กระแสโลกาภิวัตน์ กระทบ ต่อสังคมไทย

ผลกระทบของระบบโลกที่มีต่อโลกรวมทั้งประเทศไทยในปัจจุบัน

         ในสภาวะที่โลกเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่หลังสงครามเย็น จะเห็นได้ว่าระบบโลกใหม่ที่เกิดขึ้นได้
สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นแก่ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้มีผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ
กระแสโลกาภิวัตน์ที่มีผลกระทบต่อโลกรวมทั้งประเทศไทยในด้านต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้

              

กระแสโลกาภิวัตน์ กระทบ ต่อสังคมไทย

          1.ระบบโลกไม่ได้มีส่วนช่วยให้ระบอบประชาธิปไตยของไทยดีขึ้น  ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลง
รัฐบาลของไทยจะเป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญที่มีรัฐสภา  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ทีมาจาก
การเลือกตั้ง แต่รัฐบาลก็ยังไม่มีเสถียรภาพ ยังเป็นรัฐบาลผสมที่พรรคการเมืองและนักการเมืองอาศัย
การใช้เงินปูทางเข้ามามีอำนาจแสวงหาผลประโยชน์ของตนและพรรคพวก กระแสโลกาภิวัตน์ที่นำ
การเมืองเข้าสู่ยุคธนาธิปไตยไร้พรมแดนย่อมนำไปสู่จุดจบของระบอบประชาธิปไตย ประเทศยากจน
จะไม่มีอำนาจต่อรองผลประโยชน์ใด ๆ ต้องยอมให้กลุ่มประเทศทุนนิยมขนาดใหญ่ และบรรษัทข้าม
ชาติทั้งหลายเข้ามามีอำนาจแสวงหาผลประโยชน์  กลายเป็นลัทธิล่าอาณานิคมยุคใหม่ โดยใช้เงิน
และระบบสื่อสารไร้พรมแดนเป็นอาวุธ

         2.ระบบสื่อสารเสรีทำให้ยุคไร้พรมแดนมีความใกล้ชิดกัน วัฒนธรรมอเมริกันซึ่งถือเป็น
วัฒนธรรมบริโภคนิยมและวัตถุนิยมได้เข้าครอบงำโลก อำนาจเงินตราจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนแสวงหา
ตลาดทุน  และเงินเสรีเปิดโอกาสให้ทุนเก็งกำไรไร้พรมแดน มีอำนาจครอบเหนืออำนาจรัฐและระบบ
เศรษฐกิจระดับชาติโดยการสร้างค่ายเศรษฐกิจขึ้นมา ประกาศตั้งกำแพงภาษีและกำหนดมาตรฐาน
ทางสินค้า  เช่น  ISO  9000  หรือ ISO  14000 เป็นต้น

        3.ระบบสารสนเทศที่ช่วยให้การติดต่อทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วได้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิ
ภาพเป็นอย่างยิ่ง ที่กำลังนำโลกเข้าสู่ความสูงสุดของยุคเงินตรา โดยมีตลาดเงินและตลาดหุ้นเป็นหัวใจ
ของระบบนี้

        4.วิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยแถบเอเชียทั้งหมด  แสดงถึงความล้มเหลว
ของระบบเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์  และภัยหายนะทางเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัตน์ ก็กำลังทำลายระบบ
เศรษฐกิจโลกทั้งระบบ

         ในสภาพความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ได้สะท้อนให้เราได้เห็นว่ากระแสทุนนิยมและ
กระบวนการข้ามชาติทั้งหลายได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งยังสามารถครอบงำอำนาจรัฐ แต่สิ่ง
ที่น่าหวาดวิตกคือ  ความอยู่รอดของรัฐชาติในท่ามกลางกระแสพลังงานข้ามชาติที่เพิ่มความ
รุนแรงขึ้นทุกที ระบบเศรษฐกิจโลกปัจจุบันที่กลุ่มเศรษฐกิจทั้งหลายกำลังแข่งขันกันเพื่อปกป้อง
ผลประโยชน์กันอยู่ ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศกำลังพัฒนาและความไม่
เท่าเทียมกันทั้งภายในและระหว่างชาติได้ ประเทศที่ยากจนและอ่อนแอโดยพื้นฐานไม่ว่าจะด้วย
การขาดแคลนวัตถุดิบ  เช่น  ทรัพยากร  ทุน  ระดับความรู้ความสามารถของประชากร เทคโนโลยี
ไปจนถึงระบอบการปกครองที่ไร้ประสิทธิภาพ  ยังไม่ได้มีการพัฒนามาจนถึงขั้นช่วยเหลือตนเองได้
เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ โครงสร้างระบบเศรษฐกิจโลกทุนนิยมหรือลัทธิอาณานิคมใหม่มีส่วน
อย่างสำคัญในการสร้างความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกันเพิ่มสูงขึ้น ความเสียเปรียบด้านอัตราการค้า
การไม่มีความรู้และไม่สามารถสร้างเทคโนโลยีสมัยใหม่ของตนเอง  ภาระหนี้สิน ราคาน้ำมันเพิ่มสูง
ขึ้นหลายเท่าตัว  แนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ผิดพลาด  เช่น  การเร่งผลิตพืชผลเพื่อแลกกับเงิน
ตราต่างประเทศ ความล้มเหลวของการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้า ตลอดจนการลงทุน
จากต่างประเทศที่มุ่งเฉพาะส่วนของระบบเศรษฐกิจโดยไม่ได้มีผลในแง่ของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ
ของชาติโดยส่วนรวม ปัญหาทั้งหมดนี้ล้วนแต่มีส่วนทำให้ประเทศกำลังพัฒนาถูกทอดทิ้งห่างจาก
ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือจากชาติที่กำลังพัฒนาด้วยกันเองบางประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็วมากยิ่ง
ขึ้นทุกที

                        2.5 เผชิญกับข้อกีดกันทางการค้าทั้งที่อยู่ในรูปของภาษีและที่มิใช่ภาษี (Nontariff Barriers : NTB) มากขึ้น เนื่องจาก การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นไปอย่างช้า ในขณะที่ การเพิ่มขึ้นของการรวมขั้วอำ นาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในระดับต่างๆ รวมทั้ง ปัญหาการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมที่ทำ ให้ประเทศส่วนใหญ่ต้องปกป้องประชากรและอุตสาหกรรมในประเทศเพิ่มขึ้น

สภาพปัจจุบันของโลกเป็นอย่างไร เวลานี้ทั้งโลกคิดแต่จะเอาชนะกัน ลองดูซิ ในเวทีการแข่งขันระดับโลก ญี่ปุ่นก็จะเอาชนะอเมริกา อเมริกาก็จะเอาชนะญี่ปุ่นให้ได้ ทั้งๆ ที่รู้แล้วว่าเวลานี้มีปัญหาร้ายแรงร่วมกัน ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น แต่ไม่มีประเทศใดสามารถก้าวข้ามพรมแดนของประเทศ คือท้องถิ่น หรือสังคมตนเอง เพราะการห่วงความยิ่งใหญ่และความเป็นผู้นำในเวทีโลก

เขาคิดกันแต่ว่า ทำอย่างไรจะเอาชนะพวกอื่นได้ เช่น อเมริกันก็มีวัฒนธรรมใฝ่สำเร็จ ความใฝ่สำเร็จของเขามีความหมายเฉพาะคือ ทำอย่างไรจะชนะการแข่งขันเอาผลประโยชน์มาให้ตนได้มากที่สุด แม้แต่ระบบความคิด reengineering เกิดขึ้นมา ก็เพียงเพื่อสนองความมุ่งหมายอันนี้ ไม่ได้มีอะไรใหม่ ใหม่แต่ในแง่ระบบวิธี แต่เพื่อสนองแนวความคิดอันเก่า คือแนวความคิดที่จะเอาชนะการแข่งขัน เพื่อชิงผลประโยชน์

เพราะอะไรจึงเกิด reengineering ก็เพราะในอเมริกาบรรษัทต่างๆ ล้มละลาย ธุรกิจอุตสาหกรรมล้มเหลว แม้การแข่งขันในเวทีโลก ญี่ปุ่นก็ขึ้นมานำในทางเศรษฐกิจ แย่แล้วจะทำอย่างไร เขาก็คิดค้นกระบวนการทำงานขึ้นมาใหม่ บอกว่าวิธีทำงานแบบเดิม ที่แบ่งงานกันทำ แม้ว่าเคยได้ผลในยุคก่อน แต่ปัจจุบันใช้ไม่ได้แล้ว ยุคนี้ถ้าจะให้ได้ผล จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีใหม่

คุณแฮมเมอร์ (Michael Hammer) กับเพื่อน ก็คิด reengineering ขึ้นมา เพื่อที่จะฟื้นฟูพวกบรรษัท และกิจการธุรกิจอุตสาหกรรมในอเมริกาขึ้นมาให้กลับประสบผลสำเร็จ สามารถเอาชนะในเวทีการแข่งขันทางธุรกิจ นี่แหละเก่งและสำคัญ แต่ก็เท่านั้นเอง คือแค่สนองความคิดในระบบเดิม

ส่วนแนวความคิดที่จะแก้ปัญหาของโลกที่แท้จริง ยังไม่มีใครเดินหน้าไปได้เลย เช่น ความคิดในเรื่อง sustainable development (การพัฒนาที่ยั่งยืน) ก็มีแต่ความคิดและหลักการ แต่ปฏิบัติการไม่คืบหน้า จึงได้แค่เพียงนำเอาระบบ reengineering มาใช้เพื่อสนองแนวความคิดเดิม ที่จะเอาชนะในระบบการแข่งขันแบบเก่า ทำอย่างไรจะเอาระบบวิธี reengineering ไปใช้ประโยชน์สนองระบบความคิดใหม่ที่จะแก้ปัญหาของโลก ซึ่งขณะนี้ไม่มี นี่คือปัญหาของมนุษยชาติในปัจจุบัน ที่ว่าไม่พ้นเทศะ

สำหรับสังคมไทยเรา เวลานี้ต้องคิดทั้งสองขั้นว่า ในการอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ปัจจุบัน ทำอย่างไรสังคมไทยเราจะเอาชนะเขาได้ในการแข่งขัน ซึ่งอันนี้เราก็ทิ้งไม่ได้ เพราะเราตกอยู่ในกระแสค่านิยมของโลกปัจจุบัน ที่ว่าเป็นกระแสโลกาภิวัตน์แห่งระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่มุ่งเน้นการแข่งขัน “ทำอย่างไรจะชนะการแข่งขัน” ทุกชาติคิดอย่างเดียวกัน รวมทั้งประเทศไทยด้วย ก็จะต้องเอาชนะในการแข่งขัน อย่างน้อยไม่ให้ถูกครอบงำ นี่เป็นขั้นที่ ๑

แต่เอาชนะการแข่งขันอย่างเดียว ไม่พอ จะต้องพัฒนาให้เหนือการแข่งขันด้วย คือ ต้องขึ้นไปเหนือกระแสโลกาภิวัตน์ เพราะกระแสโลกาภิวัตน์ปัจจุบันนี้มีแนวโน้มที่จะนำโลกไปสู่หายนะมากกว่า

อย่าไปหลงนิยมชมชอบโลกาภิวัตน์ปัจจุบันนี้ เพราะโลกาภิวัตน์อยู่ใต้กระแสนี้ทั้งหมด คือกระแสระบบการแข่งขัน กระแสการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาทางวัตถุ ภายใต้ระบบความคิดที่ถือว่าการพิชิตธรรมชาติเป็นความสำเร็จของมนุษย์ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เราต้องรู้เท่าทัน จึงจะแก้ปัญหาให้โลกได้

มนุษย์พิชิตธรรมชาติเพื่ออะไร? เพื่อจะได้เอาธรรมชาติมาเป็นวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตด้วยอุตสาหกรรม มนุษย์จะได้มีสิ่งบริโภคพรั่งพร้อม แล้วมนุษย์ก็จะมีความสุขจากการมีสิ่งเสพบริโภคพรั่งพร้อม ความคิดที่ว่า เราจะมีความสุขมากที่สุดเมื่อเสพมากที่สุดนั้น เป็นแนวคิดที่ครองโลกปัจจุบัน

รวมเป็นฐานความคิดใหญ่ที่ครอบงำโลกขณะนี้ ๒ อย่าง คือ

๑. การพิชิตธรรมชาติเพื่อให้มนุษย์เป็นเจ้าใหญ่ มีอิสรภาพ โดยเป็นนายใหญ่เหนือธรรมชาติ

๒. มนุษย์จะมีความสุขมากที่สุด จากการได้เสพมากที่สุด

ว่าที่จริง พวกที่อยู่ในประเทศพัฒนาแล้ว ก็รู้ตัวแล้วว่า เวลานี้แนวความคิดพิชิตธรรมชาติได้ก่อให้เกิดปัญหา คือธรรมชาติแวดล้อมเสีย เพราะฉะนั้น จะต้องแก้ไขปัญหานี้ว่า ทำอย่างไรมนุษย์จะอยู่ได้ โดยที่ว่าแทนที่จะพิชิตธรรมชาติ ก็เปลี่ยนเป็นมาอยู่ร่วมกับธรรมชาติด้วยดี เรียกว่าอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับธรรมชาติ เป็นการพัฒนาแนวความคิดที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติ

แต่ก่อนนี้ แนวคิดที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันตินั้น สำหรับใช้กับมนุษย์ด้วยกัน แต่เวลานี้เขาเอามาใช้กับธรรมชาติด้วย เมื่อจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับธรรมชาติ ก็ต้องมองธรรมชาติอย่างไม่เป็นศัตรู ไม่มองมนุษย์แยกต่างหากจากธรรมชาติ แต่ให้มองมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

เวลานี้ตะวันตกหันมาเน้นความคิดนี้กันมาก ตำราฝรั่งทางด้านเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มักเขียนเน้นว่า ต่อไปนี้ต้องให้มองมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เพราะอะไร เพราะฝรั่งแต่เดิม ๒ พันกว่าปีแล้ว ได้มองมนุษย์แยกต่างหากจากธรรมชาติ และคิดที่จะพิชิตธรรมชาติมาตลอด

อย่างไรก็ตาม มาถึงตอนนี้ฝรั่งก็เกิดความขัดแย้งกัน คือ ทั้งที่รู้ตัวว่า การที่จะแก้ปัญหาของโลกได้ เราจะต้องเลิกแนวความคิดพิชิตธรรมชาติ เราจะต้องไม่เบียดเบียนธรรมชาติ ไม่ผลาญทรัพยากรธรรมชาติ ไม่สร้างมลภาวะ ไม่ทำธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เสื่อมโทรม แต่กระแสการแข่งขันในระบบธุรกิจมันไม่อนุญาต เพราะการที่เราจะยิ่งใหญ่ในเวทีแข่งขันทางเศรษฐกิจ เราจะต้องใช้ทรัพยากรมาก จะต้องมีระบบอุตสาหกรรม จะต้องระบายสินค้า แต่อุตสาหกรรมหนัก ใช้ทรัพยากรธรรมชาติมาก และก่อมลภาวะมาก ก็เอาแค่พ้นตัวก่อน ปัญหาของโลกก็ผัดไว้ก่อน

ประเทศที่พัฒนาแล้วจึงหาทางขยับขยายโดยไม่ทำในประเทศของตนเอง แต่ย้ายอุตสาหกรรมหนักไปยังประเทศที่ด้อยพัฒนา ให้พวกนั้นรับเคราะห์ไป แต่จะอย่างไรก็ตาม เมื่อผลิตออกมา และเมื่อบริโภค ปัญหาสิ่งแวดล้อมก็เป็นปัญหาร่วมกันของโลกทั้งหมด

นี่เป็นตัวอย่างปัญหาของโลกปัจจุบัน วิชาการศึกษาทั่วไปจะมองแค่ที่จะตามค่านิยมของโลก ในการเอาชนะการแข่งขันในเวทีโลก ในระบบการแข่งขันของระบบธุรกิจอุตสาหกรรมจึงไม่พอ แต่จะต้องมองกว้างเลยต่อไปอีกว่า ทำอย่างไรจะก้าวไปสู่การแก้ปัญหาของโลก เพื่อสร้างสรรค์อารยธรรมที่แท้ของมนุษยชาติให้สำเร็จ ซึ่งเป็นปัญหาที่ตอนนี้ประเทศต่างๆ ก็ติดขัดกันทั้งนั้น

ในการที่จะทำอย่างนี้ได้สำเร็จ คนไทยเรามีความพร้อมแค่ไหน แม้แต่ในระดับที่ ๑ ที่ว่าพร้อมจะเอาชนะในเวทีการแข่งขันหรือไม่ ไม่ต้องถึงระดับโลกหรอก เพียงแค่ในภูมิภาคนี้ คนของเรามีคุณภาพพอที่จะเอาชนะไหมในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน คนที่จะเอาชนะได้ จะต้องมีคุณภาพอย่างไร แล้วดูภูมิหลังของเราว่า เรามีความพร้อมแค่ไหน คนของเราขณะนี้มีคุณภาพอย่างไร

ในสภาพแวดล้อมปัจจุบันแห่งโลกาภิวัตน์ เรามองเน้นไปที่ความเจริญต่างๆ โดยเฉพาะความพรั่งพร้อมทางวัตถุ ที่ทำให้สะดวกสบาย แต่พอมองมาที่สภาพของจิตใจ ในแง่ที่ว่าชอบสะดวกสบาย ก็ปรากฏว่าแนวโน้มของคนไทยจะเป็นไปในทางที่อ่อนแอลง เป็นคนใจเสาะเปราะบาง ชอบหวังพึ่งปัจจัยภายนอก และถ่ายโอนภาระ

ทีนี้ สังคมในระบบการแข่งขันนี่ ไม่ว่าในสังคมย่อยของประเทศไทย หรือกว้างออกไปจนกระทั่งถึงเวทีโลกก็ตาม ระบบชีวิตและสังคมปัจจุบันมีความซับซ้อนมาก คนอ่อนแอจะอยู่ไม่ได้ จะทนไม่ไหว ยิ่งถ้าจะเอาชนะเขา ก็ยิ่งต้องมีความเข้มแข็ง จึงเกิดมีกระแสขัดแย้งในตัวเอง ซึ่งเป็นปัญหาในการพัฒนามนุษย์

โลกาภิวัตน์มีอิทธิพลต่อสังคมอย่างไร

กระบวนการโลกาภิวัตน์ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อรัฐอย่างกว้างขวาง ทำให้ความสัมพันธ์ต่อรัฐและสังคมเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงของสังคมบางด้าน เช่น การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทคโนโลยี เป็นต้น ได้ท้าทายความสามารถของรัฐในการควบคุมสังคมของตน ขณะเดียวกันองค์กร เครือข่ายระดับโลก และกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ ก็มีบทบาทมาก ...

โลกาภิวัตน์คืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อสังคมโลกและสังคมไทย

โลกาภิวัตน์ หรือ โลกานุวัตร (globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก

ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจคือข้อใด

ผลกระทบที่สำคัญของโลกาภิวัตน์ต่อระบบเศรษฐกิจ คือการเพิ่มการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ เช่น ความคิดเรื่องการบริหารจัดการที่ดีที่เรียกกันว่าธรรมาภิบาล มีเรื่องความชอบธรรม ความโปร่งใส การดูแลคนงานภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน

กระแสโลก คืออะไร

กระแสโลก คือ สายธารของความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีความต่อเนื่อง ส่วนบริบทโลก คือ สภาพการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เป็นสภาพแวดล้อม กระแสโลกมีจุดเน้นที่คลื่นของความเปลี่ยนแปลง เป็นการ เปลี่ยนผ่านแต่ละช่วง ส่วนบริบทโลกมีจุดเน้นที่สถานการณ์หรือสภาพการณ์หรือเหตุการณ์สภาพแวดล้อมของ โลก ทาให้มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงระหว่างประเทศ