนไม่จำกัด 

ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงตามฐานะของกิจการ จำนวนหุ้นมีจำกัด 

4. การควบคุม และการออกเสียง

ควบคุมตามแบบประชาธิปไตย สมาชิกออกเสียงได้คนละหนึ่งเสียง (ยกเว้นระดับชุมนุมสหกรณ์) และออกเสียงแทนกันไม่ได้

ออกเสียงได้ตามจำนวนหุ้นที่ถือและออกเสียงแทนกันได้

5. การแบ่งกำไร

การแบ่งกำไรจะแบ่งตามความมากน้อยของการทำธุรกิจกับสหกรณ์ และจำนวนหุ้นที่ถือ

การแบ่งกำไร แบ่งตามจำนวนหุ้นที่ถือ ถือหุ้นมากได้เงินปันผลคืนมาก


2. สหกรณ์กับรัฐวิสาหกิจ

           
            การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ จะดำเนินการโดยรัฐบาลหรือในนามของรัฐบาลไม่ใช่กิจกรรมของเอกชน งานของรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับเรื่องสาธารณูปโภค เช่น การรถไฟ การสื่อสารไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ เป็นต้น กิจการเหล่านี้มุ่งในด้านให้สวัสดิการแก่ประชาชน ส่วนสหกรณ์นั้นเป็นของสมาชิกดำเนินธุรกิจ เพื่อต้องการจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแก่สมาชิก

3. สหกรณ์กับองค์กรการกุศล

             องค์กรการกุศลมีจุดมุ่งหมายเพื่อสงเคราะห์ผู้ยากจนหรือทุพพลภาพให้พ้นจากความยากลำบาก เป็นการช่วยเหลือจากภายนอก ไม่ใช่เป็นการส่งเสริมให้ช่วยตนเอง จึงอาจจะทำให้ผู้ได้รับการสงเคราะห์มีลักษณะนิสัยอ่อนแอลงไปอีก ส่วนสหกรณ์นั้นส่งเสริมให้สมาชิกมีลักษณะนิสัยเข้มแข็งนอกจากนี้ประโยชน์ที่ได้รับจากสหกรณ์ย่อมถาวรกว่าการช่วยเหลือขององค์กรการกุศล

4. สหกรณ์กับสหภาพแรงงาน

             ในสภาพแรงงานบรรดาลูกจ้างจะรวมกันโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้เกิดกำลังเป็นปึกแผ่น เพื่อต่อรองกับนายจ้างในเรื่องผลประโยชน์ของการทำงานหรือสวัสดิการของลูกจ้าง บางครั้งอาจใช้วิธีการรุนแรงเพื่อบังคับให้นายจ้างปฏิบัติตามที่ลูกจ้างเรียกร้อง สำหรับการร่วมมือกันแบบสหกรณ์นั้นสมาชิกจะร่วมมือกันจัดการประกอบการขึ้น แล้วสมาชิกก็อาศัยบริการนั้นให้เป็นประโยชน์แก่อาชีพหรือการครองชีพของสมาชิกร่วมกัน การทำงานของสหกรณ์เป็นวิธีการที่ไม่ก่อความเดือดร้อนหรือเรียกร้องให้ใครช่วยแต่จะติดต่อกับบุคคลภายนอกเกี่ยวกับธุรกิจซื้อขายตามปกติ