องค์ประกอบของเพศวิถี มีกี่ด้าน

สรุปประเด็นสำคัญ เพศวิถีศึกษา ( Sexuality education) คือ วิชาการศึกษาที่ว่าด้วยความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเพศที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดกา...


สรุปประเด็นสำคัญ


เพศวิถีศึกษา (Sexuality education) คือ วิชาการศึกษาที่ว่าด้วยความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเพศที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดการยอมรับ การดูแลปฏิบัติรักษาตนเองในเรื่องสุขอนามัย การรู้และเข้าใจถึงพัฒนาการปลี่ยนแปลงของร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญาตามวัย การสร้างสัมพันธ์ระหว่างวัยตลอดจนความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเอดส์ และการดูแลป้องกันลดความเสี่ยงจากพฤติกรรมทางเพศ และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ทั้งนี้เพศวิถีศึกษาเป็นคำนิยามความหมายของคำว่า เพศ ในนัยหนึ่ง ซึ่ง เพศมีความหมายตามลักษณะนัยสำคัญ 3 ความหมาย คือหมายถึงเพศสรีระ (Sex) เพศภาวะ (Gender) และเพศวิถี (Sexuality)

ทั้งนี้เพศวิถีศึกษามีความสำคัญต่อการเรียนการสอนของวัยรุ่น คือ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของร่างกายตามธรรมชาติของเพศ การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก และความสัมพันธ์ระหว่างเพศ รู้จักการดูแลรักษาอวัยวะเพศ และระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ รู้และเข้าใจการมีเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อ และปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์ ช่วยให้รู้ เข้าใจ และยอมรับในความแตกต่างของเพศ ตลอดจนเป็นแนวทางในการปูพื้นฐานการวางแผนและสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตผ่าน มิติมุมมองของเพศวิถี ซึ่งประกอบไปด้วย 6 มิติ คือ มิติของความปรารถนาการประพฤติ ปฏิบัติ และอัตลักษณ์ (Erotic desires, Practices and Identity) มิติการนำเสนอร่างกาย (Appearances and Display) มิติของพฤติกรรม และกิริยามารยาท (Behaviors and Manners) มิติของการดึงดูดทางเพศ (Attraction) มิติของความสัมพันธ์ (Relationship) มิติของเพศสัมพันธ์ (Having sex)

บทบาทของเพศวิถีศึกษาที่สำคัญ ๆ คือ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจและยอมรับหน้าที่ตามเพศของตนและผู้อื่น เข้าใจความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในฐานะเพื่อน ให้เกียรติกัน สร้างความตระหนักถึงความแตกต่างในลักษณะการนึกคิดและพฤติกรรมทางเพศ และยอมรับความแตกต่าง เข้าใจการเลือกคู่เข้าใจการเตรียมตัวรับผิดชอบต่อครอบครัว เข้าใจการเลี้ยงดูบุตรธิดาให้เติบโตเป็นพลเมืองดีของสังคม

เพศวิถีศึกษาต้องก้าวข้ามการศึกษาแค่พฤติกรรมทางเพศ และปัจจัยด้านประชากรและสังคมอันได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ อายุ การศึกษา ฯลฯ เพราะเรื่องเพศของผู้คนในสังคมไทยเป็นมากกว่าการมีเซ็กซ์ หรือพฤติกรรมทางเพศ แต่เป็นเรื่องของการให้ความหมาย ความเชื่อ การให้คุณค่าเรื่องเพศ ความรู้สึก ความปรารถนาทางเพศ อัตลักษณ์และรสนิยมเรื่องเพศของผู้คนในสังคมไทย ทั้งในพื้นที่ส่วนตัวและการแสดงออกในที่สาธารณะและถูกกำหนดโดยปัจจัยด้านการ เมือง สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ

16:39   เพศวิถีศึกษา , เพศศึกษา , มุมมองของเพศวิถี , Sex Education , Sexuality Education

มุมมองของเพศวิถี

มุมมองของเพศวิถี   มุมมองของเพศวิถี สังคมไทย ปัจจุบัน ให้การยอมรับและเปิดกว้างกับเรื่อง “ เพศวิถี ” มากยิ่งขึ้น เพราะหากจะให้นิยาม...

มุมมองของเพศวิถี

องค์ประกอบของเพศวิถี มีกี่ด้าน

 

มุมมองของเพศวิถี


สังคมไทยปัจจุบันให้การยอมรับและเปิดกว้างกับเรื่อง เพศวิถีมากยิ่งขึ้น เพราะหากจะให้นิยามเพศต่าง ๆ แล้ว คง
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในสังคมไทยมีเพียงเพศหญิง และเพศชาย เท่านั้น ความหลากหลายทางเพศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันล้วนแต่เกิดจากมิติทางสังคมที่กำหนดความหมายต่าง ๆ ดังที่นักวิชาการได้กำหนดมิติมุมมองของเพศวิถีว่ามีความแตกต่างถึง 6 มิติ คือ

1. มิติของความปรารถนา การประพฤติ ปฏิบัติ และอัตลักษณ์ (Erotic desires, Practices and Identity)

มุมมองของเพศวิถีทางด้านอัตลักษณ์นี้ สื่อถึงการนิยามความหมายทางเพศของตนเองตามลักษณะเพศภาวะ (Gender) ด้วย ทั้งนี้ในเชิงมิติความปรารถนา การประพฤติ ปฏิบัติ และอัตลักษณ์นี้ บางครั้งไม่ได้หมายถึงการนิยามเพศของตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงมุมมองการนิยามเพศของเราที่ผู้อื่นมองเห็นและให้นิยามกันอีกด้วย

2. มิติการนำเสนอร่างกาย (Appearances and Display)

คือการนิยามความหมายทางเพศของตนเอง โดยการนำเสนอร่างกายของตนเองตามที่ต้องการสื่อให้ถึงผู้อื่น หรือชักจูงให้ผู้อื่นเข้าใจคล้อยตาม เช่น การปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ ลักษณะร่างกายภายนอก การตัดผมสั้นเพื่อสื่อถึงความเป็นชาย การไว้ผมยาวเพื่อสื่อถึงความเป็นหญิง เป็นต้น

3. มิติของพฤติกรรม และกิริยามารยาท (Behaviors and Manners)

มิตินี้เกี่ยวข้องการกำหนดบทบาทของตนเองที่แสดงออก เพื่อให้นิยามความหมายของตนเอง ทั้งนี้คำนิยามทางเพศในมิตินี้จะมีความแตกต่าง และไม่เหมือนกัน แม้จะมองในลักษณะเดียวกัน ขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อม ตลอดจนความพึงพอใจ หรือความชื่นชอบสนใจของตนเองด้วย เช่น การที่ผู้มีเพศกำเนิดเป็นชายแต่มีลักษณะตุ้งติ้ง อ่อนหวาน ตนเองอาจกำหนดคำจำกัดความตนเองว่าเป็นกะเทย แต่ขณะที่ผู้อื่นกลับมองว่าตนคือเกย์ เป็นต้น

4. มิติของการดึงดูดทางเพศ (Attraction)

สังคมได้กำหนดกฎเกณฑ์ของการมีความรักไว้ว่าต้องเป็นรักระหว่างเพศเท่านั้น ซึ่งแต่เดิมนิยามถึงความรักของเพศชาย และเพศหญิง แต่ในปัจจุบันความรักที่แตกต่างจากนี้ก็ไม่ได้หลุดจากกรอบกฎเกณฑ์ของสังคมแต่อย่างใด เพราะผู้ที่รักและชื่นชอบในเพศเดียวกันนั้น ก็จะมีความรักให้กับผู้มีเพศภาวะเดียวกัน เช่น เกย์รักกับเกย์ กะเทยรักกับผู้ชาย ดี้รักกับทอม เพราะหากการกำหนดตามกรอบสังคมดังกล่าว ผู้ที่หลุดจากกรอบสังคมได้คือบุคคลที่สามารถเปิดกว้างรักได้ทุกเพศ ทุกวัย อย่างไม่จำกัด

5. มิติของความสัมพันธ์ (Relationship)

กฎกติกาว่าด้วยการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างชาย - หญิง เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและวัฒนธรรม ซึ่งบางสังคมไม่มีกติกาของการจบความสัมพันธ์

6. มิติของเพศสัมพันธ์ (Having sex)

เพศวิถีมีการนิยามว่าอะไรคือการร่วมเพศ ทำอย่างไรจึงเรียกว่าการร่วมเพศ และการร่วมเพศที่ถูกต้องและเหมาะสมเป็นอย่างไร และที่ผิดปกติเป็นอย่างไร

องค์ประกอบของเพศวิถีศึกษามีอะไรบ้าง

'เพศวิถีศึกษา' คือ การเรียนการสอนทั้งในรูปแบบการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ โดยมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์: เนื้อหาของเพศวิถีศึกษามาจากข้อเท็จจริงและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ เพศวิถี และพฤติกรรมของมนุษย์

เรื่องเพศศึกษามีอะไรบ้าง

เพศศึกษานั้นเป็นความรู้ที่ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆของร่างกาย ระบบการเจริญพันธุ์ ระดับของฮอร์โมนเพศ อารมณ์เพศ ความรัก กามารมณ์ การครองชีวิตคู่ การวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิด การตั้งครรภ์และมีบุตร การดูแลสุขอนามัยของอวัยวะเพศและส่วนที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมกับวัย

บุคคลที่มีสิทธิที่จะได้รับการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษามีกี่กลุ่ม

รายงานขององค์การยูเนสโกเล่มใหม่ประจำเดือนที่แล้ว ได้แนะนำให้สอนเรื่องเพศศึกษาในการศึกษาภาค บังคับให้กับเด็กตั้งแต่อายุ 5 ขวบขึ้นไป ระบุว่าควรจะ สอนเด็กเล็กตั้งแต่วัยก่อนเข้าอนุบาลให้รู้ถึงการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง และเรื่องอย่างเช่น การกระทำรุนแรง ระหว่างเพศ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางเพศมีกี่ปัจจัย

จำแนกปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการเกิดพฤติกรรมทางเพศ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ได้ 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านการอบรมเลี้ยงดู ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคมจากกลุ่มเพื่อน ปัจจัยด้าน การรับข้อมูลทางเพศผ่านสื่อและปัจจัยด้านการควบคุมตน โดยอธิบายดังต่อไปนี้ วัยรุ่น