ตัวอย่าง การประยุกต์ใช้ plc ในงานอุตสาหกรรม

ประสิทธิภาพการผลิต ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพลังของเครื่องจักรเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับการควบคุมที่มีคุณภาพด้วย การใช้งาน ระบบควบคุมในอุตสาหกรรม (Industrial Control Systems: ICS) ที่เชื่อถือได้จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้การทำงานในอุตสาหกรรมก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีก

โดยเฉพาะในปัจจุบันปัจจุบันเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นก็ทำให้ระบบดังกล่าวเปลี่ยนไปอย่างน่าตกใจ ระบบควบคุมดังกล่าวมีการทำงานแบบไหนบ้างและสำคัญขนาดไหน บทความนี้มีคำตอบ

ระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรม ปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการผลิต

“โรงงานไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็จำเป็นที่จะต้องมีระบบควบคุมคอยดูแลการทำงาน”

ประโยคดังกล่าวคงเป็นการอธิบายความสำคัญของระบบควบคุมในอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี และระบบดังกล่าวก็ยิ่งทวีความจำเป็นมากขึ้นไปอีก เมื่อการทำงานในอุตสาหกรรมมีความซับซ้อนมากขึ้น และมีการเชื่อมต่อกับส่วนต่างๆ ของบริษัทและโรงงานมากขึ้น เช่น การผลิตที่ต้องสื่อสารกับฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขาย เพื่อทำให้ตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างทันท่วงที

เหตุผลนั้นทำให้การพัฒนาเครื่องจักรในการผลิต ต้องมาคู่กับระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ ใช้งานง่าย คุ้มค่า มีความปลอดภัยสูง ภาพของแผงควบคุมขนาดใหญ่อันแสนยุ่งยากเริ่มหายไป กลายเป็นจอมอนิเตอร์เพื่อตรวจสอบและการป้อนคำสั่งง่ายๆ แทน

ฝ่ายผู้ใช้งานจึงต้องมีการศึกษาการทำงานของระบบควบคุมแบบต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อการวางแผนการผลิตในโรงงานได้อย่างเหมาะสม ติดตั้งระบบที่เข้ากับโรงงานของตัวเอง เพื่อการทำงานที่ดีที่สุด

ตัวอย่าง การประยุกต์ใช้ plc ในงานอุตสาหกรรม
ตัวอย่าง การประยุกต์ใช้ plc ในงานอุตสาหกรรม

รูปแบบของการควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม

การควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 17 แน่นอนว่าบางอย่างนั้นหายไปตามกาลเวลา และบางอย่างก็มีการใช้มาอย่างต่อเนื่อง โดยระบบที่เรามักพอได้ในโรงงานต่างๆ นั้นมีดังนี้

1. Programmable Logic Controllers (PLCs)

PLCs คือการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรโดยมี Microprocessor เป็นตัวประมวลผลและสั่งการ อุปกรณ์ PLC นั้นทำงานคล้ายกับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กโดยมนุษย์เป็นผู้ตั้งค่าโปรแกรมเพื่อใช้งานต่างๆ เช่น Input/Output Contro, Logic, Timing รวมถึงการประมวลผลแบบละเอียด

PLC ในปัจจุบันสามารถทำงานร่วมกับเครื่องจักรได้หลากหลายทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมถึงสามารถเชื่อมต่อกันหลายตัวเพื่อเป็น PLC Network ได้อีกด้วย ส่งผลให้ระบบนี้ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

2. Programmable Automation Controllers (PACs)

Programmable Automation Controllers เป็นระบบควบคุมในโรงงานที่ถูกต่อยอดมาจาก PLC โดยรวมคุณสมบัติต่างๆ ของคอมพิวเตอร์เข้ามาไว้ในการควบคุมมากขึ้น เช่น รองรับการทำงานหลายรูปแบบ สามารถทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าเดิมได้ และสามารถรองรับอุปกรณ์ที่หลากหลาย รวมถึงมีความรวดเร็วมากกว่า PLC

PAC นั้นถูกใช้งานในกระบวนการผลิตที่ต้องอาศัยความแม่นยำและความเสถียรสูง เช่น โรงงานไฟฟ้า จากคุณสมบัติอันโดดเด่นของตัวมันเอง

ตัวอย่าง การประยุกต์ใช้ plc ในงานอุตสาหกรรม
ตัวอย่าง การประยุกต์ใช้ plc ในงานอุตสาหกรรม

3. Distributed Control Systems (DCS)

ระบบ DCS หรือระบบควบคุมแบบกระจาย เป็นระบบสำหรับควบคุมและดูแลเครื่องจักรที่ใช้กันในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยมีใช้งานตัวประมวลผลข้อมูลมากกว่า 1 ตัว แยกไปในแต่ละกระบวนการทำงาน สามารถทำงานได้ทั้งการควบคุมการผลิต ตรวจสอบกระบวนการผลิต และมีการเก็บข้อมูลแยกเพื่อให้สามารถตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นในภายหลังได้อีกด้วย

DCS เป็นระบบที่มีราคาค่อนข้างสูง จึงมักพอได้ตามโรงงานใหญ่ จนถึงระบบการทำงานของแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม

4. Supervisory control and Data Acquisition (SCADA)

SCADA คือระบบตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ คล้ายกับระบบ DCS เพียงแต่ว่าจะมีการใช้การควบคุมระยะไกลมากกว่า และยังทำงานร่วมกับระบบอื่นๆ เช่น PLC DCS และ RTU ได้อีกด้วย

ตัวอย่าง การประยุกต์ใช้ plc ในงานอุตสาหกรรม
ตัวอย่าง การประยุกต์ใช้ plc ในงานอุตสาหกรรม

ดังที่กล่าวว่า SCADA สามารถใช้ดูแลระบบโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การควบคุมรูปแบบนี้จึงมักพบได้ใน เช่น อุตสาหกรรมเคมี การประกอบรถยนต์ โรงไฟฟ้า เป็นต้น

5. Intelligent Electronic Devices (IEDs)

IED หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับระบบการผลิตสำหรับตรวจสอบและควบคุมในโรงงาน โดยมีการทำงานคล้ายกับระบบ Circuit Control เพียงแต่ว่าสามารถทำงานได้ละเอียดยิ่งกว่าด้วยอุปกรณ์ Microprocessor

นอกจาก IED สามารถใช้ในการมอนิเตอร์และควบคุมแล้ว ยังสามารถใช้ในการสื่อสารภายในโรงงาน ใช้ร่วมกับระบบอีเทอร์เน็ตและโปรโตคอลของโรงงานอื่นๆ ได้อีกด้วย

รายชื่อด้านบนเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรมเท่านั้น แม้จะสามารถแบ่งแยกออกไปได้หลายชนิด แต่เราก็ยังสามารถเห็นการทำงานร่วมกันของระบบต่างๆ ได้อยู่เสมอๆ ตามแต่การจัดการของโรงงานนั้นๆ หากต้องการติดตั้งระบบหรืออัปเกรดระบบใหม่ ควรติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญของโรงงาน เพื่อความเข้าใจในภาพรวมของระบบที่ถูกต้องครบถ้วนมากขึ้น

ความก้าวหน้าของระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรมปี 2021

2021 อาจเป็นปีที่ระบบทั้งหมดที่เราได้เห็นกันได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง ด้วยการประยุกต์ใช้ Automation เข้าสู่การทำงาน พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงการควบคุมในโรงงานให้เข้าถึงง่ายมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ระบบบางอย่างที่เราเคยทำงานด้วยหายไป

ตัวอย่าง การประยุกต์ใช้ plc ในงานอุตสาหกรรม
ตัวอย่าง การประยุกต์ใช้ plc ในงานอุตสาหกรรม

แน่นอนว่าเรายังคงต้องใช้การทำงานของ PLC หรือ SCADA ไปอีกพักใหญ่ๆ แต่มันอาจจะถูกผูกเข้ากับระบบที่ใหญ่ยิ่งกว่า ละเอียดยิ่งกว่า เช่นการทำงานเชื่อมต่อกับ Web Services, Email, Mobile การสั่งการด้วยเสียงผ่านอุปกรณ์พิเศษ จนถึงการเชื่อมต่อเข้ากับระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) เพื่อการทำงานที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

สิ่งสำคัญที่สุดของเรื่องนี้คือ มนุษย์เราอาจไม่ใช่แกนหลักของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอีกต่อไป แต่จะเป็นระบบ AI ที่คอยเข้ามาสั่งการผ่านอุปกรณ์ต่างๆ แทน

สรุปบทความ

ระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรมเปรียบเสมือนสมองของโรงงานที่คอยสั่งการเครื่องจักรต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินงานต่อไปได้ ซึ่งในปัจจุบันมันไม่ใช่การควบคุมที่ยุ่งยากอีกต่อไปแล้ว ระบบต่างๆ ถูกทำให้มีการใช้งานง่ายมากขึ้น มีความเป็นอัตโนมัติมากขึ้น รวมถึงสามารถควบคุมจากที่ไหนก็ได้ และคาดว่าในปี 2021 ก็อาจเป็นอีกปีที่ระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดได้อีกแน่นอนด้วยการประยุกต์ใช้ AI และ Automation ที่ดียิ่งขึ้น

ถ้าคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรมหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ คุณสามารถสอบถามได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการด้านออโตเมชันจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบ Automation การวางแผนระบบควบคุมการผลิตและการใช้งานเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง ด้วยบุคลากรคุณภาพ อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัยและโปรแกรมในการออกแบบเพื่อการทำงานเสมือนจริงมากที่สุด

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

PLC ใช้ในงานอุตสาหกรรมอะไรบ้าง

PLC (PROGRAMMABLE LOGIC CONTROL) คือ อุปกรณ์ที่โรงงานอุตสาหกรรมเลือกใช้สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือกระบวนการทำงานต่าง ๆ เช่น PLC ควบคุมเครื่องจักร, PLC ควบคุมสายพาน, PLC ควบคุมมอเตอร์ หรือควบคุมงานประเภทอื่น ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หน่วยรับข้อมูล หน่วยส่งข้อมูล และหน่วยป้อนโปรแกรม ...

PLC คืออะไร มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอย่างไรบ้าง

เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานต่างๆ โดยภายในมี Microprocessor เป็นมันสมองสั่งการที่สำคัญ PLC จะมีส่วนที่เป็นอินพุตและเอาต์พุตที่สามารถต่อออกไปใช้งาน ตัวตรวจวัดหรือสวิทตช์ต่างๆ จะต่อเข้ากับอินพุต ส่วนเอาต์พุตจะใช้ต่อออกไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่เป็นเป้าหมาย เราสามารถสร้างวงจร ...

ประโยชน์ของ PLC ใช้ในงานด้านใดบ้าง

ข้อดีของ PLC คือ - PLC ใช้โปรแกรมในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร แทนการควบคุมแบบดั้งเดิมที่ใช้การเดินสายวงจรไฟฟ้า (วงจรควบคุมหรือวงจรคอนโทรล) ทำให้การปรับเปลี่ยนการควบคุมเครื่องจักรทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่า เพียงแค่ปรับเปลี่ยนที่โปรแกรม PLC โดยไม่ต้องแก้ไขที่วงจรไฟฟ้าซึ่งทำได้ยากกว่ามาก

งานควบคุมด้วย PLC มีอะไรบ้าง

การใช้งานPLC เบื้องต้นคือการใช้ PLC ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าเช่นหลอดไฟ,โซลินอยล์วาวล์,แมกเนติกคอนแทคเตอร์ เป็นต้น ส่วน สวิตช์และเซ็นเซอร์ก็จะใช้สั่งงานโปรแกรมยกตัวอย่างเช่น ใช้PLC ควบคุมเครื่องจักรขนาดเล็ก ควบคุมระบบไฟฟ้า น้ำประปา เป็นต้น