กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ

[11] Department for Communities and Local Government, "Local government legislation: Byelaws,", September 18, 2012, accessed July 25, 2016, https://www.gov.uk/guidance/local-government-legislation-byelaws.

             การแบ่งประเภทของกฎหมายนั้นอาจแบ่งได้ในหลายลักษณะขึ้นอยู่กับว่ายึดอะไรเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แต่โดยทั่วไปแล้วเราจะแบ่งอย่างกว้างๆออกเป็นสองประเภท คือ กฎหมายภายในประเทศ  ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยองค์กรที่มีอำนาจภายในรัฐหรือประเทศ และกฎหมายภายนอกประทศหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นจากสนธิสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยกฎหมายทั้งภายในและภายนอกประเทศนั้นยังสามารถแบ่งย่อยได้อีกหลายลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันของนักกฎหมาย เช่น การใช้เนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์การแบ่ง หรือ การใช้สภาพบังคับกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์การแบ่ง เป็นต้น โดยในที่นี้จะขอแบ่งประเภทของกฎหมายโดยใช้หลักเกณฑ์การแบ่ง ดังต่อไปนี้
               ๑.การจัดประเภทของกฎหมายตามองค์กรที่จัดทำกฎหมาย ซึ่งอาศัยองค์กรที่ออกกฎหมายเป็นเกณฑ์
              ๒.การจัดประเภทของกฎหมายตามลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ซึ่งอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ระหว่างเอกชนกับรัฐ และระหว่างรัฐกับรัฐเป็นเกณฑ์
              ๓.การจัดประเภทของกฎหมายตามบทบาทของกฎหมาย ซึ่งอาศัยการปฏิบัติหน้าที่ของกฎหมายเป็นเกณฑ์
     ๒.๑ ประเภทของกฎหมายที่จัดตามองค์กรจัดทำกฎหมาย
     การจัดประเภทของกฎหมายตามรูปแบบของกฎหมายมีชื่อต่างกัน เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด เป็นต้น ซึ่งชื่อที่เรียกนั้นทำให้ทราบว่าเกิดจากการจัดทำโดยองค์กรหรือหน่วยงานใด และเป็นกฎหมายที่มีอำนาจบังคับมากน้อยเพียงใด


กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ


     กฎหมายซึ่งจัดประเภทตามวิธีการนี้ที่สมควรทราบ คือ กฎหมายที่จัดทำโดยองค์กรพิเศษซึ่งได้รับมอบหมายให้มีอำนาจจัดทำ ได้แก่ รัฐธรรมนูญ กฎหมายที่จัดทำโดยองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ พระราชบัญญัติ กฎหมายที่จัดทำโดยองค์กรฝ่ายบริหาร ได้แก่ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง และกฎหมายที่จัดทำโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ข้อบัญญัติและข้อบังคับต่างๆขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
       ๑) กฎหมายที่จัดทำโดยองค์กรพิเศษ ได้แก่ รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เกิดจากอำนาจจัดทำขององค์กรพิเศษที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำรัฐธรรมนูญ เช่น สภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น โดยรัฐธรรมนูญจะกำหนดว่า อำนาจสูงสุดทางการปกครองหรืออำนาจอธิปไตยนั้นมาจากชาวไทย และพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของประเทศ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ ยังได้วางหลักประกันเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ โดยบทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญจะบังคับใช้ไม่ได้
      ๒) กฎหมายที่จัดทำโดยองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติ โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา อันเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศ
      โดยปกติการจัดทำกฎหมายขึ้นใช้ในประเทศไทยจะทำเป็นพระราชบัญญัติ เช่น พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.๒๕๔๑ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ เป็นต้น ในพระราชบัญญัติแต่ละฉบับจะแบ่งข้อความเป็นส่วนๆ เรียกว่า "มาตรา" ประกอบด้วย ข้อกำหนดความประพฤติต่างๆและกำหนดโทษหรือผลร้ายอันเกิดจากการฝ่าฝืนไว้ด้วย
       พระราชบัญญัติมีผลบังคับเป็นกฎหมายได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นหนังสือประกาศกฎหมายและเรื่องสำคัญของทางราชการ
        ทั้งนี้กฎหมายบางฉบับของไทยได้ถูกจัดทำขึ้นเป็นประมวลกฎหมาย หมายถึง กฎหมายที่รวบรวมกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเข้าไว้ในฉบับเดียวกัน โดยมีการแบ่งข้อความออกเป็นหมวดหมู่และจัดเรียงลำดับตามเหตุผล เพื่อสะดวกแก่การใช้และค้นหา ซึ่งการประกาศใช้ประมวลกฎหมายจะทำเป็น"พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมาย"โดยมีประมวลกฎหมายนั้นต่อท้าย
         ประเทศไทยได้เริ่มมีประมวลกฎหมายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถือตามแบบอย่างของประเทศในยุโรปตะวันตกและในทวีปเอเชียบางประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี  ญี่ปุ่น เป็นต้น ประมวลกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนี้ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลรัษฎากร ประมวลกฎหมายที่ดิน และประมวลกฎหมายอาญาทหาร
       ๓) กฎหมายที่จัดทำโดยองค์กรฝ่ายบริหาร ได้แก่ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
         ๑. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายบริหารของประเทศ แต่ตามปกติคณะรัฐมนตรีจะบริหารประเทศโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายในรูปพระราชบัญญัติ ซึ่งองค์กรนิติบัญญัติเป็นผู้จัดทำขึ้นแต่รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจไว้เป็นพิเศษว่า ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจในการตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดัง เช่น พระราชบัญญัติได้แต่การตราพระราชกำหนดชนิดนี้ ให้กำหนดได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรี เห็นว่า เป็นกรณึฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ และคณะรัฐมนตรีต้องนำพระราชกำหนดนั้นเสนอต่อรัฐสภาในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป ถ้ารัฐมนตรีไม่อนุมัติ ก็ให้พระราชกำหนดนั้นตกไปหากพระราชกำหนดที่ตราขึ้นมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดและพระราชกำหนดนั้นต้องตกไปเพราะไม่ได้รับอนุมัติ ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกมีผลบังคับใช้ต่อไป
        ๒. พระราชกฤษฎีกา คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดการต่างๆ ตามที่รัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติให้อำนาจไว้ หรือ เพื่อวางระเบียบการต่างๆทางบริหาร โดยไม่ขัดต่อกฎหมายอื่น เช่น พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไป พ.ศ.๒๕๕๒ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานปฏิรูปการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นต้น

กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ


              โดยพระราชกฤษฎีกาจะมีผลใช้บังคับได้ต่อเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเท่านั้น แม้พระราชกฤษฎีกาจะเป็นกฎหมายซึ่งองค์กรฝ่ายบริหารจัดทำเช่นเดียวกับพระราชกำหนด แต่ต่างกับพระราชกำหนด เพราพระราชกฤษฎีกานั้นมีฐานะต่ำกว่าพระราชกำหนด และต้องออกโดยอาศัยอำนาจที่รัฐธรรมนูญมอบให้โดยตรงหรือฝ่ายนิติบัญญัติมอบให้โดยพระราชบัญญัติ และไม่ต้องนำไปเสนอให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติเหมือนพระราชกำหนด
       ๔) กฎหมายที่จัดทำโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ข้อบัญญัติและข้อบังคับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นกฎหมายที่จัดทำขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การบริหารส่วนตำบล เกี่ยวกับเรื่องตามที่มีพระราชบัญญัติให้อำนาจไว้  จึงเป็นกฎหมายที่มีฐานะต่ำกว่าพระราชบัญญัติ และมีผลใช้บังคับเฉพาะในเขตท้องที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆมิได้ใช้บังคับทั่วประเทศ เช่น ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ซึ่งตราขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๒๘ เป็นต้น
        ข้อบัญญัติและข้อบังคับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด และข้อบังคับตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมีผลใช้บังคับได้ตามวิธีการที่พระราชบัญญัติเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทได้กำหนดไว้
         ๒.๒ ประเภทของกฎหมายที่จัดตามลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี
          กฎหมายต่างๆที่ใช้กับประชาชนในปัจจุบัน คือ กฎเกณฑ์ต่างๆภายในรัฐที่ใช้เป็นแนวทางควบคุมความประพฤติของพลเมืองที่มาอยู่รวมกันเป็นสังคมจึงเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์หรือการติดต่อระหว่างฝ่ายต่างๆหลายฝ่าย เช่น ระหว่างสามีกับภริยา ระหว่างบิดามารดากับบุตร ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างรัฐกับพลเมือง เป็นต้น
          โดยในการวางกฎเกณฑ์ให้ฝ่ายต่างๆ ซึ่งมีความต้องการหรือผลประโยชน์ไม่เหมือนกันให้เข้ากันได้โดยสงบสุขนั้น กฎหมายจำเป็นต้องประสานความต้องการหรือผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายให้เข้ากันได้ โดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุด คือ ผลประโยชน์ส่วนรวมหรือของรัฐเป็นส่วนใหญ่ กิจการบางอย่างกฎหมายของรัฐอาจยอมรับรองความต้องการหรือผลประโยชน์ส่วนตัวได้มากและยอมให้คู่กรณีในความสัมพันธ์นั้นมีฐานะเท่าเทียมกัน โดยต่างต้องระมัดระวังผลประโยชน์ของตนเอง แต่บางกิจการกฎหมายก็รับรองความต้องการหรือผลประโยชน์ส่วนตัวได้น้อยและต้องถือผลประโยชน์ของรัฐเป็นใหญ่ ทำให้ผลประโยชน์ของเอกชนจำต้องมีฐานะรองลงไป ดังนั้น เมื่อคำนึงถึงความสัมพันธ์ตามกฎหมายของฝ่ายต่างๆ ในสังคมเป็นเกณฑ์เราจะสามารถจัดประเภทกฎหมายได้ ๓ ประเภท คือ
            ๑) กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองกับพลเมืองด้วยกัน หรือความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองกับรัฐ โดยรัฐยอมอยู่ในฐานะเท่าเทียมกับพลเมือง เช่น กฎหมายแพ่ง ซึ่งได้รับรองความเป็นบุคคล กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว ทรัพย์สิน ตลอดจนการทำนิติกรรมสัญญาต่างๆ เช่น สัญญาซื้อขาย เป็นต้น
             ดังนั้น จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์กันตามกฎหมายเอกชนนี้ แม้รัฐจะเข้ามาเป็นคู่กรณีกับพลเมือง เช่น รัฐทำสัญญาซื้อทรัพย์สินจากพลเมือง รัฐก็อยู่ในฐานะเท่าเทียมกับพลเมือง โดยรัฐจะซื้อทรัพย์สินได้จากผู้ที่สมัครใจขายเท่านั้น และจะต้องชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อจากผู้ขายเช่นเดียวกับที่พลเมืองทั่วๆไปทำสัญญาซื้อทรัพย์สินกัน ผู้ซื้อจะต้องชำระราคาทรัพย์สินให้แก่ผุ้ขายเสมอ
          ๒) กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับการจัดโครงสร้าง การดำเนินงานด้านการปกครองของรัฐ การคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐหรือของสาธารณชน และกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมือง โดยรัฐอยู่ในฐานะเหนือกว่าพลเมืองหรือเป็นผู้ปกครองพลเมือง เช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความของศาล เป็นต้น
         ๓) กฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐในฐานะที่เท่าเทียมกัน เช่น ควบคุมการติตต่อทางการทูตระหว่างกัน การทำความตกลงหรือสนธิสัญญาระหว่างรัฐ ตลอดจนวิธีระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ เป็นต้น กฎหมายระหว่างประเทศมิใช่กฎหมายของรัฐใดรัฐหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เกิดจากการตกลงระหว่างรัฐให้ใช้ได้ หรือรัฐต่างๆยอมรับมาปฏิบัติร่วมกัน โดยรัฐมีหน้าที่ต้องปรับกฎหมายของตนมิให้ฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศ
        ๒.๓ ประเภทของกฎหมายที่จัดตามบทบาทของกฏหมาย
          กฎหมายมีอยู่มากมายหลายเรื่องและครอบคลุมการดำเนินชีวิตของพลเมือง นับแต่เกิดไปจนตาย โดยหากพิจารณาในแง่บทบาทหรือการปฏิบัติหน้าที่ของกฎหมายแล้ว อาจแยกได้เป็น ๒ ประเภท คือ
           ๑) กฎหมายสารบัญญัติ ได้แก่ กฎหมายซึ่งบัญญัติหรือกำหนดในเรื่องสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบต่างๆ ซึ่งในวิชากฎหมายถือว่า เป็นสาระสำคัญหรือหัวใจของกฎหมาย เช่น กฎหมายแพ่ง ซึ่งบัญญัติว่า บุคคลมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างกันอย่างไรบ้าง หรือกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติว่า หากบุคคลไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ โดยกระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แล้วจะต้องรับโทษอย่างไรบ้าง
          ๒) กฎหมายวิธีสบัญญัติ ได้แก่ กฎหมายซึ่งใช้ประกอบกับกฎหมายสารบัญญัติ โดยบัญญัติวิธีดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัติอีกชั้นหนึ่ง เช่น กฎหมายอาญาบัญญัติว่า เมื่อบุคคลกระทำความผิดแล้วจะต้องได้รับโทษ โดยวิธีการจับกุม สอบสวน ฟ้องร้องผู้กระทำความผิดต่อศาล และพิจารณาว่าเขามีความผิดจริงหรือไม่ ตลอดจนพิพากษาให้เขาได้รับโทษหากมีความผิดจริง รวมทั้งการดำเนินการบังคับให้เขาได้รับโทษตามที่ศาลมีคำพิพากษา ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ อันได้แก่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นั่นเอง