กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี

         นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า รัฐบาลโดยการนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้มอบนโยบายให้ดำเนินการส่งเสริมระบบทวิภาคีให้เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการ โดยเปิดโอกาสให้ลูกจ้างได้มีการหารือกับนายจ้างในการจัดสวัสดิการต่างๆ ซึ่งนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและเป็นสวัสดิการที่ตรงกับความต้องการของลูกจ้าง อันเป็นรูปแบบของการร่วมปรึกษาหารือกัน เพื่อให้เกิดความสงบสุข สมานฉันท์และประกอบธุรกิจร่วมกันด้วยความเข้าใจกัน โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ให้นายจ้างต้องจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อย 5 คน โดยคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการให้มาจากการเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด ซึ่งเดิมกำหนดให้เลือกตั้งโดยวิธีลงคะแนนลับ และลงคะแนนเสียงในบัตรเลือกตั้งและนำใส่ในหีบบัตรเลือกตั้ง แต่ในปัจจุบันสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและงบประมาณ จึงมอบให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งดังกล่าว ซึ่งขณะนี้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 30 กันยายน 2564 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป

          นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้เพิ่มวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และเป็นทางเลือกแก่นายจ้างในการจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งการเพิ่มหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งในครั้งนี้ถือเป็นการเพิ่มความสะดวกแก่สถานประกอบกิจการ โดยให้นายจ้างอำนวยความสะดวก จัดหาอุปกรณ์ ระบบอิเล็กทรอนิกส์และออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเลือกตั้งตามประกาศนี้ พร้อมทั้งให้นายจ้างเผยแพร่หรือประกาศรายชื่อและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการเมื่อมีการเลือกตั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการเป็นภาษาไทยโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ลูกจ้างทราบและแจ้งให้พนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประกาศ

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 96 กําหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คน ขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายลูกจ้างแต่เพียงฝ่ายเดียวอย่างน้อย 5 คน เพื่อเป็นตัวแทนของลูกจ้างร่วมปรึกษาหารือกับนายจ้างเพื่อการจัดสวัสดิการภายในสถานประกอบกิจการให้แก่ลูกจ้าง โดยให้คณะกรรมการนี้มาจากการเลือกตั้งตามประกาศกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ทั้งนี้หากสถานประกอบกิจการของนายจ้างมีคณะกรรมการลูกจ้างตามกฎหมาย ว่าด้วยการแรงงานสัมพันธ์แล้ว ให้คณะกรรมการลูกจ้างนั้นทําหน้าที่เป็นคณะกรรมการสวัสดิการในสถาน ประกอบกิจการได้ โดยคณะกรรมการลูกจ้างดังกล่าวยังคงมีศักดิ์และสิทธิในฐานะคณะกรรมการลูกจ้างเช่นเดิม

ดูเอกสารการเลือกตั้ง คณะกรรมการสวัสดิการ >

ในสถานที่ทำงานของลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจัดสวัสดิการอะไรบ้างจึงจะถูกตามกฎหมาย

1. ในสถานที่ทำงานของลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้มี

ดาวน์โหลดกฎหมาย >

กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
(1) น้ำสะอาดสำหรับดื่มไม่น้อยกว่าหนึ่งที่สำหรับลูกจ้างไม่เกิน 40 คน และเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนหนึ่งที่สำหรับลูกจ้างทุกๆ 40 คน เศษของ 40 คนถ้าเกิน 20คน ให้ถือเป็น 40 คน

กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
(2) ห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุม อาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน 

ให้นายจ้างจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมแยกสำหรับลูกจ้างชายและลูกจ้างหญิง และในกรณีที่มีลูกจ้างที่เป็นคนพิการ ให้นายจ้างจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมสำหรับคนพิการแยกไว้โดยเฉพาะ

2.ในสถานที่ทำงานของลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้มีสิ่งจำเป็นในการปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาล ดังต่อไปนี้

(1) สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ต้องจัดให้มีเวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลในจำนวนที่เพียงพอ อย่างน้อยตามรายการดังต่อไปนี้

  • กรรไกร
  • แก้วยาน้ำ และแก้วยาเม็ด
  • เข็มกลัด
  • ถ้วยน้ำ
  • ที่ป้ายยา
  • ปรอทวัดไข้
  • ปากคีบปลายทู่
  • ผ้าพันยืด
  • ผ้าสามเหลี่ยม
  • สายยางรัดห้ามเลือด
  • สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าพันแผล และผ้ายางปลาสเตอร์ปิดแผล
  • หลอดหยอดยา
  • ขี้ผึ้งแก้ปวดบวม
  • ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือโพวิโดน ไอโอดีน
  • น้ำยาโพวิโดน ไอโอดีน ชนิดฟอกแผล
  • ผงน้ำตาลเกลือแร่
  • ยาแก้แพ้ผดผื่นคัน
  • ยาธาตุน้ำแดง
  • ยาบรรเทาปวดลดไข้
  • ยารักษาแผลน้ำร้อนลวก
  • ยาลดกรดในกระเพราะอาหาร
  • เหล้าแอมโมเนียหอม
  • แอลกอฮอล์เช็ดแผล
  • ขี้ผึ้งป้ายตา
  • ถ้วยล้างตา
  • น้ำกรดบอริคล้างตา
  • ยาหยอดตา

(2) สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มี

กรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
(ก) เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลตาม (1)
(ข) ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยหนึ่งเตียง เวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ตามความจำเป็นและเพียงพอแก่การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
(ค) พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปไว้ประจำอย่างน้อยหนึ่งคนตลอดเวลาทำงาน
(ง) แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสองครั้งและเมื่อรวมเวลาแล้วต้อง ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละหกชั่วโมงในเวลาทำงาน

(3) สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่ 1,000 คนขึ้นไปต้องจัดให้มี

(ก) เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลตาม ( 1 )
(ข) ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยหนึ่งเตียง เวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ตามความจำเป็นและเพียงพอแก่การรักษาพยาบาล เบื้องต้น
(ค) พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปไว้ประจำอย่างน้อยสองคนตลอดเวลาทำงาน
(ง) แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสองครั้งและเมื่อรวมเวลาแล้วต้อง ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละหกชั่วโมงในเวลาทำงาน
(จ) ยานพาหนะซึ่งพร้อมที่จะนำลูกจ้างส่งสถานพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาล

3.นายจ้างอาจทำความตกลงเพื่อส่งลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลที่เปิดบริการตลอด 24 ชม. และเป็นสถานพยาบาลที่นายจ้างอาจนำลูกจ้างส่งเข้ารับการรักษาพยาบาลได้โดยสะดวกและรวดเร็ว แทนการจัดการให้มีแพทย์ตามข้อ 2 (2) หรือข้อ 2 (3) ได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย