ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท

หุ่นยนต์ หรือ โรบอต (robot) คือเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ การควบคุมระบบต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบาก เช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบหรืองานสำรวจดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต ในปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และเริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิตแตกต่างจากเมื่อก่อนที่หุ่นยนต์มักถูกนำไปใช้ ในงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้น เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ หรือแม้แต่หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ ให้ได้ในชีวิตประจำวัน

ประเภทของหุ่นยนต์

หุ่นยนต์อาจถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ

  • หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น มักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานประกอบรถยนต์


ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท
ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท

รูปภาพที่ 1.1 หุ่นยนต์ผลิตรองเท้า
ที่มา https://www.assemblymag.com

  • หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ เพราะสามารถเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ปัจจุบันยังเป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาอยู่ภายในห้องทดลอง เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ออกมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร ขององค์การนาซ่า เป็นต้น


ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท
ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท

รูปภาพที่ 1.2 หุ่นยนต์ชนิดเคลื่อนที่ได้
ที่มา https://img.securityinfowatch.com

ประโยชน์และความสำคัญของหุ่นยนต์

หุ่นยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของมนุษย์เรื่อยมา เทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของหุ่นยนต์พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว สามารถทำงานต่าง ๆ ที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้จำนวนมาก ซึ่งการนำหุ่นยนต์เข้าใช้งานแทนมนุษย์นั้น สามารถแบ่งประเภทตามความสามารถของหุ่นยนต์ได้ ดังนี้

  • ความสามารถในด้านการแพทย์
    ในงานด้านการแพทย์ เริ่มนำเอาหุ่นยนต์แขนกลเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยทำการผ่าตัดคนไข้ เนื่องจากหุ่นยนต์นั้นสามารถทำงานในด้านที่มีความละเอียดสูงที่เกินกว่ามนุษย์จะทำได้ เช่น การนำเอาหุ่นยนต์มาใช้งานด้านการผ่าตัดสมอง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องการความละเอียดในการผ่าตัด หุ่นยนต์แขนกลจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของการผ่าตัดในด้านการแพทย์ การทำงานของหุ่นยนต์แขนกลในการผ่าตัด จะเป็นลักษณะการทำงานของการควบคุมการผ่าตัดโดยผ่านทางแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดอีกที ซึ่งการผ่าตัดโดยมีหุ่นยนต์แขนกลเข้ามามีส่วนร่วมนั้นจะเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างสูง รวมทั้งความสามารถในการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ รวมถึงงานเภสัชกรรมที่มีบางโรงพยาบาลนำหุ่นยนต์มาใช้ในการจ่ายยา


ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท
ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท

รูปภาพที่ 1.3 หุ่นยนต์ทางการแพทย์ด้านการผ่าตัด
ที่มา https://indiafirstrobotics.com

  • ความสามารถในงานวิจัย
    หุ่นยนต์สามารถทำการสำรวจงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ร่วมกับมนุษย์ เช่น การสำรวจท้องทะเลหรือมหาสมุทรที่มีความลึกเป็นอย่างมาก หรือการสำรวจบริเวณปากปล่องภูเขาไฟเพื่อเก็บบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งเป็นงานเสี่ยงอันตรายที่เกินขอบเขตความสามารถของมนุษย์ที่ไม่สามารถปฏิบัติงานสำรวจเช่นนี้ได้ ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้ในงานวิจัยและสำรวจ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมและสามารถทำการควบคุมหุ่นยนต์ได้ในระยะไกลด้วยระบบคอนโทรล โดยมีเซนเซอร์ติดตั้งที่ตัวหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการวัดระยะทางและเก็บข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์


ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท
ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท

รูปภาพที่ 1.4 หุ่นยนต์สำรวจใต้ทะเลลึก
ที่มา https://manoa.hawaii.edu

  • ความสามารถในงานอุตสาหกรรม
    หุ่นยนต์เริ่มมีบทบาททางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในขณะที่งานด้านอุตสาหกรรม มีความต้องการด้านแรงงานเป็นอย่างมาก การจ้างแรงงานจำนวนมากเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม ทำให้ต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงงานอุตสาหกรรม เพิ่มจำนวนสูงขึ้น และงานอุตสาหกรรมบางงานไม่สามารถที่จะใช้แรงงงานเข้าไปทำได้ ซึ่งบางงานนั้นอันตรายและมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก หรือเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำในการผลิตรวมทั้งเป็นการประหยัดระยะเวลา ทำให้หุ่นยนต์กลายเป็นทางออกของงานด้านอุตสาหกรรม


ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท
ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท

รูปภาพ 1.5 หุ่นยนต์สำหรับอุตสาหกรรมการประกอบรถยนต์
ที่มา https://lettertobritain.files.wordpress.com

  • ความสามารถในด้านความมั่นคง
    อาจจะสร้างเครื่องบินสอดแนมผู้ก่อการร้าย โดยติดตั้งเรดาร์คอยตรวจจับเหตุที่อาจไม่ชอบมาพากล


ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท
ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท

รูปภาพที่ 1.6 หุ่นยนต์เพื่อการทหาร
ที่มา https://i.redd.it/5vg1t0e7zol11.png

  • ความสามารถในด้านบันเทิง
    หุ่นยนต์ประเภทนี้ได้รับการพัฒนาให้สามารถตอบโต้กับคนได้เสมือนเป็นเพื่อน เล่นหรือสัตว์เลี้ยง ซึ่งมีในรูปแบบของสุนัข แมว และแมลง เป็นต้น หรือกระทั่งสร้างความบันเทิงทางเพศให้กับมนุษย์ได้อีกด้วย


ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท
ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท

รูปภาพที่ 1.7 หุ่นยนต์สุนัข
ที่มา https://images-na.ssl-images-amazon.com

  • ความสามารถในงานครัวเรือน
    ทำงานในบ้านแทนมนุษย์ อำนวยความสะดวกภายในบ้านทดแทนแรงงานมีความปลอดภัยไม่ต้องจ้างแรงงาน


ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท
ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท

รูปภาพที่ 1.8 หุ่นยนต์ดูดฝ่นภายในบ้าน
ที่มา https://cs.lnwfile.com

หุ่นยนต์เป็นจินตนาการของมนุษย์ที่ถ่ายทอดผ่านเรื่องแต่งต่าง ๆ ซึ่งปรากฏใน นิยายวิทยาศาสตร์ การ์ตูน และ ภาพยนตร์ และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เช่น เจ้าหนูอะตอม (Astro Boy) โดราเอมอน (Doraemon) กันดั้ม (Gundum) โรโบค็อป (RoboCop)

ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท
ประเภทหุ่นยนต์ตามหน้าที่การทำงานมีกี่ประเภท

รูปภาพที่ 1.9 หุ่นยนต์ในฝันจากนิยาวิทยาศาสตร์ การ์ตูน ภาพยนตร์


กิจกรรมสำหรับนักเรียน

ให้นักเรียนวาดภาพ “หุ่นยนต์ในฝันมา คนละ 1 ตัว” พร้อมกับระบายสีให้สวยงาม (ให้นักเรียนตั้งชื่อและบรรยายถึงความสามารถพิเศษของหุ่นยนต์)