ยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ os ที่นักเรียนรู้จักมาอย่างน้อย 5 โปรแกรม

ระบบปฏิบัติการ OS (Operating System)

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ (Hardware) กับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้อีกที โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผล การทำงานของฮาร์ดแวร์ ให้บริการกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปในการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ และจัดสรรการใช้ทรัพยากรระบบ (Resources) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยทั่วไประบบปฏิบัติการนั้น ไม่ได้มีแต่เฉพาะในคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่มีอยู่ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายชนิด เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา พีดีเอ แท็บเล็ตต่างๆ โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ และติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโปรแกรมประยุกต์ (Application) ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Windows, Linux, Mac OS, Solaris, Ubuntu ส่วนตัวอย่างของระบบปฏิบัติการใช้มือถือได้แก่ Windows Mobile, iOS, Android เป็นต้น

โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

  • Software OS เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง OS โดยส่วนใหญ่จะเป็น Software OS เนื่องจากสามารถปรับปรุง แก้ไข พัฒนาได้ง่ายที่สุด
  • Firmware OS เป็นโปรแกรมส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือ ไมโครโปรแกรม (Microprogram) ซึ่งเกิดจากชุดคำสั่งที่ต่ำที่สุดของระบบควบคุมการทำงานของ CPU หลายๆ คำสั่งรวมกัน การแก้ไข พัฒนา ทำได้ค่อนข้างยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง
  • Hardware OS เป็น OS ที่สร้างจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ ทำหน้าที่เหมือน Software OS แต่เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของฮาร์ดแวร์ ทำให้การปรับปรุงแก้ไขทำได้ยาก และมีราคาแพง

ตัวอย่าง ระบบปฏิบัติการ OS

ยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ os ที่นักเรียนรู้จักมาอย่างน้อย 5 โปรแกรม

1.windows

Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง (operating system) สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เนื่องจากความยากในการใช้งานดอสทำให้บริษัทไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Windows ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User Interface) ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่งใกล้เคียงกับแมคอินทอชโอเอส เพื่อให้การใช้งานดอสทำได้ง่ายขึ้น แต่วินโดวส์จะยังไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริง ๆ เนื่องจากมันจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสอีกที กล่าวคือจะต้องมีการติดตั้งดอสก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows และผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดอสได้โดยผ่านทางWindows   ซึ่ง Windows จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส

ระบบปฏิบัติการ windows ใช้หลักการแบ่งงานเป็นส่วน เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows) ที่แสดงผลลัพธ์แต่ละโปรแกรม ปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายหลายรุ่น เช่น Windows XP , Windows Vista, Windows 7 เป็นต้น

2.Linux

Linux ก็คือระบบปฎิบัติการหนึ่งที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ หรือเราอาจจะรู้จักในภาษาอังกฤษคือ Operating System เช่นเดี่ยวกับ window, dos หรือ Unix   ซึ่งลีนุกซ์ถูกสร้างขึ้นโดย Linus Tovalds นักศึกษา ภาควิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัย Helsinki โดยทำเป็นโปรเจทตอนที่เขากำลังศึกษาอยู่ที่นั้น ในปี ค.ศ. 1989  ซึ่งเขาได้ต่อยอดมาจาก ระบบปฎิบัติการ Unix.   Linus Tovalds ได้สร้าง Linux ขึ้นมาและได้เชิญชวนผู้ร่วมพัฒนาคนอื่นๆ ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งต่อมากลายเป็นทีมผู้พัฒนาที่ทำงานและติดต่อกันทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งทุกคนต่างกันพัฒนาโดยไม่มีค่าแรงหรือผลตอบแทนประการใด พวกเขาพัฒนา Linux ขึ้นมาด้วยใจรักในสิ่งที่พวกเขากำลังทำ

3.Ubuntu

Ubuntu คือ Operating System หนึ่งที่พัฒนามาจากระบบ Unix (เช่นเดียวกับ Mac OS X)แต่เป็นซอฟต์แวร์เสรีทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถแก้ไขดัดแปลงได้โดยเสรี

4.MS-DOS

MS-DOS ย่อมาจากคำว่า Microsoft disk operating system เป็นชื่อระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีที่บริษัทไมโครซอฟต์เป็นผู้ผลิตขึ้น และได้พัฒนาให้ดีขึ้นอยู่เรื่อย ๆ จนปัจจุบันเป็นรุ่น (version) 6.21 แล้ว รุ่นใหม่นี้สามารถป้องกันไวรัสได้ถึงกว่า 8,000 ชนิด ไมโครคอมพิว เตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม และเครื่องเทียบเคียงไอบีเอ็ม (IBM compatibles) เกือบทั้งหมดใช้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS นี้ (ระบบปฏิบัติการของบริษัทไอบีเอ็มเอง มีชื่อเรียกว่า IBM DOS

2.2 ซอฟต์แวร์ (software)

2.2.1 ความหมายซอฟต์แวร์

Software (ซอฟต์แวร์) เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรงเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้

ยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ os ที่นักเรียนรู้จักมาอย่างน้อย 5 โปรแกรม

รูปที่ 2.13 โปรแกรมต่างๆ
ที่มา : http://www.irrigation.rid.go.th/

2.2.2 ประเภทของซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)

 หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่ในการจัดการระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ

ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้

  1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP, DOS, Linux, Mac OS X

1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR) เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง โปรแกรมการสำรองข้อมูล (Backup Data)

1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดรฟ์เวอร์หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้ลออกได้

 โดยปกติโปรแกรม Windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดรฟ์เวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดรฟ์เวอร์เอง เช่น ไดรฟ์เวอร์สำหรับเมาส์ ไดรฟ์เวอร์คีย์บอร์ด, ไดรฟ์เวอร์สำหรับการใช้ USB Post ไดรฟ์เวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดรฟ์เวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดรฟ์เวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์

1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assembly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น

 ตัวแปลภาษาแบ่งได้ 3 ตัวแปล ดังนี้

1. แอสเซมเบลอร์ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง เช่นแปลจากภาษา Assembly เป็นภาษาเครื่อง

2. อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทีละบรรทัดคำสั่ง เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา Basic ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษาเครื่องทีละบรรทัดคำสั่ง

3. คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียว เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา C ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษา เครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียว ซึ่งจะเป็นที่นิยมมากกว่า ข้อ 2

2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์

 ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่างๆ ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอหรือเป็น ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร

ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น ซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน ซอฟต์แวร์สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ

2. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์