วิจัยในชั้นเรียน สังคมศึกษา ป. 1

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง ศึกษาพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบและหาแนวทางแก้ไขปัญหาการไม่ส่งงาน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์admin2021-08-25T10:17:38+00:00


VersionDownload5843Total Views10348Stock∞File Size2.01 MBFile Type

วิจัยในชั้นเรียน สังคมศึกษา ป. 1
Create Date24 สิงหาคม, 2021Last Updated25 สิงหาคม, 2021Download

ผู้วิจัย นายอดินันท์ ศรีชมภู

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง ศึกษาพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบและหาแนวทางแก้ไขปัญหาการไม่ส่งงาน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผู้วิจัย นายอดินันท์ ศรีชมภูอาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ บัญชา นวยสาย และอาจารย์ ดร.โกวิท วัชรินทรางกูรสถานศึกษา:โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ปีที่พิมพ์ :2564

  บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์พรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม
ด้านความรับผิดชอบและหาแนวทางแก้ไขปัญหาการไม่ส่งงานโดยใช้หลักทฤษฎีเสริมแรงทางบวก
ในวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนสาธิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โดยการเลือกแบบเจาะจง
จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เครื่องมือแบบสังเกตพฤติกรรมการส่งงานในห้องเรียน
ผลการวิจัยปรากฏว่า การวิจัยศึกษาพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบของการไม่ส่งงานวิชา
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 เริ่มจากแบบสำรวจ
การส่งงานในวิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และได้น าผลการบันทึกการส่งงานของ
นักเรียนในระดับชั้น ป.4/1 ทั้งหมดจำนวน 9 คน จากการตรวจงานแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5 ครั้งที่ 1
นักเรียนส่วนใหญ่ทำงานส่งตาม ทำงานส่งไม่ตามกำหนดเวลา ครูได้มอบหมายให้กลับไปทำงานให้
เสร็จเพื่อส่งงานในชั่วโมงเรียนต่อไป เมื่อนักเรียนได้รับการเสริมแรงทางบวก เช่น การชื่นชมด้วยวาจา
ให้ของรางวัล นักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายเพิ่มขึ้น
ติดตามเอาใจใส่ในการเรียนในห้องเรียนทำให้ บรรยากาศการเรียนภายในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้
มีความตั้งใจเรียน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่มากขึ้น ทำงานที่ได้รับมอบหมายและส่งงานตรง
กำหนดเวลา รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยความเต็มใจ

รายงานวิจัยในชั้นเรียน

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

โดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้

เรื่องความส าคัญของพระพุทธศาสนา

นางสาวณิชกมล ร่มโพธิ์

ต าแหน่ง ครูผู้ช่วย

โรงเรียนวัดทองย้อย(วุฒิกรประชานุกูล)

ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก

ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

วิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

โดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้เรื่องความสำคัญของพระพุทธศาสนา

จัดทำโดย

นางสาวณิชกมล ร่มโพธิ์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

โรงเรียนวัดทองย้อย (วุฒิกรประชานุกูล)

อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก

วิจัยในชั้นเรียน

ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้เรื่องความสำคัญของพระพุทธศาสนา

ชื่อผู้วิจัย นางสาวณิชกมล ร่มโพธิ์

รายวิชา สังคมศกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รหัสวิชา ส15101 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2563

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การเรียนการสอนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์ประการหนึ่งคือ มุ่งปลูกฝังให้นักเรียนได้ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
การปลูกฝังให้นักเรียนรักการแสวงหาความรู้จึงมีความจำเป็นที่ หนังสือ แบบฝึกทักษะต่างๆหรือห้องสมุดจึงเป็นครูคน
ที่สองของนักเรียน ครูจึงจำเป็นต้องจักหาแหล่งค้นคว้าหาความรู้ให้นักเรียนแทนการเป็นผู้บอก เป็นผู้พูดหรือจัดทำ
กิจกรรมต่างๆ เอง การส่งเสริมการเรียนให้แก่นักเรียนหาความรู้เพิ่มเติม ทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม จึงมีความจำเป็น

ในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
ผู้วิจัยได้ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน วิชาสังคมศึกษา พบว่านักเรียน ขาดทักษะในการศึกษา
หาความรู้ด้วยตนเอง การฝึกฝนทบทวน การทำการบ้าน การอ่าน ตลอดจนการทำแบบฝึกหัด และค้นคว้าบางเนื้อหา

มีไม่เพียงพอกับความต้องการของนักเรียน นักเรียนบางส่วนยังมีสมรรถภาพในการเรียนรู้ที่ไม่ดีพอ นักเรียนบางส่วน
ยังไม่มีนิสัยรักการเรียนรู้ เมื่อรู้สภาพปัญหาแล้ว ก็นำข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางเสริมการเรียนรู้ พอจะสรุปได้ว่าหนังสือ
หรือแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ หมายถึง หนังสือที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เป็นไปในทางส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด
การฝึกฝนทักษะในด้านต่างๆ และทำให้รักในการเรียนรู้มากขึ้น

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในรายวิชาสังคม โดยการใช้กิจกรรมการทำ
แบบฝึกทักษะ และทำแบบฝึกหัดด้วยตนเองในวิชาที่ครูสอน สำหรับให้นักเรียนศึกษาหาความรู้และมีการช่วยเหลือกัน
บ้างเล็กน้อย และเพื่อให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของการเรียนรู้ อีกทั้งยัง
เป็นการช่วยเสริมสร้างทักษะและนิสัยของการเรียนที่ดีให้แก่นักเรียน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ื่
1) เพอพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้วิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
2) เพอยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศกษาของนักเรียนให้สูงขึ้น

ื่

สมมติฐานการศึกษา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ

พัฒนาการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาที่สูงขึ้น และมีแนวทางในการเรียนที่ดีเพื่อนำมาปรับใช้กับ
การเรียนของตัวเองได้หลากหลายวิชา

ขอบเขตการวิจัย
ประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 29 คน

กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 29 คน

ระยะเวลาการวิจัย

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

วิธีดำเนินการวิจัย
- ตัวแปรต้น ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้เรื่องความสำคัญของ
พระพุทธศาสนา

- ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจำแนกตามลักษณะการใช้ดังนี้

1. แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้
2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

ขั้นตอนดำเนินการวิจัย
1. จัดเตรียมเอกสารต่างๆ ในการทำวิจัย
2. ใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้เรื่องความสำคัญของพระพุทธศาสนา
3. ตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียนจากแบบทดสอบ

4. รวบรวมและสรุปผลการวิจัย
ผู้จัดทำได้หาแบบฝึกทกษะพฒนาการเรียนรู้ ไปทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 29 คน ใน


ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

ก่อนที่ผู้จัดทำจะนำแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ไปใช้นั้น ได้ชี้แจงให้นักเรียนทราบขั้นตอนให้เขาใจตรงกัน
เสียก่อนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและข้อบกพร่องมีรายละเอียดดังนี้
1. ชี้แจงวัตถุประสงค์ วิธีใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้แก่นักเรียนให้เข้าใจขั้นตอนก่อน
ี่
2. ขั้นประกอบกิจกรรม โดยให้นักเรียนมีบทบาทในการปฏิบัติ เพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์ทวางไว้
3. ขั้นสรุป เป็นการสรุปความเข้าใจของนักเรียนในเรื่องนั้น
4. ขั้นทำแบบฝึกหัดท้ายบท
5. ทำแบบทดสอบท้ายบท

นำข้อมูลที่ได้จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนมาสร้างตารางเปรียบเทียบคะแนน
สอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนของนักเรียนรายบุคคลมา เพื่อดูพัฒนาการของนักเรียนและจุดบกพร่อง
ตลอดจนหาผลต่างและหาค่าร้อยละของความก้าวหน้า

ผลการวิจัย

จากการศึกษาและวิเคราะห์การประเมินความคิดเห็นในการทำแบบทดสอบส่งเสริมทักษะสำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 5 แสดงให้เห็นว่า โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก โดยระดับคะแนนเฉลี่ยก่อนการวิจัย ( ) ได้
̅
5.15 คะแนน และหลังจากการใช้แบบฝึกทักษะมาช่วยในการสอนทำให้ระดับคะแนนเฉลี่ยหลังการวิจัย ( ) ได้ 8.60
̅
คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 3.45 คะแนน คิดเป็นคะแนนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.99%
พบว่าแบบทดสอบพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้จัดทำได้ทำขึ้นนี้ สามารถช่วย
พัฒนาการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ให้นักเรียนได้รับประโยชน์ สนุกสนานเพลิดเพลิน นักเรียนจับหลักการในเนื้อหา

การเรียนที่ครูสอนได้ และสามารถสรุปความรู้รวมถึงทำแบบฝึกหัดต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งยังนำความรู้ที่ได้จาก
การทำแบบฝึกทักษะไปประยุกต์ใช้กับตัวนักเรียน โดยดูได้จากผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนในการจัดหา

แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้

ข้อเสนอแนะ
1. ในการจัดหาแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้อาจจะใช้เนื้อหาหลายเรื่องที่มากกว่าเรื่องเดียวโดยอาจจะหา
เรื่องอื่นๆ มาเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนให้ได้ผลดีที่สุด

2. ในการวิจัยครั้งต่อไปอาจลดปริมาณของกลุ่มตัวอย่างลง อาจเจาะจงทำการวิจัยกลุ่มนักเรียนที่ขาดทักษะ
ในการอ่าน การคิดวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือและแก้ไขต่อไป

ภาคผนวก

ตารางเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน

ที่ ชื่อ สกุล คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน
1 เด็กชาย จักรรินทร์ สันติสุข 5 7

2 เด็กชาย ธนธรณ์ บุญจง 5 8
3 เด็กชาย ธีรดนย์ วงษ์ศิริ 5 8
4 เด็กชาย นภัสกร สุขวัฒนากิจ 4 8

5 เด็กชาย ฐิติภัทร์ บุญธรรม 6 9
6 เด็กชาย กฤษติธี นิลทลักษณ์ 6 9
7 เด็กชาย ธนวัฒน์ ปั้นเอี่ยม 6 9

8 เด็กชาย กรกฎ ยิ่งศิลป์ 4 9
9 เด็กชาย ชนะชัย นิลรัตน์ 4 10
10 เด็กชาย เทพดลย์ แดงบาง 5 7

11 เด็กชาย ธนาภัค สมชาติ 5 10
12 เด็กชาย ภาคิน บุญยิ่ง 5 8
13 เด็กชาย เลิศวรรธน์ มาเที่ยง 6 8

14 เด็กชาย อภิสิทธิ์ นครวงษ์ 6 8
15 เด็กชาย ทวีเดช นาคสมบูรณ์ 5 10
16 เด็กชาย วรภพ อยู่สุข 7 8

17 เด็กชาย วีรพัทร จันดา 5 10
18 เด็กชาย รพีภัทร จันดา 5 9

19 เด็กหญิง อไรวรรณ ฉลาดถ้อย 4 7
20 เด็กหญิง ณัฐฐินี จันทร์อ่อน 5 10
21 เด็กหญิง นริสรา ชีชะวา 6 7
22 เด็กหญิง พรนภา จิตรน้อม 4 9
23 เด็กหญิง ภูริษา แจ่มจันทร์ 5 8

24 เด็กหญิง อัชราพร หมีปาน 4 7
25 เด็กหญิง อินทร์ธิดา พม่า 5 10

26 เด็กหญิง อุทุมพร ศิริมงคล 6 7
27 เด็กหญิง ดรุณี จันทรโพธิ์พันธ์ 4 9
28 เด็กหญิง กวินทิพย์ มนทอง 5 8
29 เด็กหญิง กุลรดา จำวิเศษ 6 9

ค่าเฉลี่ยคะแนน 5.15 8.60
ผลต่างคะแนนที่เพมขึ้น +3.45
ิ่
ร้อยละที่เพิ่มขึ้น +66.99%

แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน



ค ำชแจง ให้นักเรียนเลือกค ำตอบทีถูกต้องทีสุดเพียงข้อเดียว


1. ข้อใดจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของศาสนาทางด้านจิตใจ 6. ศาสนาคริสต์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศใด
ก. โบสถ์ ข. เจดีย์ ก. คูเวต ข. อิหร่าน
ค. เทวสถาน ง. คำสั่งสอน ค. อิสราเอล ง. ซาอุดีอาระเบีย

2. การสร้างพระพุทธรูป ไม้กางเขน เทวรูปปั้น
สอดคล้องกับข้อใด 7. ศาสดาของศาสนาคริสต์ เป็นคนเชื้อชาติใด
ก. ความพอใจ ข. ความศรัทธา ก. อเมริกา ข. อาหรับ
ค. ความเจริญ ง. ความสามัคคี ค. อังกฤษ ง. ยิว

3. ข้อใดเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาตนเองและสิ่งแวดล้อม
ของศาสนิกชนทุกศาสนา 8. พระเจ้าในศาสนาอิสลาม คือใคร
ก. คำสอนของศาสนา ก. พระอัลเลาะห์ ข. พระพรหม
ข. ศาสดาของศาสนา ค. พระยะโฮวา ง. พระศิวะ
ค. การปฏิบัติตนตามหลักธรรม
ง. การอนุรักษ์มรดกทางศาสนา 9. การที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูต 4
ทำให้พระองค์ได้ข้อคิดอย่างไร
4. คัมภีร์อัลกุรอาน มีสาระสำคัญสอดคล้องกับข้อใด ก. หนทางพ้นจากความทุกข์
ก. แนวทางการดำเนินชีวิตของชาวมุสลิม ข. ทรงบำเพ็ญเพียรทุกกรกิริยา
ข. ประวัติความเป็นมาของศาสนาอิสลาม ค. แสวงหาความรู้จากสำนักต่างๆ
ค. การเผยแผ่ศาสนาของนบีมูฮัมมัด ง. มนุษย์ทั้งหลายจะดีหรือชั่วขึ้นอยู่ที่การกระทำ
ง. บัญญัติ 10 ประการ และหลักปฏิบัติ 5 ประการ
10. พุทธกิจของพระพุทธเจ้าในช่วงใดที่ประชาชนมีโอกาส
5. ศาสนาใดสอนให้ศาสนิกชนถือศีลอด ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าได้
ก. พระพุทธศาสนา ข. ศาสนาคริสต์ ก. ช่วงเช้ามืด ข. ช่วงเช้า
ค. ศาสนาอิสลาม ง. ศาสนาพราหมณ์ ค. ช่วงเย็น ง. ช่วงค่ำ

เฉลย
1. ง 2. ข 3. ค 4. ก 5. ค

6. ค 7. ง 8. ก 9. ก 10. ค

ใบงาน เรื่อง ความสำคัญของศาสนา

คำชี้แจง ให้นักเรียนวิเคราะห์ภาพ แล้วตอบคำถาม

1.

1) ภาพดังกล่าว แสดงถึงความเจริญทางด้านใด

2) ภาพดังกล่าว แสดงถึงความสำคัญของศาสนาอย่างไร

2.

1) ภาพดังกล่าว แสดงถึงความเจริญด้านใด

2) ภาพดังกล่าว แสดงถึงความสำคัญของศาสนาอย่างไร

ใบงาน เรื่อง ความสำคัญของศาสนา เฉลย

คำชี้แจง ให้นักเรียนวิเคราะห์ภาพ แล้วตอบคำถาม

1.

1) ภาพดังกล่าว แสดงถึงความเจริญทางด้านใด

วัฒนธรรมด้านวัตถุ
2) ภาพดังกล่าว แสดงถึงความสำคัญของศาสนาอย่างไร

ทำให้ศาสนิกชนสร้างสรรค์งานเกี่ยวกับศาสนาจนกลายเป็นมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมให้ลูกหลาน
สืบไป

2.

1) ภาพดังกล่าว แสดงถึงความเจริญด้านใด
ทางด้านจิตใจ

2) ภาพดังกล่าว แสดงถึงความสำคัญของศาสนาอย่างไร
ศาสนาเป็นบ่อเกิดวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ซึ่งช่วยหล่อหลอมให้ผู้ปฏิบัติมีความ
ประพฤติที่ดีงาม

โรงเรียนวัดทองย้อย(วุฒิกรประชานุกูล)

ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก

ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ