ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง คือไร

               ลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์ สามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อๆไปได้หลายลักษณะ ซึ่งแต่ละลักษณะที่แสดงออกต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยสองประการ คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่      ฮอร์โมน และระบบประสาท ถือเป็นอิทธิพลจากพันธุกรรม ส่วนปัจจัยภายนอก เช่น อากาศ แสงสว่างอุณหภูมิ เป็นต้น ถือเป็นอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ และเป็นลักษณะที่มีอิทธิพลจากพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว เช่น หมู่เลือด แต่ลักษณะที่มีอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมอย่างเดียวนั้นยังไม่ชัดเจน เนื่องจากลักษณะทุกอย่างต้องมีอิทธิพลจากพันธุกรรมด้วย

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง คือไร

ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง คือไร

ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง คือไร

     ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีการถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ จากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน โดยมีการสืบพันธุ์เพื่อให้สามารถดำรงเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ได้ ซึ่งลักษณะที่มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นนี้เรียกว่า พันธุกรรม (heredity) และวิชาที่ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับพันธุกรรมเรียกว่า พันธุศาสตร์ (genetics) โดยความรู้ทางพันธุศาสตร์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น การวางแผนครอบครัวในการมีบุตรเพื่อป้องกันการให้กำเนิดเด็กที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม การให้เลือดแก่ผู้ป่วยการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์

ลักษณะทางพันธุกรรม

     หากนักเรียนสังเกตสิ่งมีชีวิตรอบตัวเอง เช่น สมาชิกในครอบครัว สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ จะพบว่ามีลักษณะบางอย่างของสิ่งมีชีวิตที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ๆ ลักษณะที่ถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง โดยอาจมีการแสดงออกหรือไม่แสดงออกของลักษณะนั้น ๆ ในแต่ละรุ่นก็ได้ เรียกว่า ลักษณะทางพันธุกรรม (genetic characteristics) ลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์สามารถถ่ายทอดได้โดยผ่านทางการสืบพันธุ์ ดังนั้นลูกที่เกิดมาจึงได้รับลักษณะทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่อย่างละครึ่ง

     สำหรับบางลักษณะที่พบในสิ่งมีชีวิตอาจไม่ใช่ลักษณะทางพันธุกรรม แต่เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อม เช่น แผลเป็นที่เกิดจากสุนัขกัด สันจมูกที่โด่งขึ้นจากการทำศัลยกรรมการวิเคราะห์ว่าลักษณะใดเป็นลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้น สามารถดูได้จากการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมในหลาย ๆ รุ่น เพราะบางลักษณะอาจไม่ปรากฏในรุ่นลูกแต่อาจปรากฏในรุ่นหลานได้ลักษณะทางพันธุกรรมสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

     1) ลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง (discontinuous variation)

เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่แยกความแตกต่างได้ไม่ชัดเจน ซึ่งเกิดจากอิทธิพลทางพันธุกรรมร่วมกับสิ่งแวดล้อม เช่น ความสูง โครงร่าง สีผิว สติปัญญา สีของม่านตา

สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันย่อมมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายคลึงกันมากกว่าสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันหรือสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีลักษณะคล้ายกันมีความแตกต่างกันน้อยกว่าสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน ความแตกต่างเหล่านี้เนื่อจากพันธุกรรมที่แตกต่างกัน  ลักษณะทางพันธุกรรม จำแนกได้ 2 ประเภท

1. ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง (CONTINUOUS VARIATION) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความลดหลั่นกันทีละน้อย สามารถนำมาเรียงลำดับกันได้ เช่น ความสูง น้ำหนัก สีผิว เป็นต้น เป็นลักษณะทางปริมาณ
 2. ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันไม่ต่อเนื่อง (DISCONTINUOUS VARIATION) เป็นลักษณะที่แบ่งเป็นกลุ่ม ได้อย่างชัดเจน เช่นหมู่เลือดของคน ลักษณะผิวเผือก ลักยิ้ม ติ่งหู การห่อลิ้น เป็นต้น เป็นลักษณะทางคุณภาพ

 ข้อสังเกต โดยทั่วไป ลักษณะที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง เช่น สีผิว นั้นสิ่งแวดล้อมจะมีอิทธิพลต่อการ แสดงลักษณะในสัดส่วนที่มากกว่าลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง เช่น หมู่เลือด

พันธุกรรม ( Heredity )

      หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตจากรุ่น หนึ่งไปยังรุ่นหนึ่ง  หรือจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน  เช่น  ลักษณะสีผิว  ลักษณะเส้นผม  ลักษณะสีตา  เป็นต้น ถ้านักเรียนสังเกตจะเห็นว่าในบางครั้งอาจมี คนทักว่ามีลักษณะ เส้นผมเหมือนพ่อ  ลักษณะสีตาคล้ายกับแม่ซึ่งลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะถูกส่งผ่านจาก พ่อแม่ไป ยังลูกได้ หรือส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคน รุ่นต่อไป เราเรียกลักษณะ ดังกล่าวว่า ลักษณะทางพันธุกรรม  (genetic character) ในการพิจารณาลักษณะ ต่างๆ ว่าลักษณะใดเป็นลักษณะทาง พันธุกรรมนั้น  จะต้องพิจารณาหลายๆ รุ่น หรือหลายชั่วอายุ  เพราะลักษณะทาง พันธุกรรมบางอย่างอาจไม่ปรากฏในรุ่นลูก แต่อาจปรากฏในรุ่นหลานได้

ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง คือไร
ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
            กรรมพันธุ์หรือลักษณะต่างๆในสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นต่อไปได้โดย ผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์  กล่าวคือ  เมื่อเกิดการปฏิสนธิระหว่างเซลล์ไข่ ของแม่และอสุจิของพ่อ  ลักษณะต่าง ๆ ของพ่อและแม่จะถ่ายทอดไปยังลูก  ตัวอย่างลักษณะทางพันธุกรรม  ได้แก่

ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง คือไร
ความแปรผันทางพันธุกรรม
          นักวิทยาศาสตร์จำแนกสิ่งมีชีวิตหลายชนิดออกจากกัน  โดยดูจากความ คล้ายคลึง  และแตกต่างของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น  ความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตที่ ต่างชนิดกัน  มักจะมองเห็นได้อย่างชัดเจน  เช่น  โลมาจะต่างไปจากลิง เป็นอย่างมาก  ถึงแม้สัตว์ทั้งสองชนิดนี้จะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน  นอกจากนี้ยังพบว่า  ความแตกต่างเกิดขึ้นจากความแปรผันภายใน สิ่งมีชีวิต ชนิดเดียวกันได้  แต่จะมีความแตกต่างน้อยกว่าที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน
เราทั้งหลายถูกจัดอยู่ในกลุ่มของมนุษย์  เนื่องจากเรามีลักษณะหลายอย่าง เหมือนกัน  และมนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกัน  แม้แต่ฝาแฝดที่เป็นแฝดร่วมไข่  ถึงแม้ว่าจะมีหน้าตาใกล้เคียงกันมากที่สุด  ก็ยังมีลักษณะแตกต่างกัน  ความแตกต่างดังกล่าวเรียกว่า  “ความแปรผันทางพันธุกรรม” (genetic variable)  

ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง คือไร

ภาพแสดงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=444996


ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง คือไร
ความแปรผันทางพันธุกรรม  จำแนกได้ 2 ประเภท  คือ


1. ลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง ลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง (discontinuous variation)  เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจนลักษณะความแปรผันไม่ต่อเนื่องเกิดจากอิทธิพลทางพันธุกรรม

เพียงอย่างเดียว  เช่น  ลักษณะลักยิ้ม (มีลักยิ้มหรือไม่มีลักยิ้ม)  ติ่งหู (มีติ่งหูหรือไม่มีติ่งหู)  ห่อลิ้น  (ห่อลิ้นได้หรือห่อลิ้นไม่ได้)  เป็นต้น
2. ลักษณะที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง ลักษณะที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง  (continuous  variation)  เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้เด่นชัด  เช่น  ความสูง น้ำหนัก  โครงร่าง  สีผิว  ซึ่งเป็นลักษณะที่ได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรม  และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน  เช่นความสูงของคน  ถ้าเราได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ มีการออกกำลังกาย  จะทำให้เรามีร่างกายสูงขึ้นได้

ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง คือไร
คำศัพท์ที่ควรทราบในการศึกษาพันธุศาสตร์


1.เซลล์สืบพันธุ์ (Gamete or Sex cell)หมายถึง ไข่ (Egg) หรือ สเปิร์ม ( Sperm)
2.ลักษณะเด่น (Dominance) หมายถึง ลักษณะที่ปรากฏออกมาในรุ่นลูกหรือรุ่นต่อ ๆ ไปเสมอ
3.ลักษณะด้อย (Recessive) หมายถึง ลักษณะที่ไม่มีโอกาสปรากฏในรุ่นต่อไป
4.ยีน (Gene) หมายถึง หน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตเป็นสารเคมีจำพวก
กรดนิวคลีอิก โดยเฉพาะ ชนิด DNA จะพบมากที่สุด ชนิด RNA
5.โฮโมโลกัสยีน (Homologous gene) หมายถึง ยีนที่เหมือนกันอยู่ด้วยกัน เช่น TT , tt , AA , bb
6.เฮเทอโรไซกัสยีน (Heterozygous gene) หมายถึง ยีนที่ต่างกันอยู่ด้วยกัน เช่น Tt , Aa , Bb
7.จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง ลักษณะหรือแบบของยีนที่ควบคุมลักษณะ
8.ฟีโนไทป์ (Phenotype) หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏออกมาเนื่องจากการ แสดง
ออกของยีนและอิทธิพลของ สิ่งแวดล้อม
9.โฮโมโลกัสโครโมโซม (Homologous chromosome) หมายถึง โครโมโซมที่เป็นคู่กัน มีขนาด
และรูปร่างภายนอกเหมือนกัน
10.โฮโมไซกัสโครโมโซม (Homozygous chromosome) หมายถึง โครโมโซมที่เป็นโฮโมโลกัส
กันและมียีนที่เป็นโฮโมไซกัสกัน อย่างน้อย 1 คู่

ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง คือไร
กฏพันธุกรรมของเมนเดล
ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง คือไร

เมนเดลได้ทดลองผสมถั่วลันเตาที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน 7 ลักษณะซึ่งกระจายอยู่บนโครโมโซมต่างท่อนกัน โดยได้ทำ การทดลองนานถึง 7 ปี จึงพบกฏเกณฑ์การถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ และได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์  (Father of Genetics)

กฏการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเมนเดล ที่สำคัญ คือ
     

ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง คือไร
กฏข้อที่ 1 กฏแห่งการแยก (Law of segregation)มีสาระสำคัญดังนี้คือ : ยีนที่อยู่คู่กันจะแยกตัวออกจากกันไปอยู่ในแต่ละเซลล์สืบพันธุ์ก่อนที่
จะมารวมตัวกันใหม่เมื่อ จะมารวมตัวกันใหม่เมื่อ
     
ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง คือไร
กฏข้อที่ 2 กฏแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (Law of independent assortment)มีสาระสำคัญดังนี้คือ : ยีนที่เป็นคู่กันเมื่อแยกออกจากกันแล้ว แต่ละยีนจะไปกับ ยีนอื่นใดก็ได้อย่างอิสระนั่นคือเซลล์ สืบพันธุ์จะมีการรวมกลุ่มของหน่วยพันธุกรรมของลักษณะต่าง ๆ โดยการรวมกลุ่มที่เป็นไปอย่างอิสระ จึงทำให้สามารถทำนายผลที่เกิดขึ้นในรุ่นลูกรุ่นหลายได้

ขอขอบคุณ : 1. http://www.student.chula.ac.th/~53437623/unit1.htm#u1
                       2. https://sites.google.com/site/chawissil/laksna-thang-phanthukrrm