การประชาสัมพันธ์ยุค4.0มีลักษณะอย่างไร

ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ บริษัทที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ ชี้ทิศทางการประชาสัมพันธ์ในยุคที่โลกและประเทศไทยเผชิญความผันผวนอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อทุกวงการ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การสาธารณสุข และปฏิกิริยาของสังคม รวมถึงส่งผลถึงพฤติกรรมการใช้โซเชียล มีเดีย ของคนทั่วโลกที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงนับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา จนก้าวสู่ปี พ.ศ. 2564

ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานที่ปรึกษา บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ฯ กูรูด้านประชาสัมพันธ์ชื่อดังได้กล่าวถึง การทำงานของพีอาร์ (Public Relations) ในยุคนี้ไว้ว่า ในอุตสาหกรรมด้านพีอาร์ เมื่อโลกเปลี่ยน วงการสื่อสารมวลชนเปลี่ยนไป พฤติกรรมในการเสพสื่อของผู้บริโภคเปลี่ยนไป พีอาร์เองก็ต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตัวเองและวิธีการทำงานครั้งใหญ่เช่นกัน

-เทรนด์โลกคอนเทนต์ปี 2021 ‘วิดีโอ’ เท่านั้นที่ตอบโจทย์
-ทรู เปิดตัว “TRUE 5G XR STUDIO” สตูดิโอผลิตคอนเทนต์เหนือจินตนาการ

เมื่อก่อนพีอาร์อาจวัดมูลค่าผลงานจากมูลค่าสื่อ (Media Value) เช่น Share of Voice (SOV) หรือ Advertising Value Equivalent (AVE) แต่ปัจจุบัน พีอาร์จำเป็นต้องมีการยกระดับ (Up Skill) เป็นพีอาร์เชิงกลยุทธ์ (Re Skill) สามารถเป็นคลังสมองของลูกค้า ตอบโจทย์ทั้งระยะสั้น กลาง และยาว ด้วยการวางแผนประชาสัมพันธ์ที่สามารถประเมินผลลัพธ์สุดท้ายได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ สามารถรองรับภาวะวิกฤติของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังต้องตอบโจทย์ลูกค้าในยุคนี้ได้อย่างรวดเร็ว ฉับไวด้วย

โดย ดร.ดนัย ได้พูดถึงเทรนด์ของพีอาร์ยุค New Normal 2021 : PR Digital Transformation ที่องค์กรประชาสัมพันธ์ ต้องยึดไว้ 5 ข้อหลัก ๆ ดังนี้

1.Storytelling is King – Context is Queen หมายถึง วิธีการเล่าเรื่องหรือการสื่อสารต้องเปลี่ยนไป เพราะในโลกของโซเชียล มีเดีย กลุ่มเป้าหมายที่รับข่าวสารนั้นไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ในการสื่อสารเรื่องราวแต่ละครั้ง พีอาร์ต้องสามารถบอกเล่า Key Message ประเด็นการสื่อสารสำคัญไปในช่องทางที่หลากหลาย และสื่อสารออกไปในทุกแพลตฟอร์มได้ (Multiple media platform) อีกทั้งยังต้องสื่อสารในบริบทที่ถูกต้อง ต้องเข้าใจภาวะอารมณ์ กระแสสังคม และประเมินจังหวะเวลาที่ถูกต้องในการสื่อสารเพื่อให้การสื่อสารได้ผลลัพธ์สูงสุด หรือเรียกง่าย ๆ ว่าต้องถูกที่ ถูกเวลา ยกตัวอย่าง เน็ต ไอดอล อย่าง “พิมรี่พาย” ที่จัดงานวันเด็กให้เด็ก ๆ บนดอย ซึ่งคลิปที่ถูกเผยแพร่ออกไปนั้น มีผู้ชมหลักหลายล้านวิวในเวลาอันรวดเร็ว หรืออาจพูดได้ว่าเป็นการจัดวันเด็กที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดของปี

2.New Media Landscape พีอาร์ต้องเข้าใจภูมิทัศน์ของสื่อใหม่ เพราะต้องยอมรับว่า สื่อที่ทรงอิทธิพลในปัจจุบัน ไม่ใช่องค์กรสื่อ หรือสื่อดัง ๆ ที่เป็น Traditional Media อีกต่อไป แต่พีอาร์ต้องสามารถขยายช่องทางการสื่อสารจากทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ ไปสู่สื่อใหม่ (New Media) ได้ ได้แก่ Net Citizen / Influencer / Blogger / Youtuber เป็นต้น ซึ่งถ้าพีอาร์เข้าใจภูมิทัศน์ใหม่ ก็จะทำให้พีอาร์ส่งต่อข่าวสารนั้น ๆ ได้อย่างถูกช่องทาง ก่อให้เกิดการรับรู้ เกิดกระแสสังคม นำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดให้แก่ลูกค้า

3.การใช้ Big Data พัฒนาสู่การฟังเสียงสังคม Social Listening สู่การเจาะเข้าสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะเฉพาะตัว Consumer Insight หมายถึง พีอาร์ต้องรู้ว่า ตอนนี้โลกหรือสังคมกำลังพูดถึงแบรนด์ของลูกค้าเราอย่างไร ทั้งนี้เพื่อพีอาร์จะได้นำข้อมูลจาก Big Data มาวิเคราะห์ในการเลือกใช้ Tools หรือวางแผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ให้เฉียบคม ตรงใจ สัมพันธ์กับไลฟสไตล์ของผู้บริโภค โดยเฉพาะยุคนี้เป็นยุคที่ทุกคนอยู่ในสังคมที่สามารถเลือกการเสพสื่อได้อย่างเสรี (People hear what they want to hear) อำนาจการบริโภคสื่ออยู่ที่นิ้วมือของผู้บริโภค พีอาร์จึงจำเป็นต้องเข้าใจในพฤติกรรมและนิสัยการเสพสื่อของกลุ่มเป้าหมายให้ได้อย่างลึกซึ้ง

4.Creativity and Technology is the new currency ความคิดสร้างสรรค์ผนวกกับการใช้เทคโนโลยี เป็นหัวใจสำคัญของการพีอาร์ พีอาร์ยุค 4.0 ต้องสามารถนำความคิดสร้างสรรค์ มาผสานกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตอบโจทย์ด้านการสื่อสารได้ เช่น การนำกลยุทธ์ด้านการตลาดดิจิทัลมาใช้ มีการสร้างคอนเท้นต์แบบโต้ตอบ วิดีโอ มาร์เก็ตติ้ง สร้างชุมชนและเครือข่าย ประยุกต์ใช้ AI และกลยุทธ์ Influencer Marketing เป็นต้น

5.Brand Positioning & Brand Love จุดยืนของแบรนด์และองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ พีอาร์ต้องประเมินและปักหมุด จุดยืนขององค์กรให้เป็นที่ยอมรับกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย โดยคำนึงตลอดเวลาว่า ภาพลักษณ์ขององค์กรมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการทำพีอาร์ให้ลูกค้าในสภาพสังคมที่มีความเปราะบาง อาทิ ทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจการเมือง ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ของลูกค้ามีความอ่อนไหวมากกว่าในอดีต พีอาร์จึงต้องทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำที่เกิดประโยชน์สูงสุดระยะยาว และสิ่งสำคัญ องค์กรต้องมุ่งมั่นทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วยความจริงใจ บริสุทธิ์ใจ เป็นการสร้างความรัก ความศรัทธา ให้เกิดขึ้นกับองค์กร หรือที่เรียกว่า Brand Love

การประชาสัมพันธ์ยุค4.0มีลักษณะอย่างไร

การเติบโตของโลกออนไลน์ได้ทำให้การประชาสัมพันธ์ (Public Relations – PR) ทั้งองค์กร หรือสินค้าและบริการ เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากรูปแบบการประชาสัมพันธ์แบบออฟไลน์ เช่น การลงข่าวในหนังสือพิมพ์ การลงข่าวในโทรทัศน์ การแจกข่าวประชาสัมพันธ์ ที่ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานกว่าจะออกมาเป็นเนื้อข่าวให้เราได้เห็น โดยการเข้ามาของโลกดิจิทัลสร้างให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการนักประชาสัมพันธ์เลยทีเดียว เรียกได้ว่าความรวดเร็วของการประชาสัมพันธ์อยู่ในระดับวินาที และช่องทางที่เปิดกว้างทั้งโซเชียล มีเดีย ออนไลน์ รวมถึงแพลตฟอร์มที่เกี่ยวกับการสื่อสารบนโลโซเชียลต่างๆ เช่น Line, Twitter ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้สร้างให้เกิดโอกาสที่ดีมากขึ้น มีโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น กลุ่มเป้าหมายสามารถแสดงความคิดเห็นต่อข่าวต่างๆได้อย่างอิสระ แต่ในทางกลับกันก็มีโอกาสเกิดผลตอบกลับที่ไม่ดีได้เช่นกัน เพราะความเปิดกว้างแบบไร้ขอบเขตของโลกออนไลน์ ทำให้การแสดงความคิดเห็นนั้นมีทั้งผู้สนับสนุนและผู้ที่ไม่สนับสนุนในสิ่งที่องค์กรหรือแบรนด์ต่างๆทำก็ได้ และความคิดเห็นต่างๆก็สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ที่องค์กรต่างๆต้องมีการตรวจสอบและให้ความสำคัญกับเสียงตอบรับบนโลกออนไลน์

อันที่จริงแล้วหลักการประชาสัมพันธ์ในแบบเก่า กับออนไลน์นั้นยังคงคล้ายเดิมไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลง ที่เป็นเรื่องของการสร้างภาพลักษณ์ และชื่อเสียงให้กับองค์กร และความเกี่ยวของกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ เพียงแต่วิธีการสื่อสารต่างหากที่มันเปลี่ยนแปลงไปในโลกดิจิทัล แล้วหลักการสำคัญของ Digital PR มันมีอะไรบ้าง

หลักการสำคัญของ Digital PR

1. เปลี่ยน Mindset ใหม่ 

Digital PR ไม่สามารถคิด PR Values ได้เหมือนกับสื่อสิ่งพิมพ์ได้อีกต่อไป เรื่องของดิจิทัลนั้นควรมองเรื่องของความครอบคลุม (Coverage) ของข่าวประชาสัมพันธ์ ที่มีการโพสต์ทั้งบนเว็บไซต์ บล็อคต่างๆ เว็บไซต์ข่าวต่างๆ รวมถึงโซเชียล มีเดีย ที่ทำการเชื่อมโยงมาที่เว็บไซต์ขององค์กร ไม่ควรมองแค่จำนวนลิ้งค์ที่มีการโพสต์เพียงเท่านั้น

2. มีเรื่องให้เล่าหรือพูดถึง 

เรื่องที่จะเล่าไม่ใช่เรื่องการโปรโมทสินค้าหรือบริการ หรือการส่งเสริมการขายเพียงอย่างเดียว แต่ควรพัฒนาเรื่องราวหรือเรื่องเล่าที่มีคุณค่า ที่สามารถสร้างให้เกิดมีส่วนร่วมจากผู้อ่าน ข้อมูลข่าวสารของบริษัท เช่น ผลประกอบการ การเปิดตัวสินค้า ความกา้วหน้าขององค์กร การเปิดโครงการใหม่ อาจไม่ใช่ข้อมูลที่คนอยากฟังเสมอไป แต่ประชาสัมพันธ์ในยุคใหม่ควรหาเรื่องราวที่เชื่อมโยงกิจกรรมที่องค์กรทำ และมันเกิดผลประโยชน์ต่อผู้คนอย่างไร หากเรื่องเล่าโดนใจผู้อ่านก็มีโอกาสบอกต่อหรือแชร์ให้คนอื่นๆได้รับรู้ในวงกว้างได้อีกมาก

3. มอบข้อเสนอที่แสนพิเศษ

การทำ PR เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์กับนักข่าว ปฏิเสธไม่ได้ว่าองค์กรไหนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับนักข่าว ก็มีโอกาสทำให้การนำเสนอเรื่องราวขององค์กรนั้นมากยิ่งขึ้น เมื่อองค์กรของเรากำลังจะออกสินค้าตัวใหม่ เปิดโรงงาน หรือจัดกิจกรรมใหญ่ๆ การมอบข้อเสนอสุดพิเศษเพื่อสร้างให้เกิดพื้นที่ข่าวก็นับเป็นสิ่งจำเป็น

ข้อเสนอพิเศษไม่ใช่ในรูปแบบตัวเงิน แต่เป็นรูปแบบของการให้สิทธิแบบ Exclusive ในการทำข่าวเป็นเจ้าแรก ซึ่งเป็นการสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์ที่ดีกับนักข่าว

4. ให้ความสำคัญกับการเกริ่นนำ

การส่งข่าวประชาสัมพันธ์ก็เปรียบเสมือนกับการนำเสนอธุรกิจให้กับลูกค้า ที่ต้องมีการนำเสนอคำพูดหรือคำเกริ่นนำที่น่าสนใจ นักข่าวจะมองหาเรื่องราวที่น่าสนใจในการนำมาเขียนข่าว และลงเนื้อหาข่าวในคอลัมน์ต่างๆ โดยหลายๆครั้งนั้นเพียงแค่คำขึ้นต้นที่ดีก็สามารถดึงความสนใจได้ อย่างในกรณีการส่งอีเมล์หานักข่าว ควรใส่ความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอลงไป ไม่ใช่แค่ข้อมูลแนะนำบริษัท ข้อมูลแนะนำสินค้าหรือบริการ แบบทื่อๆ 

5. ใช้ภาพดึงดูด

ในโลกโซเชียลนั้น การเลือกใช้ภาพเป็นสิ่งสะท้อนถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวได้ การดึงดูดด้วยภาพที่เด่นสะดุดตา มีความเหมาะสม มีความเกี่ยวเนื่อง จะสร้างให้เกิดความน่าสนใจจากนักข่าว และภาพๆนั้นอาจไปอยู่ในเนื้อข่าวในรูปแบบต่างๆ และดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจมากยิ่งขึ้นไปได้อีก ฉะนั้นการให้ความสำคัญการการเลือกรูปภาพนับเป็นสิ่งที่ต้องมุ่งเน้น เพราะภาพนั้นๆก็จะอยู่กับเนื้อข่าวบนโลกดิจิทัลไปอีกนานเลยทีเดียว

6. ควรมีข้อมูลสนับสนุนในสิ่งที่เราเขียนเสมอ

ความน่าเชื่อถือของข่าวประชาสัมพันธ์ มาจากข้อมูลสนับสนุนที่ถูกต้องและแม่นยำ ที่ต้องผ่านการค้นคว้ามาอย่างดี และมันจะทำให้ข้อมูลของเรานั้นโดดเด่นและแตกต่างจากคนอื่นๆ เนื่องมาจากความน่าเชื่อถือ เช่น การระบุแหล่งที่มาของเนื้อหาในบางประเด็น เราเอาข้อมูลเหล่านั้นมาจากแหล่งไหน เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน เราต้องอย่าลืมว่าข้อมูลต่างๆนั้นถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ ที่ทุกคนสามารถตรวจสอบข้อมูลได้อยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นอย่าลืมทำให้ความสำคัญกับที่มาของข้อมูล

3 เสาหลักของ Digital PR

ในการทำประชาสัมพันธ์ในโลกดิจิทัลนั้น มีความเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากและทุกการสื่อสารมีความรวดเร็วซึ่ง Digital PR นั้นก็มีเสาหลักอยู่ 3 อย่าง ที่นักประชาสัมพันธ์ควรให้ความใส่ใจ และต้องคิดไตร่ตรองอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้องค์กรนั้นสื่อสารเรื่องราวที่มีคุณภาพที่เป็นประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย และป้องกันไม่ให้เกิดการสื่อสารอะไรที่ไม่ดีออกไปสู่สาธารณะ ประกอบไปด้วย

1. คอนเทนต์

จากการที่บรรดานักประชาสัมพันธ์ต้องเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ลงบนกระดาษ A4 และส่งแฟ็กซ์หรืออีเมล์ให้กับนักข่าว ได้กลายมาเป็นการที่นักประชาสัมพันธ์ต้องปรับตัวและการเขียนเนื้อหาหรือคอนเทนต์ให้เหมาะกับสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ และต้องมีความเกี่ยวข้องกัน เนื้อหาไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงข่าวประชาสัมพันธ์ (Press Release) แต่ยังสามารถทำในรูปแบบอื่นๆได้ เช่น การทำอินโฟร์กราฟิก การเขียนบล็อคข่าวประชาสัมพันธ์ หรือการนำเสนอผ่านรูปแบบ Slideshare ที่สามารถใส่ความคิดเห็นลงไปได้ มีภาพประกอบได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งทำให้เกิดความน่าสนใจ และดึงดูดได้ดีกว่า ความต่างของการประชาสัมพันธ์แบบเก่าคือเมื่อเรามีข่าวลงหนังสือพิมพ์แล้ว อีกไม่กี่วันมันก็หายไป แต่ในโลกดิจิทัลเมื่อทุกอย่างอยู่บนโลกออนไลน์ มันจะยังคงอยู่ไปตลอดผู้คนสามารถคนหาได้ตลอด ฉะนั้นการการเขียนเนื้อหาในยุคดิจิทัลนี้ จำเป็นต้องใส่ความครีเอทีฟเข้าไป เพื่อสร้างให้เกิดการแชร์ บอกต่อ และในยุคนี้ไม่ใช่แค่นักข่าวที่เป็นสื่อกลางในการบอกต่อเรื่องราวขององค์กรเราเพียงอย่างเดียว แต่ทุกคนสามารถแชร์เรื่องราวต่างๆของเราได้ทั้งหมด และความถูกต้องของเนื้อหาก็เป็นสิ่งสำคัญ หากเนื้อหาผิดพลาดแล้วออกไปในโลกโซเชียลแล้ว ก็ยากที่จะแก้ไขและอาจเกิดหายนะได้

2. โลกโซเชียล

ช่องทางที่สำคัญในการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์คงหนีไม่พ้นโซเชียล มีเดีย เพราะเนื่องจากประชากรในโลกโซเชียลที่สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้นั้น มีอยู่มากมายมหาศาล ทั้งในรูปแบบการทำวีดิโอ บทความ ภาพข่าว อินโฟร์กราฟิก และข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นๆ หากเนื้อหาที่เราเขียนนั้นมีความน่าสนใจมาก ก็ต้องมีผู้คนอยากที่จะแชร์และส่งต่อ ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น

  • คุณต้องมีตัวตนอยู่บนโลกโซเชียลเสียก่อน 
  • เนื้อหาที่มีต้องมีคุณภาพในระดับหนึ่ง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
  • เนื้อหาที่มีควรเป็นเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับผู้ฟัง และสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมกับคนอื่นๆได้ หากเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับความเทพขององค์กร ก็คงจะไม่มีใครแชร์เนื้อหาแบบนี้แน่ๆ
  • คุณต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณนั้นใช้เวลาออนไลน์บนสื่อไหน และช่วงไหนบ้าง จะได้เลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการสื่อสาร เพื่อประสิทธิผลที่ดีที่สุด

3. การค้นหา

ในโลกดิจิทัลเรามักจะค้นหาข้อมูลต่างๆจากอินเทอร์เน็ต การเสิร์ชหาจาก Google กลายเป็นอีกสิ่งสำคัญของการประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล เมื่อองค์กรของคุณสื่อสารอะไรออกไปและเกิดทำให้คนอยากรู้จักเรา อยากหาข้อมูลต่างๆเพิ่มขึ้น ก็จะเข้าไปค้นหาข้อมูลเหล่านั้นผ่าน Google หรือติดตามผ่านโซเชียล มีเดีย ลองนึกภาพตามครับว่าหากองค์กรของเรามีข่าวไม่ดี หรือมีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องบางเรื่องอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตหรือบนโลกโซเชียล ก็คงทำให้ชื่อเสียงขององค์กรไม่ดีอย่างแน่นอน 

ในหลักการของการทำ Digital PR นั้นไม่ได้แตกต่างจาก PR ในแบบเก่าๆที่เราทำกันมากนัก เพียงแต่โลกดิจิทัลได้สร้างช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ที่ให้ความสำคัญกับการทำเนื้อหาในรูปแบบที่เหมาะสมกับประเภทของสื่อ โดยยึด 3 เสาหลักที่ต้องทำงานประสานและสอดคล้องกันในยุคที่การประชาสัมพันธ์เปลี่ยนรูปแบบไปอยู่บนโลกดิจิทัล โดยพื้นฐานของการที่องค์กรต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่จะทำการประชาสัมพันธ์ ซึ่งต้องมีการปรับรูปแบบที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ และในยุคดิจิทัลก็ต้องให้ความสำคัญกับการสื่อสารบนโลกโซเชียลรวมถึงเปิดกว้างสำหรับการให้ผู้คนค้นหาข้อมูลข่าวสารจากองค์กรของเรา ฉะนั้นทุกสิ่งที่องค์กรทำจะสะท้อนให้ผู้คนเห็น หากองค์กรไหนคิดดีทำดีข่าวที่ออกมาก็จะมีคนติดตามและสนับสนุน แต่หากองค์กรไหนทำเรื่องไม่ดีก็อาจถูกสังคมตั้งคำถามจนอาจไปสู่การต่อต้านได้ครับ