ผู้บริโภคการค้าระหว่างประเทศส่งผลดีอย่างไร


1. รูปแบบการค้าเสรี
แนวคิดการค้าเสรี
Adam Smith (Absolute Advantage) เป็นผู้คิดเริ่มต้น
- เชื่อว่าหน่วยผลิตหรือประเทศควรจะผลิตสินค้าที่ตนมีความได้เปรียบ
แต่ละประเทศจะผลิตสินค้าและบริการที่ตนมีความได้เปรียบโดยขึ้นกับปัจจัยการผลิต เช่น ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน ที่ดิน
- เกิดการแบ่งกันผลิตระหว่างประเทศแล้วนำมาแลกเปลี่ยนกัน
- เชื่อว่าการค้าเสรี เป็นนโยบายที่นำพาให้ประเทศไปสู่ความมั่งคั่ง
David Ricardo ได้พัฒนาแนวคิดข้างต้นจนเกิดเป็นนโยบายการค้าเสรี (Free Trade Policy) มีรากฐานมาจากทฤษฎีต้นทุนเปรียบเทียบ(Theory of Comparative Costs) เห็นว่า แต่ละประเทศควรผลิตสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตได้เปรียบมากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้ไปแลกเปลี่ยน สินค้าที่ประเทศอื่นมีต้นทุนการผลิตได้เปรียบ และประเทศต่างๆ ก็จะไดรับผลิตผลดีกว่าการที่ประเทศต่างๆ จะผลิตสินค้าที่ต้องการด้วยตนเองทุกชนิด โดยมีเงื่อนไขว่า
- แต่ละประเทศเลือกผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงสุดและทรัพยากรเหมาะสม
- ไม่เก็บภาษีอากร เพื่อคุ้มกัน และคุ้มครองการผลิตภายใน
- ไม่ให้สิทธิพิเศษ หรือเลือกปฏิบัติต่อสินค้าประเทศใดประเทศหนึ่ง
- ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า
ในช่วงปลายของศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1970 - 1990) รูปแบบการผลิตสินค้าเป็นการผลิตสินค้าจำนวนมาก โดยใช้เครื่องจักร (mass production) ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือการแบ่งแยกหน้าที่การผลิตที่ชัดเจนและการนำเครื่องจักรมาใช้ในระดับสูง รูปแบบการผลิตนี้ได้นำไปสู่การเพิ่มผลผลิตโดยอาศัยขนาดของระบบ (economies of scale) และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก การค้าระหว่างอุตสาหกรรมอาศัยความหลากหลายของสินค้า (product differentiation) เป็นองค์ประกอบที่มีอัตราส่วนทางการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญต่อการผลิตสินค้าขั้นกลาง (Intermediate goods) ภายในธุรกิจเดียวกันด้วย
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นยุคที่ทุกประเทศต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การค้าโลกยังไร้กฎเกณฑ์เพราะสงครามเพิ่งสงบ ทำให้ประเทศผู้นำที่ชนะสงครามพยายามที่จะปรับภาวะเศรษฐกิจโลก โดยมีแนวคิดที่จะจัดตั้งองค์การขึ้น 3 องค์การ คือ องค์การที่จัดระบบควบคุมการเงิน (IMF) องค์การที่ให้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ (ธนาคารโลก) และองค์การควบคุมระเบียบการค้าคือ องค์การการค้าโลก (International Trade Organization หรือ ITO) ในช่วงแรกการจัดตั้ง IMF และธนาคารโลกประสบผลสำเร็จ ส่วนการจัดตั้ง ITO ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากสหรัฐฯไม่สามารถรับรองการจัดตั้งองค์การนี้ เพราะรัฐสภาสหรัฐฯ ไม่อนุมัติให้ความเห็นชอบ ด้วยเกรงว่าจะถูกลิดรอนอำนาจการเจรจาการค้าและการกำหนดกฎระเบียบการค้าอื่นๆ ในที่สุดจึงหาทางออกโดยประเทศก่อตั้งขณะนั้นรวม 23 ประเทศ พร้อมใจกันยอมรับความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า หรือ GATT (General Agreement on Tariffs and Trade) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดตั้งองค์การ ITO ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2491 และใช้บังคับมายาวนานจนถึงสิ้นปี 2537 รวมเวลากว่า 47 ปี
รูปแบบของการค้าเสรี
แนวคิดหลักการคือ ให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินทุน และบุคคล ผ่านพรมแดนโดยเสรี ซึ่งในทางปฏิบัติยังไม่มีรูปแบบที่แน่ชัด เนื่องจากแต่ละประเทศมีนโยบายแห่งชาติ วัตถุประสงค์ในเป้าหมายด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลให้เกิดข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายมากน้อยต่างกัน
รูปแบบที่ชัดเจนที่สุดในปัจจุบันคือการจัดตั้งสหภาพยุโรป (European Union) ซึ่งพัฒนามาจากการเป็นสหภาพศุลกากร (Custom Union) ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2511 พัฒนามาเป็นตลาดเดียว (Single Market) ดำเนินการแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2535 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเป็นสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน (Economic and Monetary Union) และในอนาคตจะเป็นสหภาพยุโรป ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจ การเงิน นโยบายต่างประเทศ และนโยบายความมั่นคงเดียวกัน
ภายใต้การเจรจาการค้าปัจจุบัน มีแนวทางให้เกิดการค้าเสรี เช่น
WTO
การเปิดตลาด
- ยกเลิกมาตรการภาษี (Tariff)
- ยกเลิกมาตรการมิใช่ภาษี (Non-Tariff) โดยปรับเปลี่ยนมาเป็นมาตรการภาษีแทน ถ้าเดิมมีการจำกัดการนำเข้าจนกระทั่งไม่มีการนำเข้าเลย หรือมีน้อย ก็ให้เปิดตลาดโดยให้มีการนำเข้าเป็นโควตาขั้นต่ำ แต่ถ้าเดิมมีการนำเข้าอยู่บ้าง ให้กำหนดโควตานำเข้าขั้นต่ำอัตราภาษีที่กำหนดอันเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนจากมาตรการมิใช่ภาษี ให้เรียกเก็บในส่วนที่อยู่นอกโควตา
การลดการอุดหนุน
- การอุดหนุนภายใน ลดการอุดหนุนที่เป็นการบิดเบือนการค้า
- การอุดหนุนการส่งออก จะต้องลดทั้งเงินช่วยเหลือและปริมาณการส่งออก
เอเปค
ได้มีการประชุมผู้นำด้านเศรษฐกิจของเอเปค ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2537 ณ เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย โดยเป็นการตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกที่จะเปิดเสรีทางด้านการค้า และการลงทุนให้สำเร็จภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) สำหรับประเทศสมาชิกที่พัฒนาแล้ว และในปี 2563 (ค.ศ. 2020) สำหรับประเทศสมาชิกที่กำลังพัฒนา
2. เหตุผลและความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องเข้าสู่ระบบการค้าเสรี
รัฐบาลไทยยึดมั่นนโยบายการค้าเสรี โดยมีความเชื่อมั่นว่านโยบายการค้าเสรีจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในอนาคต เนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้า ทำให้ตลาดใหญ่ขึ้น เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีการแข่งขัน ทำให้มีการผลิตตามความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ตลอดจนผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าและบริการหลากหลาย และในราคาที่ถูกลง
ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กและระบบเศรษฐกิจต้องพึ่งพาการค้าต่างประเทศ หากระบบการค้าในโลกไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์ที่เข้มแข็ง ปล่อยให้ประเทศที่มีพลังเศรษฐกิจมหาศาล ดำเนินมาตรการที่บิดเบือนการค้า และดำเนินนโยบายการพาณิชย์ที่ไม่เป็นธรรม ก็จะเกิดการเสียเปรียบทางการค้า
เศรษฐกิจการค้าโลกมีแนวโน้มสู่ภาวะไร้พรมแดนมากขึ้น โลกมีขนาดเล็กลง เนื่องจากความก้าวหน้าด้านสื่อสาร ที่สามารถติดต่อกันทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
เกิดกระแสผลักดันให้มีการเปิดเสรีในเวทีการเจรจาต่างๆทั้งในระดับพหุภาคีและภูมิภาค
การเปิดเสรีจะทำให้มีการเชื่อมโยงกับตลาดโลกมากขึ้น ลดอุปสรรคทางการค้าและการ ลงทุน นำไปสู่การจ้างงานและรายได้ที่เพิ่มขึ้น
ปัจจุบันโลกมีแนวโน้มเปิดเสรี มีการรวมกลุ่มและเปิดเสรีภายในกลุ่มมากขึ้น เช่น ASEAN (AFTA) APEC ASEM และ NAFTA เป็นต้น และมีแนวโน้มเปิดเสรีเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการค้าโลกที่เข้าสู่ระบบการค้าเสรีมากขึ้น ทำให้ประเทศไทยซึ่งมีระบบเศรษฐกิจผูกโยงกับเศรษฐกิจการค้าโลกในระดับสูง โดยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศมี สัดส่วนสูงถึงร้อยละ 86.23 ของ GDP ในปี 2541 จึงจำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีการค้าโลกโดยเป็นสมาชิกองค์กรกลุ่มเศรษฐกิจ และความร่วมมือในภูมิภาค อนุภูมิภาค และอนุทวีปต่างๆ เช่น องค์การการค้าโลก (WTO) อาเซียน และเอเปค เป็นต้น
3. ผลกระทบของการค้าเสรีที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และแรงงานไทย
ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
ทางด้านมหภาค
ผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เมื่อปี 2539 ได้ข้อสรุปว่า
- การเปิดเสรี จะมีผลทางบวกต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ ภายใต้ข้อแม้ว่าราคาสินค้านำเข้าลดลง เนื่องจากการลดลงของภาษีนำเข้าไม่สูงเกินกว่าอัตราเพิ่มของราคาสินค้าออกของไทย การขาดดุลการค้าจะลดลง การส่งออกสินค้าในหมวดอาหารจะเป็น ตัวกระตุ้นหลักที่ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังนั้นการต่อรองให้ประเทศพัฒนาแล้วลดอัตราการอุดหนุนเกษตรกรในประเทศของตัวเอง จะเป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนการผลิตที่ตกอยู่กับผู้ผลิตในประเทศอุตสาหกรรมมีสูงขึ้น จะมีผลในการกระตุ้นสินค้าออก ของไทยในหมวดอาหารให้เพิ่มสูงขึ้นด้วย
- การลดลงของภาษีศุลกากรก่อให้เกิดผลการทดแทน ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้บริโภคจะหันไปหาสินค้านำเข้าที่มีราคาถูกลง เช่นเดียวกับผู้ผลิตที่จะเลือกใช้วัตถุดิบนำเข้า เครื่องจักรนำเข้าที่มีราคาถูกลง ในระยะสั้นอาจมีผลให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจแต่ในระยะยาวปัจจัยการผลิต เช่น สินค้าทุนที่นำเข้าเพิ่มขึ้นจะสามารถเพิ่มศักยภาพการส่งออกอย่างไรก็ตามการลดลงของอัตราภาษีศุลกากรมีผล ทางลบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจเพิ่มการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้
ทางด้านจุลภาค
- มีกฎระเบียบการค้าที่ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ค้าและผู้ลงทุน
- ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสามารถคาดการณ์และวางแผนการค้าระหว่างประเทศล่วงหน้าได้ เนื่องจากมีความโปร่งใส โดยเฉพาะในเรื่องภาษี
- ผู้บริโภคมีทางเลือกจากการมีผู้ประกอบการมากขึ้น ตลอดจนได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพราคาถูกลง
- มีเวทีในการร้องเรียนข้อพิพาททางการค้า และมีแนวร่วมในการต่อสู้กับประเทศใหญ่
- มีกฎ ระเบียบที่รัดกุม โปร่งใส และเป็นธรรม เช่น การไต่สวนและการเก็บอากรต่อต้านการทุ่มตลาดและตอบโต้การอุดหนุน(AD/CVD) เดิมสินค้าไทยถูกไต่สวนการทุ่มตลาดและการอุดหนุนสินค้าส่งออกจากหลายประเทศ โดยการไต่สวนใช้กฎหมายของประเทศนั้นๆ เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ แต่ปัจจุบันการไต่สวนต้องเป็นไปตามที่ WTO กำหนด ซึ่งจะได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น
- มาตรการด้านสุขนามัยและมาตรฐานสินค้านำเข้า (SPS และ TBT) เดิมประเทศผู้นำเข้าสามารถกำหนดมาตรฐานเหล่านี้ตามอำเภอใจ และมีการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการ กีดกันการค้าแต่ปัจจุบันการกำหนดมาตรฐานเหล่านี้ต้องเป็นอิงมาตรฐานสากล อาทิ CODEX หรือ ISO หรือมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนทำให้มีกติกาในการใช้มาตรการนี้อย่างโปร่งใสและเป็นธรรมมากขึ้น
- ตลาดเปิดกว้างขึ้น
- ประเทศผู้นำเข้าต้องลดภาษีลง อาทิ สหรัฐฯ ลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมและประมง โดยเฉลี่ยจากร้อยละ 5.5 เหลือ 3.5 สหภาพยุโรปลดภาษีลงจากร้อยละ 5.7 เหลือ 4.3และ ญี่ปุ่นลดภาษีลงจากร้อยละ 3.7 เหลือ 1.4
- การส่งออกเพิ่มขึ้น
ข้าว ไทยส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจาก 56,630 ตัน ในปี 2538 เป็น 169,857 ตันในปี 2540 และไปตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นจาก 156,582 ตัน เป็น 223,213 ตัน
น้ำตาล ไทยส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นจาก 12,207 ตัน ในปี 2538 เป็น 38,380 ตัน ในปี 2540 ไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก 24,664 ตัน เป็น 35,344 ตัน และไป มาเลเซียเพิ่มขึ้นจาก 280,118 ตัน เป็น 365,468 ตัน เป็นต้น
เนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็ง ไทยส่งออกไปสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นจาก 13,961 ตัน ในปี 2537 เป็น 38,577 ตัน ในปี 2540 ไปเกาหลีเพิ่มขึ้นจาก 114 ตัน เป็น 1,947 ตัน และไปมาเลเซียเพิ่มขึ้นจาก 540 ตัน เป็น 2,710 ตัน เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไทยส่งออกมันสำปะหลังสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านตัน ในปี 2537 เป็น 3.47 ล้านตัน ในปี 2540 ส่งออกแป้งสตาร์ชไปสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นจาก 3,394 ตัน เป็น 6,670 ตัน และส่งออกเด๊กซ์ตริน และโมดิไฟนด์สตาร์ชไปเกาหลีเพิ่มขึ้นจาก 1,799 ตัน เป็น 2,298 ตัน
ผลกระทบทางด้านสังคม
ผลต่อผู้บริโภค ประชาชนในประเทศมีโอกาสและทางเลือกในการบริโภคเพิ่มขึ้น สามารถซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคในราคาที่ถูกลง
- ต้องมีการปรับตัว เช่น ไทยต้องแก้ไขหรือออกกฎหมายให้สอดคล้องกับความตกลง ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา แก้ไขกฎหมายเครื่องหมายการค้า เป็นต้น การปฏิบัติตามกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ ระหว่างประเทศอาจมีผลต่อวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของคนในประเทศ ความรู้สึกที่ไม่เป็นอิสระตามแนวคิดแบบชาตินิยม ซึ่งเห็นว่าการเปิดเสรีจะถูกครอบงำโดยธุรกิจต่างชาติ เป็นต้น
ผลกระทบทางด้านแรงงาน
ผลด้านบวก
มีการขยายการผลิตในอุตสาหกรรมที่ไทยมีความได้เปรียบและมีศักยภาพในการส่งออก เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปที่ใช้สินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบ ทำให้เกิดการจ้างงานในทุกระดับการผล
ผลด้านลบ
- การเปิดเสรีทำให้อุตสาหกรรมหลายประเภทที่แข่งขันไม่ได้ต้องล้มเลิกไปส่งผลกระทบต่อคนงาน ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน
- ประเทศไทยต้องประสบปัญหาการนำเรื่องสิทธิแรงงานมาเป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้าจากสหรัฐฯ หลายครั้ง ได้แก่
- ปี 2530 สหพันธ์แรงงานสหรัฐและสภาองค์การอุตสาหกรรม (AFL - CIO) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ เพิกถอนการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) แก่ไทยเป็นครั้งแรก โดยกล่าวหาว่าไทยไม่ให้ความคุ้มครองสิทธิแรงงานในประเทศ
- ปี 2532 AFL-CIO กล่าวหาว่าไทยละเมิดเสรีภาพของการสมาคมสิทธิในการต่อรองการใช้แรงงานเด็กและความปลอดภัยและสุขภาพแรงงาน
- ปี 2542 กองทุนสิทธิแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Rights Fund : ILRF) ได้มีหนังสือถึงนาย John Rosenbaum (Assistance USTR for Trade Development) เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ ตัดสิทธิ GSP สินค้าของไทย โดยอ้างว่า ประเทศไทยยังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการออก พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (SELRA)
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-

ผลดีของการค้าระหว่างประเทศมีอะไรบ้าง

-สามารถสร้างการค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้น -ช่วยลดต้นทุนต่อหน่วยของการผลิต -ช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ และ การเมืองของประเทศสมาชิกในกลุ่ม -ทำให้ประเทศเล็กที่รวมกลุ่มกัน มีอำนาจในการเจรจาต่อรองเพิ่มขึ้นในเวทีตลาดโลก

การค้ากับต่างประเทศก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจอย่างไร

ประการแรก ผลต่อแบบแผนการบริโภค และราคาของสินค้า เนื่องจากการค้าขายระหว่างประเทศ ทำให้จำนวนสินค้าที่อุปโภคและบริโภคมีเพิ่มมากขึ้นความเป็นอยู่ของผู้บริโภคจะดีขึ้น ทั้งนี้ประเทศต่างๆ จะพากันผลิตสินค้าที่ตนได้เปรียบมากขึ้น และหันไปซื้อสินค้าที่ตนเสียเปรียบทางการผลิตจากประเทศอื่นมากขึ้น ทำให้จำนวนสินค้าเข้ามีมากขึ้น ทำให้ ...

ทำไมจึงต้องมีการค้าระหว่างประเทศ

เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศต่างๆในโลกทำการค้าขายกันเป็นเพราะว่า ไม่มีประเทศใดในโลกสามารถผลิตสินค้าและบริการทุกอย่างได้ครบและเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ ถึงแม้ว่าบางประเทศจะมีขีดความสามารถผลิตสินค้าได้ทุกอย่างแต่อาจจะมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าซึ่งไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน การที่แต่ละประเทศผลิตเฉพาะสินค้า ...

ข้อดีของความร่วมมือทางเศรษฐกิจคืออะไร

การรวมกลุ่มทางการค้าจะทำให้ประเทศมีโอกาสเข้าสู่ตลาดของประเทศคู่ค้ามากยิ่งขึ้น มีลู่ทางการค้าที่เพิ่มขึ้น ทำให้ขนาดของตลาดเพิ่มขึ้น ดึงดูดใจให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศสนใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น อันจะนำมาสู่การขยายตลาดของทั้งของประเทศในกลุ่มและของภูมิภาคให้กว้างขวางขึ้น