พฤติกรรมทั่วไปของนักเรียน หมายถึง

พฤติกรรมทั่วไปของนักเรียน หมายถึง

     ในชั้นเรียนรวมทั่ว ๆ ไป  จะมีเด็กที่มีความสามารถทางการเรียน  ลักษณะนิสัย  อารมณ์  และการแสดงออกของพฤติกรรมต่างกัน  ครูส่วนใหญ่ยอมรับว่าเด็กที่มีพฤติกรรมรบกวนชั้นเรียน  หรือพฤติกรรมที่ครูรู้สึกว่าเป็นปัญหาในชั้นเรียนอย่างน้อยหนึ่งคนในแต่ละห้อง  ครูจะต้องจัดการชั้นเรียนและแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในชั้นเรียนของตนเป็นปกติอยู่แล้ว  เมื่อมีเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมอยู่ด้วยครูจะกังวลเพิ่มขึ้น  กลัวว่าจะพบปัญหาที่จะต้องแก้ไขมากขึ้น  แม้ว่าในหลายกรณีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในชั้นเรียนไม่ได้เกิดจากเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่เข้าไปเรียนก็ตาม

ปัญหาของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม

        พฤติกรรมที่เป็นปัญหาในชั้นเรียนทั่วไป  ตั้งแต่ชั้นเรียนระดับอนุบาลไปจนถึงระดับชั้นมะยมศึกษา  ในชั้นเด็กเล็กๆ  อาจพบปัญหาเกี่ยวกับการกิน  การนอน  ไม่เชื่อฟัง  เจ้าอารมณ์   อยู่ไม่นิ่ง  ไม่มีสมาธิ  พูดไม่ชัด  ไม่พูด  เป็นต้น  ในระดับประถมศึกษา  ได้แก่  พฤติกรรมก้าวร้าว ไม่ปฏิบัติตามกติกา  ซึมเศร้า  วิตกกังวล  เครียด  ก่อกวน  พูดปด  ไม่สนใจการเรียน  ไม่ชอบเรียน  ในระดับมัธยมศึกษา  จะมีปัญหาทางอารมณ์  พฤติกรรมต่อต้าน  และผิดกฎระเบียบเพิ่มขึ้นจากปัญหาพฤติกรรมในระดับประถมศึกษา

ลักษณะของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา

       พฤติกรรมที่ครุสังเกตเห็นได้ง่าย  และรู้สึกว่าเป็นปัญหามากกว่าพฤติกรรมอื่น ๆ  คือ  ลักษณะทางอารมณ์รุนแรง  พฤติกรรมก่อกวน  อยู่ไม่นิ่ง  พฤติกรรมหลายอย่างที่มองเห็นไม่ชัดเจน  ต้องใช้เวลาในการสังเกต  อาจจะเป็นพฤติกรรมที่เป็นปัญหา  เช่น  เด็กเงียบเฉย  แยกตัว  เก็บกดอารมณ์  แต่พฤติกรรมบางอย่างที่ดูเหมือนจะเป็นปัญหา  ก็อาจจะไม่ใช่พฤติกรรมที่เป็นปัญหาที่แท้จริง  การจะบอกว่าพฤติกรรมเป็นปัญหาหรือไม่  อาจตีความได้ต่างกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก  เช่น  แพทย์  นักจิตวิทยา  ผู้ปกครอง  และครุ  โดยเฉพาะครุกับพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กในโรงเรียนมากที่สุด  อาจมองว่าพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งเป็นปัญหา  หรือสาเหตุของปัญหาคืออะไรได้แตกต่างกัน  จึงต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันเป็นเบื้องต้น

วิธีการจัดการพฤติกรรมเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

                ขอเน้นว่าไม่มีวิธีการเฉพะหรือวิธีการพิเศษใด ๆ สำหรับแก้ปัญหาทางพฤติกรรมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ วิธีการที่ใช้คือวิธีการเดียวกันกับการจัดพฤติกรรมของเด็กทั่วไป

การจัดพฤติกรรมอาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ

          ระดับที่ 1 การป้องกันพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในชั้นเรียน โดยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับเด็ก ให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อครู ต่อห้องเรียน ต่อการเรียน เป็นวิธีการที่ต้องจัดการเป็นอันอับแรกซึ่งครูจะทำไปพร้อมกับกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนรวมทั้งชั้น

              ระดับที่ 2 การคิดหาวิธีการแก้ปัญหา หรือจัดการพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เมื่อเด็กคนใดมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเกิดขึ้น ครูจะต้องสามารถจัดการให้เด็กเรียนรู้ใหม่ เกิดพฤติกรรมใหม่ที่ดีกว่าเดิม และถ้าเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าที่เป็นผลเสีย หรือเห็นอันตราย ครูจะสามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม ไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อตัวเด็กและคนอื่น ๆ หรือเกิดผลเสียน้อยที่สุด

          ระดับที่ 3 การใช้วิธีจัดการพฤติกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างที่เป็นปัญหา โดยการลดพฤติกรมที่ไม่พึงประสงค์ลง และเพิ่มพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นอย่างถาวร

                การจัดการพฤติกรรมที่กล่าวเหล่านี้ไม่สามารถแบ่งเป็นระดับได้ชัดเจน พฤติกรรมบางอย่างของเด็กบางคนอาจป้องกันหรือจัดการได้จากวิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและการจัดการชั้นเรียนที่ดีในห้องเรียน และพฤติกรรมหลายประการต้องอาศัยการจัดพฤติกรรมเฉพาะหน้า และการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ครูจำเป็นต้องมีความสามารถในการจัดการพฤติกรรมโดยวิธีการทั้ง 3 ระดับไปพร้อมกัน

 ข้อควรคำนึงก่อนการจัดพฤติกรรม

            สิ่งที่ครูทุกคนควรรู้และเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กในชั้นเรียนรวมมีหลายประการต่อไปนี้

ครูต้องมีข้อมูลเด็กทุกคน รู้ว่าเด็กคนใดมีความบกพร่อง ต้องการความช่วยเหลือพิเศษในลักษณะใดบ้าง การจัดการพฤติกรรม ปัญหาคือ พฤติกรรมไม่ใช่ เด็กเป็นปัญหา การคิดเช่นนี้จะช่วยให้การจัดการพฤติกรรมตรงประเด็น ศึกษาว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนเป็นผลมาจากความบกพร่องเฉพาะตัวของเด็กหรือเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมหรือมาจากตัวครู พฤติกรรมที่ครูคิดว่าเป็นปัญหานั้นเกี่ยวข้องกับการจัดหลักสูตร เนื้อหาในการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นเบื้องต้น พฤติกรรมของเด็กสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยใช้วิธีการสร้างความรู้สึกที่ดีให้เกิดขึ้น และใช้วิธีการทางบวกในการแก้ปัญหา

      การจัดการชั้นเรียนโดยวิธีการที่กล่าวมานี้ จะสามารถลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาหลายประการลง และจะป้องกันพฤติกรรมที่เป็นปัญหาจำนวนมากที่จะเกิดขึ้นในชั้นเรียนที่ครูอาจควบคุมไม่ได้ การจัดการชั้นเรียนเป็นสิ่งที่ครูทำควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอนตลอดเวลาในชั้นเรียน

ขอบคุณข้อมูลจาก oknation

พฤติกรรมการเรียนหมายถึงอะไร

โสภา ชูพิกุลชัย (2528, หน้า 111) ให้ความหมายของพฤติกรรมการเรียน หมายถึง การ กระท า หรือกิจกรรมที่นักเรียนแสดงออกในด้านการเรียน การตอบสนองหรือปฏิกิริยาที่ นักเรียนมีต่อประสบการณ์ สิ่งแวดล้อมในขณะที่เรียนด้วย ดังนั้นพฤติกรรมการเรียนของ นักเรียนนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของนักเรียนเป็นส าคัญ

พฤติกรรมการเรียนของนักเรียน มีอะไรบ้าง

ตัวแปรต้น คือ เพศ และชั้นปี ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมการเรียน 10 ด้าน ได้แก่ 1) ทัศนคติในการเรียน (Attitude) 2) แรงจูงใจในการเรียน (Motivation) 3) การจัดการกับเวลาในการเรียน (Time Management) 4) ความวิตกกังวลในการเรียน (Anxeity in learning) 5) การมีสมาธิและการเอา ใจใส่ในการเรียน (Concentration) 6) กระบวนการรวบรวมข้อมูล ( ...

พฤติกรรม Molar หมายถึงอะไร

พฤติกรรมโมลาร์ (Molar Behavior) หมายถึงพฤติกรรมที่มีหน่วยใหญ่ สามารถสังเกตได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วย พฤติกรรมโมเลกุลาร์ (Molecular Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่มี หน่วยเล็ก ต้องอาศัยเครื่องมือ เพราะ ไม่สามารถสังเกตหรือรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสธรรมดา

พฤติกรรมหมายถึงอะไรบ้าง

พฤติกรรม(Behavior)หมายถึง การกระทำหรือการแสดงออกของสัตว์ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือสิ่งที่มากระตุ้น (Stimulus) อาจจะเกิดขึ้นทันทีหรือเกิดขึ้นหลังจากที่ถูกกระตุ้นมาแล้วระยะหนึ่ง ** พฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อและฮอร์โมน **