บริษัทมหาชนจำกัดจะต้องมีผู้ร่วมก่อตั้งกี่คน

ความน่าเชื่อถือ เป็นสิ่งสำคัญของการเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ ที่ทุกสิ่งทุกอย่างในกิจการจำเป็นที่จะต้องมีภาพลักษณ์ การวางแผนและการบริหารจัดการที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าที่เข้ามาซื้อผลิตภัณฑ์หรือใช้บริการต่างๆ ซึ่งรูปแบบของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันก็มีความแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น กิจการเจ้าของคนเดียว, กิจการห้างหุ้นส่วน, สหกรณ์, รัฐวิสาหกิจ และที่หลายคนรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่าง “จดทะเบียนบริษัท”

บริษัทจำกัด (Company Limited) เป็นรูปแบบของการดำเนินธุรกิจที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อเอ่ยถึง บริษัทจำกัด ก็จะเห็นถึงความน่าเชื่อถือและลักษณะของกิจการที่มั่นคง สามารถที่จะต่อยอดเพื่อขยายกิจการได้เป็นอย่างดี แล้ว บริษัทจำกัดคืออะไร มีรูปแบบการดำเนินการเป็นอย่างไรบ้าง ไปทำความรู้จักบริษัทจำกัดที่จะทำให้คุณได้เห็นถึงกิจการที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความน่าเชื่อถือได้เป็นอย่างดีมากยิ่งขึ้น

สารบัญ

Add a header to begin generating the table of contents

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท

การจดทะเบียนบริษัท คืออะไร? เป็นธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ร่วมจัดตั้งและดำเนินกิจการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสร้างผลกำไรจากกิจการนั้นๆ และนำกำไรแสวงหาได้มาแบ่งกัน ในการดำเนินงานของบริษัทจำกัดจะจัดแบ่งทุนออกมาเป็นลักษณะของหุ้น แต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน และผู้ที่ร่วมลงทุนในบริษัทจำกัดจะถูกเรียกว่า ผู้ถือหุ้น โดยธุรกิจรูปแบบบริษัทจำกัดนั้นผู้ถือหุ้นจะมีการรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ถือหุ้นในกิจการอยู่

หลังจากที่ได้จัดตั้งและจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว บริษัทจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฏหมายพร้อมทั้งแยกกับทางผู้ถือหุ้น บริษัทจำกัดจะได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก โดยเลขทะเบียนดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ในการเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของทางสรรพากรนั่นเอง สำหรับการตั้งชื่อของบริษัทจำกัดและนำไปใช้ในงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น จดหมาย หนังสือ การประทับตราหรือป้ายชื่อบริษัท ทางบริษัทจะต้องใช้คำว่า บริษัท นำหน้าชื่อและใช้คำว่า จำกัดท้ายชื่อทุกครั้ง ซึ่งถ้าหากเป็นภาษาอังกฤษ ก็ต้องมีคำลงท้ายชื่อเป็น Company Limited หรือ Co., Ltd. 

บริษัทจำกัด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ บริษัทเอกชนจำกัด และ บริษัทมหาชนจำกัด

  1. บริษัทเอกชนจำกัด (Company Limited)

    บริษัทเอกชนจำกัด หรือ Company Limited (ตัวย่อ Co., Ltd) เป็นธุรกิจที่ได้จัดตั้งขึ้นมาโดยวิธีการแบ่งทุนให้เป็นหุ้น หุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน เป็นบริษัทจำกัดที่ดำเนินการขึ้นมาตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1096 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า “อันว่าบริษัทจำกัดนั้น คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น
    ซึ่งมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ”และในมาตรา 1097 ได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลใด ๆ ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้ ด้วยการเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิและกระทำการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้

    สำหรับลักษณะของบริษัทเอกชนจำกัด ทุนจะจัดแบ่งหุ้นออกเป็นจำนวนเท่าๆ กัน ตามที่มาตรา 1117 ได้ระบุพร้อมกับกำหนดให้หุ้นหนึ่งในบริษัทเอกชนจำกัดไม่ต่ำกว่า 5 บาท และผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบไม่เกินจำนวนเงินมูลค่าของหุ้นที่ตนเองถือ โดยบริษัทเอกชนจำกัดจะไม่สามารถประกาศเพื่อระดมจากประชาชนทั่วไปได้ ไม่สามารถชี้ชวนให้บุคคลทั่วไปซื้อหุ้นและไม่สามารถออกหุ้นกู้ได้ บริษัทเอกชนจำกัดจะมีฐานะเป็นนิติบุคคล ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์

  2. บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company Limited)
    (Company Limited)

    บริษัทมหาชนจำกัด หรือ Public Company Limited ( ตัวย่อ Pcl และ PCL) เป็นบริษัทจำกัดประเภทที่มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชน โดยมีข้อกำหนดให้บริษัทมีการดำเนินการอยู่แล้วจึงจะสามารถนำหุ้นจำนวนหนึ่งภายในองค์กรเพื่อออกจำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไปได้ซื้อหุ้น ซึ่งประชาชนที่เป็นผู้ซื้อหุ้นก็จะเป็นเจ้าของกิจการตามสัดส่วนที่ได้ถือหุ้นของบริษัทอยู่

    ซึ่งผู้ที่ดำเนินการขายและซื้อหุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดก็คือ ตลาดหลักทรัพย์ โดยผู้ถือหุ้นในบริษัทมหาชนจำกัดจะมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนมูลค่าของหุ้น โดยมูลค่าหุ้นและการชำระเงินค่าหุ้นในบริษัทมหาชนจำกัดจะต้องมีมูลค่าเท่ากันในแต่ละหุ้นและต้องชำระค่าหุ้นครั้งแรกด้วยรูปแบบที่เต็มมูลค่า

สิ่งที่ควรคำนึงในการจัดตั้งบริษัทจำกัด

หลังจากที่ได้เรียนรู้ถึงความหมายและประเภทของบริษัทจำกัดแล้ว จะเห็นได้ว่าการจดทะเบียนบริษัทจัดตั้งบริษัทนั้นยุ่งยาก จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ อย่างถี่ถ้วน ควรมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการจัดตั้งและจดทะเบียนบริษัทเพื่อให้สามารถเรียบเรียงและจัดการได้อย่างละเอียด 

สำหรับสิ่งที่ควรคำนึงและพิจารณาก่อนการเข้าร่วมลงทุนหรือจัดตั้งบริษัทจำกัด ก็มีอยู่หลายประการ ไม่ว่าจะเป็น

  • การจำกัดความรับผิดชอบของบริษัทจำกัด ผู้ถือหุ้นจะรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนได้ลงทุนร่วมกับธุรกิจ
  • ความมั่นคงของบริษัทจำกัด ที่บริษัทจำกัดไม่มีกำหนดอายุ สามารถดำเนินการในระยะยาวจนกว่าทางเจ้าของผู้ถือหุ้นจะแจ้งเพื่อเลิกกิจการบริษัทจำกัด
  • การบริหารจัดการหุ้นในบริษัทจำกัดหรือการจัดแบ่งทุนบริษัทให้กลายเป็นหุ้น สามารถที่จะดำเนินการได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการโอน จำหน่าย หรือจ่าย เป็นต้น

หน้าที่ของบริษัทจำกัด

บริษัทจำกัดจะต้องทำหน้าที่อย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง สำหรับหน้าที่สำคัญของบริษัทจำกัดมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. บริษัทจำกัดจะต้องจัดทำใบหุ้นเพื่อมอบให้แก่ผู้ถือหุ้นและจัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น มิฉะนั้นจะต้องมีความผิดตามกฎหมายระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทและ 20,000 บาทตามลำดับ
  2. บริษัทจำกัดจะต้องมีการจัดการประชุมใหญ่สามัญภายหลัง 6 เดือน โดยนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล และจะต้องมีการจัดประชุมครั้งถัดไปอย่างน้อย 1 ครั้งทุก 12 เดือน
  3. บริษัทจำกัดจะต้องจำกัดทำบัญชีรายชื่อของผู้ถือหุ้น ในวันที่มีการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น หลังจากนั้นให้นำส่งต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดที่คุณอยู่ ภายในระยะเวลา 14 วันนับจากวันที่จัดการประชุม มิฉะนั้น จะมีความผิดตามกฎหมายโดยระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  4. บริษัทจำกัดจะต้องมีการจัดทำงบการเงินอย่างน้อง 1 ครึ่งในทุกรอบระยะเวลา 12 เดือน โดยจะต้องมีผู้สอบบัญชีอย่างน้อย 1 คน หลังจากนั้นต้องนำเสนอแก่ที่ประชุมสามัญใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติงบการเงินภายในระยะเวลา 14 วันนับตั้งแต่วันที่ปิดรอบบัญชี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินให้แก่สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าประจำจังหวัดและกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายในระยะเวลา 1 เดือน มิฉะนั้นจะต้องมีความผอดตามกฎหมาย ระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท

ข้อดีของบริษัทจำกัด

เมื่อเราได้เห็นถึงการดำเนินงานของจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าจะเห็นถึงรูปแบบการทำงานที่มีความน่าเชื่อถือและสอดคล้องกับความต้องการของโลกในปัจจุบันอย่างมาก แล้วการจดทะเบียนบริษัทมีข้อดีอย่างไรบ้าง ไปดูกัน

  1. ในการดำเนินบริษัทจำกัดประเภทบริษัทมหาชนจำกัด สามารถที่จะระดมทุนได้ในจำนวนมาก
  2. บุคลากรของบริษัทจำกัดมีความรู้และความสามารถ เชี่ยวชาญเป็นอย่างดี สามารถที่จะใช้ความสามารถนั้นในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน เนื่องจากบริษัทจำกัดมีผู้ถือหุ้นจำนวนหลายคน
  3. บริษัทจำกัด สามารถช่วยกระจายความเสี่ยง 
  4. บริษัทจำกัดมีการดำเนินการที่มีความมั่นคง พื้นฐานที่ดีและมีความต่อเนื่อง
  5. ผู้ถือหุ้นในกิจการบริษัทจำกัดสามารถที่จะเปลี่ยนมือได้ ผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดสามารถโอนหรือขายหุ้นให้แก่ผู้อื่นได้
  6. ผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดรับผิดชอบในหนี้สินของบริษัทแค่เพียงเท่ากับเงินลงทุนตามที่ได้ลงทุนในมูลค่าของหุ้นที่ยังชำระไม่ครบถ้วน กล่าวถือ ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบแค่เพียงมูลค่าที่ตนเองได้ค้างชำระอยู่
  7. เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดทรัพย์ส่วนตัวของผู้ถือหุ้นได้
  8. ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นล้มละลาย ศาลได้มีคำสั่งให้ออกจากการเป็นผู้ถือหุ้นหรือผู้ถือหุ้นเสียชีวิต บริษัทจำกัดจะดำเนินต่อไปนี้
  9. จดทะเบียนบริษัทมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากสามารถตรวจสอบได้และมีความมั่นคงทางธุรกิจที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและคู่ค้า

บทสรุป

การจดทะเบียนบริษัทมีความน่าเชื่อถือสูง เป็นที่ไว้วางใจและเชื่อถือต่อคู่ธุรกิจ คู่ค้าและนักลงทุน เนื่องจากบริษัทจำกัดสามารถตรวจสอบได้ ทั้งในส่วนของงบการเงิน กรรมบริษัทหรือผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ในการจัดตั้งและดำเนินธุรกิจแนะนำให้ใช้บริการผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการจดทะเบียนบริษัทและจัดการเกี่ยวกับบริษัทจำกัดเพื่อที่จะช่วยให้คุณสามารถวางระบบได้อย่างรัดกุมพร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างตรงตามข้อกฏหมาย

กรรมการบริษัทมหาชน ต้องมีกี่คน

มาตรา ๖๗ บริษัทต้องมีกรรมการคณะหนึ่งเพื่อดำเนินกิจการของบริษัทประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อยห้าคน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร มาตรา ๖๘ กรรมการต้องเป็นบุคคลธรรมดา และ (๑) บรรลุนิติภาวะ

จัดตั้งบริษัท 2 คนได้ไหม

เราสามารถเปิดบริษัทเพียงแค่ 1 คนได้หรือไม่? ในปัจจุบันตามกฎหมายบริษัทจำกัด ต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 คน ดังนั้นจึงยังไม่สามารถเปิดบริษัทโดยมีผู้ถือหุ้นเพียงแค่ 1 คนได้

การจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดมีทั้งหมดกี่ขั้นตอน

การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมหาชนจากัด ประกอบด้วยการจดทะเบียน 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่1 จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ขั้นตอนที่2 จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท

1 คน สามารถเปิดบริษัทได้กี่บริษัท

1. เจ้าของคนเดียวก็จดทะเบียนได้ แต่จดได้แค่บริษัทเดียวนะ ส่วนมาตรา 12 ระบุไว้ว่า บุคคลจะเป็นเจ้าของทุนในบริษัทเกินกว่าหนึ่งบริษัทในเวลาเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง นั่นแปลว่า คนหนึ่งคนจะมีได้เพียงแค่หนึ่งบริษัทเท่านั้น ถ้าหากจะมีบริษัทใหม่ก็ต้องปิดบริษัทเดิมก่อนครับ