การลดค่าความนิยม

การลดค่าความนิยม

การลดค่าความนิยม

ค่าความนิยม (Goodwill) หมายถึง คุณค่าของกิจการที่ไม่ใช่รูปธรรม เช่น ชื่อเสียงของเครื่องหมายการค้า ความน่าเชื่อถือของกิจการ เป็นต้น โดยปรกติ ค่าความนิยมจะบันทึกลงในงบการเงินก็ต่อเมื่อบริษัทมีการควบรวมกิจการบริษัทอื่นเข้ามาที่ราคาสูงกว่ามูลค่าทางบัญชีของทรัพย์สินบริษัท

เช่น บริษัท A ต้องการควบรวมบริษัท B เข้ามาอยู่ในเครือของบริษัทตน โดยมูลค่าทางบัญชีของบริษัท B อยู่ที่ 1,000 ล้านบาท แต่บริษัท A สามารถตกลงซื้อขายกับผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท B ได้ที่ 1,500 ล้านบาท เมื่อบริษัท A จ่ายเงินออกไปและบันทึกทรัพย์สินของบริษัท B เข้ามาในงบดุลของตนเอง ทรัพย์สินที่บันทึกเข้ามาจะมีมูลค่า 1,000 ล้านบาทตามมูลค่าทางบัญชีเดิมของบริษัท B ส่วนอีก 500 ล้านบาทจะบันทึกเป็นค่าความนิยมในทรัพย์สินของบริษัท A เพื่อให้งบดุลสมดุลกันพอดีระหว่างทรัพย์สินใหม่กับทรัพย์สินเก่า

ค่าความนิยมจึงเกิดเมื่อเกิดการควบรวมกิจการ

ในกรณีที่บริษัทจ่ายเงินมากกว่ามูลค่าทรัพย์สินทางบัญชีของบริษัทที่ถูกควบรวม บริษัทจะบันทึกส่วนต่างเป็น “ค่าความนิยม (Goodwill)” ในงบดุลส่วนสินทรัพย์

ในกรณีที่บริษัทจ่ายเงินน้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินทางบัญชีของบริษัทที่ถูกควบรวม บริษัทจะบันทึกส่วนต่างเป็น “กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ (Bargain Purchase)” ในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

ค่าความนิยมถือเป็นสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็นต้องตัดค่าตัดจำหน่าย ทำให้ค่าความนิยมนั้นจะไม่ก่อเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งส่งผลต่องบกำไรขาดทุนของบริษัท โดยทั่วไปค่าความนิยมจะไม่มีการปรับมูลค่ายุติธรรมขึ้นหรือลงเป็นประจำ (ถึงแม้ว่าจะมีการตรวจสอบการด้อยค่าของค่าความนิยมอยู่อย่างสม่ำเสมอ)

ยกเว้นในกรณีที่บริษัทมั่นใจว่าค่าความนิยมที่บันทึกอยู่นั้นจะสามารถสร้างประโยชน์เชิงเศรษฐกิจได้น้อยกว่าค่าที่บันทึกไว้ก็สามารถตัดด้อยค่าลงได้ โดยส่วนต่างนั้นจะกลายเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของงบกำไรขาดทุนในงวดปีนั้น เช่น บริษัท CSL ที่ปรับด้อยค่าความนิยมของสมุดหน้าเหลืองลงจนทำให้ผลประกอบการขาดทุนในปีพ.ศ. 2557

ค่าความนิยมจะเป็นสินทรัพย์ที่พบในงบดุลของบริษัท โดยเฉพาะบริษัทที่มีการควบรวมกิจการอื่นเข้ามาด้วยเงินปริมาณมาก เช่น CPALL เทคโอเวอร์ MAKRO หรือ BDMS เทคโอเวอร์ SVH ซึ่งสินทรัพย์นี้จะมีมูลค่าสูงและสำคัญสำหรับการวิเคราะห์งบการเงิน

ค่าความนิยมถือเป็นจุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการประเมินมูลค่าแบบที่วิเคราะห์สินทรัพย์ (asset – based valuation) เพราะนักลงทุนต้องทำการปรับหรือตีมูลค่าเหมาะสมของค่านิยมนั้น ก่อนจะนำมาประเมินมูลค่า เพราะค่าความนิยมจับต้องไม่ได้ ขายทอดตลาดออกมาไม่ได้ อย่างวิธีประเมินมูลค่าแบบ ARV (asset replacement value) ก็จะตีมูลค่าความนิยมเป็น 0 ไปเลย

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

อัพเดทล่าสุดเมื่อ : 19 กันยายน 2018

บทความที่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับผู้เขียน

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน

ห้างหุ้นส่วนจ่ายคืนทุนเป็นเงินสดหรือสินทรัพย์อื่น เป็นการจ่ายคืนทุนให้แก่หุ้นส่วนที่ลาออกเป็นเงินสดหรือสินทรัพย์อื่น ซึ่งจะมีผลทำให้สินทรัพย์และทุนของห้างหุ้นส่วนลดลงเท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายคืนทุนให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ลาออก

ถ้าการจ่ายคืนทุนต้องยืดเวลาออกไปจากวันที่ผู้เป็นหุ้นส่วนลาออก เป็นวันสิ้นงวดบัญชี ก็จะต้องทำการปิดบัญชีหุ้นส่วนที่ลาออก และตั้งเป็นบัญชีเจ้าหนี้ขึ้นแทนด้วยจำนวนเงินที่ ห้างหุ้นส่วนต้องจ่ายคืนทุน

ในวันที่หุ้นส่วนลาออก ห้างหุ้นส่วนควรปรับปรุงสินทรัพย์ให้มีราคาที่ถูกต้องด้วยมูลค่ายุติธรรม รวมถึงมูลค่าของค่าความนิยมของห้างหุ้นส่วน เพื่อให้หุ้นส่วนที่ลาออกได้รับส่วนทุน ที่ถูกต้อง การจ่ายคืนทุนให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ลาออก แบ่งออกเป็น 3 กรณีดังนี้

1. จ่ายคืนทุนเท่ากับยอดคงเหลือในบัญชีทุนของหุ้นส่วนที่ลาออก
2. จ่ายคืนทุนสูงกว่ายอดคงเหลือในบัญชีทุนของหุ้นส่วนที่ลาออก
3. จ่ายคืนทุนต่ำกว่ายอดคงเหลือในบัญชีทุนของหุ้นส่วนที่ลาออก

1. จ่ายคืนทุนเท่ากับยอดคงเหลือในบัญชีทุนของหุ้นส่วนที่ลาออก

จ่ายคืนทุนเท่ากับยอดคงเหลือในบัญชีทุนของหุ้นส่วนที่ลาออก โดยห้างหุ้นส่วนจะต้องทำการปรับปรุงสินทรัพย์ให้ถูกต้องในวันที่หุ้นส่วนขอลาออกด้วยมูลค่ายุติธรรมเสียก่อน ผลต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมกับราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ จะต้องโอนไปยังบัญชีทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนตามอัตราส่วนแบ่งผลกำไรขาดทุน และห้างหุ้นส่วนจะจ่ายคืนทุนให้หุ้นส่วนที่ลาออกด้วยยอดคงเหลือในบัญชีทุนหลังปรับปรุงสินทรัพย์แล้ว

ตัวอย่างที่ 3 ห้างหุ้นส่วน เอกโทตรี แบ่งผลกำไรขาดทุนเท่ากัน ต่อมาตรีขอลาออก งบดุล ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ซึ่งเป็นวันที่ ตรี ขอลาออกเป็นดังนี้

 

การลดค่าความนิยม

ทุนของห้างหุ้นส่วนภายหลังที่ตรีขอลาออก

เอก โท ตรี รวม
ยอดทุนก่อนที่ตรีขอลาออก 33,000  34,000  35,000  102,000 
หัก  ตีราคาสินค้าลดลง (4,000) (4,000) (4,000) (12,000)
คงเหลือ 29,000  30,000  31,000  90,000 
ห้างจ่ายคืนทุนให้ตรี
การลดค่าความนิยม
การลดค่าความนิยม
(31,000) (31,000)
ยอดทุนภายหลังจากตรีขอลาออก 29,000  30,000 
การลดค่าความนิยม
59,000 

2. จ่ายคืนทุนสูงกว่ายอดคงเหลือในบัญชีทุนของหุ้นส่วนที่ลาออก

จ่ายคืนทุนสูงกว่ายอดคงเหลือในบัญชีทุนของหุ้นส่วนที่ลาออก คือการที่ผู้เป็นหุ้นส่วน ที่ขอลาออกได้รับการจ่ายคืนทุนสูงกว่ายอดคงเหลือในบัญชีทุน อาจเกิดจากห้างหุ้นส่วนประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานซึ่งมีผลกำไรมากขึ้น ดังนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนที่คงอยู่จึงยอมคิดค่าความนิยมหรือโบนัสให้แก่หุ้นส่วนที่ขอลาออกตามข้อเรียกร้อง

2.1 วิธีโบนัส ส่วนเกินทุนของหุ้นส่วนที่ขอลาออกได้รับจากหุ้นส่วนที่คงอยู่ถือเป็นโบนัสจากหุ้นส่วนที่คงอยู่ ซึ่งจะทำให้บัญชีทุนของหุ้นส่วนที่คงอยู่ลดลงตามอัตราส่วนแบ่งผลกำไรขาดทุน

ตัวอย่างที่ 4 จิต แจ่ม และใส เป็นหุ้นส่วนกัน มีทุน 20,000 บาท 30,000 บาท และ 40,000 บาทตามลำดับ แบ่งผลกำไรขาดทุนในอัตรา 1: 2 : 2 ใสขอลาออกจากห้างหุ้นส่วน โดยห้างหุ้นส่วนจ่ายคืนทุนให้แก่ใสจำนวน 52,000 บาท จำนวนเงินที่จ่ายสูงกว่าถือเป็นโบนัสที่จิตและแจ่ม คิดให้แก่ใส

1. บันทึกโบนัสที่จิตและแจ่มคิดให้แก่ใส

 

การลดค่าความนิยม

2. บันทึกการจ่ายคืนทุนให้แก่ใส

การลดค่าความนิยม

ทุนของห้างหุ้นส่วนภายหลังที่ใสขอลาออก

จิต แจ่ม ใส รวม
ยอดทุนก่อนที่ใสขอลาออก 20,000  30,000  40,000  90,000 
หัก  จิตและแจ่มคิดโบนัสให้ใส (4,000) (8,000) 12,000 
การลดค่าความนิยม
รวม 16,000  22,000  52,000  90,000 
ห้างจ่ายคืนทุนให้ใส
การลดค่าความนิยม
การลดค่าความนิยม
(52,000) (52,000)
ยอดทุนภายหลังจากใสขอลาออก                    16,000  22,000 
การลดค่าความนิยม
38,000 

2.2 วิธีค่าความนิยม ส่วนเกินทุนที่หุ้นส่วนที่ขอลาออกได้รับจากหุ้นส่วนที่คงอยู่ ถือเป็นค่าความนิยมซึ่งมีวิธีคิดค่าความนิยม 2 วิธีคือ คิดค่าความนิยมเฉพาะหุ้นส่วนที่ขอลาออก และคิดค่าความนิยมทั้งจำนวน

ตัวอย่างที่ 5 จากตัวอย่างที่ 4 สมมติห้างจ่ายคืนทุนให้ใส จำนวน 52,000 บาท โดยส่วนที่สูงกว่าบัญชีทุน จำนวน 12,000 บาท ถือเป็นค่าความนิยมเฉพาะส่วนของใส

1. บันทึกค่าความนิยมเฉพาะส่วนของใส

การลดค่าความนิยม

2. บันทึกการจ่ายคืนทุนให้แก่ใส

การลดค่าความนิยม

ทุนของห้างหุ้นส่วนภายหลังที่ใสขอลาออก

จิต แจ่ม ใส รวม
ยอดทุนก่อนที่ใสขอลาออก 20,000 30,000 40,000  90,000 
ห้างคิดค่าความนิยมให้เฉพาะใส
การลดค่าความนิยม
การลดค่าความนิยม
12,000  12,000 
รวม 20,000 30,000 52,000  102,000
ห้างจ่ายคืนทุนให้ใส
การลดค่าความนิยม
การลดค่าความนิยม
(52,000) (52,000)
ยอดทุนภายหลังจากใสขอลาออก                    20,000 30,000
การลดค่าความนิยม
50,000 

ตัวอย่างที่ 6 จากตัวอย่างที่ 4 สมมติห้างจ่ายคืนทุนให้ใสจำนวน 52,000 บาท โดยส่วนที่สูงกว่าบัญชีทุนถือเป็นค่าความนิยม และห้างต้องการบันทึกค่าความนิยมทั้งจำนวน ค่าความนิยมของใสจำนวน 12,000 บาท ซึ่งใสมีส่วนแบ่งผลกำไรขาดทุน 2/5 ดังนั้นค่าความความนิยมของห้างจึงมีจำนวน 30,000 บาท

1. บันทึกค่าความนิยมทั้งจำนวน

การลดค่าความนิยม

2. บันทึกการจ่ายคืนทุนให้แก่ใส

การลดค่าความนิยม

ทุนของห้างหุ้นส่วนภายหลังที่ใสขอลาออก

จิต แจ่ม ใส รวม
ยอดทุนก่อนที่ใสขอลาออก 20,000 30,000 40,000  90,000 
ห้างคิดค่าความนิยมทั้งจำนวน 6,000 12,000 12,000  30,000 
รวม 26,000 42,000 52,000  120,000 
ห้างจ่ายคืนทุนให้ใส
การลดค่าความนิยม
การลดค่าความนิยม
(52,000) (52,000)
ยอดทุนภายหลังจากใสขอลาออก                    26,000 42,000
การลดค่าความนิยม
68,000 

3. จ่ายคืนทุนต่ำกว่ายอดคงเหลือในบัญชีทุนของห้างหุ้นส่วนที่ลาออก

จ่ายคืนทุนต่ำกว่ายอดคงเหลือในบัญชีทุนของห้างหุ้นส่วนที่ลาออก คือ หุ้นส่วนที่ขอลาออกอาจยอมรับเงินจ่ายคืนทุนต่ำกว่ายอดคงเหลือในบัญชีทุน เนื่องจากต้องการถอนตัวออกจากห้างหุ้นส่วนโดยเร็ว หรืออาจเกิดจากผลการดำเนินงานของห้างไม่ค่อยดี ประสบผลขาดทุนอย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนเงินที่ได้รับจากการจ่ายคืนทุนต่ำกว่าส่วนทุนนั้น อาจถือเป็นโบนัสที่คิดให้แก่หุ้นส่วนที่คงอยู่ หรือเป็นการลดค่าความนิยมของห้างหุ้นส่วนลงก็ได้

3.1 วิธีโบนัส ส่วนต่ำกว่าทุนของหุ้นส่วนที่ขอลาออก ถือเป็นโบนัสให้แก่หุ้นส่วน ที่คงอยู่ ซึ่งจะทำให้บัญชีทุนของหุ้นส่วนที่คงอยู่เพิ่มขึ้นตามอัตราส่วนแบ่งผลกำไรขาดทุน

ตัวอย่างที่ 7 จากตัวอย่างที่ 4 สมมติว่าห้างจ่ายคืนทุนให้แก่ใส จำนวน 34,000 บาท ส่วนที่ต่ำกว่าทุนของใสถือว่าเป็นโบนัสให้แก่จิตและแจ่ม

การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้

การลดค่าความนิยม

ทุนของห้างหุ้นส่วนภายหลังที่ใสขอลาออก

จิต แจ่ม ใส รวม
ยอดทุนก่อนที่ใสขอลาออก 20,000 30,000 40,000  90,000 
ใสคิดโบนัสให้จิตและแจ่ม 2,000 4,000 (6,000)
การลดค่าความนิยม
รวม 22,000 34,000 34,000  90,000 
ห้างจ่ายคืนทุนให้ใส
การลดค่าความนิยม
การลดค่าความนิยม
(34,000) (34,000)
ยอดทุนหลังจากใสขอลาออก                    22,000 34,000
การลดค่าความนิยม
56,000 

3.2 วิธีค่าความนิยม สมมติว่าห้างหุ้นส่วนมีค่าความนิยมอยู่ในบัญชีมาก่อนแล้ว การที่ใสยอมรับเงินจ่ายคืนทุนต่ำกว่ายอดคงเหลือในบัญชีทุน ให้ถือว่าเป็นการลดค่าความนิยม

ตัวอย่างที่ 8 จากตัวอย่างที่ 4 สมมติว่าห้างจ่ายคืนทุนให้แก่ใส จำนวน 34,000 บาท ส่วนที่ต่ำกว่าทุนของใส ถือว่าเป็นการลดค่าความนิยมเฉพาะส่วนของใส

1. บันทึกบัญชีลดค่าความนิยมเฉพาะส่วนของใส เป็นดังนี้

การลดค่าความนิยม

ทุนของห้างหุ้นส่วนภายหลังที่ใสขอลาออก

จิต แจ่ม ใส รวม
ยอดทุนก่อนที่ใสขอลาออก 20,000 30,000 40,000  90,000 
ลดค่าความนิยมเฉพาะส่วนของใส
การลดค่าความนิยม
การลดค่าความนิยม
(6,000) (6,000)
รวม 20,000 30,000 34,000  84,000 
ห้างจ่ายคืนทุนให้ใส
การลดค่าความนิยม
การลดค่าความนิยม
(34,000) (34,000)
ยอดทุนหลังจากใสขอลาออก                    20,000 30,000
การลดค่าความนิยม
50,000 

ตัวอย่างที่ 9 จากตัวอย่างที่ 4 สมมติว่าห้างจ่ายคืนทุนให้แก่ใส จำนวน 34,000 บาท ส่วนที่ต่ำกว่าทุนของใสถือเป็นค่าความนิยม และห้างต้องการลดค่าความนิยมทั้งจำนวน ลดค่าความนิยมเฉพาะส่วนของใสจำนวน 6,000 บาท ซึ่งใสมีส่วนแบ่งผลกำไรขาดทุน 2/5 ดังนั้นค่าความนิยมของห้างที่ลดลงทั้งจำนวน คือ 15,000 บาท

2. บันทึกบัญชีลดค่าความนิยมทั้งจำนวน เป็นดังนี้

การลดค่าความนิยม

ทุนของห้างหุ้นส่วนภายหลังที่ใสขอลาออก

จิต แจ่ม ใส รวม
ยอดทุนก่อนที่ใสขอลาออก 20,000  30,000  40,000  90,000 
ลดค่าความนิยมเฉพาะส่วนของใส (3,000) (6,000) (6,000) (15,000)
รวม 17,000  24,000  34,000  75,000 
ห้างจ่ายคืนทุนให้ใส
การลดค่าความนิยม
การลดค่าความนิยม
(34,000) (34,000)
ยอดทุนภายหลังจากใสขอลาออก                   17,000  24,000 
การลดค่าความนิยม
41,000