Uniformity คือ แนวทาง ในการ ตรวจ สอบ ความผิดปกติของข้อมูล ชนิด ใด

6.4 การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

        หลังจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การตรวจสอบข้อมูลเพื่อหาความผิดปกติของข้อมูลบางตัวก่อนทำการวิเคราะห์ข้อมูล  กระบวนการนี้อาจต้องอาศัยบุคคลและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกันเพื่อลดความผิดพลาด ซึ่งข้อควรปฏิบัติในการตรวจสอบข้อมูลสามารถทำได้ดังนี้

        6.4.1 Field Edit เป็นการตรวจสอบข้อมูลในขณะเวลาเดียวกันกับการดำเนินการสอบถามกลุ่ม ตัวอย่าง เช่น ผู้สัมภาษณ์ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับจากตัวอย่างในเวลาเดียวกันกับการสอบถาม ถ้าพบว่ายังมีคำตอบส่วนไหนที่ยังไม่สำบูรณ์ก็ให้รีบดำเนินการแก้ไขเสียในเวลานั้น ซึ่งการตรวจสอบลักษณะนี้เป็นการตรวจสอบในขณะปฏิบัติการจริง

        6.4.2 Central Office Edit เป็นการตรวจสอบข้อมูลภายหลังจากการได้รับแบบสอบถามทั้งหมดกลับคืนมาแล้ว โดยนำแบบสอบถามทั้งหมดที่ได้รับมาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง เพราะมีความเป็นไปได้สูงที่แบบสอบถามบางชุดอาจจะมีคำตอบที่ไม่สมบูรณ์ หรือการจดคำตอบของผู้สัมภาษณ์ไม่ชัดเจนในกรณีที่มีการสัมภาษณ์ส่วนตัวหรือลักษณะคำถามที่เป็นแบบเปิดยังไม่ถูกต้อง กรณีนี้จะต้องตรวจสอบเพื่อดำเนินการแก้ไข ซึ่งบางครั้งตองดำเนินการสัมภาษณ์ใหม่ หรือคำถามที่ยังไม่ได้รับคำตอบใหม่

        ในบางกรณีที่พบว่าข้อมูลในแบบสอบถามบางชุดมีค่าที่สูงหรือต่ำกว่าค่าปกติทั่วไป จะต้องใช้วิจารณญาณตัดสินได้ว่าค่าที่ได้รับสูงหรือต่ำผิดปกติเหล่านั้นจะนำมาวิเคราะห์ด้วยหรือไม่ การตัดสินใจส่วนตัวหรืออคติต่อคำตอบที่ได้รับ ในการตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถามสามารถสรุปเป็นวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ 5 ประการ คือ

        1. ความถูกต้อง (Legibility) ในการเดินการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ข้อมูลต้องมีความถูกต้อง ถ้าข้อมูลใดพบว่าไม่มีความชัดเจน จะต้องติดต่อกับผู้ให้สัมภาษณ์เพื่อยืนยันการลงบันทึกข้อมูล ถ้าพบข้อมูลที่ได้รับมาผิดพลาดคลานเคลื่อน คำตอบที่ได้รับควรลงรหัสเป็น Missing Data ดังนั้นข้อมูลใดๆไม่มีความชัดเจนก็จะถูกคัดออกไป ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ลงรหัสสามารถลงรหัสข้อมูลได้โดยปราศจากความลังเลใดๆ

        2. ความสมบูรณ์ (Completeness) การตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลที่ได้รับเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่งของการตรวจสอบ ซึ่งจะต้องติดต่อกับผู้ดำเนินการเก็บข้อมูล หรือผู้สัมภาษณ์เพื่อตรวจสอบยืนยันรายงาน หรือการลงบันทึกข้อมูลอีกครั้ง หรือาจต้องกลับไปสัมภาษณ์หรือเก็บข้อมูลที่ยังไม่สมบูรณ์นั้นใหม่จากผู้ตอบคนเดิม ถ้าสามารถทำได้ แต่ถ้าไม่สามารถติดตามได้อาจให้ผู้ลงรหัสกำหนดรหัส Missing Data สำหรับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์นั้น หรือคัดแบบสอบถามุดนั้นออกไปจากการวิเคราะห์ข้อมูล หรือเก็บข้อมูลใหม่

        3. ความสอดคล้อง (Consistency) เป็นการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืน ไม่ขัดแย้งกันเองของข้อมูลที่ได้รับกลับคืนมา การตรวจสอบความสอดคล้องของคำตอบทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลนั้นมีความถูกต้อง ถ้าเห็นว่าเกิดความไม่สอดคล้องกันของข้อมูลต้องพิจารณาว่าจะดำเนินการคัดแบบสอบถามชุดนั้นออกไปหรือลงรหัสเป็น Missing Data

        4. ความเที่ยงตรง (Accuracy) เป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่งของการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งต้องสังเกตรูปแบบการตอบของผู้ตอบคำถาม เช่น การตอบคำถามข้อที่ 1 สลับกันกับข้อที่ 3 ข้อมูลลักษณะนี้ถือว่าเกิดความไม่เที่ยงตรง ถ้าพบแบบสอบถามลักษณะนี้ควรจะคัดแบบสอบถามชุดนั้นออก

        5. การได้รับคำตอบที่ชัดเจน (Response Clarification) สำหรับการตอบแบบสอบถามที่มีลักษณะปลายเปิด ผู้ลงรหัสอาจเกิดความยุ่งยากในการลงรหัส เพราะการบันทึกหรือการเขียนคำตอบไม่ชัดเจนเพียงพอ คำตอบที่ได้รับสั้นเกินไปจึงไม่สามารถให้ความหมายได้ หรือคำตอบกำกวม การแก้ไข คือ ต้องสอบถามผู้ดำเนินการสัมภาษณ์ว่าประโยคที่ลงบันทึกข้อมูลที่ไม่ชัดเจนนั้นมีความหมายว่าอย่างไร ซึ่งวิธีการทำงานที่ถูกต้อง คือ ต้องฝึกฝนหรือให้การอบรมผู้สัมภาษณ์ก่อนที่จะส่งออกไปสัมภาษณ์จริง  และเน้นให้ทราบถึงความสำคัญของการบันทึกข้อมูลที่ต้องมีความชัดเจน เพื่อที่จะไม่ให้เกิดความยุ่งยากในการให้ความหมายและการลงรหัสต่อไป