ซอฟต์แวร์ แบบ ใช้ได้ โดย เสรี กับ ซอฟต์แวร์ แบบ ทดลองใช้ มี ลิขสิทธิ์ การใช้งาน แตก ต่าง กัน อย่างไร

ซอฟต์แวร์ แบบ ใช้ได้ โดย เสรี กับ ซอฟต์แวร์ แบบ ทดลองใช้ มี ลิขสิทธิ์ การใช้งาน แตก ต่าง กัน อย่างไร

รู้จัก Software License โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์  

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ ซอฟต์แวร์ ล้วนแล้วแต่มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง ซึ่งหากจะนำมาใช้นั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้พัฒนา โดยผู้พัฒนาจะมอบสัญญาอนุญาตแก่ผู้ใช้ ซึ่งแบบนั้น เราเรียกว่า Software License (ซอฟต์แวร์ ไลเซนส์)

Software License คืออะไร ?

Software License คือ สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์ หรือเอกสิทธิ์ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์มีสิทธิ์ควบคุมใช้ หรือเผยแพร่ได้ โดยผู้ใช้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญา ไม่สามารถนำไปทำซ้ำ เผยแพร่ ดัดแปลง เพื่อแสวงหากำไร โดยผู้มีเอกสิทธิ์สามารถกำหนดข้อจำกัด และข้อตกลงกับผู้ใช้ เช่น ขายซอฟต์แวร์ในเชิงพาณิชย์ หรือมีไว้ให้ใช้ฟรี 

ประเภทของ Software License มีอะไรบ้าง ? 

Software License หรือ ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์เหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเพียงอย่างเดียว เนื่องจาก โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์บางตัว ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ฟรี โดยอาจจะมีข้อจำกัดเรื่องการใช้งาน หรืออายุการใช้งานที่ถูกจำกัดไว้ ซึ่งประเภทของซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ มีอยู่หลากหลาย สามารถกแบ่งเป็นประเภทหลักๆ ได้ตามเงื่อนไขการใช้งานได้ดังนี้

1.Public-domain Software: ซอฟต์แวร์สาธารณะ

เป็นหนึ่งในซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถแก้ไข แจกจ่าย หรือจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีแหล่งที่มา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมเก่า ถูกเผยแพร่ในยุคที่ยังไม่มีการคุ้มครองเรื่องซอฟต์แวร์ 

2.Proprietary Software: ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์

เป็นซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ และมีข้อจำกัดในการใช้งาน แจกจ่าย หรือดัดแปลง ขึ้นอยู่กับผู้พัฒนา และผู้ขายเป็นผู้กำหนด เพราะโปรแกรมคอมพิวเตอร์รูปแบบนี้นั้น ยังเป็นทรัพย์สินของเจ้าของโดยตรง โดยผู้ใช้งานจะต้องใช้ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ ส่วนมากจะมีให้เห็นในการขายซอฟต์แวร์ ที่สามารถ เช่า ซื้อ หรือขายไลเซนส์ได้ เช่น โปรแกรมบีบอัดไฟล์ WinRAR, Skype หรือระบบ Microsoft Office

โดยข้อจำกัดการใช้งาน จะมีอธิบายไว้ในข้อตกลงสิทธิ์ หรือ End-user license agreement นั่นเอง 

3.Commercial Software: ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์

หรือการขายซอฟต์แวร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการค้าเท่านั้น สามารถเช่า หรือซื้อไลเซนส์จากทั้งตัวแทนขาย และผู้พัฒนาได้ โดยที่ผู้พัฒนา จะออกแบบเงื่อนไขของการใช้งานให้กับผู้ซื้อ ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร, จำกัดจำนวนผู้ใช้เท่าไร, ลดทอนฟีเจอร์ใดบ้าง หรือหากเป็นชุดซอฟต์แวร์  จะมีการจำกัดจำนวนวอฟต์แวร์ที่ให้ใช้ ซึ่งแต่ละไลเซนส์ จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน 

ยกตัวอย่าง บางตัวที่ออกแบบมาเพื่อขายซอฟต์แวร์ เช่น Microsoft, ระบบปฏิบัติการ Windows, POS Software, Accounting Software และ Database Management Software 

4.Demo: ซอฟต์แวร์ทดลองใช้แบบจำกัดความสามารถ

เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ทดลองใช้ ไม่จำกัดเวลา แต่บางฟังก์ชันอาจจะยังไม่เปิดใช้งาน ซึ่งยังสามารถใช้งานฟังก์ชันหลักได้ เช่น โปรแกรมจำลองไดร์ฟ Daemon Tool หรือจำลอง Drive แผ่น DVD/CD เป็นต้น

5.Freeware: ซอฟต์แวร์เสรี

ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ที่ให้ดาวน์โหลดฟรี ซึ่งผู้ใช้จะไม่มีสิทธิ์ในการดัดแปลง แก้ไข หรือขายซอฟต์แวร์ โดยส่วนใหญ่ จะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มักทำออกมาเพื่อจูงใจให้ผู้ใช้ ต้องการซื้อในเวอร์ชันที่จะต้องเสียเงินเช่น โปรแกรม Anti-Virus, โปรแกรม GOM Player 

6.Shareware: ซอฟต์แวร์ทดลอง แบบจำกัดการใช้งาน 

เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ถูกพัฒนา อยู่กึ่งกลาง ระหว่าง Freeware & Commercial มีลักษณะคล้ายกับ Demo แตกต่างกันในส่วนที่มีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลา เช่น จำนวนวันใช้งาน, มีฟังก์ชันไม่ครบ และอาจจะมีโฆษณาเข้ามากวนใจด้วย

7.Open-Source Software: ซอฟต์แวร์เปิดเผยซอร์สโค้ด

เป็นซอฟต์แวร์ที่ให้ใช้งานฟรี เหมือนกับ Freeware แต่ผู้ใช้งาน สามารถปรับปรุง แก้ไข โค้ดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ได้ โดยอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเดียวกับซอฟต์แวร์ต้นฉบับ เช่น  ระบบปฏิบัติการ Linux หรือ โปรแกรมบีบอัดไฟล์ 7-Zip และ โปรแกรมรับส่งไฟล์ FileZilla เป็นต้น 

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์ ต่างก็มีหลายหลายรูปแบบต่างกันไป โดยแต่ละตัว ก็มีประเภทลิขสิทธิ์ และ Software License ที่แตกต่างกันอีกด้วย สิ่งสำคัญ คือการต้องศึกษา และหากมีเงื่อนไขระบุไว้ ควรทำตามเงื่อนไขนั้น เพื่อรักษากฎ และไม่ละเมิดสิทธิ์การใช้งานนั่นเองค่ะ

ทั้งนี้ หากองค์กรใด กำลังมองหา IT Support ที่ให้บริการเรื่องการขายซอฟต์แวร์, Software License  รวมถึงให้บริการดูแลระบบไอทีแบบครบวงจร อย่าลืมนึกถึง TechSpace นะคะ

สามารถติดต่อได้ที่

m.me/TechSpaceIT

Line : @TechSpace

☎ Tel. 02-381-9075

🌎 www.techspace.co.th

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine