กฎการอนุรักษ์พลังงาน หมายถึงข้อใด

) กล่าวว่า “พลังงานเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่และไม่สามารถทำให้สูญหายหรือทำลายได้ แต่จะเกิดการเปลี่ยนรูปพลังงานจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่ง” ซึ่งในชีวิตประจำวันเราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์พลังงานไปใช้ประโยชน์มากมาย ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาจากตัวอย่าง ต่อไปนี้

1.  การเปลี่ยนพลังงานศักย์โน้มถ่วงเป็นพลังงานจลน์ ตัวอย่างเช่น น้ำกักเก็บไว้ในเขื่อน จะมีพลังงานศักย์โน้มถ่วงสะสมอยู่ เมื่อปล่อยให้น้ำไหลจากเขื่อนไปหมุนกังหันจะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานศักย์ไปเป็นพลังงานจลน์เพื่อนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า

2.  การเปลี่ยนพลังงานแสงไปเป็นพลังงานเคมี ตัวอย่างเช่น กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ซึ่งเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมีในรูปสารอาหาร แล้วเก็บสะสมไว้ในเนื้อเยื่อ

3.  การเปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานความร้อน ตัวอย่างเช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีพลังงานเคมีสะสมอยู่ จะได้พลังงานความร้อน

เกิดขึ้น

4. การเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน ตัวอย่างเช่น เตารีดที่มีขดลวดนิโครมเป็นส่วนประกอบ เมื่อได้รับกระแสไฟฟ้าจะทำให้มีพลังงานความร้อนเกิดขึ้น

         การเล่น Speed Slider และ Super Spiral ผู้เล่นต้องทำงานโดยการขึ้นบันไดไปจนถึงจุดสูงสุดของเครื่องเล่น ทำให้ผู้เล่นมีพลังงาน ศักย์โน้มถ่วง จากนั้นจึงจะปล่อยให้ตัวเองไถลลงมาตามราง ลงสู่ที่ต่ำ ทุกขณะพลังงานศักย์โน้มถ่วงจะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์มีผลให้ผู้เล่น  เคลื่อนที่ลงด้วยความเร็วมากขึ้น ๆ และเพื่อช่วยลดแรงเสียดทาน รางของเครื่องเล่นทั้งสองชนิดจึงมีน้ำหล่อเลี้ยงเพื่อลดแรงเสียดทานระหว่างผู้เล่นกับพื้นราง  รางของเครื่องเล่น Speed Slider บางช่วงจะอยู่ในแนวราบ เพื่อชะลอให้พลังงานศักย์โน้มถ่วงเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ไม่เร็วเกินไป ผู้เล่นจึงไถลลงมาด้วยความเร็วที่เหมาะสมไม่สูงจนเกินไป

        พลังงานกลไม่มีการสูญหายแต่สามารถเปลี่ยนรูปได้  เช่น พลังงานจลน์เปลี่ยนไปเป็นพลังงานศักย์ หรือพลังงานศักย์เปลี่ยนไปเป็นพลังงานจลน์เป็นต้นนั่นหมายถึงพลังงานกลรวมของวัตถุมีค่าคงที่เสมอหรือผลรวมของพลังงานจลน์และพลังงานศักย์มีค่าคงที่เสมอแต่ในความเป็นจริงในธรรมชาติไม่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากมีแรงต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งส่งผลทำให้เกิดงานของแรงต้านแล้วเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อนหรือพลังงานเสียงดังนั้นพลังงานส่วนนี้สามารถรวมกับพลังงานกลแล้วพลังงานรวมจะมีค่าคงที่ซึ่งเป็นไปตามกฎอนุรักษ์พลังงานที่กล่าวว่าพลังงานรวมของระบบจะไม่สูญหายแต่จะเปลี่ยนจากพลังงานหนึ่งไปเป็นอีกพลังงานหนึ่ง

     กฎการอนุรักษ์พลังงานกล

          ถ้าปล่อยวัตถุจากที่สูงระดับหนึ่งให้ตกแบบอิสระ ฯ ตำแหน่งความสูงต่างๆ ของการเคลื่อนที่ ความเร็วของวัตถุจะเปลี่ยน ทำให้ขณะที่ตกทั้งพลังงานจลน์และพลังงานศักย์โน้มถ่วงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  แต่ผลบวกของพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ของวัตถุ ซึ่งจะเรียกว่า พลังงานกล (Mechanical Energy) ของวัตถุ จะมีค่าคงตัวทุกขณะ เราสามารถหาความสัมพันธ์นี้ได้จากกฎการเคลื่อนที่ (เราอาจศึกษาความสัมพันธ์นี้ได้จากการทดลองและกิจกรรมท้ายบท)
          สมมติว่าปล่อยวัตถุมวล m  ให้ตกลงแบบเสรี ถ้าขณะที่มวลอยู่สูง 
กฎการอนุรักษ์พลังงาน หมายถึงข้อใด
 จากพื้นดิน วัตถุมีความเร็ว u เมื่อมวลตกลงต่อไปอีกจนอยู่ที่ระดับสูง h จากพื้นดิน วัตถุมีความเร็ว v  และเนื่องจากการเคลื่อนที่นี้มีความเร่งคงตัว  g  จะได้

                                                                

กฎการอนุรักษ์พลังงาน หมายถึงข้อใด

                                                            เมื่อคูณด้วย  
กฎการอนุรักษ์พลังงาน หมายถึงข้อใด
  ทั้งสองข้างจะได้
                                                     
กฎการอนุรักษ์พลังงาน หมายถึงข้อใด

                                                                                      = 
กฎการอนุรักษ์พลังงาน หมายถึงข้อใด

                                                                                      = 
กฎการอนุรักษ์พลังงาน หมายถึงข้อใด

                                        หรือ                          
กฎการอนุรักษ์พลังงาน หมายถึงข้อใด
                               (1)

          จากสมการนี้แสดงให้เห็นว่าพลังงานจลน์ของวัตถุที่เพิ่มขึ้นเท่ากับพลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุที่ลดลง  สมการข้างบนอาจเขียนใหม่ได้ว่า
                                                      

กฎการอนุรักษ์พลังงาน หมายถึงข้อใด
                    (2)
          ซึ่งแสดงว่าพลังงานกลของวัตถุ ฯ ตำแหน่งแรกกับตำแหน่งหลังมีค่าเท่ากัน ไม่ว่าจะพิจารณาตำแหน่งแรกและหลังที่ใด
          สรุปได้ว่า  การเคลื่อนที่แบบเสรีของวัตถุภายใต้สนามโน้มถ่วงของโลกโดยไม่มีแรงภายนอกมากระทำ  พลังงานกลของวัตถุ ณ ตำแหน่งใดก็ตาม ย่อมมีค่าคงเดิมเสมอ เมื่อวัตถุตกลงพลังงานศักย์โน้มถ่วงจะลดลง  ค่าที่ลดลงจะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจลน์ที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ  ถ้าเราขว้างวัตถุไปจากพื้นดินเป็นโพรเจกไทล์ ทุกๆ ช่วงที่วัตถุเคลื่อนที่ทั้งขาขึ้นและขาลง จะมีพลังงานกล  คือ  พลังงานศักย์โน้มถ่วงและพลังงานจลน์รวมกันทุกขณะจะคงตัวตลอดการเคลื่อนที่ ทั้งนี้การเคลื่อนที่ดังกล่าวเป็นการเคลื่อนที่ในสนามแรงโน้มถ่วงของโลกและในการเคลื่อนที่นี้แรงของสนามทำงานตลอดเวลาแต่ไม่ทำให้พลังงานกลเปลี่ยน  สนามเช่น  สนามโน้มถ่วงนี้นับเป็นสนามอนุรักษ์ หรือแรงโน้มถ่วงนับเป็น แรงอนุรักษ์  คือเป็นสนามที่ทำให้พลังงานกลรวมอนุรักษ์ ต่อไปจะพบว่า สนามไฟฟ้าก็เป็นสนามอนุรักษ์เช่นกัน
          แรงของสปริงโดยเฉพาะสปริงที่มีคุณภาพ เมื่อยืดหรือหดในขอบเขตของการยืดหยุ่นจะมีการสูญเสียพลังงานที่มีในตัวน้อยมาก จึงประมาณว่าแรงของสปริงเป็นแรงอนุรักษ์ได้ และสามารถมีพลังงานศักย์ได้  ตามปกติงานที่ไม่อนุรักษ์จะไม่สามารถคิดพลังงานศักย์ได้
          ในกรณีของสปริงนั้น ถ้าสปริงถูกกดให้หดสั้น พลังงานกลของสปริงขณะนั้นมีค่าเท่ากับพลังงานศักย์ยืดหยุ่นเพราะพลังงานจลน์ขณะนั้นมีค่าเป็นศูนย์ เมื่อปล่อยมือ สปริงจะดีดตัวกลับโดยพลังงานศักย์ยืดหยุ่นจะลดลงเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจลน์  และเมื่อสปริงเคลื่อนที่กลับมาสู่ตำแหน่งสมดุล พลังงานจลน์จะมีค่ามากที่สุดในขณะที่พลังงานศักย์ยืดหยุ่นลดลงเป็นศูนย์ (ดังนั้นทุกขณะของการเคลื่อนที่พลังงานกลรวมจะมีค่าคงตัว)
          จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ในการเคลื่อนที่ของวัตถุภายใต้แรงโน้มถ่วงหรือแรงยืดหยุ่นของสปริง พลังงานกลของวัตถุมีค่าคงตัวเสมอ ซึ่งเป็นไปตาม กฎการอนุรักษ์พลังงานกล (law of conservation of mechanical energy) ที่กล่าวว่า พลังงานกลรวมของวัตถุจะไม่สูญหาย แต่ อาจเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้

เราสามารถหาพลังงานกลรวมได้จากสมการ

กฎการอนุรักษ์พลังงาน หมายถึงข้อใด
กฎการอนุรักษ์พลังงาน หมายถึงข้อใด

กฎของการอนุรักษ์พลังงานมีอะไรบ้าง

กฎอนุรักษ์พลังงาน (อังกฤษ: Conservation of energy) เป็นกฎในทางฟิสิกส์ที่กล่าวว่า พลังงานโดยรวมในระบบแยกส่วน หนึ่ง ๆ จะมีค่าเท่าเดิม หรือพูดได้ว่าพลังงานจะถูกอนุรักษ์ตลอดช่วงเวลา พลังงานที่ป้อนเข้าไปในระบบใดระบบหนึ่ง จะเท่ากับพลังงานที่ส่งออกมา พลังงานไม่สามารถถูกสร้างขึ้นใหม่หรือถูกทำลาย มันทำได้แต่เพียงเปลี่ยนรูปไป ...

ข้อใดเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์พลังงานกล

จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ในการเคลื่อนที่ของวัตถุภายใต้แรงโน้มถ่วงหรือแรงยืดหยุ่นของสปริง พลังงานกลของวัตถุมีค่าคงตัวเสมอ ซึ่งเป็นไปตาม กฎการอนุรักษ์พลังงานกล (law of conservation of mechanical energy) ที่กล่าวว่า พลังงานกลรวมของวัตถุจะไม่สูญหาย แต่ อาจเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้

ข้อใดคือพลังงานกล

พลังงานกล (Kinetic Energy) เป็นพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีวัตถุเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง เป็นต้น

พลังงานจลน์มีความหมายว่าอย่างไร

พลังงานจลน์ คือพลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น รถยนต์กำลังแล่น เครื่องบินกำลังบิน พัดลมกำลังหมุน น้ำกำลังไหลหรือน้ำตกจากหน้าผา ธนูที่พุ่งออกจากคันศร จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่า พลังงานจลน์ล้วนเป็นพลังงานกลที่สามารถเปลี่ยนรูปกลับไปกลับมาได้