ความเหมือนระหว่างไทยกับจีน

302 Found

302 Found


nginx/1.20.1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความสัมพันธ์จีน–ไทย

ความเหมือนระหว่างไทยกับจีน
ความเหมือนระหว่างไทยกับจีน

จีน
ความเหมือนระหว่างไทยกับจีน

ไทย

ความสัมพันธ์จีน–ไทย ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2518 หลังจากเจรจากันมาหลายปี[1][2] ซึ่งเป็นเวลานานแล้ว ที่ประเทศไทยหรือในชื่อเดิมคือสยามได้เป็นประเทศที่แน่นแฟ้นต่อจีนอย่างมาก และโดยปกติแล้ว ชาวจีนก็แสดงความนับถือสยามอย่างสูงโดยรับรองสัมพันธไมตรีต่อกัน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม พยายามลบล้างและขัดขวางชาวจีน ความรู้สึกชื่นชอบของคนไทยที่มีต่อจีนได้รับความสูญเสียอย่างหนัก

ขณะนี้ อาจมีการแย่งชิงอำนาจระหว่างสหรัฐและจีน เนื่องจากการปรากฏตัวของทั้งสองประเทศในไทยทวีความรุนแรงขึ้น[3] จีนยังคงเป็นพันธมิตรที่สำคัญของไทย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลและความโดดเด่นในภูมิภาค[4][5][6][7][8]

ประวัติ[แก้]

สมัยใหม่[แก้]

ความเหมือนระหว่างไทยกับจีน

ระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ความตึงเครียดระหว่างทั้งสองประเทศรุนแรงขึ้นจากสงครามเย็น แต่จอมพลแปลกได้ส่งลูก ๆ ของสังข์ พัธโนทัย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของเขาไปอาศัยอยู่ในประเทศจีนด้วยท่าทีปรารถนาดี แต่ยังเป็นการลับหลังอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งหนังสือมุกมังกรที่เขียนโดยสิรินทร์ ลูกสาวของสังข์ พัธโนทัย ได้เล่าถึงประสบการณ์ของเธอที่เติบโตขึ้นในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในประเทศจีน

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2506 พระมหากษัตริย์ไทยภูมิพลอดุลยเดชและพระมเหสีได้เสด็จเยือนไทเป ณ สาธารณรัฐจีน (ROC) ส่วนใน พ.ศ. 2512 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เจียง จิ่งกั๊วะ ได้เยือนกรุงเทพมหานครในฐานะทูตพิเศษของรัฐบาลสาธารณรัฐจีนเพื่อเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ไทย ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เปลี่ยนความสัมพันธ์ทางการทูตจากสาธารณรัฐจีนเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2518[9]

ก่อน พ.ศ. 2518 ความสัมพะนธ์ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับไทยเป็นหนึ่งในความหวาดระแวงซึ่งกัน เนื่องจากสาธารณรัฐประชาชนจีนสนับสนุนกลุ่มที่เอียงซ้ายในแวดวงการเมืองไทย และไทยได้ระมัดระวังการมีส่วนร่วมของจีนกับความขัดแย้งของประเทศกัมพูชา[1]

ความสัมพันธ์สาธารณรัฐประชาชนจีน–ไทย พัฒนาไปในทางบวกใน พ.ศ. 2521 เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงให้การสนับสนุนไทยในช่วงที่กัมพูชามีความขัดแย้งภายใน โดยกองกำลังมาร์กซิสต์จากประเทศเวียดนามได้ขับไล่เขมรแดงผู้นับถือลัทธิเหมาออกจากอำนาจ และคุกคามความมั่นคงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[10]

นับตั้งแต่ไทยเชื้อสายจีนเข้าครอบงำเศรษฐกิจไทยตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 ธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายไผ่[11] ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี กรุ๊ป) กลุ่มบริษัทไทยที่มีชื่อเสียงซึ่งก่อตั้งโดยตระกูลเจียรวนนท์เชื้อสายไทย–จีน เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดรายเดียวในประเทศจีน[12]

ส่วนใน พ.ศ. 2537 ผู้นำไต้หวัน หลี่ เติงฮุย ได้มาเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนตัว และเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระมหากษัตริย์ไทยเพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ[9]

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์รัฐมิตราภรณ์ และรางวัลมิตรภาพภาษาและวัฒนธรรมจีน จากงานส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างสองประเทศ พระองค์ตรัสภาษาจีนกลางได้อย่างคล่องแคล่ว และได้แปลนวนิยายจีนหลายเล่มเป็นภาษาไทย[13]

ประเทศไทยมีนโยบายปรับปรุงความสัมพันธ์กับจีนตั้งแต่รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เมื่อความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศตะวันตกแย่ลง[14] ในสภาผู้แทนราษฎรไทยมีความกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลของจีนที่เพิ่มขึ้นในประเทศ และบางส่วนเรียกประเทศไทยว่าเป็นมณฑลของประเทศจีน โดยจีนได้ครอบครองที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ทำให้จีนสามารถสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงได้ รวมถึงบริษัทเอกชนจีนลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์รถไฟความเร็วสูงของไทย[15]

ความสัมพันธ์ทวิภาคี[แก้]

ความสัมพันธ์ทางการค้าทวิภาคีเติบโตขึ้นทุกปี[16] การค้าทวิภาคีจีน-ไทยใน พ.ศ. 2542 มีมูลค่า 4.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[16] ซึ่งมีมูลค่าถึง 25.3 พันล้านดอลลาร์ใน พ.ศ. 2549, 31.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2550 และ 36.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2551[17] การเปลี่ยนแปลงของจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ไปสู่อำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้นำไปสู่การเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศในเครือข่ายไผ่ ซึ่งเครือข่ายธุรกิจจีนโพ้นทะเลที่ดำเนินงานในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสัมพันธ์ในครอบครัวและวัฒนธรรมร่วมกัน[18][11]

ความสัมพันธ์ทางการทหาร[แก้]

นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สั่งซื้อรถถังหลักวีที-4 ของจีน 49 คัน และเรือดำน้ำ 3 ลำ ซึ่งมีราคากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[19][20]

จีนและไทยกำลังวางแผนที่จะเปิดโรงงานผลิตอาวุธร่วมในเทศบาลนครขอนแก่น[19] ซึ่งจะรับผิดชอบการประกอบ, การผลิต และการบำรุงรักษาระบบอาวุธภาคพื้นดินสำหรับกองทัพบกไทย รายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงอาจมีการหารือเพิ่มเติมระหว่างกระทรวงและนอริงโก ซึ่งสร้างรถถังและอาวุธในเครื่องจักรกลหนักอื่น ๆ

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 กองทัพเรือไทยได้ลงนามในสัญญากับบริษัทอุตสาหกรรมการต่อเรือแห่งประเทศจีนสำหรับเรือดำน้ำพลังดีเซล-ไฟฟ้า เอส26ที ซึ่งมีกำเนิดมาจากเรือดำน้ำแบบ 039A[20] โดยคาดว่าจะส่งมอบเรือดำน้ำใน พ.ศ. 2566[20] โจว เฉินหมิง ซึ่งเป็นผู้บรรยายข่าวกองทัพจีน กล่าวว่าจีนน่าจะให้คำแนะนำทางเทคนิคแก่ประเทศไทยเช่นกัน[20]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน
  • ไทยเชื้อสายจีน
  • เครือข่ายไผ่

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • ASEAN SEC (October 2001). "Forging Closer ASEAN-China Economic Relations In The Twenty-First Century" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-15. สืบค้นเมื่อ 2020-04-21.
  • Cardenal, Juan Pablo; Araújo, Heriberto (2011). La silenciosa conquista china (ภาษาสเปน). Barcelona: Crítica. pp. 230–232. ISBN 9788498922578.

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 Editorial (June 30, 2009). "Sino-Thai relations have come a long way". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 22, 2016. สืบค้นเมื่อ January 10, 2011.
  2. "A Hiatus in the Sino-Thai "Special Relationship"". China Brief Volume: 6 Issue: 19. May 9, 2007.
  3. "Thailand's foreign relations under the new government". สืบค้นเมื่อ 2014-07-29.
  4. "Is Chinese influence redefining South-east Asia?". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). 4 February 2016.
  5. "Chinese subs, tanks, ships sold in South, Southeast Asia".
  6. "China starts work on US$411 million submarine for Thai navy". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ).
  7. Ramsey, Adam. "Thailand Is Finally Cozying Up to China. Why Now?". OZY (ภาษาอังกฤษ).
  8. "The Curious Case of Thai-Chinese Relations: Best Friends Forever? - The Asia Foundation". The Asia Foundation. 30 March 2016.
  9. ↑ 9.0 9.1 "Taiwan mourns death of Thai king - Politics - FOCUS TAIWAN - CNA ENGLISH NEWS".
  10. "China-Thai relations can always use a new spark". The Nation. 2010-07-01.
  11. ↑ 11.0 11.1 Murray L Weidenbaum (1 January 1996). The Bamboo Network: How Expatriate Chinese Entrepreneurs are Creating a New Economic Superpower in Asia. Martin Kessler Books, Free Press. pp. 4–8. ISBN 978-0-684-82289-1.
  12. Gomez, Edmund (2012). Chinese business in Malaysia. Routledge. p. 94. ISBN 978-0415517379.
  13. http://www.asiaone.com/News/Latest%2BNews/Plush/Story/A1Story20130401-412771.html
  14. Prashanth Parameswaran. (2014). Thailand Turns to China. The Diplomat. Accessed 3-1-2018.
  15. "MPs warned of an economic colony as opposition zeroed in on Thailand's impaired relationship with China". Thai Examiner. 28 February 2020. สืบค้นเมื่อ 6 November 2020.
  16. ↑ 16.0 16.1 "DEVELOPMENT GATEWAY_ Economic and Trade Relations between China and Thailand Kingdom". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2011-01-11.
  17. Sompop Manarungsan. "Thailand-China Cooperation in Trade, Investment and Official Development Assistance" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2011-01-11.
  18. Quinlan, Joe (November 13, 2007). "Insight: China's capital targets Asia's bamboo network". Financial Times.
  19. ↑ 19.0 19.1 Campbell, Charlie; Solomon, Felix (June 21, 2018). "Thailand's Leader Promised to Restore Democracy. Instead He's Tightening His Grip". Time.
  20. ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 Liu, Zhen (September 5, 2018). "Chinese shipbuilder starts work on US$411 million submarine for Thai navy". South China Morning Post.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

หนังสือและบทความ[แก้]

  • สารสิน วีระผล. (2548). จิ้มก้องและกำไร: การค้าไทย-จีน 2195-2396. แปลโดย พรรณงาม เง่าธรรมสาร, รังษี ฮั่นโสภา และสมาพร แลคโซ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
  • สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์. (2562, ก.ค.-ธ.ค.). การทูตวิชาการ และความ(ไม่)รู้ในความสัมพันธ์ไทย-จีน. วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์. 6(2): 199-253.
  • สิทธิพล เครือรัฐติกาล. (2562, ก.ค.-ธ.ค.). ความสัมพันธ์ไทย-จีนในยามยาก: คึกฤทธิ์ รัฐประหาร 6 ตุลา และธานินทร์ (ค.ศ. 1975-1977 AD). วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์. 6(2): 167-197.
  • Wasana Wongsurawat. (2021). Chineseness and the Cold War in Thailand: From “Red Scare” to Strategic Ally. In Chineseness and the Cold War: Contested Culture and Diaspora in Southeast Asia and Hong Kong. Edited by Jeremy E. Taylor and Lunjun Xu. pp. 61-73. Routledge: London and New York, NY.

เว็บไซต์[แก้]

  • Chinese Embassy in Bangkok (จีน ไทย)
  • Thai Embassy in Beijing (ไทย)