โครงงานกระดาษสาจากผักตบชวา

หลังจากการจัดประชุมเวทีชาวบ้าน  กลุ่มชาวบ้านได้รวมตัวกันทดลองทำกระดาษจากผักตบชวา โดยวิทยากรจากสถาบันทรัพยากรชายฝั่งสาธิตการทำ  ซึ่งหลังจากได้ลองผิดลองถูกมาจนกระทั้งได้สูตรโดยใช้กระบวนการเดียว  มีขั้นตอนที่ง่ายๆไม่ยุ่งยาก

1.เก็บผักตบชวานำไปตัดรากและล้างเอาดินโคลนออกจนสะอาด

2.นำไปตากแดด 2 - 3 วันจนแห้งเป็นสีนำตาลอ่อน

3.นำผักตบที่ได้ไปใส่หม้อต้ม ใช้ไฟสม่ำเสมอ ใช้เวลาในการต้ม 2 - 3 ชั่วโมง ระหว่างต้มให้ใส่โซดาไฟ 3 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ถัง เพื่อกัดผักตบชวาให้มีสีขาวและทำให้เปื่อยเร็ว  

4.หลังจากต้มผักตบชวาจนเปื่อยแล้วจึงนำมาล้างจนได้สีที่พอใจ นำมาทุบหรือนำลงไปปั้นในเครื่องตีให้เยื่อกระจายตัวอีกครั้ง

5.หากไม่ต้องการย้อมสี  ก็สามารถนำเยื้อกระดาษไปทำกระดาษได้เลย

6.หากต้องการกระดาษที่เป็นสี ให้นำเยื่อผักตบไปฟอกสีด้วยสารเคมีฟอกขาว (คลอรีนผง) อีกครั้ง แล้วจึงผสมสีที่ต้องการลงไป ในการย้อมสีต้องเคลือบด้วยบงบุก จึงทำให้สีติดกระดาษได้ดี

7.การทำกระดาษ ให้นำเยื่อผักตบกระจายในนำใสสะอาด  ถ้าต้องการกำหนดความหนาบางของกระดาษให้นำไปชั่งน้ำหนักก่อนนำมากระจายในน้ำ  จากนั้นใช้ตะแกรงหรือเฟรมช้อนเนื้อเยื่อกระดาษ

8.ยกจากอ่างน้ำนำไปตากแดดให้แห้งสนิท  หลังจากกระดาษแห้งสนิทดีแล้วให้กรีดออกจากเฟรม

9.นำไปพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ได้ตามที่ต้องการ

ข้อดี การนำผักตบที่สดไปตากแดดเพิ่มความเหนียวให้กับเส้นใยและคุณภาพของกระดาษดีขึ้น  ไม่ฉีกขาดง่าย

  ข้อมูลจากสถาบันทรัพยากรชายฝั่ง  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อบรมกลุ่มอาชีพที่เน้นเศรษฐกิจพอเพียงกศน.ปากพนังในวันที่ 18 มีนาคม 2552

Show

รายงานวิชาการ

เรื่อง     กระดาษจากผักตบชวา

จัดทำโดย

นางสาว  สุนีย์        พันธ์แก่น        เลขที่11

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/1

นำเสนอ

อาจารย์  สุทธิพงษ์          บุญมาก

รายงานวิชาการเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา I 30202

การสื่อสารและการนำเสนอ ( Communication  and  Presentation )

ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา  2558

โรงเรียนลมศักดฺ์วิทยาคม   อำเภอขุขันธ์   จังหวัดศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

การสื่อสารและการนำเสนอ เรื่อง  กระดาษจากผักตบชวา มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาในการศึกษาค้นคว้า ดังนี้ เพื่อหาสูตรที่เหมาะสมสำหรับการทำกระดาษจากผักตบชวาจากเส้นใยผักตบชวา  เพื่อเปรียบเทียบเนื้อกระดาษจากเส้นใยผักตบชวากับเนื้อกระดาษทั่วไป

จากการทดลองและประดิษฐ์กระดาษและการเปรียบเทียบเนื้อกระดาษเส้นใยจากผักตบชวากับกระดาษชนิดต่างๆเช่นกระดาษสา  โดยการทำแบบสอบถามขั้นตอนการประดิษฐ์ก็มี

นำผกตบชวามาบดให้ละเอียด นำมาผสมกับสารที่เตรียมไว้ แล้วนำไปต้ม ประมาณ 30 นาที ใส่สารที่เตรียมไว้แล้วนำไปฟอกเยื่อ ประมาณ 10 นาที ต่อจากนั้นนำไปตากจนแห้ง นำไปเปรียบกับกระดาษที่จะทดลองต่อไป

                การดำเนินงานศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงเรื่อง  กระดาษจากผักตบชวา  มีขั้นตอนดังนี้ 1.กำหนดชื่อเรื่องและขอบเขตของเรื่อง  2.กำหนดจุดมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้า  3.เขียนโครงเรื่อง  4.รวบรวมข้อมูล  5.จัดระเบียบและวิเคราะห์ข้อมูล  6.จำทำฉบับร่าง  7.ตรวจทานและแก้ไข  8.จัดทำฉบับจริง

กิตติกรรมประกาศ

การเขียนรายงานเชิงวิชาการเรื่อง กระดาษจากผักตบชวา  ฉบับนี้สำเร็จลงด้วยดีคณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณที่ปรึกษา  อาจารย์  สุทธิพงษ์  บุญมาก  อาจารย์โรงเรียนและบุคลากรโรงเรียนลมศักดิ์วิทยาคม  ทุกท่านที่ได้ให้คำปรึกษา  แนะแนวทางในการเขียนรายงานเชิงวิชาการครั้งนี้

ขอขอบพระคุณบิดา-มารดา  ญาติพี่น้อง  และเพื่อนๆทุกคนที่คอยให้กำลังใจและคำปรึกษาที่ดีตลอดมาหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเชิงวิชาการเรื่อง  กระดาษจากผักตบชวา ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันต่อไป

ที่มาและความสำคัญ

                              ผักตบชวา (Water   Hyacinth) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Eichhornai crassipes (Mart) เป็นพืชน้ำมีลักษณะใบประเภทใบเลี้ยงเดี่ยว ใบแผ่นกว้างมนโค้งก้านใบยาว อวบน้ำ  ดอกลักษณะเป็นช่อ ดอกสีม่วง ลอยน้ำได้ เจริญเติบโตง่ายทั้งในน้ำตื่น  น้ำขัง  หรือมีการถ่ายเทได้ และมีชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน เช่นผักปอด ,สระ ,ผักโรค, ผักยะวา ,ผักอีโยก เป็นต้น จากคุณสมบัติที่เป็นพืชที่มีเส้นใยเหนียวมาก  เมื่อนำมาทำให้แห้งจึงได้มีการนำมาทำเป็นเครื่องหัตถกรรม เช่น กระเป๋า หมวก เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีผู้นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหมัก อีกด้วย  ถึงแม้จะมีการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ แล้ว  ผักตบชวาก็ยังคงเป็นปัญหาด้านมลภาวะอยู่ดี

                               จากการที่กลุ่มของดิฉันสังเกตุผักตบชวาตามคลอง  ตามบึง  หลังบ้าน ผักตบชวาจะเป็นพืชที่มีเส้นใยเหนียวมาก  กลุ่มของดิฉันจึงเกิดไอเดียความคิดในการนำเส้นใยของผักตบชวามาทำเป็นกระดาษ  การย่อยเยื่อทำได้ 2 วิธี  คือ  การนำผักตบชวามาทุบและการนำไปตีเยื่อ  วิธีการทุบเนื้อเยื่อจะทำให้มีเยื่อที่มีเส้นใยยาวกว่าการตีปั่นเยื่อ  เมื่อนำเยื่อที่ได้มาตักเยื่อเพื่อทำเป็นแผ่นกระดาษทำการปรับปรุงคุณภาพโดยการย้อมสี และผสมน้ำแป้ง  ทดสอบคุณภาพของเนื้อกระดษาของกระดาษที่ได้กับกระดาษสาที่ขายตามท้องตลาดทั่วไปว่าคุณภาพจะแตกต่างมากเพียงใด

จุดมุ่งหมายการศึกษา

1.เพื่อหาสูตรที่เหมาะสมสำหรับกระดาษจากเส้นใยผักตบชวา

2.เพื่อเปรียบเทียบเนื้อกระดาษจากเส้นใยจากผักตบชวากันเนื้อกระดาษอื่นๆ

3.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

สมมติฐาน

1.การนำเส้นใยผักตบชวามาทำเป็นกระดาษได้เหมือนเส้นใยของกล้วยที่นำมาทำกระดาษ

2.การนำกระดาษจากผักตบชวาไปใช้ประโยชน์ได้ดีอย่างกระดาษทั่วๆไป 

ตัวแปรที่ปรึกษา

ตัวแปร  คือ   การนำเส้นใยผักตบชวาทำเป็นกระดาษ

ตัวแปนตาม   คือ  คุณภาพเนื้อกระดาษที่ทำจากผักตบชวา

ตัวแปรควบคุม  คือ  ปริมาตรของสาร

เอกสารและงานที่เกี่ยวข้อง

            การศึกษาครั้งนี้   ได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเนื้อหาของเอกสารวิจัยในหัวข้อต่างๆ  ดังนี้

1.บำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา

2.ศิลปหัตถกรรม

3.ขั้นตอนการทำกระดาษ

บำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา

     การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการปรับปรุงคุณภาพของแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้ว เช่น บึงและหนองต่างๆ เพื่อทำเป็นแหล่งบำบัดน้ำเสีย โดยหนึ่งในจำนวนนั้นได้แก่ โครงการบึงมักกะสันอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีหลักการบำบัดน้ำเสียตามแนวทฤษฎีการพัฒนาโดยการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา (Filtration) 

     โครงการบึงมักกะสัน บึงมักกะสัน เป็นบึงขนาดใหญ่ที่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร รวมพื้นที่บึงประมาณ ๙๒ ไร่ เป็นแหล่งน้ำอยู่ในเขตโรงงานรถไฟมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ขุดขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ เพื่อใช้เป็นแหล่งระบายน้ำและรองรับน้ำเสีย รวมทั้งน้ำมันเครื่องจากโรงงานรถไฟมักกะสัน ทำให้บึงมักกะสันตื้นเขิน จากการตกตะกอนของสารแขวนลอย

ศิลปหัตถกรรม  

 คุณพิมพ์แก้ว กิติรันต์ธนโชติ เจ้าของผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาไม้ตรา อำเภอบางไทร จังหวัดอยุธยา เท้าความที่มาของงานศิลป์ชนิดนี้ว่า เมื่อก่อนเคยทำงานอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์หวาย ต่อมาราวปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ โรงงานจำต้องปิดตัวลง และผลพลอยได้จากการว่างงานครั้งนี้ คือ ได้เห็นผักตบชวาลอยเกลื่อนในแม่น้ำเจ้าพระยาทุกวัน เลยค้นหาวิธีใช้ประโยชน์จากพืชชนิดนี้

ขั้นตอนการทำกระดาษ

          การทำกระดาษด้วยมือส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นการทำกระดาษเพื่อใช้ในงานหัตถกรรม ซึ่งมีวัตถุดิบจากพืชหลายชนิด แต่ก่อนกระดาษจะทำจากเปลือกไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่นถ้าใช้เปลือกข่อยก็จะเรียกสมุดข่อย ใช้เปลือกสาก็จะเรียกสมุดปอสา พืชทั้งหลายที่เป็นผักและผลไม้เมื่อนำไปบริโภคแล้ว ยังมีส่วนที่ยังตกค้างอยู่ในแปลงปลูกที่ยังไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ นอกการจากการเผาทำลายทิ้งทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ และส่งเสริมให้เกิดภาวะโลกร้อน จึงขอแนะนำวิธีการทำกระดาษจากเศษเหลือทางการเกษตร ตัวอย่างเช่น ใบและกาบกล้วย ใบสับปะรด ฟางข้าว ผักตบชวา ปอสา เป็นต้น นอกจากพืชที่กล่าวมาแล้วยังมีพืชอีกหลายชนิดที่สามารถนำมาทำกระดาษได้ 

1.การเตรียมวัตถุดิบ

2.การล้างเยื่อ

3.การฟอกเยื่อ

4.การกระจายเยื่อ (ตีเยื่อ)

 5.การทำแผ่นกระดาษ

วิธีการทำกระดาษ

1. เตรียมผักตบชวา

2. นำผักตบชวาไปหั่นเป็นชิ้นยาวประมาณ นิ้ว นำไปใส่ ภาชนะที่ใช้ต้ม ใส่ผักตบชวาหั่น กิโลกรัม เติมน้ำประมาณ 

    7 ลิตร

 3. ใส่โซดาไฟ

 4. นำไปต้มประมาณ ชั่วโมง จะเห็นได้ว่าผักตบชวาที่ต้ม แล้วจะยุ่ย

 5. แล้วนำมาล้างออกด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง

6. นำมาฟอกขาวด้วยไอโดเจนเปอร์ออกไซด์ ที่ผสมสบู่ โซเดรียมซิลิเกต ต้มนานประมาณ 1/2 ชั่วโมง จึงนำมา ล้าง

ออก

7.  นำมาย้อมด้วยสีย้อมผ้า ต้มนานประมาณ 1/2 ชั่วโมง นำมาล้างออก

8.  เตรียมอ่างที่จะใช้เตะกระดาษนำเฟรมรองไว้ใต้อ่าง  ใส่น้ำให้ท่วมขอบเฟรม เทผักตบชวาที่ปั่นแล้วลงในอ่าง

9.  ใช้มือตีปุยของผักตบชวาให้กระจายๆ ให้ทั่วเฟรม แล้วค่อยๆ ยกเฟรมที่อยู่ข้างล่างขึ้นทีละข้างให้ปุย ผักตบชวาไล่ 

      ระดับให้เต็มเฟรม

10. ยกขั้นตากแดด

วิธีดำเนินการศึกษา

ระเบียบที่ใช้ในการศึกษา

                ในการศึกษาใช้รูปแบบการสำรวจ  สืบค้นข้อมูล  จากหนังสือ  อินเตอร์เน็ต และการประดิษฐ์

ผู้ศึกษาได้ดำเนินขั้นตอนดังนี้

1.กำหนดเรื่องที่จะศึกษาโดยสมาชิกทั้ง 2 คนประชุมร่วมกัน  และร่วมกันคิดและวางแผนว่าจะศึกษาเรื่องใด

2.สำรวจประเด็จที่จะจัดทำโดยเลือกเรื่องที่สมาชิกในกลุ่มสนใจ  เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงาน

3.ตั้งชื่อเรื่อง

4.สมาชิกทั้ง คนในกลุ่ม พบอาจารย์สอนเพื่อปรึกษา วางแผน และรับฟังความคิดเห็น ปรับปรุงแก้ไข

5.เขียนความสำคัญ ความเป็นมาของเรื่องที่จะทำ  วัตถุประสงค์  สมมติฐาน ของเขตการวิจัยและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้

    รับ  โดยศึกษาข้อมูลจากหนังสือ  วิทยานิพนธ์และสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต  และจดบันทึกในโครงร่างรายงาน

     วิชาการ

6.สร้างเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถาม

7.นำเครื่องมือที่ปรับปรุงแล้วไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง

8.รวบรวมข้อมูล

9.วิเคราะห์ข้อมูล

10.สรุปการศึกษา

                                                                          เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

เครื่องมือใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือคือ  แบบสอบถามความคิดเห็น ฉบับ มี ตัวเลือกคือ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย

ผลการวิเคราะห์

สรุปแบบสอบถาม

               ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างบุคลากรและนักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

สรุปได้ดังนี้

      -เพศชาย =50%  , เพศหญิง= 50%

      -ช่วงอายุ13-16= 35% , อายุ   17-20=50% , อายุมากกว่า 20=15%

      -ระดับการศึกษาระดับมัธยมต้น= 25% , ระดับมัธยมปลาย=45% , ระดับปริญญาตรี=20% ,ระดับปริญญาตรีขึ้น

        ไป=10%

      -เคยใช้กระดาษสา= 70% , เคยใช้กระดาษกล้วย =15% , เคยใช้กระดาษหนังช้าง=15%

      -นำกระดาษไปใช้ประโยชน์เป็นกล่องของขวัญ=25% , ทำกรอบรูป = 35% , ทำอื่นๆ= 40%

        และสามารถสรุปความคิดเห็นได้ดังตาราง

สรุป  อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

                จากการศึกษาครั้งนี้  สามารถสรุปผล  อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ได้ดังนี้

สรุปผลการศึกษา

                ผลการศึกษาแบบสอบถามความคิดเห็นของบุคลากรและนักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  ในการเปรียบเทียบกระดาษผักตบชวากับกระดาษสา ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.5 เห็นด้วย  และร้อยละ 46.5  ไม่เห็นด้วย

อภิปรายผล

จากการศึกษาพบว่า(ความคิดเห็น) ในการเปรียบเทียบกระดาษผักตบชวากับกระดาษสาอยู่ในระดับเห็นด้วย  คิดเป็นร้อยละ 53.3

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้

1.สามารถนำไปศึกษากับกลุ่มตัวอย่างอื่นได้

2.ควรมีช่วงเวลาในการศึกษามากขึ้น

3.ควรมีการต่อยอดในส่วนมี่ได้ศึกษาค้นคว้ามาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

4.ควรที่จะนำองค์ความรู้ที่ได้ศึกษามาไปประกอบเป็นอาชีพเสริม

5.ในขั้นตอนการทำกระดาษสามารถประยุกต์ใช้ เช่นการนำกระดาษเหลือ

ใช้ไปผสมกันแล้วนำมารีไซเคิลกระดาษใหม่ได้

6.ควรมีการประดิษฐ์กระดาษในรูปแบบสีสันแตกต่างกันออกไปเพื่อความหลากหลายในชิ้นงาน

ผักตบชวา ในสระ

นั้งตัด ผักตบชวา ไห้มีชิดเล็กเล็ก

เมื่อตัดเรียบร้อยแล้ว ก็นำมาบดให้ละเอียด

 บดเรียบร้อย นำมาไส่กาลามัง ร่วมกัน ไห้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วเอาตะแครงตักขึ้นมา ไห้เป็นแผ่นเดียวกัน

ตากเรียบร้อยเป็นแผ่น แล้วแกะออก

เรียบร้อย

ข้อขอบคุณ
 ร.ร  หาดใหญ่ประชาสรรค์  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา ที่กรุณาข้อมูลเป็นอย่างดี ในการทำโครงงานในครั้งนี้ ข้อขอบคุณเป็นอย่างสูง

โครงงานกระดาษสาจากผักตบชวา

โครงงานกระดาษสาจากผักตบชวา

โครงงานกระดาษสาจากผักตบชวา

โครงงานกระดาษสาจากผักตบชวา

โครงงานกระดาษสาจากผักตบชวา

โครงงานกระดาษสาจากผักตบชวา

โครงงานกระดาษสาจากผักตบชวา