ข้อใดเป็นผลกระทบของการใช้การจัดการโลจิสติกส์ด้านลบ

Article Sidebar

Keywords:

Information technology Logistics cost reduction

Main Article Content

วิจัย บุญญานุสิทธิ์

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Abstract

ภาพรวมของต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทย อันประกอบไปด้วย ต้นทุนการขนส่งสินค้า ต้นทุนการคลังสินค้าและการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง และต้นทุนการบริหารจัดการ มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.6 ต่อปี ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ต้นทุนโลจิสติกส์มีความเชื่อมโยงกับต้นทุนการดำเนินกิจกรรมและต้นทุนการดำเนินธุรกรรมขององค์กร โดยความผันแปรของต้นทุนโลจิสติกส์เกิดจากการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเชื่อมโยงของกลไกต่าง ๆ ในระบบโลจิสติกส์ ดังนั้นเพื่อให้เห็นถึงแนวทางในการบริหารจัดการต้นทุนดังกล่าว บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ในประเทศไทย  โดยใช้ตัวแบบสถาปัตยกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระดับชั้น คือ การติดต่อสื่อสาร การนำเสนอ การประยุกต์ใช้งาน และฐานข้อมูล  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 4 ระดับชั้น ดังกล่าวสามารถลดต้นทุนโดยรวมขององค์กรได้  ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกุญแจสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ และการประสานงานในแต่ละหน่วยงานทั้งภายในองค์กรและระหว่างองค์กร ทำให้เห็นการไหลเวียนของข้อมูลสารสนเทศได้ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน  หากองค์กรธุรกิจกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้ต้นทุนโลจิสติกส์ลดลงในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนรวมขององค์กรลดลงเช่นเดียวกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

07 Apr 2020

ข้อใดเป็นผลกระทบของการใช้การจัดการโลจิสติกส์ด้านลบ

     การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัส โควิด – 19 นอกจากมีผลกระทบต่อสุขภาพ และการใช้ชีวิตของประชาชนทั่วไปแล้ว ผลพวงที่ตามมาคือ ผลกระทบต่อสภาวะทางเศรษฐกิจ และธุรกิจ

     การสั่งปิดธุรกิจหลายประเภท การขอความร่วมมือให้ประชาชนอาศัย และทำงานอยู่ในบ้าน การกำหนดการเคลื่อนย้ายของประชาชน รวมถึงการประกาศพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่งผลดีทำให้การระบาดของเชื้อไวรัสไม่มากตามที่คาดไว้ แต่ผลพวงดังกล่าว ทำให้ธุรกิจหลายประเภท หยุดชะงัก และไม่สามารถดำเนินการได้ เช่น ธุรกิจร้านอาหาร ร้านค้าปลีก และธุรกิจบริการต่างๆ  ในขณะที่ความต้องการ สินค้าและบริการยังคงอยู่ การซื้อสินค้าและบริการผ่านทางร้านค้าแบบเดิมไม่สามารถทำได้ ส่งผลให้เกิดการซื้อขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ และการจัดส่งสินค้าถึงที่พัก มีความต้องการเพิ่มมากขึ้น  

     ผู้ประกอบการหลายรายพยายามปรับตัวให้อยู่รอดได้ในสถานการณ์ดังกล่าว การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านทางระบบออนไลน์ หรือการมีบริการจัดส่งสินค้าจากทางร้าน กลายเป็นหนึ่งในทางรอดที่มองเห็น แต่เพียงแค่การขนส่งสินค้า หรือการรับคำสั่งซื้อผ่านทางระบบออนไลน์ อาจจะไม่เพียงพอต่อการแข่งขันในอนาคต การประยุกต์ใช้ระบบการจัดการโลจิสติกส์ที่ครบวงจร กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องพิจารณา

ข้อใดเป็นผลกระทบของการใช้การจัดการโลจิสติกส์ด้านลบ

     การจัดการโลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้า จากแหล่งผลิตไปยังลูกค้าเป้าหมาย ณ สถานที่ที่ลูกค้าต้องการ ด้วยต้นทุนที่คุ้มค่า โดยกิจกรรมทางการจัดการโลจิสติกส์ ประกอบด้วยกิจกรรม 5 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมทางด้านการบริหารจัดการการผลิต 2) การตลาดและการบริการลูกค้า 3) การจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ 4) การกระจายและการจัดการสินค้าคงคลัง และ 5) กิจกรรมการจัดส่งสินค้า  ดังนั้นการประยุกต์ใช้การจัดการโลจิสติกส์ จึงไม่ใช่แค่การผลิตและจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าเท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีการประยุกต์ใช้กิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย

ข้อใดเป็นผลกระทบของการใช้การจัดการโลจิสติกส์ด้านลบ

     การจัดส่งสินค้า กลายเป็นกิจกรรมหลักของผู้ประกอบการหลายราย โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหารที่ต้องรีบปรับตัว เนื่องจาก ณ.เวลานี้ ผู้บริโภคไม่สามารถนั่งรับประทานในร้านได้แล้ว ในขณะที่ธุรกิจค้าปลีก มีการปรับตัวมาสู่ระบบการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ และการบริการส่งสินค้า ก่อนหน้าการระบาดของไวรัสอยู่แล้ว แต่ในช่วงนี้ จำเป็นต้องเพิ่มสัดส่วนของการจำหน่ายและการจัดส่งให้เพิ่มมากขึ้น

     เพียงแค่การจัดส่งสินค้า เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันระยะยาวได้ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ กิจกรรมในการจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ เช่นเดียวกัน อย่าลืมว่า ในวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ ไม่ใช่เพียงผู้บริโภคเท่านั้นที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบในการซื้อสินค้า แต่ตัวผู้ประกอบการเอง ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดหาวัตถุดิบด้วยเช่นกัน การเลือกซื้อวัตถุดิบของร้านอาหารจากผู้จำหน่ายในตลาดสด อาจจะต้องเปลี่ยนรูปแบบเป็นการซื้อแบบออนไลน์และใช้บริการการส่งสินค้ามาที่ร้านอาหาร กระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบด้วยตัวเองเหมือนที่เคยทำ ต้องเปลี่ยนเป็นการอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจให้ผู้จำหน่ายวัตถุดิบคัดเลือกให้แทน

     การเปลี่ยนรูปแบบการจำหน่ายสินค้า จากหน้าร้านสู่ทางออนไลน์ สภาวะทางด้านเศรษฐกิจที่ยังไม่เป็นปกติ ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การตลาดและการบริการลูกค้า โดยการให้ข้อมูลผ่านทางระบบออนไลน์ให้ได้มากที่สุดเลยกลายเป็นหนึ่งในกิจกรรมโลจิสติกส์ ที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องดำเนินการ การทำการตลาด รวมถึงการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ นอกจากจะช่วยประชาสัมพันธ์ร้านค้า และสินค้า ให้ถึงกลุ่มผู้บริโภคในวงกว้างแล้ว ข้อมูลยอดการสั่งซื้อและปริมาณความต้องการสินค้า จากลูกค้า จะทำให้ผู้ประกอบการทราบความต้องการของลูกค้าที่แท้จริงด้วย

ข้อใดเป็นผลกระทบของการใช้การจัดการโลจิสติกส์ด้านลบ

     การกระจายและการจัดการสินค้าคงคลัง ให้มีประสิทธิภาพ จะช่วยลดต้นทุนในการมีสินค้าคงคลังในจำนวนที่มากเกินความจำเป็น และช่วยลดการเสียโอกาสในการขายในกรณีที่มีสินค้าคงคลังน้อยเกินความจำเป็น การที่จะทำให้การกระจายสินค้าและการจัดการสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องทราบข้อมูลความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อนำมาพยากรณ์ความต้องการในอนาคต

     กิจกรรมการบริหารการผลิต เป็นกิจกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงจากกระบวนการเดิมน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการต้องวางแผนการบริหารการผลิตอย่างยืดหยุ่น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น แนวคิดของการผลิตให้พอดีกับความต้องการ (Just In Time Production) เป็นการป้องกันความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการควรใช้ ในเวลาที่ไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ในอนาคตได้

     การระบาดของไวรัส โควิด – 19 เป็นวิกฤตที่เกิดกับภาคธุรกิจอย่างที่ได้บอกไป แต่การปรับตัวที่เหมาะสม และการเตรียมความพร้อมที่ดี จะทำให้ผู้ประกอบการ สามารถขยายโอกาสจากวิกฤตครั้งนี้ได้ไม่มากก็น้อย

ข้อใดเป็นผลกระทบของการใช้การจัดการโลจิสติกส์ด้านลบ

เรียบเรียงโดย: ดร.นพปฎล สุวรรณทรัพย์

อาจารย์สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจ ม.รังสิต

"

ข้อใดคือผลกระทบด้านดีของการจัดการโลจิสติกส์

คนทำธุรกิจต้องรู้ 5 ประโยชน์ของระบบโลจิสติกส์ สำหรับการทำธุรกิจ.
1 เป็นพื้นฐานให้ธุรกิจเติบโต.
2 ลดต้นทุน ทำกำไรเพิ่ม.
3 เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ.
4 สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า.
5 ความรวดเร็วในการสื่อสาร.

ข้อใดคือผลกระทบของการใช้การจัดการโลจิสติกส์ต่อเศรษฐกิจ ในด้านบวก

ด้านบวก เพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน สามารถลดต้นทุนในการผลิต การวางแผนจัดการโลจิตติกส์ที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้มูลค่าความเสียหายของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการผลิตและขนส่งมีจำนวนลดลง

ข้อใดคือผลกระทบของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในด้านบวก

ข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้าคือ.
ประหยัดค่าน้ำมัน การใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงลงได้มาก และช่วยกู้วิกฤตขาดแคลนน้ำมันหรือน้ำมันราคาแพงได้ดี ราคาไฟฟ้าที่ชาร์จเข้าสู่ตัวรถยนต์นั้นก็ไม่สูงเท่ากับน้ำมันเชื้อเพลิงอีกด้วย.
ลดโลกร้อนได้ดี ... .
ช่วยชาติประหยัด ... .
วิ่งได้ไกลและให้ความสะดวกสบาย.

ข้อใดเป็นผลกระทบจากการใช้ 5g ด้านเศรษฐกิจ

-ระบบเครือข่ายมีความเสถียรและเร็วขึ้น ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป โดยมีการใช้งานผ่านอินเตอร์มากขึ้น -ผู้ขายที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันจะมีรายได้ลดลง -ราคาสินค้าทางการเกรษตรอาจสูงขึ้นเนื่องจากมีการบวกค่าเทคโนโลยีในราคาสินค้า -เกษตรกรรายย่อยที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันตามเทคโนโลยีอาจขาดทุนหรือเลิกทำเกษตร

ข้อใดคือผลกระทบด้านดีของการจัดการโลจิสติกส์ ข้อใดคือผลกระทบของการใช้การจัดการโลจิสติกส์ต่อเศรษฐกิจ ในด้านบวก ข้อใดคือผลกระทบของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในด้านบวก ข้อใดเป็นผลกระทบจากการใช้ 5g ด้านเศรษฐกิจ การบริหารจัดการการผลิต ในการจัดการโลจิสติกส์คือข้อใด การหาความคุ้มค่าและจุดคุ้มทุน เป็นความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการโลจิสติกส์กับศาสตร์ใด ร้านอาหารแห่งหนึ่งใช้วัตถุดิบที่มีความสดใหม่ในการจัดทำอาหาร เป็นการจัดการโลจิสติกส์ขั้นตอนใด การประยุกต์ใช้การจัดการโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง ข้อใดไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่าง 5g กับศาสตร์อื่น ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับเครือข่ายไร้สายในยุคต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง