บทบาทนักสังคมสงเคราะห์มีอะไรบ้าง

ถ้าหากมีคนถามคุณว่า ‘นักสังคมสงเคราะห์คืออะไร’ คุณจะนึกถึงอะไรเป็นอย่างแรก การช่วยเหลือ การเยียวยา หรือว่าการให้ ถ้ามีคำเหล่านี้ผุดขึ้นมาระหว่างที่คุณหาคำตอบอยู่นั้น เราขอตอบว่า…คุณมาถูกทางแล้ว แต่!…นั่นนับว่ายังไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะเบื้องลึกเบื้องหลังของอาชีพนี้มีอะไรมากกว่าที่คุณคิด บทความนี้จะพาคุณเข้าไปสู่โลกแห่งนักสังคมสงเคราะห์…พาคุณไปรู้จักกับอาชีพแห่งการให้ที่ยิ่งใหญ่สุดๆ

อย่างไรถึงจะเรียกว่า…นักสังคมสงเคราะห์

นักสังคมสงเคราะห์ คือ บุคคลทำงานเพื่อสังคม พวกเขาเป็นผู้บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนโดยเน้นระดับรากหญ้าเป็นหลัก และรวมถึงประชาชนในสังคมทุกชนชั้นที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยงานหลักของนักสังคมสงเคราะห์จะทำงานเกี่ยวกับผู้ที่มีปัญหาของสังคม เช่น เด็กและวัยรุ่น คนชรา ขอทาน ผู้พิการและทุพพลภาพ กลุ่มคนชายขอบ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ประสบปัญหาเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงมีพลังใจในการดำเนินชีวิต ซึ่งปัจจุบันปัญหาสังคม อาทิ ปัญหายาเสพติด ปัญหาความยากจน ปัญหาการถูกทอดทิ้ง ก็ยิ่งมีมากขึ้นเรียกได้ว่าแปรผันตรงไปพร้อมกับการพัฒนาด้านวัตถุทีเดียว ถึงตรงนี้ เราขอให้คำนิยามว่าอาชีพนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้ให้ได้ในสองทาง

ให้ที่หนึ่ง คือ การให้แก่ประชาชน เมื่อนักสังคงสังเคราะห์ช่วยเหลือและเยียวยาประชาชนที่เดือดร้อนแล้ว จะทำให้ผู้ประสบปัญหามีศรัทธาในคุณค่าของตัวเอง ไม่มองว่าตนเป็นภาระของสังคม และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ส่วนให้ที่สอง คือ การให้แก่สังคม นักสังคมสงเคราะห์นั้นแท้จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนของสังคม หากประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีก็ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งสิ่งที่นักสังคมสงเคราะห์ทำนั้นมีความสำคัญไม่แพ้การพัฒนาด้านอื่นๆ

ศาสตร์ของการช่วยเหลือ

นักสังคมสงเคราะห์จะต้องพิจารณาปัญหา และให้ความช่วยเหลือตามหลักของการสังคมสงเคราะห์ และจะเน้นไปที่การทำงานร่วมกับผู้ประสบปัญหามากกว่าให้ความช่วยเหลือฝ่ายเดียว นอกจากนั้นยังต้องใช้จิตวิทยา การวิเคราะห์ ค้นคว้าและศึกษาควบคู่กันไป หลายคนอาจคิดว่าคนที่จะเป็นนักสังคมสงเคราะห์จะต้องเรียนจบคณะสังคมสงเคราะห์เท่านั้น อันที่จริงแล้วคนที่เรียนสายสังคมศาสตร์อย่างจิตวิทยา สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ก็สามารถเป็นนักสังคมสงเคราะห์ได้ เพื่อประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนมาช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหา เข้าใจและเยียวยาพวกเขา ให้พวกเขาอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป

หน่วยงานภาครัฐกับงานสังคมสงเคราะห์

ปัจจุบันหน่วยงานราชการที่ดูแลเรื่องความผาสุกของประชาชนนั้นมีทั้งหมด ๔ กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งแต่ละกระทรวงก็จะหน่วยงานในสังกัดที่รับผิดชอบงานด้านสังคมสงเคราะห์ เช่น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

นักสังคมสงเคราะห์ในหน่วยงานราชการ

สำหรับนักสังคมสงเคราะห์ในหน่วยงานราชการนั้น คุณสามารถเติบโตไปจนถึงระดับสูงสุด คือนักสังคมสงเคราะห์เชี่ยวชาญ นั่นหมายความว่าความรับผิดชอบงานด้านสังคมสงเคราะห์ของคุณจะได้ตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนั้นยังให้คำปรึกษากับส่วนราชการระดับกระทรวง กรมเพื่อแก้ปัญหาที่จะส่งผลกระทบในวงกว้างอีกด้วย

แต่ก่อนไปถึงนักสังคมสงเคราะห์ระดับเชี่ยวชาญนั้น คุณจะต้องบรรจุเป็นข้าราชการ ตำแหน่งสายงานนักสังคมสงเคราะห์เสียก่อน โดยเริ่มจากระดับตำแหน่งดังต่อไปนี้

  • นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ
  • นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ
  • นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ
  • นักสังคมสงเคราะห์เชี่ยวชาญ

ในแต่ละระดับตำแหน่ง คุณจะได้ฝึกปรือฝีมือในการช่วยเหลือประชาชน ลับคมความเชี่ยวชาญของตนเองจากการเยียวยา แก้ปัญหาสังคมจากระดับปกติไปจนถึงยากแบบเต็มขั้น

หากคุณสนใจงานด้านการสงเคราะห์ อาชีพนักสังคมสงเคราะห์นี้ก็เป็นอีกทางเลือกอีกทางหนึ่งที่น่าสนใจ คุณจะได้ช่วยเหลือและพัฒนาสังคมไปในเวลาเดียวกัน คุณจะเป็นแรงขับเคลื่อนของสังคมที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เป็นความหวังให้พวกเขา หากคุณเป็นคน ๆ นั้นแล้วล่ะก็ จงมุ่งมั่น เตรียมความพร้อม เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในอาชีพแห่งการให้…อาชีพนักสังคมสงเคราะห์

ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือ เป็นองค์กรเอกชน ที่เป็นศูนย์รวมแห่งการเรียนรู้ Center for special needs children บำบัด ฟื้นฟู และให้บริการเกี่ยวกับเด็กที่ความต้องการพิเศษทุกประเภท โดยยึดหลักแนวทางการดูแลเด็ก ตามหลักวิชาการที่ได้รับการรับรองโดยผลงานวิจัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รูปแบบการจัดบริการจะเน้นการบำบัดรักษาที่ถูกออกแบบขึ้นเฉพาะสำหรับเด็กแต่ละรายเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็ก และครอบครัว  โดยมีทีมสหวิชาชีพในการให้บริการอย่างครบวงจร ซึ่งวิชาชีพสังคมสังเคราะห์ศาสตร์ หรือ นักสังคมสงเคราะห์ เป็นอีกหนึ่งในวิชาชีพที่มีบทบาทในการทำงานกับกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และครอบครัว

นักสังคมสงเคราะห์ (Social worker) เป็นคำที่ต่างประเทศเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับว่านักสังคมสงเคราะห์มีบทบาทอย่างไร ทำงานอะไร แต่สำหรับในประเทศไทย เมื่อเอ่ยคำนี้ขึ้นมาเมื่อไรจะถูกเข้าใจทันทีว่าเป็นการแจกของ หรืองานการกุศล ในความเป็นจริงแล้ว จะมีสักกี่คนที่เข้าใจงานสังคมสงเคราะห์ที่แท้จริงว่ามีทั้งทฤษฏี ทักษะ การปฏิบัติงาน ปรัชญา และหลักการต่างๆ อีกมากมายในการปฏิบัติงาน  เพื่อมุ่งพัฒนาคนให้เห็นคุณค่า และศักยภาพในตนเองที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการเข้าใจและเห็นคุณค่าของเพื่อนมนุษย์ซึ่งกันและกันจะทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

สำหรับบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และครอบครัวของศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือ นักสังคมสงเคราะห์จะมุ่งให้ความสำคัญเกี่ยวกับการการปรับสภาวะสมดุลของครอบครัวเป็นหลัก  เนื่องจากครอบครัวเป็นขุมพลังที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ใช้ในการดำรงชีวิต  ครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นในการวางรากฐาน การหล่อหลอมเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ ครอบครัวมีความสำคัญต่อมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต  โดยเฉพาะเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เป็นกลุ่มที่ต้องพึ่งพาครอบครัวมาก  ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นบุคคลสำคัญของบุคคลเหล่านี้  ครอบครัวโดยเฉพาะพ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษต้องรับภาระหนักมากทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม และปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ  ซึ่งครอบครัวในกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษนอกจากจะต้องมีความรู้ในการดูแลอย่างถูกวิธีเพื่อเสริมสร้าง  พัฒนาศักยภาพแล้ว  ครอบครัวต้องดำเนินครอบครัวให้ดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างปกติแล้ว  ครอบครัวของเด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้ต้องทำงานหนักกว่าครอบครัวอื่นเป็นเท่าตัว  ด้วยสภาพความกดดันทั้งจากการดูแลและพัฒนาให้เด็กเป็นปกติแล้ว ยังต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านปัจจัยสี่ของครอบครัว ส่งผล

ให้เกิดความเครียด และมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้น  ซึ่งมีอิทธิพลต่อปัญหาทางจิต ซึ่งเป็นปัญหาความ

ขัดแย้งภายในบุคคล ผู้ที่เข้าไปมีบทบาทให้ความช่วยเหลือ หรือนักสังคมสงเคราะห์เองจึงพึงควรตระหนัก และเข้าใจในการวินิจฉัยและให้การบำบัดที่เหมาะสม  เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจก่อให้เกิดปัญหาจิตเวชในที่สุด และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพของเด็ก  ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาก็พบว่า สายสัมพันธ์ระหว่างสามี และภรรยา  มีความสำคัญต่อลูกมาก  ลูกๆจะเรียนรู้ความสัมพันธ์ของผู้ใหญ่  โดยเฉพาะพ่อแม่  ความร่วมมือกันของพ่อแม่จะเป็นตัวแบบ สำหรับลูกๆ สิ่งเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อลูก  เช่น  เมื่อสามี ภรรยาพบว่า ลูกมีความบกพร่อง เป็นเด็กพิเศษ สามี ภรรยาที่ไม่ผูกพันกัน   จะทะเลาะกัน  ถ้าแม่ทุ่มเทให้ลูกมาก  ความสัมพันธ์ของแม่กับลูกจะเหนียวแน่นมาก  และมีผลกระทบต่อสามี  แม่จะละเลยหน้าที่ของภรรยา  หรือบางครั้งพ่อจะถอยห่างออกมา  เพราะพ่อรู้สึกว่าตนเองดูแลลูกได้ไม่ดี  พ่อรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า  และเป็นสาเหตุของการหย่าร้าง  พ่อบางรายรู้สึกอับอายที่จะดูแลลูก  รู้สึกผิดหวัง  กังวลใจ  ยอมรับไม่ได้  และรู้สึกด้อยค่าไม่มีความสามารถในการดูแลลูก  ส่วนแม่จะรู้สึกรัก  อับอาย  กลัว และทุ่มเท  ส่วนตัวเด็กที่มีความบกพร่องต้องการการดูแลปกป้อง  เอาใจใส่  ความรักจากพ่อแม่  เด็กไม่คิดว่าตนเองแย่งความรักจากพ่อ   ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาเพื่อปรับสภาวะสมดุลของครอบครัว คือ  การหลีกหนี  ทะเลาะ และแยกทางในที่สุด

การทำงานกับกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษและครอบครัว จึงควรมุ่งสร้างให้แต่ละครอบครัวสามารถปรับสภาวะสมดุลของครอบครัวได้ ส่งเสริมให้ผู้รับบริการเห็นคุณค่า และศักยภาพของตนเอง จนผู้รับบริการสามารถช่วยเหลือตนเองได้ นับว่าเป็นสิ่งที่งานสังคมสงเคราะห์ปรารถนาให้เกิดขึ้น  ซึ่งนอกจากนักสังคมสงเคราะห์จะต้องพึงตระหนักในบทบาทของตนเองต่อการดูแลและช่วยเหลือแล้ว  นักสังคมสงเคราะห์จะต้องมีจรรยาบรรณในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้มารับบริการว่าจะได้รับบริการความช่วยเหลืออย่างมีมาตรฐาน  ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอารมณ์  ความรู้สึกหรือถูกเลือกปฏิบัติจากนักสังคมสงเคราะห์  จึงเป็นที่คาดหวังจากสังคมว่าจะต้องมีข้อกำหนดเป็นพิเศษหรือมีหลักประกันในการทำงานให้สังคมมั่นใจในมาตรฐานการให้บริการ  ดังนั้นนักสังคมสงเคราะห์ นอกจากจะต้องประพฤติตนเป็นคนดีในสังคมเป็นพื้นฐานแล้ว ยังจะต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นพิเศษตามข้อกำหนดของจรรยาบรรณทางวิชาชีพอีกด้วย  เพื่อให้สังคมเกิดการยอมรับว่า นักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพนั้น มีขั้นตอนและกระบวนการทำงานที่น่าเชื่อถือและเป็นรูปธรรม ที่เกิดจากการสั่งสมความรู้ แล้วนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการบริหารจัดการกับปัญหาของคนในสังคมต่อไป

อรพิน  กลิ่นพยูร

นักสังคมสงเคราะห์

ประจำศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือ

นักสังคมสงเคราะห์ มีอะไรบ้าง

นักสังคมสงเคราะห์อาจวางแผนการทำงาน การประชุม การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้มาใช้บริการในสำนักงาน และออกเยี่ยมบ้านผู้มารับบริการตามกำหนดการ เช่น กลุ่มฟื้นฟูสภาพครอบครัวกลุ่มแม่นอกสมรส เพื่อไปช่วยคอยแนะนำบุคคลในครอบครัวทุกคน ช่วยแนะนำให้ได้งานทำหาอาหาร หรือนมให้เด็กเล็กจัดภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ เป็นต้น อาจต้อง ...

นักสังคมสงเคราะห์เรียนอะไรบ้าง

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เป็นการศึกษาที่เน้นให้มีความรูทัศนคติ ทักษะของ วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ในการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของคน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ระบบสวิสดิการ และการพัฒนาสังคม รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับนักวิชาชีพอื่นได้อย่างเหมาะสม

ผู้ที่จะประกอบอาชีพนักสังคมสงเคราะห์ควรมีลักษณะอย่างไร

นักสังคมสงเคราะห์จะต้องพิจารณาปัญหา และให้ความช่วยเหลือตามหลักของการสังคมสงเคราะห์ และจะเน้นไปที่การทำงานร่วมกับผู้ประสบปัญหามากกว่าให้ความช่วยเหลือฝ่ายเดียว นอกจากนั้นยังต้องใช้จิตวิทยา การวิเคราะห์ ค้นคว้าและศึกษาควบคู่กันไป หลายคนอาจคิดว่าคนที่จะเป็นนักสังคมสงเคราะห์จะต้องเรียนจบคณะสังคมสงเคราะห์เท่านั้น อันที่จริง ...

ทำไมต้องมีนักสังคมสงเคราะห์

เป็นไปได้สูงว่า บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์จะเป็นที่ต้องการและมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เนื่องจากนักสังคมสงเคราะห์ต้องทำหน้าที่ในการส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี มีความรู้ความสามารถที่ดี ผ่านการได้รับ “สวัสดิการทางสังคม” อันเป็นสิ่งที่เขาพึงมี พึงได้ อันเป็นสิทธิที่พึงได้รับอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน