กิจกรรมวันอาสาฬหบูชาและวัน เข้าพรรษา โรงเรียน

ข้อมูลโดย : ร.ร.นิคมสร้างตนเอง

จำนวนผู้เข้าชม : 401 ครั้ง

เมื่อวันที่ : 12 ก.ค. 2565

     วันที่ 12 กรกฏาคม 2565 โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง จัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาตามโครงการโรงเรียนคุณธรรมสพฐ. โรงเรียนสุจริต และโรงเรียนวิถีพุทธ เพื่อระลึกถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และน้อมนำหลักธรรมคำสอนมาประพฤติปฏิบัติและปรับใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อความสงบสุข ร่มเย็น และถวายเป็นพุทธบูชา ณ หอประชุมโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง

ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

กิจกรรมวันอาสาฬหบูชาและวัน เข้าพรรษา โรงเรียน

ข้อมูลติดต่อ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
เลขที่ 17 ถนน วิวิธสุรการ ตำบลมุกดาหาร
อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร 49000

MR.ADISORN KORNKHAMmr.9adisoผู้ดูแลระบบ

ติดต่อเราได้ที่ : 042-611532 | 042-613040

หมายเลขภายใน

  • ต่อ 20 : หน้าห้อง ผอ.สพป.
  • ต่อ 13 : กลุ่มอำนวยการ
  • ต่อ 15 : กลุ่มนโยบายและแผน
  • ต่อ 25 : กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลฯ

  • ต่อ 14 : กลุ่มบริหารงานบุคคล
  • ต่อ 11 : กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์
  • ต่อ 12 : กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
  • ต่อ 20 : หน่วยตรวจสอบภายใน
  • ข่าวสารกิจกรรมโรงเรียนในสังกัด 

    กิจกรรมวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา

    13 กรกฎาคม 202220 กรกฎาคม 2022 โรงเรียนสังกัด เครือข่าย วังทอง 2 153 Views 0 min read

    วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 นายภัทรพงษ์ สุขเกิด ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแก่งกุลาสามัคคี พร้อมด้วยคณะครู นักเรียนและผู้ปกครองร่วมกันถวายเทียนจำนำพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน และเครื่องสังฆทาน แด่พระภิกษุสงฆ์ เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประจำปี 2565 ณ วัดแก่งกุลาสามัคคี และวัดโปร่งพลู

    กิจกรรมวันอาสาฬหบูชาและวัน เข้าพรรษา โรงเรียน

    วันอาสาฬหบูชา

    วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ของทุก ๆ ปี สำหรับวันอาสาฬหบูชา ปี ๒๕๖๒  ตรงกับวันอังคาร ที่ ๑๖ กรกฎาคม ถือเป็นวันหยุดราชการและวันหยุดธนาคาร ซึ่งวันนี้มีความสำคัญคัญอย่างไรมาดูกัน

    ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ ๒ แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สา-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน ๘ ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘

    กิจกรรมวันอาสาฬหบูชาและวัน เข้าพรรษา โรงเรียน

    วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ ๒ เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จนพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี

    ทั้งนี้พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ

    วันเข้าพรรษา

    วันเข้าพรรษา (บาลี: วสฺส, สันสกฤต: วรฺษ, อังกฤษ: Vassa, เขมร: វស្សា, พม่า: ဝါဆို) เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา ๓ เดือนตามที่พระวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือภาษาปากว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง พระสงฆ์จะไม่จำพรรษาไม่ได้ เนื่องจากรูปใดไม่จำพรรษาถือว่าต้องอาบัติทุกกฏตามพระวินัย[1] การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี (หรือเดือน ๘ หลัง ถ้ามีเดือน ๘ สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือวันออกพรรษา

    กิจกรรมวันอาสาฬหบูชาและวัน เข้าพรรษา โรงเรียน

    วันเข้าพรรษา (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘) หรือเทศกาลหวังหวังหวังเข้าพรรษา (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ถือว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางศาสนาพุทธที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณอ๓  เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย

    สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด ๓ เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด ๓ เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

    ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง ๓ เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (๒๐ ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง ๓ เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"

    โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา สำนักงานเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของศาสนา และปลูกฝังให้นักเรียนได้แสดงความรัก ความภาคภูมิใจและสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีไทยทีเ่กี่ยวข้องกับศาสนา รวมถึงได้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน