เบโธเฟนเป็นคีตกวีที่อยู่คาบเกี่ยวถึง 2 ยุคดนตรี คือยุคใดบ้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

เบโธเฟนเป็นคีตกวีที่อยู่คาบเกี่ยวถึง 2 ยุคดนตรี คือยุคใดบ้าง

ถามว่า บีโธเฟนรับสารตะกั่วมาจากไหน ตอนนั้นมีการสันนิษฐานว่า บีโธเฟนนิยมชมชอบการดื่มไวน์เป็นอันมาก และอาจได้รับสารตะกั่วมาจากจอกไวน์

          คนไทยรู้จักคีตกวีท่านนี้ดี เขาคือ "บีโธเฟ่น"  หรือ "ลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน" ผู้เป็นคีตกวีและนักเปียโนชาวเยอรมันอันโด่งดังก้องโลก เกิดที่เมืองบ็อน ประเทศเยอรมนี

          บ้างก็รู้จักแต่เพียงเท่านั้น บ้างรู้จักมากขึ้นไปอีกว่า บีโธเฟนนั้นเป็นคีตกวีที่มีคนชื่นชมยกย่องและฟังเพลงของเขากันอย่างกว้างขวางมากที่สุดคนหนึ่ง เป็นแบบอย่างของความเป็นอัจฉริยะที่ยากจะหาใครเทียบเทียม

          หลายคนอาจรู้ไปถึงขนาดที่ว่า บีโธเฟนมีชีวิตอยู่ตรงกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในสมัยธนบุรี และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในสมัยรัตนโกสินทร์

เบโธเฟนเป็นคีตกวีที่อยู่คาบเกี่ยวถึง 2 ยุคดนตรี คือยุคใดบ้าง

บ้านเกิดของบีโธเฟนที่เมืองบ็อน เยอรมนี

          และผลงานซิมโฟนีของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งซิมโฟนีหมายเลข 5 ซิมโฟนีหมายเลข 6 ซิมโฟนีหมายเลข 7 และซิมโฟนีหมายเลข 9 และคอนแชร์โตสำหรับเปียโนที่เขาประพันธ์ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนแชร์โตหมายเลข 4 และหมายเลข 5 เป็นผลงานที่ได้รับความนิยมอย่างมากที่สุด

          แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า บีโธเฟนนั้น นอกจากจะเพิ่งป่วยเป็นโรคหูตึงในภายหลัง มิได้เป็นมาแต่กำเนิด ซึ่งท้าทายกับชีวิตนักดนตรีของเขาเป็นอันมกาแล้ว อีกด้านหนึ่งเขาก็มีอาการป่วยที่กัดกินร่างกายของเขามาเกือบทั้งชีวิต จนกระทั่งต้องมาจากไปในวัยเพียง 57 ปีในวันนี้เมื่อ 192 ปีก่อน หรือตรงกับวันที่ 26 มีนาคม 2370 อย่างน่าสลดใจยิ่ง

          “วันนี้ในอดีต” ขอนำเกร็ดประวัติของเขามาเล่าสู่กันฟังดังนี้ บีโธเฟน กำเนิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2313 (ค.ศ. 1770) ที่เมืองบ็อน ประเทศเยอรมนี เป็นลูกชายคนรองของ โยฮัน ฟัน เบทโฮเฟิน กับมารีอา มัคเดเลนา เคเวอริช 

          ตามประวัติเล่าว่า บิดาของบีโธเฟนนั่น แม้จะมีหน้าที่การงานที่ดีมาก คือเป็นถึงนักนักร้องในคณะดนตรีประจำราชสำนัก แต่น่าเสียดายที่เป็นคนที่ขาดความรับผิดชอบ ซ้ำยังติดสุราหนักมาก ทำให้ครอบครัวมีสถานะยากจนขัดสน 

          แต่แม้จะเป็นเช่นนั้น บิดาของบีโธเฟนก็วาดหวังให้บุตรชายคนรองคนนี้ของเขาได้เติบใหญ่ ได้ดิบได้ดีไปเป็นนักดนตรีอัจฉริยะอย่างโมทซาร์ท ซึ่งขระนั้นกำลัง่โด่งดังมีชื่อเสียงในช่วงที่บีโธเฟนกำลังอยู่ในวัยเด็ก ดังนั้น บิดาของเขาจึงเริ่มสอนดนตรีให้บีโธเฟนตั้งแต่อายุเพียง 5 ขวบเลยทีเดียว

          แต่วิธีการสอนของบิดานั้นเข้มงวดเกินไป บีโธเฟนน้อยช่างน่าสงสารยิ่งนักกับการต้องโดนกดดันจากผู้เป็นพ่อ ที่บังคับให้เขาต้องเล่นดนตรีหาเงินให้ครอบครัวได้ตั้งแต่อายุยังน้อยแบบที่โมทซาร์ทเคยทำไว้ที่อายุเพียง 6 ปี

          และด้วยอุปนิสัยขาดความรับผิดชอบแถมยังขี้เมา หลายครั้งบีโธเฟนจึงถูกทำโทษด้วยวิธีการที่ทารุณ เช่น ขังไว้ในห้องกับเปียโน 1 หลัง, ห้ามไม่ให้เล่นกับน้องๆ ฯลฯ

          ทำให้บีโะเฟนเคยท้อจนอยากจะเลิกล้มความตั้งใจ จนมาเห็นอาการป่วยด้วยวัณโรคของมารดา จึงเริ่มกลับมามีความมานะเรียนดนตรีต่อไป จะได้มีเงินเพื่อดูแลครอบครัว

          ที่สุดในปี 2321 แม้จะช้ากว่าโมทซาร์ทในวัยเด็ก แต่บีโธเฟนก็สามารถเปิดคอนเสิร์ตเปียโนในที่สาธารณะได้ตั้งแต่อายุ 7 ปี 3 เดือน โดยเป็นการแสดงที่่เมืองโคโลญ เยอรมนี

          ว่ากันว่า บิดาของบีโธเฟนถึงขนาดต้องโกงอายุบีโธเฟนว่ามีอายุ 6 ปี เพราะเห็นว่าอายุยิ่งน้อย คนก็จะสนใจมาก ในฐานะนักดนตรีที่เก่งตั้งแต่เด็ก

          ช่วงเวลาหลังจากนั้น จากปี 2324 - 2330 บีโธเฟนได้เรียนรู้เครื่องดนตรีอื่นๆ และมีประสบการณ์มากมาย เช่นได้เป็น ศิษย์ของคริสทีอัน ก็อทโลพ เนเฟอ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่สร้างความสามารถในชีวิตให้เขามากที่สุด เนเฟอสอนเบทโฮเฟินในเรื่องเปียโนและการแต่งเพลง

เบโธเฟนเป็นคีตกวีที่อยู่คาบเกี่ยวถึง 2 ยุคดนตรี คือยุคใดบ้าง

บีโธเฟนตอนอายุ 13 ปี

          จนกระทั่งเมื่อบีโธเฟนมีอายุเพียง 17 ปี เขาก็ได้พบกับไอดอล โมทซาร์ทในปี 2330 เมื่อเขาเดินทางไปยังเมืองเวียนนาเพื่อศึกษาดนตรีต่อ แถมยังได้มีโอกาสเล่นเปียโนให้โมทซาร์ทฟังอีกด้วย

          ว่ากันว่า เมื่อโมทซาร์ทได้ฟังฝีมือของบีโธเฟนแล้ว ถึงกับกล่าวกับเพื่อนๆ ว่าหนุ่มน้อยบีโธเฟนจะเติบโตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในโลกดนตรีต่อไป อ่านถึงตรงนี้ก็ต้องบอกวา่โมทซาร์ทมองขาด!

          แต่เส้นทางชีวิตของบีโธเฟนต้องสะดุดชั่วคราวเมื่อแม่ของเขาอาการกำเริบหนัก บีโธเฟนจำต้องกลับบ้านที่เมืองบ็อนทันที แต่น่าเศร้าที่เขาดูแลมารดาได้ไม่นาน เธอก็เสียชีวิตลงในวันที่ 17 กรกฎาคม ในปีนั้นเอง ด้วยวัยเพียง 43 ปี

          หลังสูญเสียแม่อันเป็นที่รัก บีโธเฟนในชีวิตช่วงวัยรุ่นถึงกับเศร้าโศกอย่างรุนแรง ยิ่งเมื่อหันไปข้างพ่อซึ่งก็เสียใจเช่นนกัน แต่รายนั้นกลับหาทางออกด้วยการดื่มหนักกว่าเก่า จนพาลทำให้เสียการเสียงาน ถึงขนาดถูกไล่ออกจากคณะดนตรีประจำราชสำนัก บีโธเฟนจึงกลายมาเป็นผู้นำครอบครัว ต้องดูแลทุกๆ คนในบ้าน อันมีพ่อและน้องชายอีก 2 คน

          แน่นอนเขาทำมาหาเลี้ยงชีพโดยการสอนเปียโน จนกระทั่งปี 2335 บีโธเฟนย้ายมาตั้งรกรากที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และมีโอกาสได้เรียนดนตรีกับ โยเซ็ฟ ไฮเดิน

          บีโธเฟนในวัย 22 คราวนี้ตั้งใจที่จะไม่กลับไปบ้านเกิดอีกแล้ว บ้างว่าเพราะความสัมพันธ์ระหว่างเขาและบิดาไม่ดีนัก ดังที่เราอ่ามาจากข้างต้น ดังนั้นหลังจากเขาเดินทางมาเวียนนาได้ 1 เดือน ก็ได้รับข่าวว่าบิดาป่วยหนักใกล้จะเสียชีวิต เขาก็มอบหมายให้น้องทั้งสองคอยดูแล จนแม้บิดาสิ้นใจจากไป เขาก็ได้กลับไปดูใจ

เบโธเฟนเป็นคีตกวีที่อยู่คาบเกี่ยวถึง 2 ยุคดนตรี คือยุคใดบ้าง

บีโธเฟนในวัย 33 ปี

          ที่สุด บีโธเฟนก็ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงจากการแสดงคอนเสิร์ตในฐานะนักเปียโนเอก และเป็นผู้ที่สามารถเล่นได้โดยคิดทำนองขึ้นมาสดๆ ทำให้เขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแวดวงและครอบครัวขุนนาง และค่อยๆ เริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนมากขึ้น

          แต่แล้ว ปี 2339 บีโธเฟนในวัย 26 ก็มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน อยู่ๆ เขาเริ่มไม่ได้ยินเสียงในสถานที่กว้างๆ และเสียงกระซิบของผู้คน

          แน่นอนเรื่องนี้จะส่งผลต่ออาชีพการงานของเขาอย่างจริงแท้ เรื่องนี้จึงยิ่งกว่าโลกหยุดหมุนของบีโธเฟน เพราะว่ากันว่าสังคมยุคนั้นรังเกียจผู้ที่ร่างกายมีปัญหา หรือบุคคลพิการ ที่จะถูกผลักไสไล่ส่งจนกลายเป็นขอทานจำนวนมาก ดังนั้น เขาจึงต้องเก็บเป็นความลับ และตั้งใจว่า เมื่อประสบความสำเร็จให้ได้เสียก่อนจึงจะเปิดเผยเรื่องนี้

          จากนั้นเขาก็เริ่มประพันธ์บทเพลงขึ้นมา แล้วจึงหันเหจากนักดนตรีมาเป็นผู้ประพันธ์เพลง เขาสร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวแตกต่างไปจากดนตรียุคคลาสสิกคือ ใช้รูปแบบยุคคลาสสิก แต่ใช้เนื้อหาจากจิตใจ ความรู้สึกในการประพันธ์เพลง

          เลยกลายเป็นว่าเพราะอาการทางการได้ยิน ที่ทำให้บีโธเฟนสร้างสรรค์ผลงานเพลงต่างๆ ออกมาอย่างมีเอกลักษณ์ แตกต่างโดดเด่น และเต็มไปด้วยการแสดงออกของอารมณ์อย่างเด่นชัด

เบโธเฟนเป็นคีตกวีที่อยู่คาบเกี่ยวถึง 2 ยุคดนตรี คือยุคใดบ้าง

บีโธเฟนในวัย 45 ปี

          ที่สุดช่วงปี 2344 บีโธเฟนมีอายุ 31 ปี หรือป่วยทางการได้ยินมานานราว 5 ปี เขาตัดสินใจเปิดเผยเรื่องนี้ แต่ด้วยความสามารถอันเป็นอัจฉริยะของเขา ผู้คนจึงไม่มองว่านี่คือปัญหาอันน่ารังเกียจอีกต่อไป ทุกคนยอมรับในตัวบีโธเฟน

          หลังจากนั้น เขาก็เขาประพันธ์เพลงออกมามากมาย ผ่านยุคสมัย ทั้งที่ได้รับความนิยมบ้าง ไม่ได้รับความนิยมบ้าง แต่ที่สุดแล้วบทเพลงของเขาก็ยังคงเป็นที่นิยม ได้รับเกียรติว่าเป็นดนตรีคลากสสิกชั้นสูงมาถึงปัจจุบัน

          ผลงานอันโด่งดังในช่วงนี้ได้แก่ ซิมโฟนีหมายเลข 5 ที่เขาถ่ายทอดท่วงทำนองออกมาเป็นจังหวะ สั้น - สั้น - สั้น - ยาว ตอนที่อาการไม่ได้ยินรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

          ต่อมาซิมโฟนีหมายเลข 9 ที่เขาประพันธ์ออกมาเมื่อหูหนวกสนิทตั้งแต่ปี 2362 เป็นต้นมา หรือขณะอายุ 49 ปี รวมทั้งบทเพลงควอเท็ตเครื่องสายที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเขาก็ประพันธ์ออกมาในช่วงเวลานี้เช่นกัน

          อย่างไรก็ดี ตามที่เกริ่นนำไว้ บีโธเฟนมีอาการป่วยเรื้อรังเกี่ยวกับโรคในลำไส้มาตลอดหลายปี ตามข้อมูลระบุว่า เขาเริ่มมีอาการเจ็บปวดในช่องท้องตั้งแต่อายุ 20 และทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ตลอดช่วงชีวิตเขาต้องไปพบแพทย์หลายต่อหลายคนเพื่อหาทางรักษา ก่อนที่จะอาการกำเริบหนักในช่วงปี 2369 หรือในวัย 56 อาการทรุดลงตามลำดับ

เบโธเฟนเป็นคีตกวีที่อยู่คาบเกี่ยวถึง 2 ยุคดนตรี คือยุคใดบ้าง

บีโธเฟนในปี 2363 (วัย 50 ปี)

          ที่สุดวันที่ 26 มีนาคม 2371 (ค.ศ. 1827) บีโธเฟนก็จากไปในวัย 57 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่สุสานกลางในกรุงเวียนนา

          อนึ่ง อาการป่วยของบีโธเฟน ภายหลังมีการตรวจหาสาเหตุด้วยวิธีการอันทันสมัย จนได้พบต้นตอการป่วย โดยช่วงปี 2550 มีการเผยแพร่ข่าวสารอันโด่งดังไปทั่วโลกว่า คณะนักวิจัยจากอาร์กอนน์ เนชั่นแนล แลบอราทรี ในรัฐอิลลินอยส์ สังกัดกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ได้ทำการทดสอบเส้นผม และชิ้นส่วนกะโหลกของบีโธเฟน จนพบว่าสาเหตุการเสียชีวิตของเขาเกิดจากพิษสารตะกั่ว

          ทั้งนี้จากการเอ็กซ์เรย์ด้วยอุปกรณ์ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดในอเมริกาได้บ่งชี้ว่า กะโหลกศีรษะของบีโธเฟนมีสารตะกั่วปะปนในปริมาณที่เข้มข้นมาก เช่นเดียวกับผลการตรวจสอบเส้นผมก่อนหน้านี้  จึงทำให้เกิดหลักฐานแน่ชัดว่า เขาได้รับพิษสารตะกั่วมากเกินไปจนเสียชีวิต

          นอกจากนี้ข่าวยังระบุว่า ลักษณะอาการของโรคและผลการชันสูตรศพหลังจากบีโธเฟนเสียชีวิตได้ไม่นานล้วนมีลักษณะบ่งชี้ถึงการได้รับพิษจากสารตะกั่วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบย่อยไม่ดี การเจ็บปวดในช่องท้องอย่างเรื้อรัง การมีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย และภาวะซึมเศร้า

          และมีความเป็นไปได้ว่า การได้รับพิษสารตะกั่วที่มากเกินไปนี้เอง อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้บีโธเฟนหูหนวกอีกด้วย เพราะจากการวัดระดับครึ่งอายุของสารตะกั่วที่พบบ่งชี้ว่ามันได้สะสมอยู่ในร่างกายของบีโธเฟนมานานหลายปี!

          ถามว่า บีโธเฟนรับสารตะกั่วมาจากไหน ตอนนั้นมีการสันนิษฐานว่า บีโธเฟนนิยมชมชอบการดื่มไวน์เป็นอันมาก และอาจได้รับสารตะกั่วมาจากจอกไวน์ เพราะมันทำมาจากโลหะนั่นเอง  หรือในอีกกรณีหนึ่งอาจเป็นเพราะในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 มีการใช้โลหะหนักต่างๆ เช่น ตะกั่ว และสารปรอทในการรักษาโรคบางประเภท ก็เป็นได้

          อย่างไรก็ดี หากใครเคยได้ติดตามเรื่องราวของ “โมทซาร์ท” ผู้เป็นไอดอลของบีโธเฟน ก็จะพบการตายอย่างน่าประหลาดใจเช่นกัน เพราะแม้ว่า “มรณบัตรของโมทซาร์ท” ได้มีการบันทึกไว้ว่าเขาเสียชีวิตเพราะโรคไทฟอยด์ แต่ข้อมูลหลายแหล่ง แม้แต่จากปากของ ค็อนสตันท์เซอ เวเบอร์ ภรรยาของโมซาร์ท ได้ระบุว่าโมทซาร์ทถูกวางยาพิษ!

(อ่าน 5 ธ.ค.2334  เสียดาย ตายแต่หนุ่ม โมซาร์ท คีตกวี ระบือโลก! http://www.komchadluek.net/news/today-in-history/354644)

 

          บีโธเฟนเคยได้พบกับโมทซาร์ทขณะที่ฝ่ายไอดอลมีอายุเพียง 31 ปี แต่ใครจะล่วงรู้ว่าโมทซาร์ทจะจากไปใน 4 ปีหลังจากนั้น โดยล้มป่วยเพียง 15 วัน ซึ่งข้อมูลบางแหล่งถึงขนาดระบุด้วยว่าเขาโดยวางยาโดยใส่สารปรอทในอาหาร เนื่องจากมีบางคนที่อิจฉาริษยาความรุ่งโรจน์ของเขานั่นเอง!!

          แต่สาเหตุการตายของบีโธเฟน ไม่มีการระบุในท่วงทำนองเช่นนี้ หรือเราจะลองปะติดปะต่อกันดูก็ไม่ว่ากัน อาจได้ทฤษฎีใหม่ๆ ออกมาก็เป็นได้

          อนึ่ง หากใครอยากรู้เรื่องหัวใจของบีโธเฟน โอกาสต่อไปจะนำมาเล่าสู่กันฟัง ว่ากันว่าความรักของบีโธเฟน "แซ่บ" ไม่แพ้คีตกวีคนไหนในโลก

          หากบีโธเฟนแซ่บกว่าตรงที่เต็มไปด้วยสตรีสูงศักดิ์ที่เข้ามาในชีวิต โดยเฉพาะมีรายหนึ่ง คือ "ขุนนางหญิงจูเลียตตา จุยกีอาร์ดิ" ที่บีโธเฟนถึงกับแต่งเพลงให้เธอเลยทีเดียว นั่นคือบทเพลงดังที่ชื่อว่า ‘Mondscheinsonate’ (Moonlight Sonata = Sonata No.14) แต่ความรักก็มิสมหวังดังใฝ่

          งั้นเรามารำลึกถึงดวงดาวผู้จากไปด้วยผลงานนี้ของเขากันดีกว่า

ขอบคุณภาพและข้อมูล

วิกิพีเดีย

https://www.dek-d.com/board/view/803003/

ผลงานเพลงในข้อใดที่สร้างชื่อเสียงแก่บีโธเฟน

แม้ว่าเบโธเฟนค่อย ๆ สูญเสียการได้ยินของเขา แต่เขาก็ยังคงแต่งเพลง ผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือซิมโฟนี หมายเลข 9 เขาแต่งในขณะที่เขาได้กลายเป็นคนหูหนวกโดยสิ้นเชิง ซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโธเฟนถือว่าเป็นสุดยอดแห่งซิมโฟนี มีความยาว 4 กระบวน ใช้เวลาบรรเลงไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และยังมีการนำกลุ่มนักร้องประสานเสียงมาสอดแทรกไว้ ...

ใครคือคีตกวีผู้ใช้ความรู้ทางดนตรี ประพันธ์เพลง Symphony no.9 หลังจากที่ตนเองหูหนวก ไม่ได้ยินเสียงใดๆตลอดกาล

3 ปีก่อนจากไป บีโธเฟนเพิ่งประพันธ์ซิมโฟนีหมายเลข 9 เสร็จสิ้น ตอนนั้นหูทั้งสองข้างของเขาหนวกสนิทแล้ว แม้เรื่องเล่าดั้งเดิมจะบอกว่าในช่วงท้ายของชีวิต บีโธเฟนจะทุ่มเทพลังงานและเวลาส่วนใหญ่ให้แก่การประพันธ์บทเพลงเพื่อบรรเลงสำหรับวงสตริงควอเต็ต (string quartet) หรือวงเครื่องสายสี่ชิ้น แต่หลักฐานอีกบางส่วนก็บอกว่าเขายังได้ ...

เพลงของบีโธเฟน มีอะไรบ้าง

เล่นทั้งหมดฟังเพลงบน.
Canon in DFür Elise..
Symphony No. 5Silly Classical Songs..
Fur EliseFür Elise..
Ode to JoyWe Are 1 - A Musical Edu Training..
Moonlight SonataMoonlight Sonata..
Turkish MarchA Calendar Of Classics - October..
Bagatelle in A Minor WoO 59 "Für Elise"50 Essential Classical Film Moments..

คีตกวีที่หูหนวกคือใคร

เบโธเฟน เล่าว่าในช่วงแรกเขาเริ่มสูญเสียการได้ยินเสียงในความถี่บางระดับ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเขาก็สูญเสียการได้ยินไปแทบทั้งหมด มีหลักฐานว่าในปี 1818 เบโธเฟน เริ่มจะฟังคนพูดไม่รู้เรื่อง เขาจึงใช้วิธีเขียนสื่อสารกับผู้อื่นแทน แต่ถึงอย่างนั้น เขายังคงแต่งเพลงต่อไป ซึ่งรวมถึงบทเพลงที่น่าประทับใจที่สุดบางชิ้นของเขา