การบริหารจัดการสถานศึกษามีอะไรบ้าง

           งานกิจการนักเรียนเป็นงานที่มุ่งให้นักเรียนมีคุณภาพในการดำเนินชีวิต ส่งเสริมให้นักเรียนมีกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อแก้ปัญหาด้านพฤติกรรมและมีหน้าที่ดูแลนักเรียน ชี้นำให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อีกทั้งมีทักษะชีวิต    นำไปสู่การนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในชีวิตจริง

แนวคิดในการบริหารจัดการศึกษาระดับโรงเรียน

การบริหารจัดการโรงเรียน  หมายถึง  การบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพของโรงเรียน  โดยมีเป้าหมายสำคัญในการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นบ้านที่มีคุณภาพได้มาตรฐานทางการศึกษาของชาติและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น  เป็นที่ยอมรับและศรัทธาของนักเรียน  ผู้ปกครองและชุมชน  โดยมีผลมาจากแนวทางการบริหารการจัดการโรงเรียนสู่คุณภาพ คือหลักการบริหารจัดการ  วัตถุประสงค์ของโรงเรียน  พันธะกิจโรงเรียน  กลยุทธ์ของโรงเรียน  เงื่อนไข

ความสำเร็จ โดยมีรายละเอียดดังนี้
                1.หลักการบริหารจัดการ 
หลักการบริหารจัดการ  หมายถึง  แนวคิด  หลักการบริหารจัดการโรงเรียน ได้แก่ การบริหารกิจการ

บ้านเมืองที่ดี  การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  การบริหารแบบมีส่วนร่วม และบริหารผลสำเร็จอย่างสมดุล การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  หมายถึง  การบริหารราชการที่เป้าหมาย  ให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  มีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็นมีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ ให้ทันต่อเหตุการณ์ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก  ได้รับการตอบสนองความต้องการ  และมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  หมายถึง  การบริหารการจัดการตามความต้องการและจำเป็นของสถานศึกษา  โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ร่วมคิด  ร่วมตัดสินใจ  ร่วมทำ  และร่วมประเมิน  โดยใช้หลักการกระจ่ายอำนาจไปยังสถานศึกษา 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ  ด้านการบริหารบุคคล  และด้านบริหารทั่วไป  บนพื้นฐานของหลักการมีส่วนร่วม  หลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน  หลักการบริหารตนเอง  และหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล
การบริหารแบบมีส่วนร่วม  หมายถึง  การบริจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการตัดสินใจ  ใช้ความคิดสร้างสรรค์  และความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด  การแบ่งอำนาจหน้าที่การบริหารให้ผู้ใต้บังคับบัญชา  ในอีกประเด็นหนึ่ง  เป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบริหาร  เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือ  ร่วมแรง  ร่วมใจ  และร่วมดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่กำหนด

การบริหารผลสำเร็จอย่างสมดุล หมายถึง การบริหารการศึกษา

ประกอบด้วย  4  มุมมอง  คือ  มุมมองด้านนักเรียน มุมมองด้านกระบวนการจัดการศึกษาภายใน

โรงเรียน  มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนาและมุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากร และทั้ง4  มุมมอง

นั้นมีการดำเนินการ  4 ขั้นตอนคือ

1) กำหนดวัตถุประสงค์
2) กำหนดตัวชี้วัดเพื่อตรวจสอบกระบวนการตามวัตถุประสงค์
3) กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
4) กำหนดแผนงาน  โครงการหรือกิจกรรมที่องค์กรจะจัดทำเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนด

2.วัตถุประสงค์ของโรงเรียน 
วัตถุประสงค์ของโรงเรียน  หมายถึง  ภาพความสำเร็จของโรงเรียน  ได้แก่    ศักยภาพของนักเรียน

สมรรถนะของครู   สมรรถนะของผู้บริหาร  คุณภาพของโรงเรียน    และ การยอมรับการมส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน
คุณภาพของนักเรียน  หมายถึง  นักเรียนมีนิสัยใฝ่รู้  รักการอ่านและการค้นคว้า  สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นคนดีมีคุณธรรม รู้จักคิด วิเคราะห์ มีทักษะการดำรงชีวิตในสังคมยุคใหม่  ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงต่อเนื่องตลอดชีวิต ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ          และการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้สร้างงาน

สร้างอาชีพโดยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์  สืบสานวิถีวัฒนธรรมไทยอย่างมั่นใจในตนเอง เป็นคนดีคนเก่าอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข
สมรรถนะของครู  หมายถึง  ครูมีทักษะวิชาชีพในการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย  เหมาะสมกับนักเรียน มีความกระตือรือร้น  สนใจ  ใส่ใจ  ดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองตามศักยภาพอย่างเต็มกำลังความสามารถ
สมรรถนะผู้บริหาร  หมายถึง  ผู้บริหารเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้โรงเรียนมีการบริหารจัดการที่ดี มีความรู้  ความสามารถในการพัฒนาวิชาการ  หลักสูตร นวัตกรรมและกระบวนการเรียนรู้  ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ  เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียน  โดยอาศัสยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
คุณภาพของโรงเรียน  หมายถึง  การจัดการศึกษาจนเกิดผลผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น  แข่งขันได้ในระดับสากล  ผู้เรียนมีคุณภาพมาตรบานชาติ  สามารถพัฒนาสู่มาตรฐานสากล  บนพื้นฐานของความเป็นไทย  มีการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและมีความเป็นประชาธิปไตย
การยอมรับและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน  หมายถึง  ผู้ปกครองให้การยอมรับ เชื่อถือ  มีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของและสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน
3.ภาระกิจโรงเรียน 
โครงสร้างโรงเรียน  หมายถึง  ขอบข่ายและภารกิจของโรงเรียน  ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 39  ให้กระทรวงศึกษาธิการกระจ่ายอำนาจการบริหารจัดการ การศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป
การบริหารวิชาการ  หมายถึง  การบริหารจัดการทางด้านวิชชาการภายในและภายนอกโรงเรียน  ได้แก่  การพัฒนาสาระหลักสูตรสถานศึกษาและการหลักสูตรท้องถิ่น การวางแผนด้านการวิชาการ  การพัฒนากระบวนการเรียนรู้  การวัดผล  ประเมินผล  การวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา  การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การแนะแนว  การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา  การส่งเสริมชุมชนมีความเข้มแข็งทางวิชาการ  การประสานความร่วมมิในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น  การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีในการศึกษา
การบริหารงบประมาณ  หมายถึง  การบริหารจัดการโรงเรียนในด้านการจัดทำแผนงบประมาณ   และคำขอตั้งงบประมาณ  การจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายเงินงบประมาณ  การอนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรร  การขอโอนและการเปลี่ยนแปลงงบประมาณ  การรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ การตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้งบประมาณ  การใช้ผลผลิตจางบประมาร  การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา  การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา  การวางแผนพัสดุ  การกำหนดรูปแบบรายการ    หรือลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์  หรือสิ่งก่อสร้างที่ใช้เงินงบประมาณ  การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการจัดทำ  จัดหาพัสดุควบคุมดูแล  บำรุงรักษาเงิน  การเก็บรักษาและจำหน่ายพัสดุ  การจัดหาผลประโยชน์จาทรัพย์สิน  การเบิกเงินจากคลัง  การรับเงิน  การเก็บรักษาเงินและการจ่ายเงินการนจำเงินส่งคลัง  การจัดทำบัญชีการเงิน  การจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน  การจัดทำหรือจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียน และรายงาน
การบริหารงานบุคคล  หมายถึง  การบริหารจัดการโรงเรียนในด้านอัตรากำลัง  การปรับเปลี่ยนตำแหน่ง  การเลื่อนขั้นเงินเดือน  การลา  การประเมินผลการปฏิบัติงาน  การดำเนินการทางวินัย  การจัดทำทะเบียนประวัติ  การส่งเสริมวิทยฐานะ  มาตรบานวิชาชีพ  จรรยาบรรณวิชาชีพ  การขอรับใบอนุญาต และการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การบริหารทั่วไป  หมายถึง  การบริหารจัดการโรงเรียนในด้านการพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ  การประสานงานและพัฒนาเครือข่ายสถานศึกษา  การวางแผนการบริหารการศึกษา  งานวิจัย     เพื่อพัฒนานโยบายและแผน  การจัดการระบบการบริหารและการพัฒนาองค์กร  การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน  งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  การดำเนินงานธุรการ  การดูแลอาคารสถานที่  และสภาพแวดล้อม  การจัดทำสำมะโนผู้เรียน  การรับนักเรียน  การนำเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้ง  ยุบ  รวม  หรือ  เลิกสถานศึกษา การประสานการจัดการศึกษาในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย  การระดมทรัพยากร   เพื่อการศึกษา  การทัศนศึกษา  งานกิจการนักเรียน  การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา  การส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานการจัดการศึกษาของบุคคล  ชุมชน  องค์กร  หน่วยงานและสถานบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา  การประสานราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น การายงานผลการปฏิบัติงาน  การจัดระบบควบคุมภายในหน่วยงาน  และแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลงโทษนักเรียน
4.กลยุทธ์การดำเนินการ
กลยุทธ์การดำเนินการ  หมายถึง  กลยุทธ์ของโรงเรียน  ได้แก่  แนวทาง  วิธีการสร้างพลังขับเคลื่อนให้โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการที่ดี  การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้  การเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร  การเพิ่มสมรรถนะของโรงเรียน  การระดมสรรพกำลังและเครือข่ายอุปถัมภ์
การสร้างพลังขับเคลื่อนให้โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการที่ดี  คล่องตัวมีประสิทธิภาพส่งผลให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพ  มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ  ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ความสามารถ  คุณลักษณะที่พึงประสงค์และทักษะการดำรงชีวิตได
้ตามศักยภาพ
การเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรทุกระดับให้มีทักษะวิชาชีพ  สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
การเพิ่มสมรรถนะของโรงเรียนในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้และบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
การระดมสรรพกำลัง  สร้างระบบเครือข่ายอุปถัมภ์การศึกษาที่เข้มแข็ง  อันเกิดจากพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กร ประชาสังคม ในรูปแบบของผู้อุปถัมภ์และผู้ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติพัฒนา
5.เงื่อนไขความสำเร็จ
เงื่อนไขความสำเร็จ หมายถึง    วีธีการและสภาพการดำเนินงานของโรงเรียนที่ส่งผลต่อความสำเร็จ

ได้แก่  คุณลักษณะของนักเรียน  กระบวนการการจัดการศึกษาภายในโรงเรียน  การเรียนรู้    และการพัฒนา

งบประมาณและทรัพยากร  คุณลักษะของนักเรียน  หมายถึง  นักเรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้  มีนิสัยใฝ่รู้เรียนเป็น  มีความสมารถในการคิดวิเคราะห์ นักเรียนมีทักษะในการดำรงชีวิต มีคุณธรรม  มั่นใจในตนเอง  กล้าแสดงออก  มีความเป็นไทย
มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น
กระบวนการจัดการศึกษาภายในโรงเรียน  หมายถึง  โรงเรียนมีบรรยากาศและวัฒนธรรมการปฏิบัติงานแลกัลยามิตร  ผนึกกำลังสร้างสรรค์และร่วมรับผิดชอบ  มีเอกลักษณ์โดนเด่น  โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนา  สร้างโอกาส  และดูแลช่วยเหลือนักเรียน   ให้บริการทางการศึกษาได้ครอบคลุมกลุ่ม

เป้าหมาย
จัดบูรณาการกระบวนการเรียนรู้  พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนที่ยืดหยุ่น  เน้นการ

บูรณาการเรียนรู้และดำรงชีวิต  จัดระบบการประกันคุณภาพ  เพิ่มระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาสูงขึ้น
เป็นที่ยอมรับของชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
การเรียนรู้และพัฒนา  หมายถึง  ครู ผู้บริหาร  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  บุคลากร ทางการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความสามารถและจิตวิญญาณในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเพิ่มศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา    งบประมาณและทรัพยากร หมายถึง โรงเรียนมีระบบภาคีเครือข่าย ผู้เชี่ยวชาญ พี่เลี้ยง ศึกษานิเทศก์ ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น  ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  มีทำทรัพยากรที่เหมาะสม  ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

แนวคิดในการบริหารจัดการศึกษาระดับห้องเรียน

                ความหมายของการบริหารจัดการชั้นเรียน การจัดการชั้นเรียนในความหมายโดยทั่วไป คือ การจัดสภาพของห้องเรียน ที่ส่วนใหญ่เข้าใจกันว่า เป็นการจัดตกแต่งห้องเรียนทางวัตถูหรือทางกายภาพให้มีบรรยากาศ น่าเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนเท่านั้น แต่ถ้าจะพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว การจัดดารชั้นเรียนนั้น ครูจะต้องมีภาระหน้าที่มากมายหลายด้าน โดย ฮอล (Susan Colville-Hall :2004) ได้ให้ความหมายของการจัดการชั้นเรียนไว้ว่า เป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลขึ้นในชั้นเรียนซึ่งถือเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ การจัดการชั้นเรียนที่มีคุณภาพนั้นต้องเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและคงสภาพเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ การให้ผลย้อนกลับและการจัดการเกี่ยวกับการทำงานของนักเรียน ความพยายามของครูที่มีประสิทธิภาพนั้นหมายรวมถึง การที่ครูเป็นผู้ดำเนินการเชิงรุก (proactive) มีความรับผิดชอบ (responsive) และเป็นผู้สนับสนุน (supportive)

                การบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ห้องเรียน เพื่อสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขการจัดสภาพแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.ความสะอาดความปลอดภัย
2.ความมีอิสระอย่างมีขอบเขตในการเล่น
3.ความสะดวกในการทำกิจกรรม
4.ความพร้อมของอาคารสถานที่เช่น ห้องเรียน ห้องน้ำห้องส้วม สนามเด็กเล่นฯลฯ
5.ความเพียงพอเหมาะสมในเรื่อง ขนาดน้ำหนัก จำนวนสีของสื่อ และเครื่องเล่น
6. บรรยากาศในการเรียนรู้ การจัดที่เล่นและมุมประสบการณ์ต่างๆ

การจัดการชั้นเรียนจึงมีความหมายกว้าง นับตั้งแต่การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน การสร้างวินัยในชั้นเรียนตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู และการพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                ความสำคัญของการบริหารจัดการชั้นเรียน  จากการสำรวจเอกสารงานวิจัย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. 2531: ค) ได้ค้นพบว่าบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิด ความสนใจในบทเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การสร้าง บรรยากาศที่อบอุ่น ที่ครูให้ความเอื้ออาทรต่อนักเรียน ที่นักเรียนกับนัก เรียนมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันที่มีระเบียบ มีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มา โรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้ ก็นับว่า ครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสมบรูณ์ ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยแท้จริง ดังนั้น การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลได้ดังนี้

  1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจร เกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
    2. ช่วย สร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นัก เรียนจะซึมซับสิ่ง เหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว
    3. ช่วย ส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ
    4. ช่วย ส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการการจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน
    5. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ
    6. ช่วย สร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้า ใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

กล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนใน ด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุด

                เป้าหมายของการบริหารจัดการชั้นเรียน  เป็นช่วยให้นักเรียนพัฒนาในการควบคุมตนเองเพื่อให้มีชีวิตและทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข

แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการชั้นเรียน
ครู ซึ่งเป็นผู้นำในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนนั้น จำเป็นต้องมีเป้าหมายของการบริหารจัดการการชั้นเรียนที่ถูกต้อง กล่าวคือ เพื่อมุ่งสร้างนิสัยของการใฝ่รู้ มิใช่เพื่อมุ่งให้นักเรียนเกิดความสุขสนุกในการเรียนเพียงอย่างเดียว ควรมุ่งสร้างคุณลักษณะ ของการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น การพึ่งตนเองให้มากกว่าพึ่งผู้อื่น และการเป็นคนมีความคิดใฝ่สร้างสรรค์ เพื่อดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไปในอนาคตซึ่งมีแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการชั้นเรียนดังนี้
1. การบริหารจัดการชั้นเรียน และการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบทบาทความเป็นผู้นำของครู การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่สามารถแยกจากหน้าที่การสอน เมื่อการวางแผนการสอน ก็คือ การที่ครูกำลังวางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
2.เป็นไปไม่ได้ที่จะแยกการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการทำหน้าที่การจัดการเรียนการสอน รูปแบบการสอน หรือกลยุทธ์ที่ครูเลือกใช้แต่ละรูปแบบก็มีระบบการบริหารจัดการของมันเอง และมีภารกิจเฉพาะของรูปแบบหรือกลยุทธ์นั้นๆ ที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทั้งของครูและนักเรียน เช่น ถ้าครูจะบรรยายก็จำเป็นที่บทเรียนจะต้องมีความตั้งใจฟัง ถ้าจะให้นักเรียนทำงานกลุ่มวิธีการก็จะแตกต่างจากการทำงานโดยลำพังของแต่ละคนอย่างน้อยที่สุดก็คือการนั่ง ดังนั้นภารกิจการสอนจึงเกี่ยวข้องทั้งปัญหาการจัดลำดับวิธีการสอน ปัญหาของการจัดการในชั้นเรียนปัญหาการจัดนักเรียนให้ปฏิบัติตามกิจกรรม ครูที่วางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม ทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนและภารกิจ ก็คือ การที่ครูใช้การตัดสินใจอย่างฉลาดทั้งเวลา บรรยากาศทางกายภาพ และจิตวิทยา ซึ่งจะทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้และลดปัญหาด้านวินัยของนักเรียน
3. การบริหารชั้นเรียนเป็นความท้าทายของการเป็นครูมืออาชีพ ความสามารถของครูในการแสดงภาวะผู้นำ ด้วยการที่สามารถจะบริหารการจัดชั้นเรียนทั้งด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการบรรยากาศในห้องเรียน การดูแลพฤติกรรมด้านวินัยให้เกิดการร่วมมือในการเรียนจนเกิดการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร (วีณา นนทพันธาวาทย์)

ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการชั้นเรียนและการเรียนการสอน

การบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน เพื่อสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขการจัดสภาพแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. ความสะอาด ความปลอดภัย
2. ความมีอิสระอย่างมีขอบเขตในการเล่น
3. ความสะดวกในการทำกิจกรรม
4. ความพร้อมของอาคารสถานที่ เช่น ห้องเรียน ห้องน้ำห้องส้วม สนามเด็กเล่น ฯลฯ
5. ความเพียงพอเหมาะสมในเรื่องขนาด น้ำหนัก จำนวน สีของสื่อและเครื่องเล่น
6. บรรยากาศในการเรียนรู้ การจัดที่เล่นและมุมประสบการณ์ต่างๆ

การจัดการชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้

ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต่างปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ความปรารถนานี้เป็นจริง พรรณี ชูทัย (2522 : 261 – 263)กล่าวถึงบรรยากาศในชั้น

เรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอนจัดแบ่งได้ 6 ลักษณะสรุปได้ดังนี้
1. บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge) เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ
2. บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า  รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย  โดยปราศจากความกลัว  และวิตกกังวล   บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด
3. บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง
4. บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน  การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน  เป็นมิตร  ยอมรับให้ความช่วยเหลือ  จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น

สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน
5. บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิ

หน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต
6. บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้นบรรยากาศทั้ง 6 ลักษณะนี้ มีผล

ต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จของผู้เรียนผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียน

ประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียน

สามารถแบ่งประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียนได้ 2 ประเภทคือ
1. บรรยากาศทางกายภาพ
2. บรรยากาศทางจิตวิทยา

1.บรรยากาศทางกายภาพ(PhysicalAtmosphere)
บรรยากาศทางกายภาพหรือบรรยากาศทางด้านวัตถุ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในห้องเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย น่าดู มีความสะอาด มีเครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมให้การเรียนของนักเรียนสะดวกขึ้น เช่น ห้องเรียนมีขนาดเหมาะสม แสงเข้าถูกทาง และมีแสงสว่างเพียงพอ กระดานดำมีขนาดเหมาะสม โต๊ะเก้าอี้มีขนาดเหมาะสมกับวัยนักเรียน เป็นต้น

  1. การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน
    1.1 ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน
    1.2 ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
    1.3 ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน
    1.4 ให้มีรูปแบบที่ไม่จำเจ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
    1.5 ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน
    1.6 แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ
  2. การจัดโต๊ะครู
    2.1 ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
    2.2 ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน
    3. การจัดป้ายนิเทศ
    ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดานดำทั้ง 2 ข้าง ครูควรใช้ป้ายนิเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน โดย
    3.1 จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แก่นักเรียน
    3.2 จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน
    3.3 จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้
    3.4 จัดติดผลงานของนักเรียนและแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง

แนวการจัดป้ายนิเทศ เพื่อให้การจัดป้ายนิเทศได้ประโยชน์คุ้มค่า ครูควรคำนึงถึงแนวการจัดป้ายนิเทศในข้อต่อไปนี้
1. กำหนดเนื้อหาที่จะจัด ศึกษาเนื้อหาที่จะจัดโดยละเอียด เพื่อให้ได้แนวความคิดหลัก หรือสาระสำคัญ เขียนสรุป หรือจำแนกไว้เป็นข้อ ๆ
2. กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดโดยคำนึงถึงแนวความคิดหลักสาระสำคัญของเรื่องและคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายว่าต้องการเขารู้อะไร แค่ไหน อย่างไร
3. กำหนดชื่อเรื่อง นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ดู ชื่อเรื่องที่ดีต้องเป็นใจความสั้น ๆ กินใจความให้ความหมายชัดเจน ท้าทาย อาจมีลักษณะเป็นคำถามและชี้ให้เห็นวัตถุประสงค์ในการจัดแผ่นป้าย
4. วางแผนการจัดคล่าว ๆ ไว้ในใจ ว่าจะใช้วัสดุอะไรบ้าง แล้วจึงช่วยกันจัดหาสิ่งเหล่านั้น อาจเป็นรูปภาพ แผนภาพ ภาพสเก็ตซ์ ของจริง หรือจำลอง การ์ตูน เท่าที่พอจะหาได้
5. ออกแบบการจัดที่แน่นอน โดยคำนึงถึงสิ่งที่มีอยู่ โดยสเก็ตซ์รูปแบบการจัดลงบนกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายแผ่นป้าย ว่าจะวางหัวเรื่อง รูปภาพ และสิ่งต่าง ๆ ในตำแหน่งใด คำบรรยายอยู่ตรงไหน ใช้เส้นโยงอย่างไรจึงจะน่าสนใจ ควรออกแบบสัก 2 – 3 รูแบบ แล้วเลือกเอารูปแบบที่ดีที่สุด
6. ลงมือจัดเตรียมชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้มีขนาดและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะขึ้นแสดงบนแผ่นป้ายได้อย่างเหมาะสม หัวเรื่องจะใช้วิธีใด ภาพต้องผนึกไหม คำบรรยายจะทำอย่างไร เตรียมให้พร้อม
7. ลงมือจัดจริงบนแผ่นป้ายตามรูปแบบที่วางไว้ อาจทดลองวางบนพื้นราบในพื้นที่เท่าแผ่นป้ายก่อน เพื่อกะระยะที่เหมาะสมก่อนนำไปใช้จริง

  1. การจัดสภาพห้องเรียน ต้องให้ถูกสุขลักษณะ กล่าวคือ
    4.1 มีอากาศถ่ายเทได้ดี มีหน้าต่างพอเพียง และมีประตูเข้าออกได้สะดวก
    4.2 มีแสงสว่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนอ่านหนังสือได้ชัดเจน เพื่อเป็นการถนอมสายตา ควรใช้ไฟฟ้าช่วย ถ้ามีแสงสว่างน้อยเกินไป
    4.3 ปราศจากสิ่งรบกวนต่าง ๆ เช่น เสียง กลิ่น ควัน ฝุ่น ฯลฯ
    4.4 มีความสะอาด โดยฝึกให้นักเรียนรับผิดชอบช่วยกันเก็บกวาด เช็ดถู เป็นการปลูกฝังนิสัยรักความสะอาด และฝึกการทำงานร่วมกัน
    5. การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน ได้แก่
    5.1               มุมหนังสือ ควรมีไว้เพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้นักเรียนอ่านคล่อง  ส่งเสริมการค้นคว้า

หาความรู้  และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์   ครูควรหาหนังสือหลาย ๆ ประเภท   ที่มีความยากง่าย เหมาะสมกับวัยของนักเรียนมาให้อ่าน และควรหาหนังสือชุดใหม่มาเปลี่ยนบ่อย ๆ การจัดมุมหนังสือควรจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อสะดวกต่อการหยิบอ่าน
5.2                 มุมเสริมความรู้กลุ่มประสบการณ์ต่างๆ ควรจัดไว้ให้น่าสนใจช่วยเสริมความรู้ ทบทวนความรู้ เช่น มุมภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา มุมความรู้ข่าว เหตุการณ์ ฯลฯ
5.3 มุมแสดงผลงานของนักเรียน ครูควรติดบนป้ายนิเทศ แขวนหรือจัดวางไว้บนโต๊ะ เพื่อให้นักเรียนเกิดความภูมิใจในความสำเร็จ และมีกำลังใจในการเรียนต่อไป อีกทั้งยังสามารถแก้ไขพัฒนาผลงานของนักเรียนให้ดีขึ้นโดยลำดับได้อีกด้วย
5.4 ตู้เก็บสื่อการเรียนการสอน เช่น บัตรคำ แผนภูมิ ภาพพลิก กระดาษ สี กาว ฯลฯ ควรจัดไว้ให้เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วน สะดวกต่อการหยิบใช้ อุปกรณ์ชิ้นใดที่เก่าเกินไปหรือไม่ใช้แล้วไม่ควรเก็บไว้ในตู้ให้ดูรกรุงรัง
5.5 การประดับตกแต่งห้องเรียน ครูส่วนใหญ่มักนิยมประดับตกแต่งห้องเรียนด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น ม่าน มู่ลี่ ภาพ ดอกไม้ คำขวัญ สุภาษิต ควรตกแต่งพอเหมาะไม่ให้ดูรกรุงรัง สีสันที่ใช้ไม่ควรฉูดฉาด หรือใช้สีสะท้นแสง อาจทำให้นักเรียนเสียสายตาได้ การประดับตกแต่งห้องเรียน ควรคำนึงถึงหลักความเรียบง่าย เป็นระเบียบ ประหยัด มุ่งประโยชน์ และสวยงาม
5.6                มุมเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด ตลอดจนชั้นวางเครื่องมือเครื่องใช้ของนักเรียน เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ กล่องอาหาร ปิ่นโต ฯลฯ ควรจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ และหมั่นเช็ดถูให้สะอาดเสมอ

  1. บรรยากาศทางจิตวิทยา (Psychological Atmosphere)
    บรรยากาศทางจิตวิทยา หมายถึง บรรยากาศทางด้านจิตใจที่นักเรียนรู้สึกสบายใจ มีความอบอุ่น มีความเป็นกันเอง มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และมีความรักความศรัทธาต่อผู้สอน ตลอดจนมีอิสระในความกล้าแสดงออกอย่างมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน

การจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาหรือทางด้านจิตใจ จะช่วยสร้างความรู้สึกให้นักเรียนเกิดความสบายใจในการเรียน ปราศจากความกลัวและวิตกกังวล มีบรรยากาศของการสร้างสรรค์เร้าความสนใจ ให้นักเรียนร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยความสุข นักเรียนจะเกิดความรู้เช่นนี้ ขึ้นอยู่กับ “ ครู” เป็นสำคัญ ในข้อเหล่านี้
1.                บุคลิกภาพ
2. พฤติกรรมการสอน
3.                 เทคนิคการปกครองชั้นเรียน
4.  ปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน
แต่ละข้อมีรายละเอียดดังนี้

1.บุคลิกภาพของครู
สภาพบรรยากาศของห้องเรียนมีส่วนสัมพันธ์กับบุคลิกภาพของครู  ครูที่มีบุคลิกภาพเช่น

การแต่งกาย การยืน การเดน ท่าทาง น้ำเสียง การใช้คำพูด การแสดงออกทางสีหน้า แววตา ฯลณ เหมาะสมกับการเป็นครู จะช่วยส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ได้ดี บุคลิกภาพของครูมีผลต่อความรู้สึกของนักเรียน ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. 2531 : 8, 13)