การสรรหาต่างจากการเลือกสรรอย่างไร

ลองมาพิจารณาคำว่า สรรหาและคัดเลือกกันสักนิด หลายคนมองและเข้าใจว่า การสรรหาคัดเลือกเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งจริงๆ แล้วการสรรหาก็เรื่องหนึ่ง การคัดเลือกก็อีกเรื่องหนึ่งนะครับ เพียงแต่ส่วนใหญ่เขาเรียกรวมกัน ทำให้ผู้จัดการสายงานบางคน ก็เข้าใจผิด คิดว่าการสรรหาและคัดเลือกคือเรื่องเดียวกันทั้งหมด แล้วจริงๆ มันต่างกันอย่างไร

  • การสรรหา (Recruitment) คือ การไปหาแหล่งของพนักงานที่เราต้องการ เพื่อให้ได้คนมาสมัครงานให้มากที่สุด ก็คือ การไปหาคนที่เราต้องการจากแหล่งที่มีคนประเภทนั้นอยู่เยอะๆ ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าเราต้องการหาดอกไม้สวยๆ ก็ต้องไปสรรหาจากแหล่งขายดอกไม้ ซึ่งก็คือปากคลองตลาด เมื่อเจอแหล่งที่มีของมากพอ ก็สามารถทำให้เราคัดเลือกได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
  • การคัดเลือก (Selection) ก็คือการหาวิธีการมาคัดเลือกผู้สมัครที่เราได้มาจากการสรรหา เพื่อหาคนที่ดี และเหมาะสมที่สุดเข้ามาทำงาน ซึ่งส่วนมากการคัดเลือกก็มักจะมีเครื่องมือต่างๆ มากมาย อาทิ การสัมภาษณ์ การใช้แบบทดสอบต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่า คนที่เราเลือกมานั้นเหมาะสมกับองค์กร หน่วยงาน และงานที่ต้องทำมากที่สุด

เมื่อเข้าใจความหมายของคำทั้งสองคำแล้ว ก็จะง่ายขึ้นในการที่ผู้จัดการสายงานจะเข้ามามีบทบาทในการสรรหา และคัดเลือก

บทบาทของผู้จัดการสายงานในการสรรหาพนักงาน

  • แจ้งแหล่งของพนักงานที่ตนต้องการ ว่าคนที่มีความรู้แบบนี้ ต้องไปหาจากที่ไหนได้บ้าง เช่น จากมหาวิทยาลัยไหน ที่เรียนเกี่ยวกับเรื่องที่เราต้องการ
  • แจ้งคุณสมบัติที่ชัดเจนของพนักงานให้กับ HR ทราบ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าผู้จัดการสายงานไม่มีการแจ้งคุณสมบัติของพนักงานที่เราต้องการให้ชัดเจน HR ก็ไม่สามารถไปสรรหามาให้เราคัดเลือกได้เลย เช่น ครั้งหนึ่ง มีผู้จัดการสายงานแจ้งมาว่า “ต้องการวิศวกร ประสบการณ์ 3 ปี ช่วยหามาให้หน่อยนะ” คุณสมบัติที่แจ้งมานั้น ถามว่า HR สามารถสรรหามาให้ได้หรือไม่? คำตอบก็คือ หาได้มากมาย แต่พอหามาได้ตามที่บอก ผู้จัดสายงานดูแล้ว ก็บอกว่า หามาได้ยังไง ไม่เห็นตรงกับคุณสมบัติที่แจ้งไป (คงลืมไปว่าแจ้งว่าอะไร) จริงๆ HR เขาหามาได้เยอะเลยครับ วิศวกรที่มีประสบการณ์ทำงาน 3 ปี เพียงแต่คุณสมบัติเฉพาะทางไม่ตรง เพราะไม่มีการแจ้งให้ชัดเจน ดังนั้น สิ่งที่ผู้จัดการสายงานต้องช่วย HR ในการสรรหาก็คือ การบอกคุณสมบัติที่ชัดเจนของตำแหน่งงานที่เราต้องการ ว่าต้องการ ระดับการศึกษาอะไร วุฒิการศึกษาใด สาขาวิชาอะไร ถ้าต้องมีประสบการณ์ จะต้องผ่านประสบการณ์ในงานแบบไหน อย่างไรบ้าง แล้วค่อยมากำหนดจำนวนปี เช่น ต้องการ ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขา เครื่องกลโรงงาน และต้องเคยผ่านงานทางด้านการขายเครื่องจักรกลหนักมาอย่างน้อย 3 ปี” ชัดๆ แบบนี้ไปเลยครับ เพื่อที่จะทำให้ HR สามารถไปหาแหล่งคนแบบนี้มาให้เราได้นั่นเอง
  • ช่วยแนะนำคนที่รู้จักให้เข้ามาสมัครงานกับบริษัท ในบางกรณี คนในบริษัทเอง ก็สามารถช่วยสรรหาคนมาสมัครงานได้ โดยการแนะนำคนรู้จักให้มาสมัครงาน (ไม่ใช่เรื่องเด็กเส้นนะครับ) เพราะคนในบริษัทจะรู้วัฒนธรรมการทำงานดี ซึ่งถ้าเขารู้จักเพื่อน พี่ น้อง ฯลฯ และรู้ว่าคนนี้น่าจะเหมาะกับองค์กรของเรา ก็สามารถช่วยแนะนำเข้ามาสมัครงานได้อีกทางหนึ่ง

บทบาทของผู้จัดการสายงานในการคัดเลือกพนักงาน

หลังจากที่มีผู้สมัครตามคุณสมบัติที่เราต้องการมาสมัครงานกับเรามากพอ ขั้นตอนถัดไปก็คือ การคัดเลือกผู้สมัครที่มีความเหมาะสมกับเรามากที่สุด ซึ่งขั้นตอนในการคัดเลือก จะเป็นขั้นตอนที่ยากมากกว่าการสรรหา โดยปกติเราจะใช้การสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือหลักสำหรับการคัดเลือกพนักงาน โดยทั่วไป ก็จะมีการสัมภาษณ์ 2 รอบ รอบแรกจะเป็นการพิจารณาว่า ผู้สมัครคนนี้เหมาะสมกับบริษัทของเราหรือไม่ ถ้ามีการใช้ Competency การสัมภาษณ์รอบแรกจะเป็นการพิจารณาว่าผู้สมัครแต่ละคนมีคุณสมบัติที่ตรงกับ Core Competency ขององค์กรหรือไม่ ถ้าผ่านรอบแรกแล้ว

การสัมภาษณ์รอบที่สอง ก็จะพิจารณาลึกลงไปในเรื่องของความรู้ และทักษะของผู้สมัครที่เกี่ยวข้องกับตัวหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงเลย ว่าจากความรู้ที่มี และจากประสบการณ์ที่เคยทำงานมานั้น พอจะเข้ามาสร้างผลงานให้กับบริษัทเราได้หรือไม่ เพียงใด

บางองค์กรก็สลับกันได้นะครับ รอบแรกดูเรื่องของ ความรู้ทักษะ เน้นไปที่ Functional Competency มากหน่อย รอบที่สอง ก็มาดูเรื่องของ Core Competency ก็ได้ แต่ต้องตกลงกันในระหว่างผู้ที่ทำการคัดเลือกให้ชัดเจนว่า รอบไหนจะพิจารณาเรื่องอะไรนะครับ

ดังนั้นบทบาทของผู้จัดการสายงานในการคัดเลือกก็คือ

  • สัมภาษณ์ผู้สมัคร สัมภาษณ์ในที่นี้ต้องเป็นการสัมภาษณ์จริงๆ เป็นการพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครจริงๆ ไม่ใช่แค่สัมภาษณ์หรือพูดคุยให้พอเป็นพิธี ดังนั้นถ้าเราต้องเลือกพนักงานจากการสัมภาษณ์ นั่นก็ต้องมีการวางแผนการสัมภาษณ์ให้ดี ต้องพิจารณาว่า คุณสมบัติที่เราต้องการนั้น เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าผู้สมัครมีจริง หรือไม่จริง competency แต่ละตัวที่เราต้องการนั้น จะต้องใช้คำถามอะไรเพื่อทำให้เราได้คำตอบว่าผู้สมัครเป็นคนที่ตรงกับที่เราต้องการหรือไม่ ผมมักจะมองว่าการสัมภาษณ์ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย เพราะเราต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้า เตรียมคำถามล่วงหน้า เตรียมบรรยากาศ เตรียมกรณีศึกษาต่างๆ เพื่อทดสอบ หรือสอบถามผู้สมัครไว้ล่วงหน้า
  • พิจารณาผู้สมัครร่วมกับ HR หลังจากที่สัมภาษณ์ผู้สมัครเสร็จแต่ละคน ก่อนที่จะเรียกคนใหม่เข้ามา จะต้องมีการพูดคุยกันก่อน ระหว่างคนที่สัมภาษณ์ ก็คือ ผู้จัดการสายงาน และ HR ที่เป็นกรรมการสัมภาษณ์ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกับผู้สมัครคนนั้น มีอะไรเป็นจุดเด่น อะไรด้อย อะไรที่ตรงกับสิ่งที่เราต้องการ อะไรที่ไม่ตรง และคิดอย่างไร จะรับหรือไม่รับ จะจัดลำดับไว้ในลำดับที่เท่าไหร่จากผู้ที่เราสัมภาษณ์มาทั้งหมด จะคัดออกเพราะอะไร หรือเก็บไว้เป็นตัวเลือกเพราะอะไร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับคำตอบที่ชัดเจนพอ ก่อนที่จะเรียกผู้สมัครคนใหม่เข้ามา

สิ่งเหล่านี้ก็คือบทบาทของผู้จัดการสายงานที่มีต่อการสรรหาและคัดเลือกพนักงาน ถ้าเราอยากได้คนดี คนเก่ง คนที่มีศักยภาพ ตัวผู้จัดการสายงานเองก็คงต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการสรรหาและคัดเลือกพนักงานร่วมกับทาง HR ด้วย และต้องเป็นการสรรหาคัดเลือกจริงๆ นะครับ เพื่อที่เราจะได้คนที่ดีที่สุด และเหมาะสมที่สุดมาทำงานสร้างอนาคตขององค์กรไปด้วยกัน

การสรรหาและการคัดเลือก คืออะไร

หมายถึง กระบวนการในการแสวงหาและจูงใจ ผู้สมัครงาน ที่มีความสามารถเข้ามาทางานในองค์การ กระบวนการนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่การแสวงหาคนเข้าทางาน และสิ้นสุด เมื่อบุคคลได้มาสมัครงานในองค์การ การสรรหาจึงเป็นศูนย์รวมของผู้สมัครงานเพื่อ ด าเนินการคัดเลือกเป็นพนักงานใหม่ต่อไป

การคัดเลือกมีอะไรบ้าง

การคัดเลือกจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีนั้น จะต้องมีตัวป้อนเข้า (input ) ที่ดีด้วย ตัวป้อนเข้าที่จะไปสู่การคัดเลือกนั้น มี 3 ประเภท ด้วยกัน คือ 1. การวิเคราะห์งาน ( Job analysis) 2. แผนทรัพยากรมนุษย์ (Human resource plans) 3. การสรรหา (Recruitment)

การคัดเลือกบุคลากรคืออะไร

การคัดเลือกบุคลากร หมายถึง กระบวนการพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มาสมัครงาน โดย คาดว่าจะเป็นบุคคลที่ท างานได้ประสบความส าเร็จได้ดีที่สุด โดยพิจารณาจากทักษะ ความสามารถ และคุณสมบัติอื่นๆ ที่จ าเป็นเพื่อการท างานอย่างใดอย่างหนึ่ง (สมชาย หิรัญกิตติ, 2542, หน้า 112)

การสรรหาคืออะไร มีความสําคัญต่อองค์การอย่างไร

การสรรหา หมายถึง กระบวนการในการค้นหาบุคคลที่มีความรู้ความเหมาะสมกับ ต าแหน่งที่องค์การต้องการจากแหล่งต่างให้สนใจสมัครเข้าร่วมงานกับองค์การ โดยผู้มีหน้าที่ใน การสรรหาบุคลากรจะต้องสามารถเข้าถึงแหล่งที่มาของบุคลากร ดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพ เหมาะสมกับงานให้เกิดความสนใจที่จะร่วมงานกับองค์การอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ข้อจ า ...