เพราะเหตุใดไทยกับเขมรจึงต้องทำสงครามกัน

 "องค์พระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี ศรีสุริโยประพันธ์ ธรรมิศวโรดม บรมศิรินทร บวรมหาจักรพรรดิราช พิกาศนารถบพิตร สถิตยเป็นอิศรกัมพูชารัตนราช โอภาศชาติวรวงศ์ ดำรงกัมพูชามหาประเทศราชนคร บวรวิวัฒนาดิเรก เอกอัครมหาเขมราธิบดินทร นรินทรวิสุทธิอุดม บรมบพิตร".

สัมพันธไมตรีอันดีที่ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีอย่างต่อเนื่องกับล้านนา ทำให้รัชกาลที่ 5 สามารถผนวกล้านนาเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยได้ง่ายขึ้น

ความสัมพันธ์กับพม่า
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 ไทยต้องรับมือกับการถูกบุกโจมตีอย่างหนักจากพม่า ถึงแม้ในบางช่วงพม่าจะส่งฑูตมาเจรจาขอเป็นไมตรีกับไทย แต่ก็ไม่ได้มีความจริงใจ เพียงต้องการตรวจสอบความพร้อมรบของฝ่ายไทยเท่านั้น

สงครามครั้งใหญ่ที่สุดระหว่างไทยกับพม่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ สงครามเก้าทัพ ในปี 2328 สมัยรัชกาลที่ 1 พม่าได้ส่งกองทัพเข้ามาโจมตีไทยพร้อมๆ กันหลายทาง แต่ผลักดันกองทัพพม่าให้ถอยกลับไปได้

สมัยรัชกาลที่ 2 และสมัยรัชกาลที่ 3 แม้ความสัมพันธ์จะยังเป็นศัตรูกัน แต่การทำสงครามก็ค่อยๆ ลดน้อยลงตามลำดับเพราะพม่ามีปัญหาภายในต้องทำสงครามต่อสู้กับอังกฤษ

ในปลายปี 2352 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 2 พม่าได้ยกทัพเข้ามาโจมตีหัวเมืองภาคใต้ ได้แก่ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ถลาง ระนอง กระบี่ ชุมพร แต่กองทัพไทยจากกรุงเทพฯ และกองทัพจากนครศรีธรรมราชมาช่วยกันขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จ

สมัยรัชกาลที่ 3 ไทยก็ยังคงทำสงครามกับพม่าอยู่บ้าง แต่เป็นสงครามขนาดเล็ก เพื่อแย่งชิงการมีอิทธิพลเหนือหัวเมืองทางเหนือ คือ สงครามเมืองเชียงรุ่ง ในปี 2386 และสงครามเมืองเชียงตุงในปี 2392

ผลจากการที่ไทยดำเนินความสัมพันธ์กับพม่าอย่างแข็งกร้าว ไม่ยอมจำนนต่อการรุกรานอย่างหนักจากพม่า นอกจากจะสามารถปกป้องราชอาณาจักรไว้ได้แล้ว ยังช่วยทำให้ผู้คนเกิดความมั่นใจว่าไทยสามารถจะรับมือกับการคุกคามจากพม่าได้ และพม่าจะไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของราชอาณาจักรอีกต่อไป

ความสัมพันธ์กับมอญ
ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จะมีความสัมพันธ์แบบผูกไมตรี ช่วยเหลือมอญให้พ้นจากการถูกกดขี่ข่มเหงของพม่า

สมัยรัชกาลที่ 1 ทรงนำกองทัพไทยไปช่วยพระยาทวายรบกับพม่าที่ครอบครองเมืองทวายเอาไว้ หลังจากปิดล้อมเมืองอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งก็โปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพกลับ เพราะทรงมีพระราชดำริว่า ถึงตีเมืองทวายได้ก็คงรักษาเมืองไว้ได้ไม่นาน เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ ตอนยกทัพกลับได้พาครอบครัวชาวมอญมายังกรุงเทพฯ ด้วย

สมัยรัชกาลที่ 2 ชาวมอญไม่พอใจการปกครองอย่างกดขี่ของพวกพม่า ได้อพยพครอบครัวเข้ามาในราชอาณาจักรไทย เมื่อปี 2357 และ 2358 รัชกาลที่ 2 ทรงให้ความอุปถัมถ์ โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญที่เดินทางเข้ามาใหม่ ออกไปตั้งถิ่นฐานอยู่กับชุมชนมอญเดิมที่แขวงเมืองนนทบุรี ปทุมธานี และเมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง)

ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมอญยุติลงในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อเมืองมะริด ทวาย ตะนาวศรี ได้ตกไปอยู่ในอำนาจของอังกฤษ ไทยจึงหลีกเลี่ยงไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับหัวเมืองมอญ

ผลจากความสัมพันธ์กับหัวเมืองมอญ นอกจากไทยจะได้กำลังผู้คนและความจงรักภักดีจากชาวมอญแล้ว ไทยยังได้หัวหน้ามอญไว้ใช้ในราชการและได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมบางประการจากชาวมอญมาด้วย

ความสัมพันธ์กับเขมร
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเขมรจะเป็นด้านการทำสงครามและด้านการเมือง เพื่อขยายอิทธิพลเข้าไปครอบครอง ทั้งนี้เขมรจะเป็นดินแดนที่ไทยกับญวนต่างแข่งขันแย่งชิงอำนาจเข้าไปดูแลกันตลอดมา เขมรจึงเป็นเหมือนรัฐกันชนระหว่างไทยกับญวน

สมัยรัชกาลที่ 1 ไทยมีบทบาทอย่างสำคัญในการจัดการดูแลปกครองเขมรให้เรียบร้อย โดยเป็นผู้แต่งตั้งกษัตริย์ที่ขึ้นครองเขมร ในปี 2325 เกิดความไม่สงบในเขมร พระยายมราช (แบน) จึงพานักองเอง รัชทายาทเขมรลี้ภัยการเมืองเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งก็ทรงรับอุปการะชุบเลี้ยงอย่างดี เมื่อเหตุการณ์ในเขมรสงบ ราชสำนักไทยได้แต่งตั้งเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (เลื่อนบรรดาศักดิ์จากพระยายมราช) ไปเป็นผู้สำเร็จราชการชั่วคราว เมื่อนักองเองเจริญวัย ทางกรุงเทพฯ ก็แต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์เขมร ในปี 2337 ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ต่อมาเมื่อสิ้นพระชนม์ได้แต่งตั้งนักองจันทร์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาขึ้นครองราชย์สืบไป

สมัยรัชกาลที่ 2 ลักษณะความสัมพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงไปอีก เมื่อพระอุทัยราชาได้หันไปสนิทสนมกับญวนและแสดงท่าทีไม่ยอมรับอำนาจจากกรุงเทพฯ ทางราชสำนักไทยจึงแต่งตั้งนักองสงวนเป็นพระมหาอุปโยราช (เทียบได้กับตำแหน่งวังหน้า) เพื่อไว้ถ่วงดุลอำนาจทางการเมืองของเขมร ซึ่งเขมรในระยะนี้ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับไทยและญวน

สมัยรัชกาลที่ 3 ไทยพยายามแผ่อิทธิพลเข้าไปในเขมรอีก โดยเจ้าพระยาบดินทรเดชยกทัพไปตีเขมร ในปี 2376 และปี 2383 สามารถยึดเมืองหลวงที่พนมเปญไว้ได้ แต่ก็ถูกเจ้านายเขมรที่นิยมญวนได้ไปร่วมมือกับญวนทำการรบต่อต้านไทย ทำให้ไทยกับญวนต้องทำสงครามสู้รบกันต่อมาอีกหลายปี ในที่สุด ไทยกับญวนได้ร่วมมือกันแก้ไขข้อพิพาทร่วมกัน ตั้งนักองด้วงหรือพระหริรักษ์รามาธิบดีขึ้นเป็นกษัตริย์เขมร และให้เขมรจัดส่งบรรณาการให้ไทยกับญวนอย่างเท่าเทียมกัน ปัญหาเรื่องเขมรจึงยุติลง

ความสัมพันธ์กับล้านช้าง (ลาว)
ล้านช้างหรือลาว ซึ่งนับว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันนั้น ลักษณะความสัมพันธ์ที่ไทยมีต่อล้านช้างมีอยู่หลายลักษณะผสมผสานกัน คือ มีทั้งด้านความสัมพันธ์ในด้านการเมืองที่ไทยพยายามขยายอิทธิพลเข้าไปครอบงำ มีการผูกมิตรไมตรี และในบางช่วงมีความสัมพันธ์ด้านการทำสงครามทำศึกกัน

สมัยรัชกาลที่ 1 เชื้อพระวงศ์ของล้านช้างแย่งชิงอำนาจกันเอง และแตกแยกออกเป็น 3 ฝ่าย คือเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์ แต่ละฝ่ายต่างเป็นอิสระต่อกัน แต่ทั้งหมดขึ้นตรงกับกรุงเทพฯ การที่ล้านช้างแตกแยกเป็น 3 ฝ่าย ทำให้ไทยสามารถสร้างความสัมพันธ์ด้วยการขยายอิทธิพลเข้าไปครอบงำได้ง่ายขึ้น ผสมผสานกับการผูกมิตรไมตรี เพื่อให้เกิดความจงรักภักดีอย่างยินยอมพร้อมใจ

สมัยรัชกาลที่ 2 ไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับเวียงจันทน์ โดยราชสำนักไทยเห็นว่าเจ้าอนุวงศ์ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์มีความจริงใจและจงรักภักดีกับไทย จึงบำเหน็จความชอบให้เจ้าราชบุตร บุตรของเจ้าอนุวงศ์ไปครองเมืองสำคัญ คือ เมืองจำปาศักดิ์ ส่งผลให้เจ้าอนุวงศ์มีกำลังเข็มแข็งมาก

สมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดเหตุการณ์กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับล้านช้างอย่างรุนแรง เมื่อเจ้าอนุวงศ์ซึ่งมีความคิดจะรวมเอาเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์ กลับมาเป็นอาณาจักรเดียวกัน แล้วปกครองตนเองอย่างอิสระไม่ขึ้นกับไทย ได้ยกทัพมากวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองทางอิสานของไทยใน ปี 2369

เหตุการณ์ครั้งนี้จึงทำให้เกิดวีรสตรีคนสำคัญคือ คุณหญิงโม ซึ่งภายหลังได้รับพระราชทานนามว่า ท้าวสุรนารี คือ เมื่อกองทัพของเจ้าอนุวงศ์มาถึงนครราชสีมา ก็ได้กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินเพื่อจะนำกลับไปเวียงจันทน์ ขณะนั้นเจ้าเมืองนครราชสีมาไปราชการที่อื่น แต่ชาวเมืองก็ได้คุณหญิงโมเป็นผู้นำชาวเมืองรวบรวมกำลังผู้คนต่อสู้กับทหารลาวจนแตกพ่ายไป ขณะเดียวกันทางกรุงเทพฯ ก็จัดส่งกองทัพขึ้นมาปราบ ช่วยปลดปล่อยหัวเมืองภาคอีสานที่ถูกทหารเจ้าอนุวงศ์ยึดไว้และตามไปโจมตีจนถึงดินแดนลาว สามารถเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ไว้ได้

สำหรับเจ้าอนุวงศ์ซึ่งหลบหนีไปอยู่กับญวน ภายหลังในปี 2370 ได้หวนย้อนนำกำลังมาโจมตีทหารไทยที่อยู่รักษาเมืองเวียงจันทน์แต่พ่ายแพ้และถูกจับกุมตัวได้

การก่อกบฏของเจ้าอนุวงศ์ในปี 2369 ทำให้ทางกรุงเทพฯ ดำเนินการปรับปรุงความสัมพันธ์กับล้านช้างใหม่ โดยเข้าไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

ความสัมพันธ์กับญวน (เวียดนาม)
สมัยรัชกาลที่ 1 ผลจากการที่ไทยให้การอุปการะและช่วยเหลือองเชียงสือมาตลอด ภายหลังเมื่อองเชียงสือขึ้นเป็นกษัตริย์ญวน จึงทำให้สัมพันธไมตรีกับญวนดำเนินไปด้วยดี

ในปี 2326 องเชียงสือได้ทูลขอให้ไทยช่วยส่งกำลังไปปราบกบฏ ซึ่งรัชกาลที่ 1 ก็ทรงให้ความอนุเคราะห์ จึงส่งทหารไทยไปรบกับพวกไกเญิน ถึงแม้จะปราบไม่ได้ แต่ก็ทำให้องเชียงสือสำนึกในบุญคุณของไทย ดังนั้น เมื่อองเชียงสือรวบรวมแผ่นดินญวนได้เป็นปึกแผ่นและตั้งตนเป็นกษัตริย์ จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวนในช่วงนี้ดำเนินไปอย่างราบรื่น

สมัยรัชกาลที่ 2 ตอนต้นรัชกาล ไทยกับญวนก็ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จนกระทั้งถึงสมัยพระเจ้ามินหมาง ญวนได้ขยายอิทธิพลเข้าไปยังเขมรอีก จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับไทย แต่ยังไม่ถึงขั้นต้องทำสงครามกัน

ในสมัยรัชกาลที่ 3 ปัญหาเขมรขยายตัวลุกลามมากขึ้น ทั้งนี้เพราะญวนมีเป้าหมายที่จะครอบครองเขมรเพื่อกลืนชาติ รวมทั้งแสดงท่าทีแข็งกร้าวกับไทย ความสัมพันธ์กับญวนจึงเปลี่ยนมาเป็นศัตรู ทำสงครามต่อสู้กัน โดยไทยส่งทหารบุกไปตีเขมรยึดพนมเปญไว้ได้ในปี 2376 และเลยไปตีเมืองไซ่ง่อนด้วย

ปัญหาการแย่งชิงอำนาจในการครอบครองเขมร ทำให้ไทยต้องทำศึกสงครามกับญวนต่อมาอีกหลายปี โดยไม่มีฝ่ายใดได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ภายหลังเมื่อญวนเกิดข้อพิพาทกับฝรั่งเศส จึงได้เปิดการเจรจากับไทย สามารถยุติสงครามระหว่างกันได้ในปี 2388 หลังจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวนก็ยุติลงอย่างเป็นทางการ เพราะญวนได้ตกไปเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส

ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ลักษณะความสัมพันธ์จะเป็นทางด้านการเมือง โดยไทยพยายามขยายอิทธิพลเข้าไปครอบครองทั้งทางด้านการผูกมิตรไมตรี และการทำสงครามในบางครั้ง

สมัยรัชกาลที่ 1 ไทยได้หัวเมืองมลายูบางเมืองมาเป็นเมืองขึ้น คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปัตตานี ซึ่งหัวเมืองเหล่านี้ได้เข้าขออ่อนน้อมต่อไทยในปี 2328 รัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ครองเมืองเดิมปกครองเมืองสืบต่อไป และมีอิสระในการบริหารกิจการบ้านเมืองของตน เพียงแต่ต้องแสดงความจงรักภักดีด้วยการส่งเครื่องราชบรรณาการ และต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาให้ทางกรุงเทพ ทุกๆ 3 ปี สำหรับการกำกับดูแลหัวเมืองดังกล่าว ทรงใช้การถ่วงดุลอำนาจมอบให้เมืองนครศรีธรรมราชดูแลไทรบุรีกับกลันตัน และมอบให้เมืองสงขลาดูแลเมืองปัตตานีกับตรังกานู แต่สถานการณ์ในหัวเมืองมลายูก็มิได้สงบเรียบร้อยดีนัก โดยในปี 2334 เจ้าเมืองปัตตานีได้ส่งกองกำลังเข้าไปโจมตีเมืองสงขลา จนไทยต้องส่งกำลังไปปราบ และเพื่อมิให้ปัตตานีมีอำนาจมากเกินไป จึงแบ่งปัตตานีออกเป็น 7 เมือง ได้แก่ ปัตตานี หนองจิก สายบุรี ยะหริ่ง ยะรา รามันห์ และระแงะ ให้ทุกเมืองขึ้นตรงกับสงขลา

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับหัวเมืองมลายูตลอดสมัยรัชกาลที่ 2 และ 3 ก็มิได้ราบรื่นดีนัก ทั้งนี้เพราะหัวเมืองมลายูบางเมือง ถ้ามีโอกาสก็จะตั้งตนเป็นอิสระ ในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 2 เจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) ก็ได้ตั้งตนเป็นอิสระ ทางกรุงเทพจึงมอบให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราชยกทัพไปปราบ เจ้าพระยาไทรบุรีได้หลบหนีไปอยู่ที่เกาะหมาก (ปีนัง) ซึ่งไทรบุรีให้อังกฤษเช่า โดยที่ทางกรุงเทพฯ ไม่ทราบเรื่องราวการให้เช่าเกาะหมากมาก่อน อย่างไรก็ตาม อังกฤษก็ได้ส่งฑูตมาเจรจาเรื่องนี้กับไทยใน ปี 2365

สมัยรัชกาลที่ 3 เมืองไทรบุรีได้ก่อกบฏขึ้นอีก 2 ครั้ง ใน ปี 2374 และ 2381 รวมไปถึงหัวเมืองอื่นๆ ด้วย เช่น ปัตตานี สายบุรี ยะลา กลันตัน ตรังกานู ก็ทำตามบ้าง ทางกรุงเทพฯ จึงส่งกองทัพไปปราบ เหตุการณ์ครั้งนี้มีผลทำให้รัชกาลที่ 3 ทรงจัดการปกครองหัวเมืองมลายูบางเมืองเสียใหม่ โดยเฉพาะไทรบุรีถูกแบ่งย่อยออกเป็น 4 เมือง ได้แก่ ไทรบุรี ปะลิส สตูล และกะบังปาสู

นับจากนี้ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายูจึงราบรื่นขึ้น โดยไทยพยายามให้เจ้าเมืองที่ฝักใฝ่อยู่กับไทยไปเป็นผู้ปกครองเพื่อจะได้ป้องกันมิให้เกิดข้อขัดแย้งเกิดขึ้น

ความสัมพันธ์กับจีน
ลักษณะความสัมพันธ์ยังเป็นแบบเช่นเดิม คือ เป็นการค้าในระบบรัฐบรรณาการ ได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาจนขยายตัวมากขึ้น หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชส่งฑูตไปเยือนจีน และทางราชสำนักจีนให้การยอมรับแล้ว ไทยก็ส่งฑูตนำเครื่องบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีน รวมทั้งหมด 52 ครั้ง ในช่วงระยะเวลาเพียง 69 ปี (พ.ศ.2325-2394)

เหตุผลที่ทำให้สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไทยส่งฑูตไปยังจีนบ่อยครั้ง เพราะได้รับผลประโยชน์จากสิทธิพิเศษทางการค้าที่ทางการจีนมอบให้ ทำให้สามารถค้าขายได้สะดวก และได้รับผลกำไรตอบแทนงดงาม ซึ่งนอกจากราชสำนักไทยโดยกรมพระคลังสินค้าจะดำเนินการค้าขายกับจีนโดยตรงแล้ว บรรดาเชื้อพระวงศ์ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ พ่อค้าเอกชน ยังแต่งเรือสำเภาไปติดต่อค้าขายกับเมืองต่างๆ ของจีนอีกด้วย

สมัยรัชกาลที่ 3 การค้ากับจีนยังคงเจริญรุ่งเรืองอยู่ในช่วง 10 ปีแรกของรัชกาล แต่หลังจากนั้นก็ค่อยๆ ซบเซา อันเป็นผลมาจากปัจจัยภายในประเทศทังของไทยและของจีน คือ ไทยให้ความสนใจมุ่งการค้ากับชาติตะวันตก ขณะที่จีนก็มีปัญหาความมั่นคงต้องรับมือกับการคุกคามของชาติตะวันตก

ผลจากการติดต่อสร้างสัมพันธไมตรีกับจีน นอกจากได้รับผลประโยชน์ตอบแทนทางการค้าแล้ว ยังทำให้จีนบางส่วนอพยพโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในราชอาณาจักรไทย อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยทางอ้อม รวมทังยังให้วัฒนธรรมจีนเผยแพร่มาสู่กรุงรัตนโกสินทร์มากขึ้นด้วย

ความสัมพันธ์กับโปรตุเกส
โปรตุเกสเป็นตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักไทย โดยลักษณะความสัมพันธ์จะเป็นเรื่องการผูกไมตรีและติดต่อค้าขาย

สมัยรัชกาลที่ 1 มีการเจริญสัมพันธไมตรีอย่างปกติธรรมดาเท่านั้น การติดต่อค้าขายระหว่างกันมีน้อยมาก โดยชาวโปรตุเกสชื่อ อันโตนีโอ วิเสน เป็นผู้นำสาสน์จากทางการโปรตุเกสมาถายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อปี 2329 เพื่อขอผูกไมตรีกับไทย ซึ่งรัชกาลที่ 1 ก็ทรงต้อนรับ และมีพระราชสาสน์ตอบกลับไป

ช่วงรัชกาลที่ 2 ความสัมพันธ์ของไทยกับโปรตุเกสมีความแน่นแฟ้นมากขึ้น มีการติดต่อทางการฑูตและทำสัญญาระหว่งกัน โดยในปี 2361 ผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสที่เกาะมาเก๊า ได้ส่ง การ์ลูส มานูเอล ดา ซิลเวย์รา นำเครื่องราชบรรณาการและพระราชสาสน์ของกษัตริย์โปรตุเกสมาถวายรัชกาลที่ 2 เพื่อขอเจริญสัมพันธไมตรี ไทยก็ให้การต้อนรับอย่างดี เพราะเห็นว่าโปรตุเกสช่วยอำนวยความสะดวกแก่เรือกำปั่นหลวงที่เดินทางไปค้าขายที่มาเก๊า รวมทั้งไทยยังต้องการซื้อปืนใหญ่จากโปรตุเกสเอาไว้ใช้ป้องกันพระนครด้วยจึงยินดีที่จะเป็นมิตรกับโปรตุเกส

ต่อมาในปี  2363 ผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสที่เมืองกัว ในอินเดีย ได้ร่างสัญญาทางพระราชไมตรีในนามของกษัตริย์โปรตุเกส มอบให้การ์ลูส มานูเอล ดา ซิลเวย์ราเข้ามาถวายโดยขอซิลเวียราเป็นกงสุลโปรตุเกสประจำกรุงเทพฯ ขอพระราชทานที่ดินและอาคารให้กงสุลได้พักอาศัย และขอปักธงโปรตุเกสที่สถานกงสุลด้วย ซึ่งรัชกาลที่ 2 ก็โปรดเกล้าฯ พระราชทานตามที่ขอ พร้อมแต่งตั้งให้ซิลเวย์รามีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอภัยพาณิช

ความสัมพันธ์กับโปรตุเกสนับจากนี้ไปจนตลอดรัชกาลที่ 3 ก็ยังคงเป็นความสัมพันธ์ทางการฑูตและการติดต่อค้าขาย ซึ่งก็มีปริมาณการค้าไม่มากนัก

ความสัมพันธ์กับอังกฤษ
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อังกฤษได้ส่งฑูตเข้ามาเจรจาทางการค้าเป็นระยะๆ และได้จัดทำสัญญากับไทย เพื่อให้ตนได้ผลประโยชน์มากที่สุด

ในปี 2364 มาควิส เฮสติงส์ ผู้สำเร็จราชการอังกฤษที่อินเดีย ได้แต่งตั้ง จอห์น ครอว์เฟิร์ด เป็นฑูตเดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี และเจรจาเรื่องการค้ากับไทยแต่ประสบความล้มเหลว เพราะมีปัญหาหลายประการที่เจรจาตกลงกันไม่ได้ เช่น อังกฤษตั้งเงื่อนไขการขายอาวุธปีนกับไทยไว้มาก ไทยยอมผ่อนปรนลดอัตราการจัดเก็บภาษีขาเข้าขาออก แต่ขอให้อังกฤษค้ำประกันจำนวนเรือสินค้าที่จะเข้ามาค้าขาย แต่อังกฤษไม่ยอมรับรอง และปัญหาเรื่องเมืองไทรบุรี ซึ่งไทยถือว่าเป็นเรื่องกิจการภายในราชอาณาจักรจึงไม่ยอมนำหัวข้อนี้มาเจรจา

ถึงแม้การเจรจาครั้งนี้ไม่สำเร็จ แต่ก็มีเรือสินค้าอังกฤษเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยมากขึ้น ซึ่งไทยก็เปิดให้มีการค้าขายอย่างสะดวกตามระเบียบกฏเกณฑ์ที่ทางการไทยกำหนดไว้

ต่อมาในปี 2368 สมัยรัชกาลที่ 3 ลอร์ด แอมเฮิร์ส ผู้สำเร็จราชการอังกฤษที่อินเดียคนใหม่ ได้ส่งร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ เดินทางเข้ามาเจรจากับราชสำนักไทย ใช้เวลาเจรจาถึง 5 เดือน ในที่สุดไทยกับอังกฤษก็สามารถทำสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ (เรียกสั้นๆ ว่าสนธิสัญญาเบอร์นี่) ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2369 ขึ้นมาได้ ซึ่งมีสาระสำคัญบางประเด็น เช่น ไทยจะจัดเฏ็บภาษีในอัตราที่แน่นอนตามความกว้างของปากเรือ ห้ามอังกฤษนำฝิ่นเข้ามาค้าขาย การค้าข้าวจะซื้อขายกันได้แต่จากพระคลังสินค้าเท่านั้น คนในบังคับอังกฤษเมื่อเข้ามาในราชอาณาจักรต้องปฏิบัติตามกฏหมายไทย อังกฤษยอมรับอธิปไตยของไทยเหนือเมืองไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู

สัญญาเบอร์นี่ อังกฤษได้รับประโยชน์จากการค้า ส่วนไทยได้รับความเสมอภาคและการมีอำนาจเหนือหัวเมืองมลายูบางเมือง

อย่างไรก็ดี บรรดาพ่อค้าอังกฤษต่างก็ไม่พอใจสัญญาฉบับนี้ เพราะเห็นว่า เฮนรี เบอร์นี อ่อนข้อให้กับราชสำนักไทยมากเกินไป ดังนั้นในปี 2393 ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 3 อังกฤษจึงส่งเซอร์ เจมส์ บรูค เดินทางเข้ามาขอแก้ไขสัญญาเบอร์นี่กับไทย ซึ่งอังกฤษต้องการให้ไทยยกเลิกระบบการผูกขาดการค้าโดยพระคลังสินค้า ขอให้ไทยลดภาษีปากเรือจากวาละ 1,700 บาท เหลือ 500 บาท และห้ามเก็บค่าธรรมเนียมอื่นใดอีก ขอให้กงสุลอังกฤษเข้ามาร่วมพิพากษาคดีความที่เกิดกับคนในบังคับอังกฤษ รวมทั้งขอสิทธิพิเศษอีกหลายข้อ ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์กับอังกฤษทั้งสิ้น ขณะที่ไทยเห็นว่าข้อตกลงในสัญญาเบอร์นี่ มีความเหมาะสม อังกฤษได้รับผลประโยชน์มากอยู่แล้ว ถ้าไทยยอมแก้ไขสัญญาให้สิทธิพิเศษแก่อังกฤษมากไป จะทำให้ชาติอื่นๆ ถือเป็นแบบอย่าง ทำตามอังกฤษบ้าง ดังนั้น การเจรจาจึงไม่ประสบผลสำเร็จ เมื่อเซอร์ เจมส์ บรูค กลับไปถึงสิงคโปร์ ได้เสนอให้รัฐบาลอังกฤษใช้กำลังทหารบีบบังคับไทยให้ยอมแก้ไขสัญญา แต่รัฐบาลอังกฤษไม่เห็นชอบ ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับอังกฤษจึงเป็นไปตามสนธิสัญญาเบอร์นีที่จัดทำขึ้นในปี 2369

ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา
ไทยกับสหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์ต่อกันทางด้านการค้า และวัฒนธรรม ฝ่านคณะมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์

ชาวอเมริกันเริ่มเข้ามาติดต่อกับไทยเป็นครั้งแรก ในปี 2361 ตรงกับรัชกาลที่ 2 เมื่อกัปตันเฮล นำปืนคาบศิลาจำนวน 500 กระบอก มาจำหน่ายให้ไทย ซึ่งกำลังต้องการอาวุธไว้ต่อสู้กับพม่า รัชกาลที่ 2 ทรงพอพระทัย จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นหลวงภักดีราชกปิตัน

ในสมัยรัชกาลที่ 3 ชาวอเมริกันได้เดินทางเข้ามายังราชอาณาจักรไทยมากขึ้น โดยเฉพาะคณะมิชชันนารีอเมริกันที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมด้วย เพราะคณะมิชชั่นนารีช่วยนำวิทยาการสมัยใหม่มาเผยแพร่ให้คนไทย นอกเหนือไปจากการสอนศาสนา ตัวอย่างเช่น หมอบรัดเลย์ เป็นผู้นำความรู้ด้านการพิมพ์มาเผยแพร่ ทำให้การจัดทำหนังสือ เอกสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีการออกหนังสือพิมพ์ตามแบบตะวันตก อาทิ บางกอกรีคอร์เดอร์ บางกอกกาเลนเดอร์ รวมทั้งนำความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ ได้แก่ การฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ มาเผยแพร่ให้กับคนไทย เป็นต้น

สำหรับสัมพันธไมตรีทางด้านการค้า สหรัฐอเมริกาได้ส่ง เอ็ดมัน โรเบิร์ตส์ เข้ามาถวายสาสน์ของประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ็คสัน ต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจรจาทางการค้ากับไทย ซึ่งสามารถตกลงกันได้และลงนามในเดือนมีนาคม 2375 ซึ่งมีสาระสำคัญคล้ายคลึงกับสัญญาเบอร์นีที่ไทยเคยทำกับอังกฤษ เช่น พ่อค้าอเมริกันมีเสรีภาพในการซื้อขายสินค้าต่งๆ ยกเว้นสินค้าต้องห้าม, ไทยจะเรียกภาษีตามความกว้างของปากเรือ วาละ 1700 บาท สำหรับเรือที่บรรทุกสินค้าเข้ามาจำหน่ายและ 1500 บาท สำหรับเรือเปล่า แต่พ่อค้าอเมริกันห็นว่าสัญญาที่เอ็ดมันด์ โรเบิร์ตส์ ได้ทำกับไทยยังไม่สะดวกต่อการค้าขาย เพราะสินค้าหลายอย่างถูกผูกขาดโดยกรมพระคลังสินค้า และไทยเรียกเก็บภาษีสูงเกินไป ดังนั้น ใน พ.ศ.2393 สหรัฐอเมริกาจึงส่งโจเซฟ บาเลสเตีย ซึ่งเป็นกงลุสประจำอยู่ที่สิงค์โปร์ เป็นฑูตเข้ามาเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญากับไทย โดยสหรัฐอเมริกาขอให้ไทยยกเลิกการจัดเก็บภาษีปากเรือ ให้เก็บโดยวิธีอื่น และขอตั้งสถานกงสุลหรือผู้แทนการค้าในกรุงเทพฯ

ผลการเจรจาครั้งนี้ไม่สามารถตกลงกันได้ เพราะไทยยอมรับเงื่อนไขได้เพียงบางข้อ และไม่เต็มใจที่จะแก้ไขสัญญาทั้งหมด เพราะจะทำให้ชาติอื่นขอทำตามอย่างบ้าง ขณะเดียวกันไทยก็วิตกต่อการแพร่ขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก เกรงว่าการแก้ไขสัญญาจะทำให้ชาติตะวันตกเข้ามามีบทบาทในดินแดนไทยมากขึ้น

เพราะเหตุใด ไทยกับเขมรจึงต้องท าสงครามกัน

ก่อนหน้านั้น การทูตระหว่างไทยกับเขมร ก็ได้มีการตกลงกัน ทำนองทำสัญญามิตรไมตรี ต่างฝ่ายต่างจะไม่แทรกแซงลาว แต่เมื่อเขมรเล่นเกมอุดหนุนท้าวฟ้างุ้ม ก่อสงครามกลางเมืองลาว เพื่อจะได้มีอิทธิพลเหนือลาว ทางกรุงศรีอยุธยาจึงตัดสินใจประกาศสงครามกับกัมพูชา

เขมรเคยเป็นของไทยไหม

ในเวลานั้น เขมร หรือ กัมพูชา ยังเป็นแค่รัฐกันชนระหว่าง ญวน (เวียดนาม) กับ ไทย ไม่เคยเป็นประเทศอิสระ ถ้าไม่เป็นเมืองขึ้นไทยก็ต้องเป็นเมืองขึ้นญวน แล้วแต่ช่วงไหนใครจะเข้มแข็งกว่ากัน ว่ากันว่า ยามใดที่เขมรตั้งเมืองหลวงที่ เมืองอุดงมีชัย ก็มักจะขึ้นกับไทย เพราะเมืองอุดงมีชัยอยู่ในที่ดอน ไปมากับเมืองไทยสะดวก แต่ยามใดที่เขมร ...

ไทยได้รับอิทธิพลจากเขมรในด้านใด

ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและราชสำนัก ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพจึงมีพระราชพิธีต่างๆ ที่ได้แบบอย่างมาจากเขมร เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น ด้านศิลปกรรม ไทยได้รับอิทธิพลจากเขมรหลายอย่าง เช่น นำแบบอย่างปราสาทในเมืองนครธมของเขมรมาสร้างในกรุงศรีอยุธยา

สงครามในไทยมีอะไรบ้าง

สงครามครั้งที่ 1 ศึกขุนสามชน -- สงครามครั้งที่ 4 ขอมแปรพักตร์ -- สงครามครั้งที่ 9 ยุทธหัตถีสี่ช้าง -- สงครามครั้งที่ 12 ศึกเชียงกราน -- สงครามครั้งที่ 16 สงครามช้างเผือก -- สงครามครั้งที่ 20 กลศึกนเรศวร -- สงครามครั้งที่ 22 ประกาสอิสรภาพ -- สงครามครั้งที่ 25 พม่าล้อมกรุง -- สงครามครั้งที่ 29 ศึกพระมหาอุปราชา -- สงคราม ...