บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีกี่ข้อ

             รัฐธรรมนูญ หมายถึงกฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ
              ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" นั้นจะต้องมีลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่ใช่สิ่งเดียวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญเพราะ
"กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้
              รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์ อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครองย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย
             ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบ เผด็จการเพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ
รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก
              ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1215 ขุนนางและพระราชาคณะจำนวน 25 คน ได้บังคับให้พระเจ้าจอห์นลงนามในเอกสารที่เรียกว่า "มหา กฎบัตร" (The Great Charter, Magna Carta) ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนางและพระสงฆ์ โดยในมหากฎบัตรได้กำหนด ถึงการจัดองค์กรและการบริหารอำนาจของสภาสูง (Magnum Concillium) และกำหนดว่าพระมหากษัตริย์จะเก็บภาษีบางอย่างตามที่กำหนด ไว้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากสภาสูงมิได้ จะจับกุมคุมขังบุคคลได้ก็ต่อเมื่อ มีคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย มหากฎบัตรนี้นักกฎหมาย บางท่านเห็นว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก
             รัฐธรรมนูญในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสในภาษาของประเทศทั้งสองคำว่ารัฐธรรมนูญต่างใช้คำว่า Constitution ซึ่งแปลว่าการสถา ปนาหรือการจัดตั้งซึ่งหมายถึงการสถาปนาหรือจัดตั้งรัฐนั่นเองโดยทั้งสองประเทศมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรแต่ประเทศอังกฤษ ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร
ประเภทของรัฐธรรมนูญ
             รัฐธรรมนูญนั้นสามารถแบ่งแยกประเภทได้ในหลายลักษณะขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งประเภท ซึ่งวัตถุประสงค์ในการ จำแนกประเภทของรัฐธรรมนูญนั้นก็เพื่อที่จะศึกษาเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ ประเภทของรัฐธรรมนูญนั้นสามารถจำแนกได้ดังต่อ ไปนี้คือ
             1.แบ่งแยกตามวิธีการบัญญัติ
             การแบ่งแยกโดยหลักเกณฑ์นี้สามารถแบ่งแยกรัฐธรรมนูญออกได้เป็น 2 ประเภทคือรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรและ รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
              - รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร หมายความถึง รัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติรวมอยู่ในเอกสารฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับ กำหนดถึง ระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเช่นว่านี้ต่อกันและกันกฎเกณฑ์การปกครองประเทศและได้จัดทำด้วยวิธี การที่แตกต่างจากการจัดทำกฎหมายธรรมดา
              - รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี หมายความถึง ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี คำพิพากษา ของศาลยุติธรรม กฎหมายที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์การปกครองประเทศทางด้านการเมือง ธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ที่ยึดถือติดต่อกันมา รวมกันเข้า เป็นบทบัญญัติที่มีอำนาจเป็นกฎหมายสูงสุด กำหนดรูปแบบการปกครองของรัฐ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เขียนรวบรวมไว้เป็นรูปเล่ม
             รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรนี้จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองรัฐ ความมั่นคงมากกว่า รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี เมื่อมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญย่อมเห็นได้ชัดเจนกว่ารัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และ รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นมีความยืดหยุ่นน้อยกว่ารัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
             2.แบ่งแยกตามเนื้อหาและตามแบบพิธี
             การแบ่งแยกโดยหลักเกณฑ์นี้สามารถแบ่งแยกรัฐธรรมนูญออกได้เป็น 2 ประเภทคือรัฐธรรมนูญตามเนื้อหาและรัฐธรรมนูญตามแบบ พิธี
              - รัฐธรรมนูญตามเนื้อหา หมายความถึง รัฐธรรมนูญซึ่งมีบทบัญญัติบัญญัติถึงข้อความที่เป็นเรื่องของรัฐธรรรมนูญโดยตรง โดยไม่ ต้องคำนึงว่าเรียกชื่อกฎหมายนั้นว่าเป็นรัฐธรรมนูญหรือไม่ เช่น Parliament Act 1911 ของสหราชอาณาจักร ซึ่งรูปแบบและลักษณะของ กฎหมายฉบับนี้เป็นพระราชบัญญัติ แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นรัฐธรรมนูญ
              - รัฐธรรมนูญตามแบบพิธี หมายถึง รัฐธรรมนูญซึ่งได้บัญญัติโดยวิธีการบัญญัติรัฐธรรมนูญโดยที่ไม่ต้องคำนึงถึงว่าเนื้อหาของบท บัญญัตินั้นเป็นเรื่องของรัฐธรรมนูญหรือไม่
             3.แบ่งแยกตามวิธีการแก้ไข
             การแบ่งแยกโดยหลักเกณฑ์นี้สามารถแบ่งแยกรัฐธรรมนูญออกได้เป็น 2 ประเภทคือรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากและรัฐธรรมนูญที่แก้ไข ง่าย
              - รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก หมายถึง รัฐธรรมนูญที่การแก้ไขเพิ่มเติมกระทำได้ยากกว่าการบัญญัติกฎหมายธรรมดา กระบวนการแก้ไข เพิ่มเติมมีความซับซ้อนกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายธรรมดา เช่น รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นต้น
              - รัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่าย หมายถึง รัฐธรรมนูญที่การแก้ไขเพิ่มเติมกระทำได้โดยวิธีการเดียวกับการแก้ไขกฎหมายธรรมดา กล่าวคือ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสามารถกระทำได้โดยการตราพระราชบัญญัติ เช่น รัฐธรรมนูญของสหราชอาณาจักร อิสราเอล และนิวซีแลนด์ เป็นต้น
             4.แบ่งแยกตามกำหนดเวลาในการบังคับใช้
             การแบ่งแยกโดยหลักเกณฑ์นี้สามารถแบ่งแยกรัฐธรรมนูญออกได้เป็น 2 ประเภทคือรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและรัฐธรรมนูญฉบับ ถาวร
              - รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เป็นรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้เป็นการฉุกเฉินหรือเป็นการล่วงหน้าในบางสถานการณ์ เช่น ภายหลังจากที่ มีการปฎิวัติรัฐประหาร มักมีข้อความน้อยมาตราหรือไม่มีบทประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน
              - รัฐธรรมนูญฉบับถาวร เป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นให้มีความสมบูรณ์ที่สุดเพื่อให้บังคับใช้ได้ตลอดไป
อำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญ
             ผู้มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญคือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจมาจากรัฎฐาธิปัตย์ให้เป็นผู้มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญ แต่ในบาง กรณีผู้มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญก็คือบุคคลที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญ ซึ่งสามารถจำแนกได้ดัง ต่อไปนี้ คือ
             1.บุคคลคนเดียวเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญ
             กรณีที่บุคคลคนเดียวเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญนี้ มักเกิดขึ้นจากการกระทำปฏิวัติหรือรัฐประหาร โดยผู้ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารได้ จัดทำร่างรัฐธรรมนูญไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ลักษณะของรัฐธรรมนูญที่จัดทำโดยบุคคลคนเดียวนี้จะมีลักษณะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มี บทบัญญัติเพียงไม่กี่มาตราเท่านั้น
             2.คณะบุคคลเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญ
              การจัดทำรัฐธรรมนูญโดยคณะบุคคลนี้มักเกิดขึ้นในประเทศที่มีเพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือเพิ่งได้รับเอกราช โดยตั้ง คณะกรรมาธิการขึ้นยกร่างและพิจารณารัฐธรรมนูญ คณะกรรมาธิการนั้นคัดเลือกมาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่าง ๆ ประเทศที่จัดทำ รัฐธรรมนูญในลักษณะนี้ได้แก่ รัฐธรรมนูญของประเทศอินโดนีเซีย พ.ศ. 2487 รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น พ.ศ. 2490 และรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐ มาเลเซีย พ.ศ. 2500 เป็นต้น
             3.สภานิติบัญญัติเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญ
              การจัดทำรัฐธรรมนูญโดยสภานิติบัญญัตินั้นมักเป็นกรณีที่ต้องการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเก่าทั้งฉบับ การ กำหนดให้สภานิติบัญญัติเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญนี้มีข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดทำรัฐธรรมนูญ เพราะสภานิติบัญญัติเป็นสภาที่ใช้ อำนาจในการดำเนินการทางกฎหมายอยู่แล้ว แต่ก็อาจทำงานได้ล่าช้าเพราะต้องปฎิบัติหน้าที่นิติบัญญัติไปด้วยในเวลาเดียวกัน สภา นิติบัญญัติจะทำหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญได้ก็ต่อเมื่อมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญบัญญัติให้อำนาจไว้
              4.สภาร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ
              หมายถึง สภาที่ประกอบไปด้วยสมาชิกที่ราษฎรทั่วทั้งประเทศได้ออกเสียงเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใช้โดย เฉพาะ และโดยปกติสภานี้จะถูกยุบไปทันที เมื่อรัฐธรรมนูญที่ตนร่างขึ้นนั้นได้รับการประกาศใช้แล้วเพื่อให้ราษฎรทำการเลือกตั้งสมาชิก เข้ามาทำหน้าที่ในสภานิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ในบางกรณีก็มีความจำเป็นที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจะยุบเลิกทันทีไม่ได้ ต้องอยู่ ปฏิบัติหน้าที่สภานิติบัญญัติต่อไปจนกว่าจะถึงเวลามีการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติขึ้น การจัดทำรัฐธรรมนูญโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญนี้มี ข้อดีคือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมาจากบุคคลหลายอาชีพ ทำให้ได้ความเห็นหลากหลายแตกต่างกันออกไป สามารถทุ่มเทเวลาให้กับการ จัดทำรัฐธรรมนูญได้อย่างเต็มที่

บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีกี่ข้อ

ที่มา : http://www.chanforchan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538726232
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/รัฐธรรมนูญ
ที่มา :http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/รัฐธรรมนูญ