เว็บไซต์ใดเป็นเว็บไซต์ในการค้นหาข้อมูลแบบ Search Engine

เว็บไซต์ใดเป็นเว็บไซต์ในการค้นหาข้อมูลแบบ Search Engine
Search Engine
เว็บไซต์ใดเป็นเว็บไซต์ในการค้นหาข้อมูลแบบ Search Engine

     การค้นหาข้อมูล (Search Engine) หมายถึง  การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่  รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่
Web search engine ที่นิยมใช้กันมากที่สุด 3 อันดับ คือ  1. Google  2. Yahoo  3. MSN/Windows Live

ประเภทของการค้นหาข้อมูล Search Engine

     1.  Search Engine  การค้นหาข้อมูลด้วยคำที่เจาะจง
     Search Engine ประเภทนี้ ช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด  เพียงแค่ระบุคำที่ต้องการค้นหาข้อมูล  เป็นรูปแบบที่นิยมมาก  เว็บไซต์ที่นิยมใช้ในการค้นหาข้อมูลในแบบนี้  เช่น  http://www.google.co.th
2. Subject Directories การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่  มีเว็บไซต์ที่เป็นตัวกรองในการรวบรวมข้อมูล  ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต   จัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกข้อมูลตามที่ต้องการได้
การค้นหาข้อมูลวิธีนี้มีข้อดี  คือ  สามารถเลือกจากชื่อไดเรกทอรี่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหา  และสามารถเลือกเข้าไปดูว่ามีเว็บไซต์บ้างได้ทันที  เช่น 
http://www.sanook.com
3. Meta search Engines การค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล  เป็นการค้นหาข้อมูลจากหลาย ๆ  Search Engine ในเวลาเดียวกัน  เพราะเว็บไซต์ที่เป็น Meta search จะไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง  แต่จะค้นหาเว็บเพจที่ต้องการ  โดยวิธีการดึงจากฐานข้อมูลของ Search Site  จากหลายแหล่งมาใช้แล้วจะแสดงผลให้เลือกตามความต้องการ  เช่น  www.thaifind.com
 การค้นหาโดยใช้  Search Engine  แบ่งเป็น 2 วิธี
      1.  การระบุคำเพื่อใช้ในการค้นหา  หรือเรียกว่า “คีย์เวิร์ด (Keyword) โดยในเว็บไซต์ต่าง ๆ  ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลจะมีช่องเพื่อให้กรอกคำที่ต้องการค้นหาลงไป  แล้วจะนำคำดังกล่าวไปค้นหาจากข้อมูลที่ได้จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลของระบบ  เว็บไซต์ที่ให้บริการ  เช่น  www.google.co.th  การใช้คีย์เวิร์ดในการค้นหาข้อมูลต้องพยายามระบุคำให้ชัดเจน
2.  การค้นหาจากหมวดหมู่  หรือไดเรกทอรี่ (
Directories)  การให้บริการค้นหาข้อมูลด้วยวิธีนี้เปรียบเสมือนเราเปิดเข้าไปในห้องสมุด  ที่จัดหมวดหมู่ของหนังสือไว้แล้ว  ภายในหมวดใหญ่นั้น ๆ ประกอบด้วยหมวดหมู่ย่อย ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น  หรือแบ่งประเภทของข้อมูลให้ชัดเจน  จะสามารถเข้าไปหยิบหนังสือเล่มที่ต้องการได้แล้วก็อ่านเนื้อหา  มีเว็บมากมายที่ให้บริการค้นหาข้อมูลในรูปแบบนี้  เช่น  www.siamguru.com www.sanook.com   www.hunsa.com  www.thaiwebhunter.com
บทสรุปของการเลือกใช้ Search Engine การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต  เป็นการบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง  เนื่องจากบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทีแหล่งข้อมูลอยู่มากมาย  และมีความสะดวกในการค้นหามากกว่าการค้นหาข้อมูลจากห้องสมุด  การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะต้องใช้เว็บไซต์ประเภท Search Engine  เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลข่าวสารได้
ประเภทของการค้นหาข้อมูลแบ่งเป็น  3  ประเภท  คือ  การค้นหาข้อมูลด้วยคำที่เจาะจง  การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่  และการค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล  ผู้ใช้สามารถเลือกวิธีการค้นหาและใช้เทคนิคในการค้นหาข้อมูลช่วย  เพื่อที่จะได้รับข้อมูลให้ตรงตามความต้องการและทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้เร็วขึ้นอีกด้วย
ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บไซต์ประเภท
Search Engine และเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลอยู่หลายเว็บไซต์  ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น  และการใช้บริการรูปแบบนี้เสมือนเป็นการเปิดประตูห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลอยู่มากมาย  ทำให้ข้อมูลที่ได้รับไม่เฉพาะเจาะจงอยู่เพียงในขอบเขตใดขอบเขตหนึ่งเท่านั้น  แต่สามารถหาได้จากหลายแหล่งข้อมูลทั่วโลก
ประเภทของ Search Engine
…….. 1. Keyword Index
…….. 2. Subject Directories
…….. 3. Metasearch Engines

Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล
……..  โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจ ที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล ประมาณ 200-300 ตัวอักษร แรก ของเว็บเพจ วิธีการค้นหาของ
Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับ การเรียงลำดับข้อมูลก่อนหลัง การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความ รวดเร็วมาก แต่มีความละเอียด
ในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึง รายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่ถ้าต้องการแนวทาง ด้านกว้างของข้อมูล การค้นหา
แบบนี้จะเหมาะสมที่สุด เว็บที่ให้บริการ Search Engine แบบ Keyword Index ได้แก่เว็บ http://www.google.com/
และ http://www.altavista.com/

Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine
……..  ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้คนพิจารณาเว็บเพจ แต่ละเว็บ แล้วทำการ
จัดหมวดหมู่ โดยจะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้น ๆ อยู่ในกลุ่มของอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัด แบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป ได้แก่เว็บ http://www.thaiwebhunter.com/ และ
http://www.sanook.com

Metasearch Engines
…….. จะเป็น Search Engine ที่ใช้ในการค้นหาเว็บ ด้วยตัวของ Search Engine แบบ Metasearch Engines เองแล้ว แต่ที่เด่นกว่านั้นคือ
Search Engine แบบ Metasearch Engines จะยังสามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ เพื่อเรียกดูข้อมูลที่ Search Engine
อื่น ๆ ค้นพบ โดยสังเกตได้จาก จะมีคำว่า [Found on Google, Yahoo!] ต่อทางด้านท้าย นั้นก็หมายความว่าการค้นหา ข้อความนั้น ๆ มาการเชื่อม
โดยไปค้นข้อมูลจาก เว็บ Google และ Yahoo แต่การค้นหา ด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษรและมักจะ
ไม่ค้นหาคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) และที่สำคัญ Search Engine แบบ Metasearch Engines ส่วนมากไม่รองรับภาษาไทย
http://www.dogpile.com และ http://www.kartoo.com/

วิธีการทำงานของ Google Search

เมื่อคุณนั่งลงหน้าคอมพิวเตอร์และทำการค้นหาใน Google คุณจะเห็นรายการผลลัพธ์จากทั่วทั้งเว็บเกือบจะทันที Google ค้นหาหน้าเว็บที่ตรงกับข้อความค้นหาของคุณ และกำหนดลำดับของผลการค้นหาอย่างไร

กล่าวง่ายๆ คือ คุณสามารถเปรียบการค้นหาเว็บเป็นการดูหนังสือเล่มใหญ่มากๆ ซึ่งมีดัชนีอันน่าทึ่งที่บอกให้ทราบว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ตรงไหนได้อย่างแม่นยำ เมื่อคุณทำการค้นหาโดย Google โปรแกรมของเราจะตรวจสอบดัชนีของเราเพื่อกำหนดผลการค้นหาที่มีความเกี่ยวข้องมากที่สุด ซึ่งจะส่งคืน (“แสดง”) ให้กับคุณ

ขั้นตอนหลักสามขั้นตอนในการแสดงผลการค้นหาให้แก่คุณ มีดังนี้

  • การรวบรวมข้อมูล: Google ทราบเกี่ยวกับไซต์ของคุณไหม เราสามารถหาเจอไหม
  • การจัดทำดัชนี: Google สามารถจัดทำดัชนีไซต์ของคุณได้ไหม
  • การแสดง: ไซต์นั้นมีเนื้อหาที่ดีและมีประโยชน์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการค้นหาของผู้ใช้ไหม

Google Docs  คือ

Google Documents หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า Google Docs เป็นบริการออนไลน์ที่ให้คุณสามารถจัดการเอกสารได้แบบไม่ต้องเสียเงิน เพียงแค่คุณมีอีเมลของ Gmail และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพราะ Google Docs เตรียมมาให้คุณหมดแล้วไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์รายงานแบบที่คุ้นเคย การทําสไลด์เพื่อนําเสนองานสําคัญ หรือจะจัดการเอกสารแบบ Spreadsheets ได้เหมือน Excel ก็สามารถทําได้ Google Docs ทํางานเหมือน Microsoft Office แต่ทุกอย่างจะทํางานอยู่บนเว็บ สามารถทํางานได้ทันทีที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่อง หรือเสียเงินค่าลิขสิทธิ์ก่อนใช้งานแต่อย่างใด เพียงแค่เข้าไปยัง Google Docs เราก็สามารถสร้าง แก้ไข หรือเปิดอ่านเอกสารได้เลย โดยตัวเอกสารนั้นจะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ของ Google และที่สําคัญเราสามารถแชร์เอกสารให้กับเพื่อนเพื่อแก้ไขข้อมูลไปพร้อมๆ กัน โดยจะเห็นว่าอีกฝ่ายกําลังพิมพ์อะไรอยู่

Google Docs ใช้ทำอะไรได้บ้าง
ความสามารถของ Google Docs มีอย่างล้นเหลือ เรียกได้ว่าตอบสนองคนที่ต้องการใช้งานเอกสารได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยเราจะมาทําความรู้จักกันอย่างละเอียดก่อนว่า Google Docs ใช้ทําอะไรได้บ้าง

1. สร้างเอกสาร สเปรดชีต และงานนำเสนอแบบออนไลน์
– สร้างเอกสารพื้นฐานแบบเริ่มต้นจากศูนย์
– อัพโหลดไฟล์ของคุณที่มีอยู่แล้ว
– ใช้งานบนแถบเครื่องมือได้อย่างคุ้นเคยทำให้การแก้ไขเป็นเรื่องง่ายๆ

2. ใช้งานและทำงานร่วมกันในแบบเรียลไทม์
– เลือกคนที่คุณต้องการให้เข้าถึงเอกสารของคุณได้
– ใช้งานร่วมกันได้ทันที
– แก้ไขและนำเสนอร่วมกับบุคคลอื่นในแบบเรียลไทม์

3. จัดเก็บและจัดระเบียบงานอย่างปลอดภัย
– แก้ไขและเข้าถึงจากที่ไหนก็ได้
– จัดเก็บงานของคุณได้อย่างปลอดภัย
– บันทึกและส่งออกสำเนาได้อย่างง่ายดาย
– การจัดระเบียบเอกสารของคุณ

4. ควบคุมว่าใครสามารถดูเอกสารของคุณได้
– เผยแพร่งานของคุณเป็นหน้าเว็บ
– ควบคุมว่าจะให้ใครเห็นหน้าเว็บของคุณได้บ้าง
– โพสต์เอกสารขึ้นบล็อกของคุณ
– เผยแพร่ภายในบริษัทหรือกลุ่มของคุณ

เว็บไซต์ใดเป็นเว็บไซต์ในการค้นหาข้อมูลแบบ Search Engine