ความมีวินัยในหน้าที่ 20 ข้อ

    วินัยในตนเอง หมายถึง  ความสามารถของบุคคลในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม โดยเกิดจากความรู้สึกมองเห็นคุณค่าในการปฏิบัติด้วยตนเอง มิได้เกิดจากอิทธิพลภายนอก เช่น ระเบียบ คำสั่ง การบังคับ ถึงแม้จะมีอุปสรรคก็ยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมนั้น

การสร้างวินัยให้ตนเอง

คุณลักษณะของผู้ที่มีวินัยในตนเอง

1. มีความซื่อสัตย์สุจริต  ไม่หลอกลวงตนเองและผู้อื่น

2. มีความรับผิดชอบ  ความตั้งใจที่จะทำงานและติดตามผลงานที่ได้กระทำแล้ว

3. เคารพในสิทธิของผู้อื่น

4. มีระเบียบและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม

5. มีลักษณะมุ่งอนาคต

   6. มีความเป็นผู้นำ  สามารถนำ ชักจูง แก้ปัญหา และดำเนินกิจกรรมของกลุ่มไปสู่เป้าหมายที่กำหนด และรับผิดชอบต่อกลุ่มได้

7. มีความตรงต่อเวลา รู้จักกาลเทศะ

8. มีความเชื่อมั่นในตนเอง เชื่ออำนาจภายในตนเอง

9. มีความอดทนขยันหมั่นเพียร มีจิตใจเข้มแข็งไม่ยอมแพ้อุปสรรคที่เกิดขึ้น

10. รู้จักเสียสละและมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

11. ยอมรับการกระทำของตน

การฝึกหัด มีวิธีการดังนี้

1.มีกฎเกณฑ์ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำอะไรเป็นเวลา และสม่ำเสมอ มิให้ขาดเป็นต้น

2.ต้องหลีกเลี่ยงการคบอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่ขาดระเบียบวินัย เพราะอาจจูงใจให้เกิดการกระทำอะไรนอกกฎเกณฑ์และระเบียบที่ดีได้

3.การทำกิจการงานใดไม่ว่าเล็กน้อยหรือใหญ่ ควรฝึกให้เป็นระเบียบ ไม่ยุ่งเหยิงสับสน ควรตระหนักเสมอว่ามีระเบียบเป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญของจิตใจ

27 ข้อปฏิบัติ  เพื่อหยุดนิสัยชอบผัดวันประกันพรุ่ง

1.จุดที่ยากที่สุดคือการเริ่มต้น

2.ให้จดบันทึกระยะเวลาที่ต้องใช้ไปในการทำงานแต่ละชิ้น

3.การฝึกที่จะแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อย ๆ

4.ฝึกให้รู้สึกเสมอว่า ขั้นตอนต่างๆ ที่คุณกำหนดไว้ “ต้องเป็นไปตามแผน”

5.จำไว้ว่า แม้เวลาเพียงแค่ 5 นาที ก็อาจจะทำงานอะไรบางอย่างได้เสร็จสิ้น

หากคุณรู้สึกว่า ไม่ค่อยจะมีเวลาเลย ให้ลองตื่นเช้าสักครึ่งชั่วโมงหรือหนึ่งชั่วโมง หากว่าคุณต้องการตื่นมาวิ่งออกกำลังกายและหากทำได้ คุณจะพบว่าจริงๆ แล้วคุณยังมีเวลาเหลืออีกพอสมควรเลยทีเดียว

7.หัดจัดสถานที่ทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จะทำให้คุณประหยัดเวลาได้มากและทำงานได้เร็วขึ้น

8.พยายามเอาสิ่งไม่จำเป็นออกไปให้พ้นจากบริเวณที่จะทำงาน

9.ในบางครั้ง เราไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเริ่มทำงานจากส่วนแรกเสมอไปหากว่าพิจารณาดูแล้ว พบว่ามันค่อนข้างยาก เราอาจจะข้ามไปทำส่วนที่ง่ายกว่าก่อนก็ได้

10.แต่ในทางกลับกัน คนอีกกลุ่มหนึ่งกลับชอบที่จะทำงานส่วนที่ยากที่สุดเสียก่อน เพราะรู้สึกว่า หากทำส่วนที่ยากไปเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนที่เหลืออยู่ก็คงไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป

11.ฝึกที่จะกำหนดเส้นตายให้กับตัวเอง ในการทำงานแต่ละชิ้น

12.หัดบอกคนอื่นเกี่ยวกับเส้นตายนั้นๆ ที่คุณได้กำหนดขึ้น ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นได้อีกทางหนึ่ง เพราะหากคุณทำไม่เสร็จตามที่บอกไว้ก็จะทำให้ไม่กล้าสู้หน้าคนที่คุณเคยบอกไว้นั่นเอง

13.พยายามบอกกับตัวเองว่า “หากทำงานไม่เสร็จภายใน 5 โมงเย็น ก็จะต้องยกเลิกแผนการทั้งหมดสำหรับคืนนี้” วิธีค่อนข้างได้ผลดีกับคนส่วนใหญ่

สำหรับทุกๆ เส้นตายที่กำหนดไว้ หากคุณทำได้ตามนั้นก็อย่าลืมที่จะให้รางวัลกับตัวเอง

15.พยายามทำงานทันทีที่มาถึงมือคุณ ยิ่งทำได้มากเท่าไหร่ โอกาสที่งานใดๆ จะเสร็จล่าช้าก็แทบจะไม่มีอีก

16.ลองถามตัวเองว่า “ยังมีวิธีอื่นที่ง่ายกว่าหรือเปล่า?” บางครั้งคุณอาจจะทำให้งานใดๆ ยากกว่าที่มันเป็นจริง เช่น การจัดงานเลี้ยง คุณอาจจะเลือกที่จะทำของหวานที่ยุ่งยากแทนที่จะเลือกใช้ผลไม้ที่ลดขั้นตอนไปได้อีกมาก

17.ถามตัวเองว่า “สิ่งที่แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นหากเราลงมือทำอะไรไปสักอย่างคืออะไร?” เช่น การที่คุณเลือกที่จะใช้เวลาในวันเสาร์ทั้งวันหมดไปกับการทำงานให้เสร็จ แต่ก็ดีกว่าการที่ต้องมานั่งกังวลมากกว่าว่าจะทำเสร็จหรือไม่ ในวันอาทิตย์เพียงวันเดียว

18.ไม่ต้องทำอะไรเลย! นั่งลง แล้วเอางานมากองไว้ตรงหน้าสัก 15 นาที ทำสมาธิแล้วจึงลงมือทำงาน

19.เชื่อความรู้สึกของคุณ เมื่อใดก็ตามที่มีความรู้สึกว่าถูกกระตุ้นให้รีบใช้พลังงานตรงนี้ในการทำงานให้สำเร็จ คนบางส่วนมักจะหัวเราะเยาะคนที่ใช้ความโกรธเป็นแรงกระตุ้นให้ทำงาน หากแต่ความจริงเราจะรู้สึกดีขึ้น หากได้ระเบิดพลังงานส่วนเกินออกไป

20.หาเหตุผลที่เหมาะสมที่จะมาเป็นตัวกระตุ้นตัวคุณเอง

21.มองโลกในแง่ดี ตัวอย่างเช่น หากพ่อคุณโทรฯ มาบอกว่าท่านจะมาหาคุณช้ากว่าที่นัดไว้ราวครึ่งชั่วโมง ให้ใช้เวลาช่วงที่รอนั้นทำงานอะไรก็ได้ที่เหมาะสม

22.ให้คิดเสมอว่าอาจจะเกิดปัญหาใดๆ ได้เสมอ เช่น หากคุณไปเที่ยวและในขากลับลูกคุณเกิดป่วยขึ้นมา ก็อาจจะทำให้คุณต้องล่าช้าไปบ้าง ทางที่ดีคุณจึงควรเริ่มทำอะไรก็ตามเสียก่อนเวลาที่กำหนดไว้เล็กน้อย

23.หากคุณเป็นบุคคลจำพวกที่มักรู้สึกกังวลเมื่อทำงานใกล้จะเสร็จ ให้คิดว่าคุณทำดีที่สุดแล้ว ไม่มีใครที่ทำทุกอย่างได้สมบูรณ์แบบ

24.หากได้สัญญาไว้กับใครว่าจะให้คำตอบในเรื่องใดๆ แล้วคุณยังไม่ได้ทำการตัดสินใจ ให้โทรฯ หรือส่งข่าวไปแจ้งให้บุคคลนั้นๆ ทราบว่า “คุณยังไม่ได้ตัดสินใจ” ซึ่งจะทำให้ไม่รู้สึกว่าผิดคำพูด

25.นึกไว้ว่าคุณไม่ใช่บุคคลเดียวที่ทำงานได้ดี ดังนั้นให้รู้จักแบ่งงานให้คนอื่น หรือจ้างให้ใครมาทำงานส่วนที่ต้องการแทนที่จะทำเองทั้งหมด หรืออาจทำการต่อรองกับเพื่อน เช่น หากเธอมาช่วยจัดการแฟ้มเอกสารให้ คุณก็จะช่วยติดตั้งคอมพิวเตอร์ให้

26.ใช้เวลาสำหรับการพักผ่อนเพื่อการพักผ่อนเสมอ คนที่ชอบผัดวันประกันพรุ่งมักจะใช้เวลาที่ควรจะพักผ่อนไปทำงาน ด้วยความกังวลว่า พรุ่งนี้จะมีเวลาพอที่จะมาทำงานหรือเปล่า?

27.บางครั้งการผัดผ่อนก็มีเหตุผลในตัวมันเอง เช่น การที่คุณยังไม่ส่งโบว์ชัวร์ที่ท่องเที่ยวไปให้เพื่อนตามที่ได้สัญญาไว้ ก็อาจเป็นเพราะคุณยังไม่พร้อมที่จะเดินทางไปไหนในช่วงนี้

จะลดพฤติกรรมการผัดวันประกันพรุ่งได้อย่างไร

1.คุยเรื่องงานกับเขา บอกขั้นตอนต่างๆ ให้ทราบ ชี้แจงให้เห็นผลเสียหากเกิดการล่าช้า แต่อย่าทำให้เหมือนเป็นการขู่ขวัญ แต่ต้องทำให้เขาเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง

ความมีวินัยในหน้าที่ คืออะไร

หมายถึง การตั้งใจโดยจิตใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เรากำลังจะทำเป็นการตระหนักเรื่องนั้นๆอยู่ตลอดเวลาว่าสิ่งที่ทำดีหรือไม่ ทำแล้วจะเกิดอะไรบ้างมีผลดีผลเสียอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำว่าละเลย เช่น การใส่ใจในหน้าที่การงาน สิ่งที่ตนได้รับผิดชอบไม่ละเลยหน้าที่ ไม่ละเลยคำสั่งและไม่ละเลยสิ่งที่ผิด การใส่ใจคือการเอาใจ+ใส่ ...

ความมีวินัย มีอะไรบ้าง

1. มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่หลอกลวงตนเองและผู้อื่น 2. มีความรับผิดชอบ ความตั้งใจที่จะทำงานและติดตามผลงานที่ได้กระทำ 3. เคารพในสิทธิของผู้อื่น 4. มีระเบียบและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม 5 มีลักษณะมุ่งอนาคต มีความเป็นผู้นำา 7. มีความตรงต่อเวลา รู้จักกาลเทศะ 8. มีความเชื่อมั่นในตนเอง

คุณลักษณะของผู้มีวินัยในตนเองมี6ข้ออะไรบ้าง

ลักษณะของผู้มีวินัยในตนเอง.
มีความเชื่ออำนาจภายในตนเอง.
มีความเป็นผู้นำ.
มีความรับผิดชอบ.
ตรงต่อเวลา.
เคารพต่อระเบียบ กฎเกณฑ์ทั้งต่อหน้าและรับหลังผู้อื่น.
มีความซื่อสัตย์สุจริต.
รู้จักหน้าที่ละกระทำตามหน้าที่เป็นอย่างดี.
รู้จักเสียสละ.

วินัยในการทำงานมีอะไรบ้าง

วินัยในการทำงาน.
ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน.
ไม่ก้าวล้ำเข้าไปในสิทธิส่วนบุคคลของลูกจ้าง.
เป็นข้อปฏิบัติที่สามารถเข้าใจและปฏิบัติได้.
จะต้องไม่ขัดแย้งกับสัญญาจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง.