เจ้าหน้าที่ เวช ระเบียน มี หน้าที่ อะไร บ้าง

2)จัดระบบบริการ ค้นหาและจัดเก็บเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน พร้อมทั้งตรวจสอบปริมาณและคุณภาพเวชระเบียน
3)จัดทำประวัติเวชระเบียนของผู้รับบริการโดยมีข้อมูลประวัติส่วนบุคคล อย่างถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว เพื่อส่งต่อให้หน่วยงานรักษาพยาบาลได้ใช้ประกอบในการให้บริการทางการแพทย์
4)จัดทำทะเบียนผู้ป่วยที่รับไว้รักษาต่อในโรงพยาบาล และรวบรวมรายงานทางการแพทย์ของผู้ป่วยทุกราย ให้ครบถ้วน สมบูรณ์และทันเวลา
5)จัดสถานที่และระบบในการเก็บรักษาเวชระเบียน Digital Filing System ให้มีประสิทธิภาพ เป็นหมวดหมู่ มีระเบียบสะดวกในการค้นหาและป้องกันการสูญหาย

6)รวบรวม สถิติข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ป่วยทุกรายจัดทำเป็นรายงานต่าง ๆ ได้ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา                                                                                                   

7)ประสานงานเบื้องต้นกับผู้ป่วยในการให้บริการและประชาสัมพันธ์ในฐานะหน่วยบริการด่านหน้าFront liner
8)ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบงานที่เหมาะสม
9)การตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลจากฐานข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการใช้บริการของผู้ป่วย รวมถึงการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการใช้สิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย
10)จัดระบบการแปลผลลงรหัสโรค ( Medical Coding ) เวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ให้รหัสโรคผู้ป่วย(ICD-10),รหัสหัตถการ(ICD-9-CM) ตามการวินิจฉัยโรค, ผลการรักษา, การผ่าตัด, โรคแทรกซ้อน,สาเหตุการตายฯลฯ
11)จัดระบบการบันทึกและเก็บข้อมูลให้สมบูรณ์ถูกต้อง มีระบบตรวจสอบการบันทึกข้อมูล รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพเวชระเบียน( Medical Record Audit )
12)จัดระบบการรักษาความลับข้อมูลของผู้ป่วย มีการกำหนดรหัสผ่านการเข้าถึงข้อมูล มีแบบยินยอมเปิดเผยประวัติการรักษาของผู้ป่วย
13)ให้บริการค้นหาและสำเนาเวชระเบียน เพื่อการรักษาพยาบาล,การวิจัย,ประกันชีวิต และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
14)ให้บริการข้อมูล สถิติการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ของโรงพยาบาลราชบุรี แก่บุคลากรและหน่วยงานทั้งภายในและนอกโรงพยาบาล
15)เป็นแหล่งศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ
16)พัฒนาระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์( Electronic Medical Record System ) เพื่อตอบสนองการพัฒนาระบบบริการให้มีความเป็นเลิศในการให้บริการ
  • มองหาไอเดียตกแต่งบ้านและคอนโด, คอนโดมิเนียม, ขายบ้าน, ขายบ้านใหม่, คอนโดใหม่

  • รับงานสแตนเลส-เหล็กทุกชนิด ประตู ราวบันได กันตก โครงหลังคา เหล็กดัด กันสาด โพลี เมทัลชีท ขอนแก่น

  • Driverbiggershares - แจกฟรี ไดร์เวอร์ ,เฟิร์มแวร์ ,รอมศูนย์ ทุกค่าย.

  • อภิชาต คลินิก บริการ โบท็อกซ์ลดกราม ร้อยไหมหน้าเรียว ฉีดหน้าใส กำจัดขนรักแร้ ฉีดฟิลเลอร์ จมูก คาง ร

  • อภิชาต คลินิก บริการ โบท็อกซ์ลดกราม ร้อยไหมหน้าเรียว ฉีดหน้าใส กำจัดขนรักแร้ ฉีดฟิลเลอร์ จมูก คาง ร

  • ทำไมเราจึงต้องมีล็อคเกอร์ ใส่กุญแจไว้เก็บของสำคัญไม่ให้สูญหายหรือโดนขโมย ข้อมูลที่สำคัญก็เหมือนกันที่ต้องมีมาตรการการเก็บรักษาให้ปลอดภัย อาจใช้การใส่รหัสไว้ส่วนตัว หรือเป็นการเข้ารหัสจากตัวระบบเอง วัตถุประสงค์ก็เพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดข้อมูลตามมา ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสียหายได้

    ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) ซึ่งไทยได้บังคับใช้บางส่วนมื่อปีที่ผ่านมา กล่าวถึงรายละเอียดการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลไว้ โดยข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่สามารถระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลนั้นได้ อาจเป็นได้ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ ลายนิ้วมือ เป็นต้น ในส่วนของกฎหมาย GDPR ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปก็มีการกล่าวถึงกำหนดระยะเวลาของการเก็บรักษาข้อมูล (Data Retention) ไว้เช่นกัน วัตถุประสงค์ของการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีทำการแฮ็กข้อมูลเพื่อข่มขู่หวังผลประโยชน์จากทั้งตัวเจ้าของข้อมูลเองหรือจากบุคคลที่ดูแลข้อมูล

    ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นบุคคลที่มีหน้าที่ตัดสินใจในการเก็บรวบรวม การใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล มีหน้าที่ต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังนี้

    • แจ้งวัตถุประสงค์ที่จะเก็บจากเจ้าของข้อมูลก่อนให้ชัดเจน
    • ในกรณีที่ต้องขอความยินยอมต้องให้อิสระเจ้าของข้อมูลในการเลือกให้ความยินยอม
    • ต้องเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็น และลบทำลายข้อมูลเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ได้แจ้งไว้
    • แจ้งสถานที่ติดต่อและผู้ดูแลหรือผู้ประสานงาน
    • ต้องเก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถเก็บข้อมูลจากแหล่งอื่นได้ เช่น จะซื้อข้อมูลต่อจากที่อื่น หรือใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นไม่ได้ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่น ก็ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลโดยเร็ว หรือภายใน 30 วัน
    • อาจไม่ต้องขอความยินยอมก็ได้ เช่น เป็นกรณีเจ้าของข้อมูลเคยให้ความยินยอมไว้อยู่แล้ว หรือ กรณีเร่งด่วนจำเป็น เจ้าของข้อมูลเกิดอุบัติเหตุต้องเข้ารับการรักษาฉุกเฉิน แพทย์ก็อาจใช้ข้อมูลได้ ทั้งนี้ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป และศึกษาข้อยกเว้นที่ไม่ต้องขอความยินยอมให้ละเอียดครบถ้วน เพราะหากพลาดพลั้งไป ก็มีความเสี่ยงที่จะทำผิด PDPA และมีโทษตามกฎหมายได้

    องค์กรในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล คงจะทำงานเพียงคนเดียวไม่ได้ ถ้าองค์กรไม่กำหนดนโยบายให้ชัดเจน ในทางปฏิบัติควรให้ทุกฝ่ายในองค์กรทั้ง IT, HR, Marketing, Customer service, Compliance, Sales, กฎหมาย, บัญชี ประชุมร่วมกัน

    โดยดำเนินการตาม 6 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

    1. จัดทำนโยบายการเก็บรักษาข้อมูล สร้างมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้ทิศทางการเก็บข้อมูลในแต่ละฝ่ายเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
    2. ให้แต่ละฝ่ายระบุข้อมูลที่จำเป็นต้องเก็บ ระยะเวลาที่เก็บข้อมูล หากข้อมูลนั้นจำเป็นจะต้องเก็บ จะเก็บต่อเป็นระยะเวลาเท่าใด หรือถ้าไม่จำเป็นจะลบทำลายได้หรือไม่
    3. จัดทำฐานการประมวลผลข้อมูล แบ่งประเภทข้อมูล ทั้งข้อมูลที่จัดเก็บในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูล hard copy ที่จับต้องได้ ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว (Sensitive Personal Data) เพื่อจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบ ทำให้มีหลักฐานพิสูจน์อำนาจในการจัดเก็บข้อมูลตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย
    4. ปฏิบัติตามนโยบายการเก็บรักษาข้อมูล โดยแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้รับทราบและยินยอมตามวัตถุประสงค์ของการขอเก็บข้อมูล โดยอาจเขียนรวมกับนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) หรือจะเขียนแยกเพื่อให้ชัดเจนมากขึ้นก็ได้ สร้าง Privacy Policy สอดคล้อง PDPA ฟรี ! เก็บรักษาและลบทำลายข้อมูลตามระยะเวลาของนโยบายการเก็บรักษาข้อมูล เช่น หากลูกค้าไม่ได้ใช้บริการ ไม่ได้ซื้อสินค้ากับองค์กร หรือไม่ได้เป็นสมาชิกแล้ว ให้มีการลบทำลายข้อมูลลูกค้าและข้อมูลการใช้บริการภายใน 3 ปี การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรซึ่งมีทั้งข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปและข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว (ลายนิ้วมือ ข้อมูลสุขภาพ) ให้ลบทำลายข้อมูลเมื่อพ้นสภาพพนักงานภายใน 1 ปี การเก็บรักษาเวชระเบียนทางการแพทย์หรือข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว เมื่อผู้ป่วยขาดการติดต่อกับโรงพยาบาลเกิน 5 ปี สามารถลบหรือทำลายข้อมูลนั้นได้ เป็นต้น การลบทำลายข้อมูลก็เพื่อให้องค์กรไม่ต้องดูแลหรือเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเก็บรักษาข้อมูลที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป
    5. จ้างเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล หรือ DPO (Data Protection Officer) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย PDPA และ GDPR เพื่อขอคำปรึกษาหากไม่มั่นใจว่าองค์กรปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ หรือถ้าเกิดเหตุข้อมูลลูกค้าถูกละเมิดจริง ก็เป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้

    นโยบายการเก็บรักษาข้อมูลเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ซึ่งหากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและบุคลากรในองค์กร มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลแล้ว ความเสี่ยงกรณีข้อมูลถูกละเมิดก็จะน้อยลง ทำให้องค์กรเกิดความน่าเชื่อถือ และยกระดับมาตรฐานองค์กรในสายตาผู้บริโภคได้มากขึ้นอีกด้วย

    เจ้าหน้าที่เวชระเบียน ใช้วุฒิอะไร

    ระดับการศึกษา : ปวส. รายละเอียดวุฒิ : ได้รับประกาศนียบัตร ซึ่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายที่ศึกษาวิชาสามัญทางการพยาบาล เวชสถิติ หรือได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเวชระเบียน

    เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเงินเดือนเท่าไร

    อัตราเงินเดือน อาชีพเวชระเบียน จะได้รับรายได้ขั้นต่ำประมาณ 15,000 - 20,000 บาท/เดือน พร้อมทั้งสวัสดิการต่างๆตามที่โรงพยาบาลจะกำหนด

    พนักงานบริการของโรงพยาบาลมีหน้าที่อะไร

    1.งานบริการผู้ป่วย ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายและการอยู่เวรปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 2. บริการอาหารแก่ผู้ป่วย ตามกลุ่มโรคของผู้ป่วย 3. บริการทำความสะอาดในตึกผู้ป่วย และสถานที่ต่างๆ ในโรงพยาบาล และร่วมกิจกรรมรณรงค์ 5ส. 4.ดูแล ระบบบำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ ต่างๆ ตามตารางการบำรุงรักษา

    เวชสถิติ ทำอะไรบ้าง

    วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานต่างๆ เกี่ยวกับตัวเลขสถิติคนไข้ สถิติโรค สถิติการบำบัดรักษาและผ่าตัด สถิติการชันสูตรโรค สถิติการจ่ายยา สถิติการเอกซเรย์ และสถิติอื่นๆ ของโรงพยาบาล หรือหน่วยงานหรือ ส่วนราชการที่สังกัด ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิชาการเวชสถิติ เสนอความเห็นเกี่ยวกับการวางแผน และกำหนดแนวทางปฏิบัติงาน ...