บทความปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการ

Abstract:

ครอบครัวเป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของเด็ก วัตถุประสงค์ของการวิจัย เชิงพรรณนาความสัมพันธ์นี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กและแนวโน้มการใช้ความรุนแรงของครอบครัวที่มีเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบิดาหรือมารดาที่มีบุตรอายุ 1 ถึง 6 ปี ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ประมงและท่องเที่ยว จังหวัดชลบุรี จำนวน 408 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับความเครียดของบิดามารดา ความซึมเศร้าของบิดามารดา การสื่อสารในครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว แนวโน้มการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก และความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การศึกษาของบิดามารดา รายได้ครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว และการสื่อสารในครอบครัว (r = .32, .22, .15, และ .36 ตามลำดับ, p<.05) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุของบิดามารดา ความเครียดของการเป็นบิดามารดา ความซึมเศร้าของบิดามารดา (r =-.17, -.23, -.27 ตามลำดับ, p<.05) นอกจากนี้ ปัจจัยทีมี่ความสัมพันธ์ทางบวก กับแนวโน้มการใช้ความรุนแรงต่อเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความเครียดของการเป็นบิดามารดา ความซึมเศร้าของบิดามารดา (r = .41, และ .67 ตามลำดับ, p<.05) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับแนวโน้มการใช้ความรุนแรงต่อเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การศึกษาของบิดามารดา รายได้ครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว และการสื่อสารในครอบครัว และความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก (r = -.16, -.12, -.42, -.40 และ -.27 ตามลำดับ, p<.05) สรุปว่าการเพิ่มความรู้ เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กแก่บิดามารดาจะส่งผลให้ครอบครัวมีแนวโน้มใช้ความรุนแรงต่อเด็กน้อยลง ดังนั้นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการลดความรุนแรงต่อเด็ก มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลากรทางสุขภาพจะต้องเข้าใจบริบทครอบครัวในด้านการศึกษาของบิดามารดา รายได้ครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว การสื่อสารในครอบครัว ความเครียดและความซึมเศร้าของบิดามารดา ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กแก่บิดามารดา และแนวโน้มใช้ความรุนแรงต่อเด็ก Family is the important environment influencing a child health and development.The purpose of this correlational research was to examine the relationship between selected factors and knowledge about child development and child-abuse risk in families with young children. The sample consisted of 408 parents with children between 1-6 years of age living in industrial, agricultural, fishery, and tourist areas in Chonburi Province. The sample was obtained with the cooperation of the local administrative organization in each sub-district with the consent of each family. The measurement instruments used in this study were six questionnaires consisting of the followings: PSI; family communication; child-abuse risk; CES-D; family relations; and knowledge about child development. Descriptive statistics, including percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation, were performed for data analysis. The results showed that knowledge about child development had a significantly positive relationship with parent's education, family income, family relationship, and family communication (r =.32, .22, .15, and .36 respectively, p<.05), but had significantly negative relationship with parents age, parenting stress, and parent depression (r = -.17, -.23, and -.27 respectively, p<.01). Child abuse risk had a significantly positive relationship with parenting stress and parent depression (r = .41 and .67 respectively,p<.05), but had a significantly negative relationship with parent's education, family income, family relationship, family communication, and knowledge about child development (r = -.16, -.12, -.42, -.40 and -.27 respectively, p<.05). Increasing knowledge about child development might reduce child-abuse risk in families. Therefore, promoting child development, it is essential for nurses to understand the context of the family, particularly in the areas of parent's education, parent stress and depression, family communication, knowledge about child development, and child-abuse risk.

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งการส่งเสริมพัฒนาการของวัยรุ่นอย่างตรงจุด อาจเป็นวิธีที่จะช่วยให้วัยรุ่นสามารถเจริญเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พ่อแม่จึงควรรู้ถึง ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น ทั้ง 6 ปัจจัย คือ ปัจจัยทางชีวภาพ สภาพจิตใจและอารมณ์ โภชนาการ การเลี้ยงดูของครอบครัว ภาวะสุขภาพ และสภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจมีทั้งปัจจัยตามธรรมชาติที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และปัจจัยที่สามารถส่งเสริม จัดการให้สามารถพัฒนาไปในทางที่ดีได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของวัยรุ่นที่ก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต

การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น มีความสำคัญอย่างไร

การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นที่เหมาะสมตามวัย อาจมีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่กำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เนื่องจากวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่ต้องมีการปรับตัวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก จึงอาจทำให้มีความอ่อนไหวง่ายทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต บ่อยครั้งที่ปัจจัยต่าง ๆ อาจกระตุ้นให้วัยรุ่นเกิดความเครียด กดดัน และวิตกกังวล จนอาจก่อให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสมของวัยรุ่น

6 ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น ในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา อาจมีดังนี้

  1. ปัจจัยทางชีวภาพ

ปัจจัยทางชีวภาพเป็นปัจจัยภายในที่ได้รับมาตั้งแต่กำเนิดและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน เพศ ลักษณะรูปร่าง พื้นฐานอารมณ์ สภาพร่างกาย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจมีผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายของวัยรุ่น เช่น ส่วนสูง รูปร่าง สีผม สีตา สีผิว และอาจมีผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม เช่น นิสัยพื้นฐาน การเข้าสังคม พฤติกรรม การเรียนรู้ บุคลิกภาพ หรือแม้แต่โรคที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคอ้วน ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยพื้นฐานทางชีวภาพสามารถพัฒนาได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูของครอบครัว ซึ่งอาจดึงเอาความสามารถเฉพาะตัวของเด็กแต่ละคนออกมาได้

  1. สภาพจิตใจและอารมณ์

สภาพจิตใจและอารมณ์ของวัยรุ่นถือเป็นสิ่งที่สำคัญต่อพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ เนื่องจากวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและระบบประสาท ที่มีผลต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ ส่งผลให้วัยรุ่นเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง ต้องการความเป็นอิสระ มีความนับถือตัวเองมากขึ้น และต้องการสร้างเอกลักษณ์ของตัวเอง จนบางครั้งอาจเกิดเป็นพฤติกรรมต่อต้านพ่อแม่ หรืออาจเกิดความเครียด ความกดดันและความวิตกกังวลจากความคาดหวังของครอบครัว หรือการเปรียบเทียบในสังคม สิ่งเหล่านี้อาจทำให้สภาพจิตใจและอารมณ์ของวัยรุ่นย่ำแย่ จนอาจกระทบต่อสุขภาพร่างกายและการเจริญเติบโต เช่น การเก็บตัว ไม่รับประทานอาหาร นอนไม่หลับ

  1. โภชนาการอาหาร

วัยรุ่นมีการเจริญเติบโตทางร่างกายอย่างรวดเร็ว การได้รับโภชนาการอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อใช้เป็นพลังงาน และช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก นอกจากนี้ โภชนาการอาหารยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาสมอง ดังนั้น วัยรุ่นจึงควรรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่หลากหลายและครบ 5 หมู่ ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน แร่ธาตุ และไขมัน เพื่อให้การเจริญเติบโตของร่างกายและสมองพัฒนาอย่างสมบูรณ์แข็งแรง

สำหรับวัยรุ่น อายุ 9-18 ปี แนะนำให้ผู้หญิงควรได้รับพลังงาน 1,400-2,400 แคลอรี่/วัน และผู้ชายควรได้รับพลังงาน 1,600–3,200 แคลอรี่/วัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในการใช้เป็นพลังงานสำหรับดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของร่างกาย

  1. การเลี้ยงดูของครอบครัว

การเลี้ยงดูของครอบครัวมีผลต่อพัฒนาการทางจิตใจและสังคมของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น การเลี้ยงดูด้วยการให้ความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ และการเอาใจใส่เป็นอย่างดี อาจช่วยให้เด็กเกิดความสนิทสนมและไว้ใจคนในครอบครัว จนเกิดเป็นความรักความผูกพันที่ดี นอกจากนี้ หากครอบครัวเป็นที่ปรึกษาที่ดีก็อาจช่วยให้วัยรุ่นมีทักษะในการใช้ชีวิตและพัฒนาตนเองได้มากขึ้น ในทางกลับกัน หากครอบครัวไม่ดูแลเอาใจใส่ ละเลยความรู้สึก หรือใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว อาจทำให้วัยรุ่นซึมซับพฤติกรรมไม่ดี เกิดความเศร้าทางจิตใจที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตในอนาคต

นอกจากนี้ หากครอบครัวดูแลเด็กมากเกินไป ไม่ปล่อยให้เด็กตัดสินใจด้วยตัวเอง เข้าข้างเด็กในเรื่องที่ผิด หรือไม่ปล่อยให้เด็กได้เรียนรู้การใช้ชีวิตของตัวเอง ก็อาจทำให้วัยรุ่นไม่สามารถจัดการกับปัญหาในชีวิตของตัวเองในอนาคตได้ และต้องพึ่งพาคนในครอบครัวต่อไปเรื่อย ๆ

  1. ภาวะสุขภาพ

ภาวะสุขภาพที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บหรืออุบัติเหตุ อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นได้ โดยโรคภัยไข้เจ็บหรือโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นเป็นเวลานาน อาจบั่นทอนสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต นอกจากนี้ อุบัติเหตุที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บจนต้องเข้ารับการรักษาเป็นเวลานาน หรืออาจต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วนไป อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อสภาพจิตใจ และอาจเชื่อมโยงไปถึงสุขภาพร่างกายและการเจริญเติบโตของวัยรุ่นได้ เช่น วัยรุ่นที่สูญเสียขาจากอุบัติเหตุอาจเกิดความเศร้าทางจิตใจจนอาจไม่อยากรับประทานอาหาร

  1. สิ่งแวดล้อมภายนอก

สิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น สภาพที่อยู่อาศัย สภาพสังคม สภาพเพื่อนบ้าน สภาพเศษฐกิจ การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม เป็นปัจจัยที่อาจมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการทางจิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของวัยรุ่น โดยส่วนใหญ่จะเห็นได้ว่าเด็กที่มีสภาพที่อยู่อาศัย สถานะทางการเงินหรือการศึกษาที่ดี อาจมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้มากกว่าเด็กที่ขาดทุนทรัพย์ หรือไม่ได้รับการศึกษาที่ดีมากพอ

นอกจากนี้ สภาพสังคมโดยรอบก็อาจมีส่วนในการชี้นำหรือขัดเกลาให้วัยรุ่นเดินไปทางที่ผิดหรือถูกได้เช่นกัน ดังนั้น ปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น