การจัดโครงสร้างของ องค์กร แบบ งานหลัก และงานที่ปรึกษา


            องค์การ คือ หน่วยสังคมที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มบุคคล โดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เดียวกัน มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ร่วมกันทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้

             ลักษณะองค์การ นักวิชาการได้ศึกษาวิเคราะห์องค์การในแง่มุมต่าง ๆ กันในหลายลักษณะ สรุป ได้ดังนี้
             1. องค์การเป็นโครางสร้างของความสัมพันธ์  (Organization as a Structure of Relationship)
แนวคิดนี้มององค์กรในลักษณะหน่วยงานย่อยต่าง ๆที่มีความสัมพันธ์กัน มีการกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานย่อย
             2. องค์การเป็นกลุ่มของบุคคล (Organization as a Group of People)
แนวคิดนี้มององค์การว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายร่วมกัน บุคคลจะแสวงหาความร่วมมือจากบุคคลอื่น ๆเสมอ ทำงานร่วมกับบุคคลอื่นก็เพื่อสนองความต้องการของตน
             3. องค์การเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ (Organization as a Function of Management)
แนวคิดนี้มององค์การเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้บริหารที่จะต้องทำการจัดการเพื่อนำปัจจัยต่าง ๆขององค์การมาใช้ คือ คน เงิน วัสดุ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
             4. องค์การเป็นกระบวนการ (Organization as a Process)
แนวคิดนี้มององค์การเป็นกระบวนการจัดกลุ่มงานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมารวมกันไว้ มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัดและร่วมมือกันทำงาน
             5. องค์การเป็นระบบอย่างหนึ่ง (Organization as a System)
แนวคิดนี้มององค์การเป็นระบบเปิดประกอบด้วยระบบย่อย ๆโดยมีปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการ (process)  ผลผลิต (output) ข้อมูลย้อนกลับ (feed-back) และสิ่งแวดล้อม (environment)

             องค์ประกอบขององค์การ มีดังนี้
             1. กลุ่มบุคคล    2.  มีเป้าหมายร่วมกัน    3.  การกำหนดหน้าที่    4.  การแบ่งงานความสัมพันธ์ระหว่างกัน

             โครงสร้างองค์การ (Organization  Structure)  หมายถึง  ระบบการติดต่อสื่อสาร และอำนาจบังคับบัญชาที่เชื่อมต่อคน และกลุ่มคนเข้าด้วยกัน  เพื่อทำงานร่วมกันจนบรรลุเป้าหมายขององค์การ
โครงสร้างขององค์การประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
              1. วัตถุประสงค์ (Objective)  
              2. ภาระหน้าที่ (Function) 
              3. การแบ่งงานกันทำ (Division  of  Work) 
              4. การบังคับบัญชา (Hierarchy) 
              5. ช่วงของการควบคุม (Span  of  Control) 
              6. เอกภาพการบังคับบัญชา (Unity  of  Command) 

              รูปแบบองค์การ
              รูปแบบที่เป็นทางการ  เป็นองค์การที่มีการรวมตัวกันของกลุ่ม อย่างมีระบบ แบบแผน ชัดเจน  ครอบคลุมทุกส่วนของการปฏิบัติงาน  เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
              รูปแบบที่ไม่เป็นทางการ  เป็นองค์การที่มีการรวมตัวกันของกลุ่ม  อย่างไม่มีระบบของการบริหารไม่กฎเกณฑ์  ไม่ระเบียบข้อบังคับของการปฏิบัติงาน

               ประเภทขององค์การ 
1.  แบ่งตามความมุ่งหมายขององค์การ  แบ่งได้  4  ประเภท  คือ
     1.1 องค์การเพื่อประโยชน์ของสมาขิก (Mutual-Benefits)
     1.2 องค์การธุรกิจ  (Business  Concerns)
     1.3 องค์การเพื่อสาธารณะ (Commonweal  Organization)
     1.3 องค์การเพื่อบริการ (Service  Organization)
2.  แบ่งตามการจัดระเบียบภายในองค์การ (Formal  Organization)  เกิดจากความสัมพันธ์ส่วนบุคคลในกลุ่มองค์กร  แบบเป็นทางการหรืออาจเกิดขึ้นในสังคมใดก็ได้
3.  แบ่งตามลักษณะความเป็นเจ้าของ  แบ่งได้  2  ประเภท
     3.1 องค์การรัฐกิจ
     3.2 องค์การธุรกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของ

               การจัดโครงสร้างขององค์การ
1. โครงสร้างองค์การแบบหน่วยงานหลัก  (Line  Organization  Structure)
2. โครงสร้างองค์การแบบหน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่ปรึกษา (Line  and  Staft  Organization  Structure)
3. โครงสร้างองค์การแบบหน้าที่การวางเฉพาะ  (Function  of  Organization  Structure)
4. โครงสร้างขององค์การแบบคณะกรรมการ (Committee  Organization  Structure)
5. โครงสร้างองค์การแบบโครงการ (Project  Organization  Structure)
6. โครงสร้างองค์การแบบแมทริกซ์ (Matrix  Organization  Structure) 
แนวโน้มโครงสร้างองค์การสมัยใหม่
1. สายการบังคับบัญชาสั้นลง (Shorter Chan of Command) 
2. ขนาดการควบคุมกว้างขึ้น (Wider Span of Control)
3. ความเป็นเอกภาพของการบังคับบัญชาน้อยลง (Less Unity  of  Command) 
4. การมอบหมายงานและการให้คนมีอำนาจมากขึ้น (More delegation and empowerment)
5. การกระจายอำนาจอย่างรวมอำนาจ (Decentralization  with  Centralization
6. โครงสร้างขนาดเล็กอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่  (Smallness  with  Bigness) 
7. ลดจำนวนที่ปรึกษาให้เหลือน้อยลง (Reduce  Staff  Component) 

                หลักการจัดองค์การ
                การจัดองค์การหมายถึง ระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การงานของบุคลากร ความสัมพันธ์ระหว่างงานประเภทต่างๆ   สายงานการบังคับบัญชา อย่างชัดเจนที่ผู้บริหารและผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้กำหนด เพื่อใช้เป็นกรอบ และทิศทางให้สมาชิกในองค์การได้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานขององค์การดำเนินได้อย่างชัดเจน มีระเบียบแ ละมีแบบแผน
หลักการจัดองค์การโดยทั่วไปประกอบด้วย
      1. นโยบายที่ชัดเจน
      2. มีการแบ่งงาน
      3. กำหนดลักษณะของงานให้ชัด
      4. มีสายการบังคับบัญชา
      5. มีเอกภาพในการบังคับบัญชา หรือมีผู้บังคับบัญชาเพียงคน
      6. ช่วงของการควบคุม
      7. การประสานงาน
      8. การยืดหยุ่น
      9. ความต่อเนื่อง
               ความสำคัญของการจัดองค์การ
      1. เพื่อแสดงให้เห็นถึงกระแสการไหลของงาน
      2. ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงขอบเขตของงาน
      3. เป็นกรอบที่เชื่อมโยง การทุ่มเทความพยายาม ที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนการวางแผนและการควบคุมไปสู่ผลสำเร็จ
      4. จัดวางช่องทางเพื่อการติดต่อสื่อสาร และการตัดสินใจ
      5. ป้องกันการทำงานที่ซ้ำซ้อน และขจัดข้อขัดแย้งในหน้าที่การงาน
      6. ช่วยให้มองภาพความสัมพันธ์ระหว่างงาน ผู้ปฏิบัติงาน และเป้าหมายขององค์การ
              ประโยชน์ของการจัดองค์การ
      1. การตอบสนองความต้องการทางสังคม 
      2. การตอบสนองความต้องการทางวัตถุ
          2.1. เพื่อเพิ่มกำลังความสามารถ
          2.2. เพื่อช่วยให้มีการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว และแข่งกับเวลา

               การพัฒนาองค์การ
               การพัฒนาองค์การ  คือ  ความพยายามเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนทั่วทั้งองค์การโดยเริ่มจากฝ่ายบริหารระดับสูง  เพื่อเพิ่มความมีประสิทธิภาพและความเจริญเติบโตขององค์การโดยการสอดแทรกสิ่งที่ได้มีการวางแผนไว้แล้วเข้าไปในกระบวนการขององค์การด้วยการใช้ความรู้ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์
                ขั้นตอนในการพัฒนาองค์การ
 การพัฒนาองค์การควรดำเนินการเป็น  3  ขั้นตอน  คือ 
       1. การวิเคราะห์ปัญหาขององค์การ
       2. การสอดแทรกวิธีการใหม่ๆเข้าไปเพื่อพัฒนาองค์การ
       3. การบำรุงรักษาวิธีการใหม่ๆนั้นให้คงอยู่ตลอดไป
             หลักการพัฒนาองค์การ
       1.  การพัฒนาทางด้านโครงสร้าง
       2.  การพัฒนาทางด้านกระบวนการ
            วิธีการพัฒนาองค์การ
 การพัฒนาองค์การมีวิธีการหลายแบบที่นำมาใช้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำวิธีการฝึกอบรมในห้องปฏิบัติการมาใช้เป็นที่นิยมแพร่หลายมานาน  ได้แก่ 
       1. การฝึกอบรมแบบการฝึกการปะทะสังสรรค์ 
       2. การประชุมปรึกษาหารือ 
       3. การสร้างทีมงาน  
       4. การสำรวจข้อมูลย้อนกลับ