เทคโนโลยีโทรคมนาคม สำคัญ อย่างไร

โทร แปลว่า ไกล

คมนาคม แปลว่า การสื่อสาร

โทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึงการสื่อสารระยะใกล้และไกล โดยการรับส่งสัญญาณเสียง ข้อความและภาพ ผ่านสื่อสัญญาณทางสายหรือไร้สายด้วยระบบแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งอาจเป็นไฟฟ้า แสง หรือวิธีอื่นใดที่ทำงานร่วมกัน เช่น โทรสาร ววิทยุติดตามตัว โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต วิทยุกระจายและโทรทัศน์ Remote Control เป็นต้น

หน้าที่ของระบบโทรคมนาคม
 ทำหน้าที่ในการส่งและรับข้อมูลระหว่างจุดสองจุด ได้แก่ ผู้ส่งข่าวสาร (Sender) และ ผู้รับข่าวสาร (Receiver) จะดำเนินการจัดการลำเลียงข้อมูลผ่านเส้นทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด จัดการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จะส่งและรับเข้ามา สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าใจได้ตรงกัน ซึ่งที่กล่าวมานี้ส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวจัดการ ในระบบโทรคมนาคมส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูลข่าวสารต่างชนิด ต่างยี่ห้อกัน แต่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้เพราะใช้ชุดคำสั่งมาตรฐานชุดเดียวกัน กฎเกณฑ์มาตรฐานในการสื่อสารนี้เราเรียกว่า “โปรโตคอล (Protocol)” อุปกรณ์แต่ละชนิดในเครือข่ายเดียวกันต้องใช้โปรโตคอลอย่างเดียวกัน จึงจะสามารถสื่อสารถึงกันและกันได้ หน้าที่พื้นฐานของโปรโตคอล คือ การทำความรู้จักกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่อยู่ในเส้นทางการถ่ายทอดข้อมูล การตกลงเงื่อนไขในการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การแก้ไขปัญหาข้อมูลที่เกิดการผิดพลาดในขณะที่ส่งออกไปและการแก้ปัญหาการสื่อสารขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นโปรโตคอลที่รู้จักกันมาก ได้แก่ โปรโตคอลในระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต เช่น Internet Protocal ; TCP/IP , IP Address ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้

องค์ประกอบพื้นฐานของระบบโทรคมนาคม

ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบด้วยกัน คือ

หน่วยส่งข้อมูล ------------------------ > หน่วยรับข้อมูล

ช่องทางการสื่อสารข้อมูล

1. หน่วยส่งข้อมูล เป็นหน่วยที่ต้องการแจ้งหรือส่งข้อมูลให้หน่วยื่อน ๆ ทราบ เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสาร อาจจะเป็นคน หรือวัตถุก็ได้

2. ช่องทางการสื่อสาร คือกระบวนการ ช่องทาง หรือสื่อใด ๆ ที่ทำให้ข้อมูลสามารถส่งไปถึงหน่วยรับข้อมูลอย่างไม่ผิดพลาด เป็นสื่อสัญญาณทางสายหรือไร้สายก็ได้

3. หน่วยรับข้อมูล เป็นปลลายทางของการสื่อสารข้อมูลที่ทำหน้าที่รับข้อมูลส่งมาผ่านช่องทางการสื่อสาร อาจจะเป็นคนหรือวัตถุก็ได้ ทิศทางการสื่อสารข้อมูล 

มี 3 ชนิดคือ 

1. แบบทิศทางเดียว (Simplex หรือ One-Way) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ ระบบโทรทัศน์ การส่งอีเมล เป้นต้น 

2. แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) ข้อมูลสามารถส่งสลับกันได้ทั้ง 2 ทิศทางโดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด 

3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-Way) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ การChat Online

สัญญาณไฟฟ้าในระบบโทรคมนาคม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 

1. สัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้าในลักษณะคลื่นต่อเนื่อง (Sine wave) สัญญาณไฟฟ้าที่จะใช้เนเสียง หรือรูปภาพ เช่น ระบบวิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี 

2. สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้าในลักษณะไม่ต่อเนื่องเป็นระบบ 2 สภาวะ คือ สภาวะที่ไม่มีสัญญาณไฟฟ้าและมีสัญญาณไฟฟ้าโดยแทนสัญญาณข้อมูลด้วย "0" หรือ "1"

วัตถุประสงค์ของการนำการสื่อสารข้อมูลเข้ามาใช้ในองค์กร 

1. เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งข้อมูล 

2. เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว 

3. เพื่อลดเวลาในการทำงาน 

4. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร 

5. เพื่อช่วยขยายการดำเนินงานขององค์กรให้ดีขึ้น 

6. เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารองค์กรให้สะดวกมากขึ้น

องค์ประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีโทรคมนาคม ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบที่สำคัญ

ต้นกำเนิดข่าวสาร (Source of Information)

เทคโนโลยีโทรคมนาคม สำคัญ อย่างไร

 

เป็นส่วนแรกในระบบการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นแหล่งที่มาของข่าวสารต่าง ๆ ที่ผู้ส่ง ต้องการที่จะส่งไปยังผู้รับที่ปลายทาง ตัวอย่างในระบบโทรศัพท์ หรือระบบวิทยุกระจายเสียง ส่วนนี้ก็คือเสียงพูดของผู้พูดที่ ต้นทาง ซึ่งจะถูกไมโครโฟนเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่เหมาะสม และส่งเข้าไปในระบบ หรือ ในกรณีระบบการสื่อสารข้อมูล (Data Communication) ส่วนนี้อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ Data Terminal ประเภทต่าง ๆ

เครื่องส่งสัญญาณ (Transmitter) 

เทคโนโลยีโทรคมนาคม สำคัญ อย่างไร

ทำหน้าที่ในการแปลงหรือเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้แทนข่าวสารจากต้นกำเนิดข่าวสาร ให้เป็นสัญญาณหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสมในการส่งต่อไปยังปลายทาง เช่นระบบโทรศัพท์ ตัวเครื่องโทรศัพท์จะแปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้แทนเสียงพูด ให้เป็น สัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสมและส่งต่อไปยังปลายทาง สำหรับในระบบการสื่อสารข้อมูล ส่วนนี้จะเป็น MODEM หรืออุปกรณ์อื่นที่เหมาะสมใน การเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่มาจากคอมพิวเตอร์เพื่อให้เป็นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสม ในการผ่านระบบสื่อสัญญาณไปยังปลายทาง

ระบบการส่งผ่านสัญญาณ (Transmission System) 

เทคโนโลยีโทรคมนาคม สำคัญ อย่างไร
เทคโนโลยีโทรคมนาคม สำคัญ อย่างไร

เครื่องส่งได้เปลี่ยน หรือแปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้แทนข่าวสารต่าง ๆ ให้เป็นสัญญาณ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสม สัญญาณก็จะถูกส่งผ่านระบบระบบการส่งผ่านสัญญาณ เพื่อ ส่งต่อไปยังเครื่องรับและผู้รับที่ปลายทาง ดังนั้นระบบการส่งผ่านสัญญาณจึงถือได้ว่านับเป็นส่วนที่สำคัญและจำเป็นมากในระบบ การสื่อสารโทรคมนาคม

เครื่องรับสัญญาณ (Receiver) 

เทคโนโลยีโทรคมนาคม สำคัญ อย่างไร

เครื่องรับสัญญาณ เป็นส่วนที่ทำการเปลี่ยนสัญญาณ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ถูก ส่งผ่านระบบการส่งผ่านสัญญาณจากต้นทาง เพื่อให้กลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้แทนข่าวสาร ที่ถูกส่งมาจากต้นทาง ทั้งนี้เพื่อส่งให้อุปกรณ์ปลายทางทำการแปลง หรือเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้า นั้น ให้กลับมาเป็นข่าวสารที่ผู้รับสามารถเข้าใจความหมายได้ สำหรับระบบการสื่อสารข้อมูลส่วนนี้จะเป็น MODEM หรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมในการ เปลี่ยนสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้ข้อมูลในรูปแบบที่ถูกต้อง และ เหมาะสมสำหรับการส่งต่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นอุปกรณ์บางชนิด เช่น MODEM อาจ เป็นได้ทั้งอุปกรณ์ในการส่ง และรับสัญญาณ ในอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน

ผู้รับสัญญาณ (Destination) 

เทคโนโลยีโทรคมนาคม สำคัญ อย่างไร
เทคโนโลยีโทรคมนาคม สำคัญ อย่างไร

ผู้รับสัญญาณ เป็นส่วนสุดท้ายในระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูล ข่าวสารที่ส่งมาจากต้นกำเนิดข่าวสาร ดังนั้นอุปกรณ์รับสัญญาณ และอุปกรณ์ส่งสัญญาณ อาจเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกันก็ได้ เช่นคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ประเภทของสัญญาณ 

- สัญญาณแอนะล็อก(analog signal) 

- สัญญาณดิจิทัล(digital signal)

ตัวกลางหรือช่องทางการสื่อสาร 

ช่องสื่อสาร(communication channels) หมายถึง รูปแบบใดๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวหนึ่งในระบบเครือข่ายไปยังอุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง - สื่อต่างๆ ที่ใช้ได้แก่ สายคู่บิดเกลียว สายโคแอ็กเซียล สายใยแก้วนำแสง สัญญาณไมโครเวฟ สัญญาณผ่านดาวเทียม และสัญญาณไร้สายแบบต่างๆ 

ความเร็วในการถ่ายทอดข้อมูล 

- ปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านช่องสื่อสารใดๆ มีหน่วยวัดเป็น บิตต่อวินาที(bits per second : bps) - ช่วงคลื่นสัญญาณที่รวมกันอยู่ในช่องสื่อสารหนึ่งช่อง เรียกว่า ความกว้างของช่องสื่อสาร(bandwidth) ช่วงคลื่นที่กว้างมากหมายถึงช่องสัญญาณที่กว้างมาก สามารถส่งข้อมูลปริมาณมากได้ในเวลาอันรวดเร็ว - มัลติเพล็กเซอร์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การใช้สื่อหรือช่องสื่อสารขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ระบบเครือข่ายสื่อสาร

Topology หมายถึงโครงสร้างของเครือข่าย แบ่งออกเป็น 

- ระบบเครือข่ายดาว 

- ระบบเครือข่ายบัส 

- ระบบเครือข่ายวงแหวน 

PBX-- LAN--WAN -

 PBX(Private Branch Exchange) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพิเศษที่ออกแบบมาสำหรับจัดการบริหารการเชื่อมต่อวงจรโทรศัพท์จากสายนอกเข้ากับสายโทรศัพท์ภายในองค์กรอย่างอัตโนมัติ 

- ระบบเครือข่ายเฉพาะที่(Local Area Network:LAN)

 เป็นระบบเครือข่ายบริเวณไม่กว้างมากนัก เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและอุปกรณ์ต่อพ่วง และอุปกรณ์สื่อสารเข้าด้วยกันโดยมีช่องทางสื่อสารเป็นของตนเอง มีซอฟต์แวร์เครือข่ายเป็นของตนเองเฉพาะเรียกว่า NOS(Network Operating System)

- ระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง(Wide Area Network:WAN)

เป็นระบบที่มีขอบเขตการใช้งานกว้างขวางมาก เช่นการเชื่อมต่อระบบระหว่างสาขาของธนาคาร เป็นต้น.

บริการอื่นบนระบบเครือข่าย

- Package Switching

- Frame Relay 

- Integrated Services Digital Network : ISDN 

- DSL .

Package Switching 

การแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็กๆ มีขนาดเท่ากันทั้งหมดเรียกว่า packet แต่ละแพ็กเก็ตจะมีข้อมูลอยู่ และถูกส่งออกไปหลายๆ เส้นทางภายในอินเทอร์เน็ตจนกว่าจะถึงปลายทาง เมื่อถึงปลายทางแล้วจะมีซอฟต์แวร์ในการรวมแพ็กเก็ตต่างๆ เข้าด้วยกันเหมือนข้อมูลก่อนส่งทุกประการ

 Frame Relay 

เป็นบริการที่ใช้งานระบบเครือข่ายร่วมกันแบบหนึ่งที่มีความเร็วในการทำงานสูง มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าระบบแพ็กเก็ตสวิตซ์ ส่วนมากมักจะใช้ร่วมกับสายใยแก้วนำแสง - ระบบนี้จัดข้อมูลเป็นขนาดเล็กๆ คล้ายแพ็กเก็ตแต่ไม่มีข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบขณะที่ส่งและแก้ไขข้อผิดพลาด

 Integrated Services Digital Network : ISDN 

มาตรฐานใหม่สำหรับการเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่รวมให้บริการทั้ง เสียง ข้อมูล กราฟิก และวิดีโอ ในสายโทรศัพท์เดียงคู่สายเดียว - ระดับพื้นฐานสามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 128 kbps