ใน ประเทศไทย มี ธุรกิจ รูป แบบ ใด มากที่สุด

วิกฤต COVID-19 นั้น ส่งผลกระทบกับภาคธุรกิจในวงกว้างไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ไล่ลงมาจนถึงระดับ SMEs ซึ่งทำให้ Sector หลักที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ คือสถาบันการเงินจำเป็นต้องทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยประคองลูกค้าให้สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตครั้งนี้

สำหรับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ในฐานะที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐที่ตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจ SMEs ก็มีการออกมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนในหลายมิติด้วยกัน

ใน ประเทศไทย มี ธุรกิจ รูป แบบ ใด มากที่สุด

นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ SME D Bank อธิบายว่ามาตรการช่วยเหลือในระยะสั้นของธนาคารประกอบไปด้วย “มาตรการพักชำระหนี้เงินต้น” และ “มาตรการเติมทุน”

“รายละเอียดของมาตรการพักชำระหนี้ คือ คนที่เป็นลูกหนี้หรือมีสินเชื่อกับธนาคาร เราเชื่อว่าหลายคนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 มียอดขายและรายได้ที่ลดลง ทำให้มีสภาพคล่องไม่เพียงพอ   จึงออกมาตรการพักการชำระหนี้เงินต้น ซึ่งเป็นมาตรการที่ธนาคารส่วนใหญ่ทำ นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีมาตรการพิเศษที่ทางภาครัฐขอความร่วมมือเพิ่มเข้ามา คือพักการชำระดอกเบี้ยในระยะเวลาที่กำหนด”

        ส่วนในเรื่องของมาตรการเติมทุน ทางธนาคารได้มีการให้ความช่วยเหลือออกมาในหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น

รูปแบบที่ 1 มาตรการที่ทางธนาคารทำงานร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อออกสินเชื่อโครงการพิเศษมาดูแล SMEs ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ซึ่งมี 2 โครงการคือ 1) สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash กับ 2) โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน Local Economy Loan ที่ออกมาช่วยผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวทั้งหมด

รูปแบบที่ 2 จะเป็นมาตรการเติมทุนที่ทางธนาคารได้ทำร่วมกับหน่วยงานของทางราชการ เช่นกระทรวงอุตสาหกรรม หรือจะเป็นหน่วยงานที่เป็น Regulator หรือ Policy Maker เช่น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อจัดตั้งกองทุนเฉพาะกิจขึ้นมาช่วยเหลือ SMEs ในโครงการสนับสนุนเอสเอ็มอีรายย่อย หรือ SME One ซึ่งจะเป็นกองทุนที่เข้ามาเติมเม็ดเงินให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs

รูปแบบที่ 3 จะเป็นการเติมทุนที่ทางธนาคารเป็นผู้พัฒนาโปรแกรมสินเชื่อพิเศษ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ เช่น สินเชื่อ SMEs D เติมทุน , สินเชื่อ SMEs มีสุข , สินเชื่อ SMEs ยิ้มได้

        นอกจากนี้ทางธนาคารยังได้มีการปรับระบบการทำงานเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการขออนุมัติการพักชำระหนี้ และขอสินเชื่อ เพื่อให้ SMEs ที่ได้รับผลกระทบสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายที่สุด

“ตัวอย่างเช่นการยื่นเอกสาร โดยปกติธนาคารจะดูเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของรายได้เป็นหลัก แต่หลังจากที่เราได้รับข้อมูลและพบว่าตัวรายได้ในช่วง COVID-19 อาจจะไม่สะท้อนความเป็นจริง ธนาคารก็ปรับรูปแบบการให้สินเชื่อ โดยพยายามไปดูในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการใช้ในการประคองธุรกิจ หมายความว่าเราจะพิจารณาจากค่าใช้จ่ายจริงที่เป็นเงินเดือน หรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องเลี้ยงดูพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าสถานที่ ฯลฯ มาประกอบกับเอกสารหลัก คือประวัติการชำระหนี้ หรือเครดิต บูโรแทนที่จะดูรายได้”

ที่ยกตัวอย่างมานี้ถือเป็น Sandbox ของธนาคารที่ทำร่วมกับทางสสว. ในโครงการ SME One ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้พบว่า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้นกว่าเดิม 3-4 เท่า จากเดิมที่ต้องใช้เอกสาร 12-13 รายการในการยื่นขอสินเชื่อ ก็สามารถลดลงจำนวนเอกสารลงมาเหลือแค่เพียง 5-6 รายการ และเอกสารที่ใช้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเอกสารที่ SMEs ถือครองอยู่แล้ว เช่น หลักฐานการเสียภาษีเป็นต้น พบว่า SMEs บางรายที่ยื่นเอกสารครบถ้วนจะใช้เวลาในการพิจารณาอนุมัติไม่เกิน 9 วัน

สำหรับมาตรการความช่วยเหลือในระยะยาว นางสาวนารถนารี อธิบายว่า โครงการ SME One ที่ร่วมมือกับ สสว. ถือเป็น Sandbox ที่ปรับปรุงวิธีคิดและกระบวนการทำงานใหม่ ซึ่งเกิด Efficiency ที่ดี ทางธนาคารจึงวางเป้าหมายที่จะขยายแนวคิดนี้มาใช้กับโปรแกรมสินเชื่อทั่วไปของธนาคารในอนาคต เพื่อให้ผู้ประกอบการรายเล็กได้เข้าถึงง่ายขึ้น

“อนาคตเราจะดูหลักฐานการทำธุรกรรมเป็นหลัก เช่น คนที่ค้าขายเราจะดูข้อมูลการทำธุรกรรมกับทางซัพพลายเออร์รายอื่นๆ เพื่อเอามาประกอบการพิจารณา มากกว่าที่เราจะยึดโยงแค่เรื่องรายได้, ผลกำไร แต่เราจะดูจุดน่าเชื่อถืออื่นๆ แทน

       นอกจากนี้เราจะเอาแพลตฟอร์มนี้ไป Plug-in กับโครงการสำคัญๆ ของทางภาครัฐหลายโครงการ เช่น กรณีที่ทาง สสว. มีโครงการจัดซื้อจัดจ้างจากทางภาครัฐ เราจะรับรู้ว่าผู้ประกอบการใดมีสัญญาว่าจ้างที่ชัดเจน และต้องการเม็ดเงิน เราก็จะหาทางอนุมัติสินเชื่อกับบริษัทที่มีการทำธุรกรรม มีการจัดซื้อจัดจ้าง โดยดูจาก Transaction เป็นหลัก”

        กรรมการผู้จัดการ SME D Bank ย้ำว่ามาตรการให้ความช่วยเหลือของธนาคารที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ การเพิ่มทักษะในการทำธุรกิจหรือ Reskill, Upskill ให้กับ SMEs เพราะวิกฤต COVID-19 ทำให้อะไรหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการ SMEs จึงจำเป็นต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วน

“เม็ดเงินที่ได้ไปหากใช้ไม่ถูกที่ไม่ถูกทาง เงินก็อาจจะหมดได้ ดังนั้นเราต้องเติมความรู้ด้วย เพราะเป็นเรื่องจำเป็น และเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญมาตลอด เนื่องจากธนาคารมีหน้าที่ให้เม็ดเงินควบคู่ไปกับการพัฒนาลูกค้า โจทย์ที่เราคิดไว้ว่าเราจะพยายามพัฒนาในปีนี้ และปีต่อๆไป คือการพยายามที่จะส่งเสริม SMEs ให้เข้ามาสู่โลกดิจิทัล และเทคโนโลยีมากขึ้น โดยเราจะเป็นกลไกลในการสร้าง Ecosystem เพื่อเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการที่ยังทำการค้าขายแบบ Traditional Trade ให้มาใช้เทคโนโลยี เช่น เอาร้านค้ามาขึ้นแพลตฟอร์มต่างๆ ในระบบที่ได้รับความนิยม หรือระบบที่ภาครัฐเตรียมไว้ให้

การมาเข้าระบบแบบนี้ นอกจากเรื่องเพิ่มช่องทางการขายที่กว้างขึ้น เพราะตอนนี้โลกไร้พรมแดน ข้อดีอีกส่วนหนึ่งคือ ธนาคารจะเห็นการทำธุรกรรม เห็นความเคลื่อนไหวของ SMEs ทำให้สามารถช่วยเติมเงินเข้าไปได้ นี่คือหนึ่งในโจทย์ที่เราวางไว้ และเราจะเพิ่มบทบาทให้มากขึ้น”

ในมุมมองของนารถนารี เขาเชื่อว่าหลัง COVID-19 การทำธุรกิจโดยลำพังจะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นการทำ Collaboration กับหน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจอื่นๆ จะช่วยกระจายความเสี่ยงลงได้ ซึ่งทางธนาคารมองว่าเทรนด์ธุรกิจนี้จะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญของธนาคารที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของ SMEs

“ที่ผ่านมาการทำงานของ SMEs บางรายเขาอาจจะทำงานแบบตัวคนเดียว เพราะฉะนั้นส่วนที่จะเข้ามาช่วยเติมเต็ม SMEs ได้อีกหนทางหนึ่งก็คือ การมีพี่เลี้ยง มีพี่ใหญ่ หรือมีพาร์ทเนอร์เข้ามาช่วยดูแล ซึ่งทางธนาคารวางเป้าหมายที่จะส่งเสริม SMEs ให้ครบทั้ง Ecosystem ซึ่งอาจจะต้องมี Big Brother เข้ามาช่วยประกบในการดูแล เพื่อชักนำให้เขาขยับขึ้นไปเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ได้

       พันธกิจของธนาคารจะเข้ามาส่งเสริม โดยจะดูเรื่องของทรัพยากรคนให้มีความรู้ ความสามารถ และนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ ธนาคารจะวางตัวให้เป็นสถาบันการเงินสร้าง Ecosystem ให้ SMEs ได้เข้ามาใช้บริการทางด้านการเงิน และพัฒนาตัวเอง ผ่านโดยใช้บริการจากประสบการณ์และความชำนาญของพนักงาน ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาให้บริการลูกค้า”

        การยกระดับจากสถาบันการเงินสู่ Digital Solution Partner ในครั้งนี้ถือเป็นความท้าทายของ SME D Bank ในการสร้าง New Ecosystem ให้กับผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศไทยที่มีมากกว่า 3 ล้านราย เพราะถ้าทำสำเร็จลุล่วงสามารถดึง SMEs มาเข้าร่วมแพลตฟอร์ม ต่างๆ ทั้งที่ทางภาครัฐได้วางเอาไว้ หรือจะเป็นแพลตฟอร์มของเอกชน จะทำให้ทุกภาคส่วนจะมีข้อมูลที่สำคัญจนกลายเป็น Big Data

“ถ้าเรามีข้อมูล เราจะรู้ความต้องการเราจะได้ออกแบบสินค้าและบริการได้ถูกต้องและตรงจุด ส่วนทาง SMEs เองก็ต้องปรับตัว เราเชื่อว่าหลายคนปรับตัวไปแล้ว แต่อยากให้ผู้ประกอบการมองว่า อะไรคือสิ่งที่ต้องรีบทำ และต้องทำให้อยู่แบบถาวร เช่น เรื่องของการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือการให้ความสำคัญกับเรื่อง Hygiene ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญหลัง COVID-19

ที่สำคัญคือ บทเรียนจาก COVID-19 ในครั้งนี้สอนให้เรารู้ว่า การที่ผู้ประกอบการจะกันเงินสำรองไว้เผื่อสภาพคล่องทางการเงินแค่ 2-3 เดือน อาจจะไม่ใช่และจะต้องมีการทบทวนเรื่องการเก็บเม็ดเงินไว้ในยามฉุกเฉินที่เพิ่มมากขึ้น นี่คือความท้ายทายใหม่ของผู้ประกอบการ”

รูปแบบการประกอบธุรกิจในประเทศไทย มีอะไรบ้าง

1) กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole-proprietorship) 2) ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) 3) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (Juristic Ordinary Partnership) 4) ห้างหุ้นส่วนจํากัด (Limited Partnership) 5) บริษัทจํากัด (Limited Company) 6) บริษัทมหาชนจํากัด (Public Company Limited) 7) องค์กรธุรกิจไม่แสวงหากําไรจัดตั้งโดย ...

รูปแบบพื้นฐานของธุรกิจ คืออะไร

โดยทั่วไปแล้วการดำเนินธุรกิจสามารถจัดตั้งได้ 3 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบเจ้าของคนเดียว 2. รูปแบบห้างหุ้นส่วน 3. รูปแบบบริษัทจำกัด

รูปแบบของการดำเนินธุรกิจมีอะไรบ้าง

หน่วยที่ 1 รูปแบบของธุรกิจ.
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (proprietorship).
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (limited partnership).
3. ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ordinary partnership).
4. บริษัทจำกัด (company limited).
5. บริษัทมหาชนจำกัด (public company limited).
6. สหกรณ์ (co-operative).
7. รัฐวิสาหกิจ (state enterprises).

กิจการประเภทใดจัดตั้งง่ายที่สุด

1. กิจการของคนเดียว (Sole or Single Proprietorship) กิจการเจ้าของคนเดียว เป็นการประกอบธุรกิจที่บุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการ และบริหารจัดการธุรกิจทุกเรื่องด้วยตนเอง การประกอบธุรกิจในรูปแบบนี้จะใช้ต้นทุนต่ำ มีวิธีการดำเนินงานที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก การบริหารจัดการต่างๆ มีความคล่องตัวสูง และเป็นธุรกิจที่สามารถพบเห็นในชีวิต ...