การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทํางานอะไร

เรียนโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จบโลจิสติกส์ทํางานอะไร ?

เตรียมตัวทำงานโลจิสติกส์ฉบับคนทำงาน ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป!

  • ได้ทั้งผู้ชาย และผู้หญิง วุฒิการศึกษาระดับ ปวช. ปวส. หรือปริญญาตรี จบสาขาอาชีพโลจิสติกส์ หรือเรียกว่าสาขาสาขาการจัดการโลจิสติกส์ อาจจะจบสาขาอื่นๆ ก็สามารถทำงานได้ ขึ้นอยู่ความสามารถ และความขยัน อดทน รับผิดชอบเป็นอย่างดีมาก
  • มีความรู้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เช่น Microsoft Office โดยเฉพาะ excel ทุกเวอร์ชัน เพราะบริษัทส่วนใหญ่จะใช้ excel ต้องเรียนรู้ในสูตรต่างๆ เพราะจะใช้ในการเก็บข้อมูลต่างๆ อาทิ ยอดคงเหลือ ยอดขาย ยอดการผลิต ยอดการสั่งซื้อ เป็นต้น และมีความสามารถในการอินเตอร์เน็ตได้ เพราะบริษัทส่วนใหญ่จะมีการส่งเอกสารผ่านระบบอีเมล์ (e-mail) ในการส่งข้อมูล หรือการโต้ตอบกัน
  • มีความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษเบื้องต้น อาทิ ในการสนทนา โต้ตอบ เป็นต้น *บางบริษัทอาจจะใช้เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นภาษาอังกฤษอย่างเดียว!
  • มีสามารถขับรถได้ทั้งรถยนต์ หรือรถกะบะได้ เพราะอาจจะมีขนส่งสินค้าระหว่างบริษัท กับคลังสินค้า หรือส่งให้กับลูกค้า และรู้จักเส้นทางในสถานที่ต่างๆ หรือเส้นทางลัด
  • มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานด้าน logistics และ supply chain *ศึกษาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการงานเพิ่มเติม
  • รู้จักอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการใช้งาน ข้อปฏิบัติ ข้อห้ามในการใช้อุปกรณ์นั้นๆ
  • มีทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ถึงดีมาก และเป็นคนรอบคอบ ในกรณีทำงานพวกเอกสารที่มีตัวเลขที่เกี่ยวข้อง เพราะทำให้เกิดความเสียหาย และเสียเวลาที่ต้องมานั่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และทำให้ระบบของการทำงานเสียหายหมด อาทิ ใส่ยอดคงเหลือของสินค้าในคลังสินค้าไม่ตรงกับสินค้าที่เหลืออยู่จริง ทำให้อาจจะมีการวางแผนการผลิต หรือสั่งซื้อที่ผิดพลาดเกิดขึ้นได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้น
  • เวลาทำงานโลจิสติกส์ ส่วนใหญ่จะทำงานวันจันทร์ – วันเสาร์ (เต็มวันหรือครึ่งวัน) หรือบ้างทีทำงานเป็นกะ หรือสลับวันทำงานและวันหยุดกัน น้อยมากที่จะทำงานแค่วันจันทร์ – วันศุกร์
  • รับความกดดันทั้งหัวหน้างาน หรือผู้บังคับบัญชา และงานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างสูง เพราะการทำงานสาย ต้องแข่งขันกับเวลา เพราะมีผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้า หรือความเชื่อมั่นในการใช้บริการ
  • มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีถึงมากที่สุดทั้งในกลุ่มของสายงานที่ปฏิบัติงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีความจำเป็นอย่างมากที่สุด!
  • และอื่นๆ ที่ต้องเตรียมตัวเตรียมใจ พร้อมรับสิ่งใหม่ๆ ที่จะเจอโลกของการทำงาน ที่ไม่เหมือนกับตอนเรียนโลจิสติกส์ (logistics) ในตำราหนังสือแน่นอน!

ขอบเขตการทำงานตำแหน่งงานสายด้านโลจิสติกส์ ขอแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ

  • ส่วนแรกคือประจำ Office ผู้ชายหรือผู้หญิงสามารถทำได้หมด แต่ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงทำมากกว่าผู้ชาย เพราะทำงานหลักๆ จะเป็นเอกสารส่วนใหญ่ เช่น ทำรายงานสรุปยอดสินค้าคงเหลือ เป็นต้น ลักษณะงานจะต้องมีความรับผิดชอบอย่างสูง และมีความละเอียดค่อนข้างมาก เพราะเอกสารที่ทำออกมานั้น มีผลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายอื่นๆ เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขาย
  • ส่วนที่สองคือ Warehouse หรือคลังสินค้า จะทำงานลักษณะลุยๆ ถึกๆ และพร้อมกับปัญหาต่างๆ ที่ไม่คาดคิดที่จะเกิดขึ้นแต่ละวัน เช่น สินค้ามาไม่ครบตามจำนวน สินค้าชำรุดไม่พร้อมส่งสินค้า หรือสินค้าไม่มาที่นัดหมายไว้ เป็นต้น ส่วนใหญ่และหลายที่จะรับเฉพาะผู้ชายเท่านั้น! ยกเว้นบ้างทีที่อาจจะรับผู้หญิงเข้าทำงาน

ขอให้โชคดีได้งานโลจิสติกส์ที่คาดหวังไว้!

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related Posts

  • ทำไมต้องเรียนสาขาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ?
  • เรียนโลจิสติกส์ เรียนที่ไหนดี! มีที่ไหนบ้าง ?
  • 7 สิ่งที่ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโลจิสติกส์ (logistics)
  • เรียนโลจิสติกส์จบมาทำงานอะไร ?
  • โลจิสติกส์ (logistics) คืออะไร ? กระบวนการส่วนหนึ่งของในการขนส่ง


สำหรับคนกำลังสงสัย หรือลังเลที่กำลังจะเรียนในสาขาวิชานี้ จะต้องทำงานอยู่แค่ในคลังสินค้า (warehouse) อย่างเดียวเท่านั้นหรือไม่ หรือยังมีตำแหน่งานอื่นๆ ใ้ห้ทำกันอีก วันนี้ไปพบค้นข้อมูลมาส่วนหนึ่ง เลยรวบรวมจากแหล่งต่างๆ

ด้านระดับเจ้าหน้าที่ต่างๆ เช่น

  • ฝ่ายจัดซื้อ
  • ฝ่ายผลิต
  • ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า
  • ฝ่ายควบคุมวัถตุดิบ
  • ฝ่ายซับพลายเชน/โลจิสติกส์
  • ฝ่ายการขนส่ง

ด้านระดับบริหารสามารถทำงานเป็น

  • Logistics Analyst
  • Material Planner
  • Operations Analyst
  • Procurement Manager
  • Supply Chain Analyst
  • Business process Analyst
  • Operations Manager และอื่นๆอีกมากมาย

เรียนโลจิสติกส์ ด้านการจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี และธุรกิจพาณิชนาวี และส่วนนี้วิทยาการเดินเรือ (รับเฉพาะผู้ชายเท่านั้น) ซึ่งทำงานเกี่ยวกับ

โลจิสติกส์ หรือ ลอจิสติกส์ (logistics) อีกหนึ่งสาขาวิชาที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดยมีความเกี่ยวข้องกับการจัดระบบการขนส่ง หรือ การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศ และทางเรือ นอกจากนี้ยังรวมถึง ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่น ที่ทำการขนย้ายตั้งแต่ต้นทางไปยังจุดหมายปลายทางตามความต้องการของลูกค้า

สาขาน่าเรียน โลจิสติกส์ เรียนที่ไหนดี?

ซึ่งสาขาวิชาด้านโลจิสติกส์นั้นไม่ได้เรียนรู้เฉพาะเรื่องการขนส่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคลคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ และความเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจ อีกด้วย

สำหรับน้อง ๆ ที่เข้ามาเรียนในสาขาวิชาด้านโลจิสติกส์ ในปี 1 น้อง ๆ จะต้องวิชาหลักที่คล้าย ๆ กันก็คือ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิชาพื้นฐานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นวิชาด้านธุรกิจ การบริหารจัดการ วิชาการตลาด การเงิน ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ (แคลคูลัส สถิติ) และมนุษยศาสตร์ ฯลฯ

การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทํางานอะไร

และในปีต่อ ๆ มาก็ได้เรียนรู้วิชาเฉพาะด้านมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น วิชาด้านการขนส่งสินค้าและการกระจายสินค้าไปยังตลาด เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและการบรรจุภัณฑ์ เรียนรู้วิธีการจัดการการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนอุปสงค์และสินค้าคงคลัง การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ การค้าการจัดการ ฯลฯ

หลังจากนั้นน้อง ๆ ก็จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลจิสติกส์มากขึ้น โดยในบางมหาวิทยาลัยก็จะมีการให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ออกไปฝึกงานจริงในโรงงานหรือบริษัท หรือบางมหาวิทยาลัยก็จะมีการฝึกแบบสหกิจศึกษาด้วย

โลจิสติกส์ กับศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

โลจิสติกส์ มีศาสตร์แขนงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ศาสตร์ด้วยกัน ได้แก่

1. ด้านวิศวกรรมศาสตร์

โดยในส่วนของวิศวกรรมศาสตร์ มีสาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้องคือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) และสาขาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) โดยในสาขาวิชาเหล่านี้จะเรียนรู้ถึงวิธีการเคลื่อนที่ย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้านั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิง หรือเวลาในการขนส่งให้น้อยที่สุด

2. ด้านบริหารธุรกิจ

สำหรับสาขาด้านบริหารธุรกิจจะเน้นมองในเรื่องของการขนส่งระหว่างประเทศ โดยจะพิจารณาจากภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบาย หรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศและเรื่องการค้าระหว่างประเทศ เพื่อนำมาประกอบการวางแผนขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่าง ๆ

3. ด้านการจัดการสารสนเทศ

ส่วนในด้านการจัดการสารสนเทศ จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ software และ hardware ที่นำมาควบรวมกันเป็น solution หรือ บริการ ที่จะช่วยทำให้การดำเนินการทางโลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ใช้เวลาในการดำเนินงานให้น้อยมากที่สุด

ติวเข้ม แคลคูลัส Part 5 : The Last Part

Link : https://seeme.me/ch/pparkmathacademy/MzR7dM?pl=yad0Mz

เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาเข้าเรียนต่อ …

ระบบรับตรง (ทั่วประเทศ)

  • กำลังศึกษา หรือสำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ, ศิลป์-คำนวณ
  • มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 หรือ 6 เทอม
  • ต้องมีผลคะแนน GAT/PAT1 (คณิตศาสตร์), PAT2 (วิทยาศาสตร์)

ระบบแอดมิชชัน

แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ 

  • GPAX 20%
  • O-NET 30%
  • GAT 10%
  • PAT1 (คณิตศาสตร์) 10%
  • PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%

แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ

  • GPAX 20%
  • O-NET 30%
  • GAT 30%
  • PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%

** ทั้งนี้เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ อาจจะมีความแตกต่างกันออกไป (นี่เป็นเพียงเกณฑ์พิจารณาคราว ๆ เท่านั้น) ดังนั้นน้อง ๆ ควรที่จะต้องเข้าไปศึกษาข้อมูลในเว็บของมหาวิทยาลัยที่ต้องการเข้าศึกษาให้ดีเสียก่อนทำการสมัครจริงค่ะ

การจัดการโลจิสติกส์จบมาทำอะไร

ผู้คนที่จบทางด้านโลจิสติกส์จะมีงานที่เกี่ยวข้อง 4 งานใหญ่ ดังนี้ ได้แก่ การขนส่ง เพื่อให้สินค้าไปถึงมือลูกค้าอย่างเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 54% คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า มีหน้าที่รวบรวมสินค้าจากหลายๆ ที่แล้วกระจายไปตามสาขาต่างๆคิดเป็นร้อยละ 24 % งานบริการด้านโลจิสติกส์ เป็นตัวแทนออกของ สายการเดินเรือ และ Clearing คิด ...

โลจิสติกส์ทำงานที่ไหน

ตอบ : ทำงานได้ทั้งในภาครัฐและเอกชนเลย เพราะทั้งสองภาคส่วนนี้ต้องใช้คนในการดูแลหน่วยงานและธุรกิจที่ขยายตัวขึ้นด้วยในภาคเอกชน อาจไปอยู่ในฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายควบคุมการผลิต ฝ่ายขนส่ง หรือเป็นนักวิเคราะห์ supply chain นักวางแผนการกระจายสินค้าและกระบวนการธุรกิจก็ได้หรือทำธุรกิจส่วนตัวก็อาจเป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ...

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คืออะไร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ประกอบด้วยการศึกษารายวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และการจัดการโลจิสติกส์ มุ่งเน้นการนำความรู้ความเข้าใจในแต่ละวิชา เช่น การจัดการคลังสินค้า การขนส่งและการกระจายสินค้า การจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น สามารถประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์จริงแบบองค์รวม มีการ ...

การจัดการโลจิสติกส์ คณะอะไร

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม -สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์