การจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง คือ

“การศึกษาในศตวรรษที่ 21” คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการการศึกษา มีการเผยแพร่ทฤษฎีและองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” มาแล้วมากมายอย่างต่อเนื่อง ความแตกต่างหนึ่งซึ่งเห็นได้ชัดระหว่าง “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” กับ “การศึกษาในศตวรรษที่ 20” ก็คือการเน้นเกี่ยวกับ “ทักษะ” และ “ทักษะ” ที่สำคัญที่สุดก็คือ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” และทักษะหนึ่งซึ่งมีความสำคัญก็คือ “ทักษะการเรียนรู้” หรือ Learning skill

กล่าวสำหรับนักบริหารการศึกษา ในยุคของ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21”ที่ต้องอาศัย “ทักษะ” หลากหลายด้านในการบริหารจัดการ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ “นักบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21” จะต้องศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ “นวัตกรรม” และ “เทคโนโลยี” ใหม่ๆ สำหรับนำมาปรับประยุกต์ใช้กับการบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต่อไป

การจัดการนวัตกรรม

            “นวัตกรรม” หมายถึงการทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล และการที่องค์กรยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้นั้น องค์กรทั้งหลายจำเป็นที่ต้องมีลักษณะของ “องค์กรนวัตกรรม”

“องค์กรการศึกษา” ก็เช่นเดียวกับองค์กรอื่นๆ โดยทั่วไป การที่องค์กรการศึกษาจะประสบความสำเร็จ และอยู่รอดท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วดังกล่าว ขึ้นอยู่กับการมีความคิดสร้างสรรค์ การค้นพบสิ่งใหม่ๆ และการสร้างนวัตกรรม

“การจัดการนวัตกรรม” จึงเป็นการจัดดำเนินการให้เกิดสิ่งใหม่ หรือวิธีการใหม่ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในอนาคต โดยคำว่า “นวัตกรรม” นอกจากจะกินความถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแล้ว ในแวดวงการศึกษายังหมายถึงกระบวนการจัดการความรู้อีกด้วย

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ “องค์กรทางการศึกษา” จะต้องมี “การจัดการนวัตกรรม” เพื่อผลักดัน “องค์กรแห่งการศึกษา” ไปสู่การเป็น “องค์กรแห่งการศึกษาในศตวรรษที่ 21” ที่มี “การจัดการนวัตกรรม” เป็นแกนกลางในการบริหารการศึกษาต่อไปในอนาคต

ภารกิจใหม่ของนักบริหารการศึกษา

ดังที่กล่าวไป ว่า “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแวดวงการศึกษา เพราะ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” คือการนำ “นวัตกรรมทางการศึกษา” เข้ามาปรับประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ดังนั้น “องค์กรทางการศึกษา” จึงจำเป็นต้องมี “การจัดการนวัตกรรม” เพื่อนำ ไปสู่การเป็น “องค์กรแห่งการศึกษาในศตวรรษที่ 21” ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งของ “การบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21”

ดังนั้น ภารกิจดั้งเดิมของนักบริหารการศึกษาทั้ง 4 ด้าน คือภารกิจด้านการบริหารงานวิชาการ ภารกิจด้านการบริหารงบประมาณ ภารกิจด้านการบริหารงานบุคคล และภารกิจด้านการบริหารงานทั่วไป จึงไม่เพียงพอต่อ “การบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21” ซึ่งบรรยากาศเต็มไปด้วยนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เพราะต้องไม่ลืมว่า ทุกวันนี้ ทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป ล้วนมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น โดยเฉพาะในยุคของ “การศึกษาในศตวรรษที่ 21” ภารกิจในแต่ละด้านไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป ต่างก็มีการนำ “นวัตกรรม” มาใช้ในการบริหารการศึกษาในแต่ละด้านกันอย่างกว้างขวางและครอบคลุม

ท่ามกลางการกระจายตัวของ “นวัตกรรม” โดยเฉพาะ “นวัตกรรมการศึกษาในศตวรรษที่ 21” จึงมีความจำเป็นที่นักบริหารการศึกษาต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่ทั้งรวดเร็ว เข้มข้น และรุนแรง

ดังนั้น “ภารกิจใหม่” ของนักบริหารการศึกษาในยุค “นวัตกรรมการศึกษาในศตวรรษที่ 21” จึงต้องเพิ่ม “ภารกิจ” ทางด้าน “การจัดการนวัตกรรม” หรือ “การบริหารนวัตกรรม” เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของแวดวงการศึกษา

เพราะในปัจจุบัน การบริหารงานวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป ต่างต้องอาศัย “นวัตกรรม” เป็นตัวขับเคลื่อนนั่นเอง.

จากการได้ศึกษาเรียนรู้ในรายวิชาการจัดการนวัตกรรมกับท่านอาจารย์ ดร.ธนพล ก่อฐานะ ทำให้เรียนรู้ถึงบทบาทสำคัญของภาวะผู้นำ ที่จะสามารถนำพาองค์กรให้อยู่รอดท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงของโลกได้นั้น การแก้ปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องมีการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงด้วยการนำกลยุทธ์ใหม่ ๆ มาปรับใช้ในการทำงาน ซึ่งท่านอาจารย์ได้นำประสบการณ์ชีวิตในทำงานของท่านมาแบ่งปันความรู้ด้วยการถอดบทเรียนเป็นกรณีศึกษาให้กับนักศึกษาได้เรียนรู้ร่วมกัน ทำให้เห็นว่าในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงทุกวัน สถานการณ์โลกก็เปลี่ยนอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ความรู้ใหม่ ๆ ก็เกิดขึ้นทุกวินาที

ดังนั้น องค์ความรู้ มุมมอง และแนวคิดในเชิงพลวัตย่อมแตกต่างจากที่เคยได้เรียนรู้มา อาจารย์จึงได้ถอดบทเรียนการทำงานของอาจารย์ในการก้าวข้ามทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในวิกฤตการณ์นั้นได้ด้วยทัศนคติที่ดี โดยการปรับใช้กลยุทธ์เฉพาะทางในหลากหลายรูปแบบทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติแบบบูรณาการเข้าด้วยกัน จนทำให้ผ่านพ้นวิกฤติที่เกิดขึ้นมาได้ โดยอาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบเรียบง่ายแต่มองเห็นภาพตามด้วยการสื่อสารแบบเล่าเรื่องราว ด้วยวิธีคิด มุมมอง สถานการณ์ บวกประสบการณ์ชีวิตในการเรียนรู้และการทำงานมาเป็นกระบวนการประกอบการตัดสินใจ คิด วิเคราะห์และแก้ปัญหา ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่เข้าใจง่าย นักศึกษาสามารถนำข้อมูลชุดความรู้ใหม่นี้มาสังเคราะห์และนำไปเป็นกรณีศึกษาประกอบการเรียนได้ทุกวิชา อีกทั้งยังเป็นความรู้จากห้องเรียนไปสู่การประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาของและตนเองและองค์กรได้เป็นอย่างดี

จะเห็นได้ว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่กล่าวถึงกันมากในแวดวงของการดำเนินธุรกิจ และเป็นคำที่ผู้บริหารทุกองค์กรปรารถนาและพยายามขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นภายในองค์กร แต่การที่จะทำให้องค์กรประสบผลสำเร็จในการทำนวัตกรรมนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เพราะเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ทรัพยากร ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการขับเคลื่อน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจให้ก้าวสู่เวทีโลกได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน เราจึงควรให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ มาช่วยในการดำเนินธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

อย่างไรก็ตาม เวลาเราพูดถึงนวัตกรรมส่วนใหญ่เราก็มักจะนึกถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนกระบวนการในการทำงาน แต่เรามักจะไม่ค่อยได้นึกถึงนวัตกรรมทางการจัดการ (Management Innovation) กันเท่าใด เนื่องจากนวัตกรรมทางการจัดการอาจจะเป็นสิ่งที่จับต้องได้ยากกว่านวัตกรรมทั่วๆ ไป และตัวอย่างของนวัตกรรทางการจัดการก็ไม่ค่อยได้พบเห็นทั่วไปเช่นนวัตกรรมในด้านอื่น ๆ

ในวารสาร Harvard Business Review ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2549 นี้ Gary Hamel ซึ่งถึงเป็นกูรูทางด้านกลยุทธ์ผู้หนึ่งได้เขียนบทความเรื่องชื่อ The Why, What, and How of Management Innovation ซึ่งในบทความดังกล่าว Hamel พยายามนำเสนอถึงแนวคิด ความจำเป็น และความสำคัญ ของนวัตกรรมทางการจัดการ

โดย Hamel พยายามตอกย้ำถึงความสำคัญของนวัตกรรมทางการจัดการว่ามีความสำคัญต่อการนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ ไม่แพ้นวัตกรรมด้านอื่นๆ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่าในรอบร้อยปีที่ผ่านมา นวัตกรรมทางการจัดการเป็นปัจจัยที่สำคัญที่นำพาองค์กรหลายแห่งสู่ความสำเร็จมากกว่านวัตกรรมในด้านอื่นอย่างไรก็ดี ปัญหาสำคัญ ก็คือองค์กรต่าง ๆ ขาดระบบหรือกระบวนการในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมทางการจัดการ Hamel ระบุไว้ว่านวัตกรรมทางการจัดการ หรือ Management Innovation หมายถึง แนวทางคิดในด้านการบริหารจัดการที่แตกต่างจากการบริหารจัดการปกติ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการบริหารจัดการขององค์กร หรือถ้าให้ง่ายเข้า ก็คือสิ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีการบริหารจัดการขององค์กร ในขณะที่นวัตกรรมในด้านอื่นๆ เน้นการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ หรือ กระบวนการในการทำงานทั่วๆ ไป นวัตกรรมทางการจัดการเน้นปรับปรุงกระบวนการในการบริหารจัดการภายในองค์กร (Management Process)

ในบทความดังกล่าว Gary Hamel ได้ยกตัวอย่างขององค์กรชั้นนำที่มีนวัตกรรมทางการจัดการ และประสบความสำเร็จอันได้แก่ GE, DuPont, P&G, Visa, และ Linux โดยนวัตกรรมทางการจัดการของ GE ได้แก่การนำระบบการบริหารที่มีความเป็นระบบและชัดเจนเข้ามาทำให้เกิดความเป็นระบบเรียบสำหรับ GE ที่ในอดีตอุดมไปด้วยนักวิทยาศาสตร์ ที่มุ่งเน้นแต่การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจนขาดระเบียบในการบริหาร หรือ ของ DuPont ก็เป็นการนำเอาหลักการของ Return on Investment (ROI) มาใช้เป็นแห่งแรก จนกระทั่งสามารถหาตัวชี้วัดทางการเงินที่สามารถใช้ในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร หรือ P&G ที่เป็นผู้บุกเบิกเรื่องของการบริหารแบรนด์ขึ้นมาใช้เป็นแห่งแรก หรือ Visa ที่เป็นองค์กรแรกๆ ที่มีลักษณะเป็น Virtual Organization อย่างแท้จริง หรือ Linux ที่พัฒนาซอฟแวร์โดยการอาศัยโปรแกรมเมอร์จากทั่วโลกให้เข้ามามีส่วนร่วม หรือที่เรียกว่า Open Source Developmentบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเครือซิเมนต์ไทย เครือสหพัฒน์ หรือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ก็น่าจะมีนวัตกรรมทางการจัดการของตนเอง ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการลอกเลียนของที่มีอยู่แล้วหรือของต่างประเทศ และในองค์กรที่มีนวัตกรรมทางการจัดการจะทำให้เกิดการพัฒนาองค์กร หรือนำไปสู่ความสำเร็จได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าศึกษา