การสร้างสรรค์การแสดง หมายถึง

การสร้างสรรค์การแสดง ชุด ระบำพลอสุราอุณาราช

ผู้แต่ง

  • เชาวนาท เพ็งสุข วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การแสดงสร้างสรรค์, พลอสุราอุณาราช, ระบำ

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์การแสดง ชุด ระบำพลอสุราอุณาราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของท้าวอุณาราช ตามบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่สอดคล้องกับความเชื่อเรื่อง       ท้าวกกขนากและเขาวงพระจันทร์ในตำนานเมืองลพบุรี และเพื่อนำมาสร้างสรรค์การแสดงระบำพลอสุราอุณาราช จากการศึกษาพบว่า พลยักษ์ของอุณาราชมีลักษณะรูปร่างไม่เหมือนกันกับพลยักษ์ทั่วไปในเรื่องรามเกียรติ์ ประกอบด้วย 6 หมู่ ดังนี้ หมู่ที่ 1 หน้า  เป็นเสือ กายเป็นยักษ์ หมู่ที่ 2 หน้าเป็นยักษ์ กายเป็นเสือ หมู่ที่ 3 หน้าเป็นม้า กายเป็นยักษ์ หมู่ที่ 4 หน้าเป็นยักษ์ กายเป็นม้า หมู่ที่ 5 หน้าเป็นสิงห์ กายเป็นยักษ์ หมู่ที่ 6 หน้าเป็นยักษ์กายเป็นสิงห์ ผู้สร้างสรรค์ได้นำข้อมูลทั้งหมดจากวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสร้างสรรค์การแสดง มีลำดับขั้นตอนการแสดงแบ่งเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 “การรำออก” ผู้แสดงรำออกด้านหน้าเวทีด้วยเพลงหน้าพาทย์รัวสามลา ช่วงที่ 2 “การรำแนะนำตัวแสดง” ผู้แสดงรำตีบทตามคำร้องประกอบทำนองเพลงเขมรปากท่ออัตราจังหวะชั้นเดียว ช่วงที่ 3 “กระบวนการจัดทัพ” ผู้แสดงรำเพลงกราวใน ช่วงที่ 4 “การเดินทัพ” ผู้แสดงรำเพลงเชิด ดนตรีที่ใช้เป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ เครื่องแต่งกายเป็นลักษณะแต่งกายแบบยืนเครื่องเสนายักษ์ ถ้าผู้แสดงมีกายเป็นยักษ์ มีหน้าเป็นสัตว์ จะสวมเครื่องแต่งกายแบบยืนเครื่องเสนายักษ์ สวมเสื้อสีแดง หรือสีเขียว ถ้าตัวแสดงมีกายเป็นสัตว์ มีหน้าเป็นยักษ์ จะสวมเครื่องแต่งกายแบบยืนเครื่องเสนายักษ์ สวมเสื้อตามลักษณะของสัตว์ประเภทนั้น ๆ ผู้แสดงสวมศีรษะเปิดหน้าแบบหน้าแขวะและเขียนหน้า ตัวแสดงทุกตัวสวมศีรษะที่มีลักษณะเดียวกัน มีการเขียนหน้าเพื่อให้เห็นความสวยงามของศิลปะการแต่งหน้าโขน ท่ารำที่ใช้ในการแสดงใช้ท่ารำแม่ท่ายักษ์เป็นหลัก ผสมกับลักษณะและกิริยาของสัตว์ตามบทละคร ถ้าตัวแสดงมีกายเป็นยักษ์ มีหน้าเป็นสัตว์ ใช้ท่ารำหลักเป็นท่ายักษ์ มือและเท้าเป็นลักษณะของยักษ์ แต่มีกิริยาเหมือนสัตว์ประเภทนั้น ๆ ถ้าตัวแสดงมีกายเป็นสัตว์ มีหน้าเป็นยักษ์  จะใช้ท่ารำตามกิริยาของสัตว์ ส่วนมือและเท้าเป็นลักษณะของสัตว์ แต่มีความเข้มแข็งเหมือนยักษ์ มีระเบียบเหมือนกองทัพเตรียมออกศึก

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมศิลปากร. (2551). ทะเบียนข้อมูล : วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน เล่ม 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

จินตนา สายทองคำ. (2558). นาฏศิลป์ไทย รำ ระบำ ละคร โขน. นครปฐม : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก. (2558). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: แสงดาว.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วรวิทย์ วงษ์สุวรรณ์. (2556). ตำนานเมืองลพบุรี (พิมพ์ครั้งที่ 2). สระบุรี : ปากเพรียวการช่างจำกัด.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กลุ่มที่ 2 ความสามารถด้านการควบคุมกำกับ และการปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบาย และมาตรฐานการจัดการด้านดิจิทัล (Digital Governance, Standard, and Compliance)

DG100 ปฏิบัติตามกฎหมาย กรอบธรรมาภิบาล (Governance Framework) และหลักปฏิบัติ (Principles) ที่ดี ด้านดิจิทัล - 3 หลักสูตร

องค์ประกอบความสามารถหลักสูตรสรุปหลักสูตรแหล่งการเรียนรู้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กร (Driving Innovation in Organization)เรียนรู้ ความหมายของนวัตกรรม ประเภทของนวัตกรรม องค์ประกอบ ระบบ และคุณค่าของนวัตกรรม กระบวนการคิดและสร้างนวัตกรรมทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กร การส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมสำนักงาน ก.พ.ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมนวัตกรรมกับการทำงานภาครัฐนวัตกรรมคือการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อก่อให้เกิดคุณค่าต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ข้าราชการจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมกับการทำงานภาครัฐสำนักงาน ก.พ.

การแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ มีอะไรบ้าง

รำทอซิ่นตีนจก ... .
ฟ้อนตะคัน ... .
ระบำเบญจรงค์ ... .
ฟ้อนลื้อล่องน่าน ... .
ระบำเทวีศรีสัชนาลัย ... .
ระบำลีลาลายสังคโลก ... .
ระบำกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ ... .
ระบำประทีปทอง.

การสร้างสรรค์การแสดงควรคำนึงถึงสิ่งใด

1. การสร้างสรรค์ท่ารำควรคำนึงถึงข้อใดมากที่สุด 1. ความสวยงามของผู้แสดง 2. การแต่งกายของผู้แสดง การสื่ออารมณ์ของผู้แสดงไปสู่ผู้ชม.
ความสวยงามเหมาะสมกับชุดการแสดง.
ความคงทนสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก.
ความประหยัดและปลอดภัย ใช้วัสดุท้องถิ่น.

นาฏศิลป์สร้างสรรค์หมายความว่าอะไร

นาฏศิลป์สร้างสรรค์คือกระบวนการที่ครูนาฏศิลป์หรือศิลปินคิดวิธีดาเนินการคิดประดิษฐ์ท่าร าให้ สอดคล้องกับจังหวะทานอง/เพลงจากความคิดและความรู้สึกผ่านกระบวนการที่ต้องใช้ทักษะและความชานาญจนได้ ผลงานที่ตนพึงพอใจ” (ฉันทนา เอี่ยมสกุล, 2550, หน้า 4)

สิ่งใดที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์

1. แรงบันดาลใจในการสร้างผลงานนาฏศิลป์และศิลปะการแสดง จากแรงบันดาลใจทั้ง 3 ประการนี้ ส่งผลทำให้เกิดประเภทของนาฏศิลป์และศิลปะการแสดง 3 ปรเภทด้วยกันคือ 1. การแสดงเพื่อความบันเทิง 2. การแสดงประกอบพิธีกรรม 3. การแสดงเพื่อการเล่าเรื่อง