ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนสถาบันการเงิน

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.ข้อใดกล่าวถึงความหมายของสถาบันการเงินได้ สมบูรณ์ที่สุด *

ธนาคารและสถาบันที่มีหน้าที่รับฝากเงิน หรือระดมเงินออม

สถาบันที่ทำหน้าที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการเงินทุกประเภท

สถาบันที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการดำเนินธุรกรรมทางการเงิน เป็นผู้รับฝากเงิน หรือระดมเงินออมและการให้สินเชื่อ

ธนาคารซึ่งทำหน้าที่รับฝากเงินและให้กู้ยืมเงิน

2.สถาบันการเงินทั่วไป ได้แก่ข้อใด *

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์

3.ธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย คือธนาคารอะไร *

4.ข้อความเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของสถาบันการเงิน  ข้อใดถูกต้องชัดเจนมากที่สุด *

ทำธุรกิจเกี่ยวกับการเงินที่มีผลประโยชน์

เป็นตัวกลางของผู้รับฝากเงิน

รับความเสี่ยงแทนผู้ออมและผู้กู้ยืมเงิน

5.ข้อความเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ ข้อใดถูกต้อง *

การให้สินเชื่อแก่ธุรกิจที่เน้นการเก็งกำไร

ระดมเงินฝากและให้สินเชื่อในระบบเศรษฐกิจมากกว่าสถาบันอื่น

สนับสนุนนักธุรกิจที่นำเข้าส่งออกสินค้า

ส่งเสริมการออมทรัพย์ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย

6.ธนาคารใดที่บริการสินเชื่อแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัย *

7.ธนาคารใดไม่ได้รับฝากเงินจากประชาชน *

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

8.สถาบันการเงินใดที่ทำหน้าที่ระดมเงินฝากจากประชาชนในรูปของการขายกรมธรรม์ให้แก่ผู้ซื้อกรมธรรม์ *

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม

9.สถาบันการเงินใดที่มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยสร้าง หลักประกันและความมั่นคงในการดำเนินชีวิต ให้แก่ลูกจ้างที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน *

10.ธนาคารกลาง หมายถึง ธนาคารใด *

ห้ามส่งรหัสผ่านใน Google ฟอร์ม

สาระสำคัญ        สถาบันการเงินให้บริการทีสำคัญ คือ  แหล่งกู้ยืมเงิน  เป็นประโยชน์ต่อการลงทุน  และให้ดอกเบี้ยเป็นรายได้จากการออม

ผลการเรียนรู้     มีความรู้ความเข้าใจความหมายบทบาทหน้าที่ความสำคัญและประเภทของสถาบันการเงิน

พฤติกรรมชี้วัด   1.  บอกความหมายบทบาทและความสำคัญของสถาบันการเงินได้

                            2.  บอกประเภทของสถาบันการเงินได้

1.  ความหมาย

                                สถาบันการเงิน หมายถึง  สถาบันที่ทำหน้าที่ระดมเงินออม  ให้กู้ยืมแก่ผู้ที่ต้องการเงินไปเพื่อการบริโภคหรือเพื่อการลงทุนดำเนินธุรกิจ  โดยจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ออม  และคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืม  กิจกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อคนเราประกอบอาชีพมีรายได้เกิดขึ้น  เขาย่อมมีอิสระที่จะนำรายได้นั้นไปใช้จ่ายเพื่อการบริโภคก็ได้  หรือจะเก็บออมไว้ในสถาบันการเงินต่างๆ  เพื่อให้ได้รับดอกเบี้ยงอกเงยก็ได้  และทางด้านการเงินของประเทศปกติก็จะมีอยู่  2  กลุ่ม  คือ  กลุ่มหนึ่งมีรายได้แล้วต้องการจะเก็บออมไว้  ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งต้องการเงินทุนไปประกอบธุรกิจของตน  สถาบันการเงินจะเข้ามาเป็นตัวกลางให้บริการทางการเงินแก่คนทั้ง  2  กลุ่มนี้  สถาบันการเงินจะระดมเงินออกจากประชาชนในรูปแบบต่างๆ กัน  แล้วให้ผู้ที่ต้องการกู้ยืมไปลงทุนในกิจการของตน

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน

         แผนผังวงจรแสดงความสัมพัธ์ระหว่างผู้มีเงินออม  ผู้ต้องการกู้  และสถาบันการเงิน

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน
3.  ประเภทของสถาบันการเงิน

ï สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร

1.  ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand)

                ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นธนาคารกลาง (central bank)  ของประเทศ  เริ่มจากการจัดตั้ง สำนักงานธนาคารชาติไทย ขึ้นก่อนเมื่อ พ.ศ. 2483  ทำหน้าที่ประกอบธุรกิจของธนาคารเฉพาะแต่บางประเภทเท่านั้น ยังมิได้มีฐานะเป็นธนาคารกลางโดยสมบูรณ์  ต่อมาจึงจัดตั้ง  ธนาคารแห่งประเทศไทย  ขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย  พ.ศ. 2485  ให้เป็นธนาคารกลางของประเทศ  เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485  มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดระบบการเงินและรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ  บทบาทและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยมีดังนี้

                1.  เป็นผู้ออกธนบัตร   เพื่อควบคุมปริมาณธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนให้พอดีกับความต้องการของภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไป  โดยมีกฎหมายควบคุมการออกธนบัตรและจัดการเกี่ยวกับธนบัตร  เพื่อความมีเสถียรภาพของเงินตราของประเทศ

                2.  เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์   ในฐานะนายธนาคารของธนาคารพานิชย์  ธนาคารกลางจำทำหน้าที่ดังนี้คือ

                                1. รับฝากเงินจากธนาคารพานิชย์  ตามปกติธนาคารพาณิชย์จะต้องฝากเงินสดสำรอง  ตามที่กำหนดไว้กับธนาคารกลาง

และใช้เป็นเงินสดสำรองสำหรับชำระหนี้ หรือ โอนเงินระหว่างธนาคารพานิชย์ด้วยกัน

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน
                                2.  รับหักบัญชีระหว่างธนาคาร   โดยที่ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งฝากเงินไว้ที่ธนาคารกลาง  เมื่อมีหนี้สินระหว่างธนาคารพาณิชย์ด้วยกัน

                                3.  เป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้าย   ธนาคารกลางเป็นแหล่งสุดท้ายที่ธนาคารพาณิชย์จะกู้ยืมได้โดยมีหลักทรัพย์รัฐบาลค้ำประกัน

                3. เป็นนายธนาคารและตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล   ธนาคารกลางจะทำหน้าที่ทางการเงินให้แก่รัฐบาลดังนี้ คือ

                                1.  ถือบัญชีเงินฝาก   ธนาคารกลางจะรักษาบัญชีเงินฝากของหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจ  และองค์กรอื่นๆ  ของรัฐบาล  และทำหน้าที่เป็นผู้จ่ายเงิน  ตามเช็คที่หน่วยราชการต่างๆ และรัฐวิสาหกิจสั่งจ่าย

                                2.  ให้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจกู้ยืม   รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจอาจกู้ยืมเงินจากธนาคารกลาง  โดยการขายตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตร

                                3.  เป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล   ธนาคารกลางจะเป็นตัวแทนจัดการทางการเงินของรัฐบาลทั้งในประเทศ และนอกประเทศ เช่น ติดต่อหาแหล่งเงินกู่ให้รัฐบาล

                4.  ดำเนินนโยบายการเงิน    ธนาคารกลางมีบทบาทสำคัญในการควบคุมปริมาณเงินของประเทศให้มีปริมาณที่เหมาะสม  ใช้มาตรการต่างๆ  ในการดำเนินนโยบายแก้ไขเงินเฟ้อให้มีปริมาณเงินในระดับที่เหมาะสม

2.  ธนาคารพาณิชย์ (commercla  bank)

                ธนาคารพาณิชย์นับเป็นสถาบันการเงินภาคเอกชนที่มีความสำคัญที่สุดในประเทศไทย  เพราะมีปริมาณเงินฝากและจำนวนเงินให้กู้สูงสุดเมื่อเทียบกับสถาบันการเงินอื่นๆ  ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505   และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม  กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยยอมให้ไม่ต้องใช้คำว่า บริษัท นำหน้า  แต่ให้มีคำว่า จำกัด ไว้ท้ายชื่อเท่านั้น เช่น ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น   ธนาคารพาณิชย์ให้บริการด้านการเงินในด้านต่างๆ ดังนี้

                                1.  การรับฝากเงิน   กล่าวโดยทั่วไปเราอาจแบ่งการรับฝากเงินของธนาคารพาณิชย์  เป็นประเภทใหญ่ๆ  ได้ดังนี้                                                   

  1.  เงินฝากกระแสรายวัน (current account  หรือ  checking account)   หรือ เงินฝากเผื่อเรียก (demand

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน
deposit)     เงินฝากประเภทนี้ธนาคารต้องจ่ายคืนเมื่อผู้ฝากทวงถาม  การฝากแบบนี้ผู้ฝากจะต้องนำเงินจำนวนหนึ่งมาฝากกับธนาคาร และทางธนาคารจะมอบสมุดเช็คให้ผู้ฝากเพื่อลงนามในเช็คสั่งจ่ายเงินได้ตามวงเงินที่ฝากไว้  นักธุรกิจส่วนใหญ่นิยมฝากกระแสรายวัน  เพราะสะดวกในการสั่งจ่ายเงินในการประกอบธุรกิจโดยไม่ต้องเสียเวลานับเงิน  และไม่จำเป็นต้องพกพาเงินจำนวนมากติดตัวไป  ส่วนธนาคารก็สามารถนำเงินที่ลูกค้าฝากไว้นั้นไปให้กู้ยืมต่อไปได้  ตามปกติการฝากเงินกระแสรายวันในประเทศไทยผู้ฝากจะไม่ได้รับดอกเบี้ย

                                                2.  เงินฝากออมทรัพย์ (savings deposit)   คือ  เงินฝากที่ผู้ฝากจะเบิกถอนเมื่อใดก็ได้  โดยนำเอกสารคู่ฝากไปเบิกที่ธนาคาร หรือถอนจากเครื่องเอทีเอ็ม

                                                3.  เงินฝากประจำ  (time deposit)   เป็นเงินประเภทกำหนดระยะเวลาในการเบิก-ถอน และจำถอนคืนได้ต่อเมื่อครบกำหนดหรือต้องแจ้งให้ธนาคารทราบล่วงหน้าก่อน โดยทั่วไปการฝากเงินประเภทนี้ ผู้ฝากจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์

                                                4.  เงินฝากอื่นๆ    เช่น สินมัธยัสถ์  เงินฝากเพือเคหะสงเคราะห์  เงินฝากเพื่อการศึกษา เงินฝาก

ดังกล่าวนี้เป็นการฝากสะสมในจำนวนคงที่ตามระยะที่กำหนด  และจะระบุวัตถุประสงค์ไว้ เช่น เพื่อการศึกษา  เพื่อที่อยู่อาศัย  เป็นต้น

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน
                                2. การให้กูยืม    นับเป็นหน้าที่และบทบาทสำคัญทางด้านการเงินของประเทศ  การให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์  อาจแบ่งได้เป็น  3  ลักษณะ  คือ

                                                1.  การให้กู้ยืมโดยตรง (Ioan)   คือ  การกู้ยืมที่มีกำหนดเวลาในการชำระหนี้แน่นอน  โดยจะผ่อนชำระเป็นงวดๆ หรือใช้คืนครั้งเดียวหมดก็แล้วแต่จะตกลงกัน  ผู้กู้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ไม่สูงเกินกว่าอัตราที่ธนาคารกลางกำหนดไว้

                                                2.  การให้เบิกเงินเกินบัญชี  หรือ  โอ.ดี  (overdraft : O.D.)    คือ  การให้กู้ยืมโดยธนาคารยอมให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีกระแสรายวันสามารถเขียนเช็คเบิกเงินสดได้เกินกว่าจำนวนที่มีอยู่ในบัญชีได้  จะเบิกเกินบัญชีได้มากน้อยแค่ไหนแล้วแต่ผู้กู้กับธนาคารจะตกลงกัน  การคิดดอกเบี้ยคิดเฉพาะส่วนที่เบิกเกินยอดเงินในบัญชี

                                                3.  การซื้อลดตั๋วเงิน  (discounting blll)  คือ  การที่ธนาคารรับซื้อตั๋วแลกเงิน  หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาชำระเงินจากลูกค้าที่นำมาขายลดให้  ผลประโยชน์ที่ธนาคารได้รับก็คือ  ได้หักส่วนลดจากลูกค้าตามอัตราซื้อลดที่ธนาคารกลางกำหนด  ส่วนลูกค้าแม้จะได้รับเงินน้อยกว่าที่ระบุไว้ในตั๋วเงิน  แต่ก็จะได้ประโยชน์ตรงที่ได้รับเงินสดไปใช้ทันที  ไม่ต้องรอให้ตั๋วเงินถึงกำหนดเวลาชำระเงิน

                                3.  การโอนเงิน   มีอยู่  2  ลักษณะ คือ การโอนเงินภายในท้องถิ่นเดียวกัน  และการโอนเงินจากท้องถิ่นหนึ่งมายังอีกท้องถิ่นหนึ่ง  หรือการโอนเงินจากประเทศหนึ่งมายังอีกประเทศหนึ่ง  ไม่ว่าจะเป็นการโอนไปเพื่อตัวเราเองหรือโอนไปให้บุคคลอื่นก็ตาม  ธนาคารสามารถให้บริการได้เป็น  2  รูปแบบด้วยกัน คือ การโอนเงินแบบธรรมดา  เป็นการโอนผ่านด้วยเช็คหรือดราฟต์ธนาคาร  และ  การโอนเงินแบบเร็วทันใจ  เป็นการโอนเงินโดยทางโทรเลข  เทเล็กซ์ (telex)  โทรศัพท์ทางไกล  และการโอนโดยผ่านศูนย์คอมพิวเตอร์แบบออนไลน์ (on-line)

                                4.  การเรียกเก็บเงิน   หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์เกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินนั้น  เป็นหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับการโอนเงิน  กล่าวคือธนาคารจะเรียกเก็บเงินตามเช็ค  ตั๋วเงิน  หรือดราฟต์  ที่ครบกำหนด  ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าเพื่อที่ลูกค้าจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปเก็บเงินด้วยตนเอง  ทั้งนี้เพราะธนาคารส่วนมากมีตัวแทนหรือสาขาอยู่ในจังหวัดต่างๆ  รวมทั้งในต่างประเทศด้วย ทำให้สามารถเรียกเก็บเงินได้โดยสะดวก  รวดเร็ว  และประหยัด

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน
                                5.  การให้เช่าตู้นิรภัย  ตามปกติธนาคารมักจะมีห้องมั่นคงไว้  เพื่อเก็บรักษาของมีค่าของธนาคาร  และเพื่อให้ลูกค้าเช่าสำหรับเก็บของมีค่าหรือของสำคัญๆ  โดยลูกค้าสามารถทำสัญญาเช่าตู้นิรภัยเพื่อเก็บทรัพย์สินอันมีค่า เช่น เครื่องเพชร  ทองรูปพรรณ  โฉนด  สัญญาต่าง

                                6.  การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ   หมายถึง การทีธนาคารทำหน้าที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ กล่าวคือ  เมื่อประชาชต้องการเงินตราต่างประเทศก็สามารถซื้อได้ จากธนาคารพาณิชย์ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้  และถ้าผู้ใดต้องการขายเงินตราต่างประเทศที่ตนมีในครอบครอง  ก็สามารถนำไปขายให้แก่ธนาคารพาณิชย์ได้เช่นกัน

                                7.  การออกเลตเตอร์ออฟเครดิต  (letter of credit : L/C )   เลตเตอร์ออฟเครดิต  คือ  ตราสารที่ธนาคารซึ่งผู้สั่งสินค้าเป็นลูกค้า  ออกให้แก่ผู้ขายสินค้า  โดยสั่งให้ธนาคารที่ติดต่อประจำ  จ่ายเงินแก่ผู้ขายสินค้าตามจำนวนที่ระบุ  และสัญญาว่าจะชำระเงินคืนแก่

ธนาคารที่จ่ายเงินไป  การออกแลตเตอร์ออฟเคดิตช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าธนาคารที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจการค้า  ทั้งการค้าภายในและการค้าต่างประเทศ

                                8.  การประกอบกิจการวิเทศธนกิจ   ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศให้ธนาคารพาณิชย์ทำกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF)  ได้เมื่อวันที่  16  กันยายน  พ.ศ.2535

                                การดำเนินกิจการวิเทศธนกิจ  ตามกฎระเบียบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดแบ่งเป็น  2  ลักษณะใหญ่ๆ คือ

                                                1. การระดมเงินทุนจากต่างประเทศไปสู่ประเทศอื่นๆ  (out-out financing)

                                                2. การระดมเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาใช้ภายในประเทศ (out-in financing)

                                9.  การบริการอื่นๆ    นอกจากที่กล่าวมาแล้ว  ธนาคารพาณิชย์ยังให้บริการอื่นๆ  แก่ลูกค้าอีก เช่น บริการบัตรเครดิต  บริการหนังสือค้ำประกัน   บริการให้คำปรึกษาด้านธุรกิจและการลงทุน  บริการรับชำระค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน

ï  สถาบันการเงินเพื่อวัตถุประสงค์โดยเฉพาะ

                                สถาบันการเงินเพื่อวัตถุประสงค์โดยเฉพาะ ได้แก่  สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจเฉพาะสาขาของเศรษฐกิจที่ระบุไว้ในกฎหมายควบคุมการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้นๆ ซึ่งมีดังต่อไปนี้

                                1.  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส)   เป็นธนาคารของรัฐบาล  จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์  พ.ศ. 2509  มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อส่งเสริมอาชีพหรือการดำเนินงานของเกษตรกร  กลุ่มเกษตรกร  และสหกรณ์การเกษตร  โดยให้กู้ยืมเงินระยะสั้น  ระยะปานกลาง  และระยะยาว

                                ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  มีสาขาอยู่ทุกภาคของประเทศ  เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรที่ต้องการกู้ยืมเงินไปดำเนินธุรกิจต่างๆ  และมีเกษตรกรสาขาต่างๆ ที่ธนาคารรับขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าทั่วราชาอาณาจักร  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของเกษตรกร มิใช่เพื่อหวังผลกำไรดังเช่นธนาคารพาณิชย์ทั่วไป

                                การให้บริการสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตตร มีดังนี้

                                                1.  การให้เงินกู้แก่เกษตรกรรายบุคคล   เป็นการให้บริการสินเชื่อโดยตรงแก่เกษตรกรที่ต้องการเงินสำหรบลงทุนทางการเกษตร  ทั้งในรูปเงินกู้เพื่อการเกษตร  การรอขายผลิตผล  และอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร

                                                2.  การให้เงินกู้แก่สถาบันเกษตรกร   ให้ความช่วยเหลือแก่สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร  โดยให้เงินกู้สำหรับการดำเนินงานทุกด้านของสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร เงินกู้มี  4  ประเภท คือ

                                                (1)  เงินกู้เพื่อใช้เป็นทุนให้กู้แก่สมาชิก   เป็นเงินกู้ที่สหกรณ์การเกษตรหรือกลุ่มเกษตรกรกู้เพื่อให้สมาชิกกู้ต่อสำหรับนำไปลงทุนในการเกษตรของสมาชิกแต่ละคน  โดยสหกรณ์การเกษตรหรือกลุ่มเกษตรกรจะเป็นผู้ดำเนินงานสินเชื่อต่อสมาชิกเอง

                                                (2)  เงินกู้เพื่อการขายผลิตผลการเกษตร   หลังจากสมาชิกนำเงินกู้ไปลงทุนในการผลิตทางการเกษตรแล้ว  เมื่อมีผลผลิตเกิดขึ้นสหกรณ์การเกษตรหรือกลุ่มเกสรกรจะเป็นผู้รับซื้อผลิตผลจากสมาชิกโดยตรงเพื่อตัดพ่อค้าคนกลาง  โดยใช้เงินกู้ประเภทนี้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมาเป็นทุนหมุนเวียน

                                                (3)  เงินกู้เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตร    สหกรณ์การเกษตรหรือกลุ่มเกษตรกรใช้เงินกู้ประเภทนี้เป็นทุนในการจัดหาวัสดุการเกษตร เช่น  ปุ๋ย  ยาฆ่าแมลง  อาหารสัตว์  เครื่องมือการเกษตร เป็นต้น  เพื่อจำหน่ายให้แก่สมาชิกและเกษตรกร

                                                (4)  เงินกู้ระยะยาวเพื่อการเกษตร   สำหรับการดำเนินิการในโครงการพัฒนาการเกษตร  ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล  หรือกิจการสาธารณูปโภคเพื่อเกษตรกรใช้ประโยชน์ร่วมกัน  รวมทั้งการลงทุนในสินทรัพย์ประจำอื่นๆ  ของสหกรณ์การเกษตรหรือกลุ่มเกษตรกร

                                                (5)  รับฝากเงินประเภทกระแสรายวัน   เป็นการรับฝากที่จะต้องจ่ายคืนทันทีเมื่อทวงถาม  เงินฝากประเภทนี้ใช้เบิกจ่ายโดยใช้เช็ค  ส่วนอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก  หรือไม่มีดอกเบี้ย

                            2. ธนาคารอาคารสงเคราะหื  (ธอส.)     เป็นธนาคารของรัฐบาล  จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496   เพื่อดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนมีอาคารและที่ดินเป็นที่อยู่อาศัย  ธนาคารอาคารสงเคราะห์ประกอบธุรกิจดังนี้

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน
                                            1.  ให้กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ดังต่อไปนี้

                                                     (1)  ซื้อที่ดินหรืออาคารเป็นของตนเอง

                                                     (2)  สร้าง  ขยาย  หรือซ่อมแซมอาคารของตนเอง

                                                     (3)  ใช้ไถ่ถอนจำนองอันผูกพันที่ดินหรืออาคารของตนเอง

                                                     (4)  ใช่ไถ่ถอนซึ่งการขายฝากที่ดินหรืออาคารของตนเอง

                                                     (5)  ใช้ในการลงทุนจัดกิจการเคหะ

                                            2.   รับจำนำหรือจำนองทรัพย์สินเพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืม

                                            3.   รับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้

                                            4.   กิจการอันพึงเป็นงานของธนาคารตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

                            3.  ธนาคารออมสิน  (The Government Savings Bank)    เป็นธนาคารที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489  เพื่อระดมเงินออมจากประชาชนแล้วนำมาให้รัฐบาลกู้ยืมโดยการซื้อพันธบัตร  ตั๋วสัญญาใช้เงิน  และตั๋วเงินคลังของรัฐบาล  กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การใช้เงินฝากของธนาคารออมสินส่วนหนึ่งเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาล  และต่อมาเมื่อรัฐบาลมีตัวเงินสดเกิดดุล  จึงไม่ได้กู้ยืมจากธนาคารออมสิน  ดังนั้นธนาคารออมสินจึงเริ่มให้เอกชนกู้ยืมมากขึ้น  ธนาคารมีสาขากระจายออกไปทั่วประเทศ  หน้าที่หลักของธนาคารออมสิน มีดังนี้

                                             1. บริการเงินฝาก    ธนาคารออมสินเปิดบริการรับฝากเงินประเภทต่างๆ เช่น  เงินฝากกระแสรายวัน  เงินฝากเผื่อเรียก (ออมทรัพย์)   เงินฝากประจำ  สลากออมสิน เงินฝากประเภทสงเคราะห์ทวีคูณ  เงินฝากประเภทเคหะสงเคราะห์ เป็นต้น

                                              2.  การลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์   ธนาคารออมสินระดมเงินออมจากประชาชนมาลงทุนในทางก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยส่วนรวม เช่น ซื้อตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐบาลเพื่อให้นำไปใช้พัฒนาประเทศให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจและเอกชนกู้ยืม เป็นต้น

                                             3.  ส่งเสริมการออมทรัพย์   ธนาคารออมสินมีนโยบายส่งเสริมการออม  และอำนวจความสะดวกให้แก่ประชาชนและเยาวชนที่ต้องการเก็บออม  โดยจะออกไปบริการรับฝากเงินนอกสถานที่  ตามที่หน่วยราชการบริษัทห้างร้านโรงงาน ฯลฯ  แจ้งความความประสงค์ขอใช้บริการ  และไปรับฝากเงินตามโรงเรียนต่างๆ  เพื่อปลูกฝังนิสัยให้เยาวชนรู้จักประหยัดและเก็บออมทรัพย์

                                            4.  การรับฝากเงินประเภทการแสรายวัน   เป็นการรับฝากที่ต้องจ่ายคืนทันทีเมื่อทวงถาม  เงินฝากประเภทนี้ธนาคารจะจ่ายอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก  หรือไม่มีดอกเบี้ย  และใช้เช็คในการเบิกจ่ายเงิน

                                             5.  อื่นๆ   ธนาคารออมสินจำหน่ายตราสารประเภทพันธบัตรออมสิน  และประเภทสลากออมสินพิเศษนอกจากนี้ยังดำเนินธุรกิจด้านการประกันชีวิต  3  ประเภท  คือ  ประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์  และประเภทสงเคราะห์ชีวิตและการศึกษา

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน

ï สถาบันการเงินที่ไม่ประกอบกิจการธนาคาร

1.  บริษัทเงินทุน (finance  company)

                              บริษัทเงินทุนเป็นสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่ระดมเงินออมจากประชาชนทั่วไป  โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำหน่ายแก่ประชาชนคล้ายกับการรับฝากเงินของธนาคารพาณิชย์ แต่อาจให้ดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป  แล้วนำไปให้กู้ยืมและลงทุนในหลักทรัพย์  บริษัทเงินทุนประกอบกิจการเงินทุนได้  5  ประเภท  คือ  กิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์ กิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนา  กิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและการบริโภค  กิจการเงินทุนเพื่อการเคหะ  และกิจการเงินทุนอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

2.  กองทุนรวม  (mutual  fund)

                                กองทุนรวม  จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมเงินจากผู้มีเงินออมด้วยวิธีการจำหน่าย  หน่วยลงทุน   ให้แก่ผู้สนใจแล้วบริษัทจัดการกองทุนรวมจะรวบรวมเงินไปลงทุนซื้อหลักทรัพย์ เช่น  พันธบัตร  หุ้นสามัญ  หุ้นกู้  ตั๋วสัญญาใช้เงิน  เป็นต้น   เมื่อการลงทุนของกองทุนรวมได้ผลดีมีรายได้ก็จะนำมาแบ่งปันให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในรูปของเงินปันผล  และถ้าขายหน่วยลงทุนออกไปในขณะที่มีราคาสูงขึ้น  ผู้ลงทุนก็จะได้กำไรจากการขายหน่วยลงทุนนั้น  กองทุนรวมมีอยู่  2  ลักษณะ  คือ

                                1.  กองทุนรวมปิด   กองทุนรวมปิดจะไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนจนกว่าจะสิ้นสุดอายุโครงการ  แต่อาจจะปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อดำเนินการมีผลกำไร  และผู้ถือหน่วยลงทุนอาจขายโอนให้ผู้อื่นได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ

                                2.   กองทุนรวมเปิด   กองทุนรวมเปิดจะรับซื้อหน่วยลงทุนคืนตลอดเวลา  ผู้ลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนในรูปของกำไรส่วนทุนได้ทุกเมื่อ  แต่จะไม่ได้รับเงินปันผลระหว่างอายุของโครงการ

3.  สหกรณ์การเกษตร

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน
                                สหกรณ์การเกษตร  เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511   มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาทุนให้สมาชิกกู้ยืมส่งเสริมการออมของสมาชิกช่วยเหลือสมาชิกด้านการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตร และด้านการจำหน่ายผลิตผลของสมาชิก  รวมทั้งส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการเกษตรสมัยใหม่แก่สมาชิก

                                ธุรกิจของสหกรณ์การเกษตร  แบ่งเป็น  6  ด้าน คือ

                                1.  ธุรกิจการธนกิจ    จัดหาทุนจากทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์  เงินฝากของสมาชิก  เงินกู้ยืมจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตให้กู้ยืมแก่สมาชิกในแบบกู้ระยะสั้นระยะปานกลาง รับฝากเงินจากสมาชิกทั้งฝากประเภทออมทรัพย์ และฝากประจำ

                                2.  ธุรกิจการซื้อ   จัดซื้อวัสดุการเกษตร  เครื่องอุปโภคบริโภค  เครื่องใช้ในครัวเรือน  เครื่องมือเครื่องจักรกล  มาจำหน่ายแก่สมาชิกในราคายุติธรรม

                                3.  ธุรกิจการขยาย   จัดหาเงินทุนมาใช้รวบรวมผลิตผลจากสมาชิก  แล้วนำไปจำหน่าย

                                4.  ธุรกิจการแปรรูป     จัดแปรรูปผลิตผล  เพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษา  การเพิ่มราคา  และเพื่อความสะดวกในการจัดจำหน่าย

                                5. ธุรกิจการบริการและบำรุงที่ดิน    จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการผลิต  จัดทำระบบส่งน้ำและระบายน้ำใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่และปรับที่เพื่อการอนุรักษ์และปรับปรุงดิน

                                6.  ธุรกิจการส่งเสริมการเกษตร   ให้คำแนะนำหรือบริการทางวิชาการ  เพื่อเพิ่มปริมาณและปรับปรุงคุณภาพผลิตผล  นับเป็นหน้าที่หลักการสหกรณ์การเกษตร

4.  สหกรณ์ออมทรัพย์

                                สหกรณ์ออมทรัพย์  เป็นสถาบันการเงินที่จดทะเบียนกับทางการโดยทำหน้าที่รับฝากเงินจากสมาชิก  และให้สมาชิกกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ย  แล้วนำกำไรที่ได้รั้บจากการดำเนินงานมาแบ่งปันให้สมาชิกตามมูลค่าหุ้นที่หุ้นที่ถือและตามมูลค่าดอกเบี้ยเงินกู้ เงินทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์ได้จากเงินค่าหุ้นของสมาชิก  เงินฝากจากสมาชิก  และเงินกู้จากสถาบันการเงินอื่นๆ   แล้วนำเงินทุน

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน
ให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ  กัน  เช่น  เพื่อเหตุฉุกเฉิน  เพื่อการอุปโภคบริโภค  สหกรณ์ทีมีเงินทุนมากก็อาจให้สมาชิกกู้ยืมระยะยาวเพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยด้วย  นอกจากนี้ยังมีเครดิตยูเนียน  (credit  union)  ซึ่งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์จัดตั้งขึ้นในหมู่ผู้มีรายได้ไม่แน่นอน ประกอบอาชีพต่างกัน  แต่อยู่ในท้องที่เดียวกัน  มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมระหว่างสมาชิก  เครดิตยูเนียนจะให้สมาชิกกุ้ยืมเงินจำนวนไม่มากนักในระยะสั้นๆ  ปัจจุบันเครดิตยูเนียนหลายแห่งได้จดทะเบียนเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์กับทางการ

5.  บริษัทเครดิตฟองซิเอร์

                                บริษัทเครดิตฟองซิเอร์  (credit  foncier  company)   เป็นสถาบันการเงินดำเนินกิจการระดมทุนด้วย  การออกตั๋วสัญญาใช้เงินเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป  เพื่อนำมาให้ประชาชนกู้ไปซื้อที่ดินและสร้างที่อยู่อาศัย  ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้

                                1.  ให้กู้โดยมีบ้านและที่ดินค้ำประกัน

                                2.  ซื้อบ้านและที่ดินโดยให้สิทธิผู้ที่ขายที่จะไถ่ถอนคืนได้

                                3.  ขายบ้านและที่ดินโดยวิธีการให้เช่าซื้อ

6.  โรงรับจำนำ

                                โรงรับจำนำ   เป็นสถาบันการเงินขนาดเล็กที่พบเห็นได้ทั่วไปตามแหล่งชุมชน  ทำหน้าที่ให้กู้ยืมแก่ประชาชนทั่วไป   โดยการรับจำนำสิ่งของและเครื่องใช้ต่างๆ  ทั้งของใหม่และของที่ใช้แล้ว  โรงรับจำนำมีอยู่  3  ประเภท  ตามลักษณะของผู้ดำเนินงาน  คือ

                                1.  โรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยเอกชน

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน
                                2.  โรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยกรมประชาสงเคราะห์ เรียกว่า สถานธนานุเคราะห์

                                3.  โรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยเทศบาลหรือกรุงเทพมหานคร (กทม) เรียกว่า  สถานธนานุบาล

                                โรงรับจำนำของเอกชนใช้เงินทุนของผู้เป็นเจ้าของหรือหุ้นส่วนและเงินจากการกู้ยืมมาใช้ดำเนินการรับจำนำ  สถานธนานุเคราะห์ได้เงินทุนจากงบประมาณซึ่งรัฐบาลจัดสรรให้ รวมทั้งเงินกำไรสะสมและเงินกู้จากธนาคารออมสิน  ส่วนสถานธนานุบาลได้เงินอุดหนุนจากเทศบาลและเงินกู้จากกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล  โรงรับจำนำทั้ง  3  ประเภท  เป็นสถานบันการเงินที่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยนิยมกู้ไปเพื่อการบริโภคและเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการค้าเล็กๆ  น้อยๆ

7.  บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

                                บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศ  จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2502   เพื่อจัดหาทุนให้กู้ระยะปานกลางและระยะยาวแก่กิจการอุตสาหกรรมต่างๆ  บรรษัทดำเนินงานในลักษณะของกิจการภาคเอกชนโดยนักบริหารอาชีพ   แต่มีเป้าหมายเน้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรม  มิได้คำนึงถึงผลกำไรสูงสุดอย่างธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนทั่วไปโครงสร้างผู้ถ์อหุ้นของบรรษัทประกอบด้วยผู้ถือหุ้น 6 กลุ่ม  ได้แก่  กลุ่มธนาคารพาณิชย์  กระทรวงการคลัง  กลุ่มบริษัทเอกชน  กลุ่มบ

ษัทเงินทุน  กลุ่มบุคคลธรรมดา    และกลุ่มบริษัทประกันภัย

                                การดำเนินงานของบรรษัท    บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  สนับสนุนผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่เป็นนิติบุคคล  โดยให้บริการและสนับสนุนในเรื่องต่อไปนี้

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน
                                1. ให้กู้เงินในระยะปานกลางและระยะยาว  โดยคิดดอกเบี้ยแตกต่างกันไปตามประเภทสินเชื่อที่ให้แก่อุตสาหกรรมต่างๆ

                                2.  เข้าร่วมทุนในกิจการอุตสาหกรรมที่พิจารณาเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการพฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

                                3.  ให้บริการจัดหาเงินและร่วมทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ  แก่กิจการอุตสาหกรรมที่ต้องการเงินมากกว่าที่ทางบรรษัทจะสามารถให้ความช่วยเหลือได้โดยลำพัง

                                4.  ให้บริการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ชนิดต่างๆ  ของกิจการอุตสาหกรรมและสถาบันการเงินต่างๆ  เช่น  หุ้นสามั้ญ  หุ้นบุริมสิทธิ  หุ้นกู้ที่มีหรือไม่มีธนาคารค้ำประกัน

                                5.  จัดตั้งบริษัทในเครือขึ้นเพื่อให้บริการแก่กิจการอุตสาหกรรม เช่น ให้บริการด้านช่วยจัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้ผู้ประกอบการเช่นระยะยาว   จัดบริการก่อสร้างโรงงานสำเร็จรูปให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเช่นหรือเช่าซื้อ  โรงงานเหล่านี้จะมีสาธารณูโภคพร้อม  เช่น  ไฟฟ้า  น้ำประปา  โทรศัพท์  อันเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมในเขตนั้น

8. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.)

                                บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.)  จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่กิจการอุตสาหกรรมขนาดย่อม  ได้แก่  ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีสินทรัพย์ถาวรสุทธิไม่เกิน  50  ล้านบาท  ในอุตสาหกรรม  4  ประเภท  คือ  อุตสาหกรรมการผลิต  อุตสาหกรรมหัตถกรรม  อุตสาหกรรมในครัวเรือน  และอุตสหกรรมบริการ  เดิมจัดตั้งเป็น  สำนักงานเงินกู้เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อม  แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น  สำนักงานธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม  และปัจจุบันเป็นบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม มีหน้าที่ดังนี้

9.  บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน
                                บรรษัทประกันสินเชื่ออุสาหกรรมขนาดย่อม  เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. 2534  มีฐานะเป็นนิติบุคคล  อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกระทรวงการคลัง  มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมขนาดย่อมที่มีโครงการลงทุนที่ดี  แต่มีหลักทรัพค้ำประกันไม่เพียงพอ  ให้ได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงิน (ผู้ให้กู้)  เพิ่มมากขึ้น  โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมจะให้การค้ำประกันสินเชื่อในส่วนที่ขาดหลักประกันผ่านสถาบันการเงิน  นอกจากนั้งสามารถดำเนินธุรกิจอื่นนอกเหนือจากการค้ำประกันสินเชื่อได้อีด้วย เช่น การประกันการซื้อขายทรัพย์สินจากการลงทุน เป็นต้น

คำศัพท์ทึ่ควรรู้

                                1. ตั๋วเงิน (bill)     ในทางการเงิน  หมายถึง  หนังสือตราสารทางการเงินซึ่งตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์ได้กำหนดชนิดของตั๋วเงินไว้เป็น  3  ประเภท คือ

                                            1.  เช็ค (check  หรือ  cheque)  คือ  ตั๋วเงินที่บุคคลหนึ่งสั่ให้ธนาคารจ่ายเงินให้แก่อีกบุคคลหนึ่ง หรือจ่ายให้แก่ตนเอง  โดยกำหนดจำนวนเงินและเวลาไว้แน่นอน

                                            2.  ตั๋วแลกเงิน (bill of exchange)  หรือ  ดราฟต์ (draft)  คือ  ตั๋วเงินที่บุคคลที่ 1  สั่งให้บุคคลที่ 2  จ่ายเงินให้แก่บุคคลที่   โดยมีวันครบกำหนดใช้เงินและจำนวนที่แน่นอน

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน
                                            3.  ตั๋วสัญญาใช้เงิน (promissory note)  คือ  ตั๋วเงินที่บุคคลหนึ่งสัญญาว่าจะใช้เงินแก่อีกบุคคลหนึ่ง ณ วันที่ครบกำหนด  โดยระบุจำนวนเงินที่แน่นอน  ตั๋วสัญญาใช้เงินอาจระบุดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้

                                2. ตั๋วเงินคลัง (treasury bill) เป็นตราสารกู้เงินระยะสั้นของรัฐบาล  ซึ่งออกโดยกระทรวงการคลัง  จำหน่ายแก่สถาบันการเงินและประชาชน  เมื่อครบกำหนดรัฐบาลจะใช้เงินคืนพร้อมดอกเบี้ย

                                3. หุ้นสามัญ (common share)   ได้แก่หุ้นของบริษัทที่นำออกขายแก่ประชาชน  ได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล

                                4.  หุ้นบุริมสิทธิ (preferred share)   ได้แก่  หุ้นที่ผู้ถือมีสิทธิพิเศษตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับ หรือเงือนไขการออกหุ้น เช่น สิทธิได้รับเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ มีสิทธิได้รับการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญเมื่อบริษัทเลิกกิจการ เป็นต้น  เพื่อแลกกับสิทธิพิเศษดังกล่าว  ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมักยอมรับเงินปันผลในอัตราต่ำ และไม่ใช้สิทธิลงคะแนนเสียงในทีป่ระชุมผู้ถือหุ้น

                                5. หุ้นกู้ (debenture)   เป็นตราสารกู้ยืมระยะยาว  โดยบริษัทผู้ออกหุ้นกู้มีภาระจะต้องชำระดอกบี้ยให้แก่ผู้ถือหุ้นตลอดอายุของหุ้นกู้ตามอัตราที่กำหนด  และชำระเงินต้นคืนเมือครบกำหนดอายุการไถ่ถอนof deposit  หรือ  NCD)  เป็นตราสารการเงินระยะสั้นชนิดหนึ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินสามารถออกบัตรเงินฝากเพื่อระดมเงินออมได้  บัตรเงินฝากจะต้องระบุชื่ดผู้ถือบัตร  อายุบัตรมีตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 3 ปี และกำหนดวงเงินขั้นต่ำว่าที่ 500,000 บาท  บัตรเงินฝากนี้สามารถเปลี่ยนมือได้  แต่สถาบันการเงินผู้ออกบัตรเงินฝากไม่สามารถซื้อบัตรเงินฝากคืนก่อนกำหนดได้

                                6. ใบสำคัญแสดงสิทธิการจองหุ้นสามัญระยะยาว (warrant)    เป็นตราสารที่ออกพร้อมตราสารอื่น  โดยเฉพาะหุ้นทุนหรือหลักทรัพย์ที่เกี่ยวโยงกับหุ้นทุน  โดยผู้ถือตราสารมีสิทธิซื้หุ้นทุนในราคา  ระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนด

                                7.  บัตรเงินฝาก (negotiable certificate of deposit  หรือ  NCD)  เป็นตราสารการเงินระยะ

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน
สั้นชนิดหนึ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินสามารถออกบัตรเงินฝากเพื่อระดมเงินออมได้  บัตรเงินฝากจะต้องระบุชื่ดผู้ถือบัตร  อายุบัตรมีตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 3 ปี และกำหนดวงเงินขั้นต่ำว่าที่ 500,000 บาท  บัตรเงินฝากนี้สามารถเปลี่ยนมือได้  แต่สถาบันการเงินผู้ออกบัตรเงินฝากไม่สามารถซื้อบัตรเงินฝากคืนก่อนกำหนดได้

                                8. พันธบัตรรัฐบาล (government bond)  เป็นหลักทรัพย์ที่รัฐบาลเป็นผู้นำออกมากู้เงินจากประชาชน  และสถาบันการเงิน  ถือเป็นหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อย

                                9. หน่วยลงทุน (unit trusts)  เป็นตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของโครงการจัดการลงทุน  หน่วยลงทุนเป็นส่วนของทรัพย์สินของโครงการกองทุนรวมแต่ละโครงการที่แบ่งออกเป็นหน่วยๆ มีมูลค่าหน่วยละเท่าๆ กัน โดยทั่วไปแล้วจะมีมูลค่าหน่ายละ 10 บาท ทางกองทุนรวมจะนำหน่วยลงทุนอกจำหน่ายแก่ประชาชนเพื่อระดมเงินออกมาดำเนินงานตามโครงการกองทุนรวม

                                10. หลักทรัพย์ (securities)   ได้แก่ หลักทรัพย์ที่เป็นหุ้น  สิทธิเรียกร้องทางแพ่ง  ลิขสิทธิ์  สิทธิบัตร  ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่คิดเป็นเงินได้  ส่วนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ หมายถึง ตั๋วเงินคลัง  พันธบัตร  ตั๋วเงิน  หุ้น  หุ้นกู้  หน่วยลงทุนหรือตราสารแสดงสิทธิในทรัพย์สินของกองทุนรวม  ใบสำคัญแสดงสิทธิจะซื้อหุ้นกู้  ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน  หรือตราสารอื่นใดที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) กำหนด

                                11. ตลาดหลักทรัพย์ (stock exchange หรือ secutities exchange)   คือ  ศูนย์กลางที่นายหน้าผู้ค้าหลักทรัพย์ซึ่งเป็นสมาชิกของตลาดมาชุมนุมซื้อขายหลักทรัพย์โดยวิธีการประมูลราคา  การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดจะต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และระเบียบแบบแผนของตลาดหลักทรัพย์อย่างเคร่งครัด  ทั้งนี้เพื่อให้การซื้อขายหลักทรัพย์เป็นไปด้วยความยุติธรรม  ซื่อตรง  เป็นระเบียบ  คล่องตัว  ซึ่งเป็นรากานสำคัญของการซื้อขายหลักทรัพย์  ด้วยเหตุนี้ตลาดหลักทรัพย์จึงเป็นเครื่องมือส่งเสริมการลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจที่ต้องการเงินลงทุนก่อตั้งหรือขยายกิจการ  และ

ข้อใดเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน
เป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วย

                                ประเทศไทยมี ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. (The Stock Exchange of Thailand : SET)  ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517  ทำหน้าที่ที่สำคัญ คือ

                                1. ส่งเสริมการออมทรัพย์และการระดมเงินทุนในประเทศ

                                2. สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของในกิจการธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศ

                                3. ให้การซื้อขายหลักทรัพย์มีสภาพคล่องตัว  ในราคาที่สมเหตุสมผล และเป็นไปอย่ามีระเบียบ

                                4. ให้ความคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น

                                12.  บัตรเอทีเอ็ม     เป็นบัตรพลาสติกที่บรรจุข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้สำหรับใช้ในการถอนเงินสดผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ  หรือเครื่องเอทีเอ็มของธนาคารพราณิชย์  ซึ่งติดตั้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ  โดยธนาคารจะออกบัตรเอทีเอ็มให้ลูกค้าผู้เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคาร  ผู้ถือบัตรเอทีเอ็มสามารถถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากของตนผ่านเครื่องเอทีเอ็มในแต่ละวันได้ภายในวงเงินจำนวนหนึ่ง  และสามารถใช้บริการอื่นๆ เช่น สอบถามยอดเงินในบัญชี

                                13.  บัตรเครดิต (credit card)   เป็นบัตรที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการ บางที่เรียกว่า บัตรสินเชื่อ ผู้ออกบัตรเครดิตอาจเป็นธนาคารหรือบริษัทจำกัดก็ได้  ผู้ถือบัตรเครดิตสามารถซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากบริษัทห้างร้าน  ที่อยู่ในข้อตกลงได้โดยไม่ต้องใช้เงินสด  เพียงแต่แสดงบัตร และลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น

                                14.  กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund  : IMF.)  ตั้งขึ้นตามมติการประชุมที่เมืองเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods)  มลรัฐนิวแฮมป์เชียร์  ประเทศสหรัฐอเมริกา  เมื่อ พ.ศ. 2487  มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ และส่งเสริมให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีเสถียรภาพ