ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแตกต่างกันอย่างไร

SMEs (Small and Medium Enterprises) คือ ธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงกลาง ที่ดำเนินการธุรกิจแบบเป็นรูปธรรม มักจะเป็นการให้บริการ หรือขายสินค้า ที่สามารถจับต้องได้ทั่วไป โดยมีไอเดียการสร้างสินค้าใหม่ๆ หรือการสร้างแบรนด์ที่เป็นนวัตกรรมมาส่งเสริมสินค้าและบริการเดิมที่มีอยู่ได้ 

Start-Up คือ ธุรกิจที่เริ่มต้นจากแนวคิด ไอเดียการทำธุรกิจ ที่เน้นการเติบโตที่รวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น มักจะเป็นธุรกิจที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คน หรือเข้ามาช่วยแก้ปัญหา หรือ Pain Point ของกลุ่มเป้าหมายได้ เรียกได้ว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ

เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

  • SMEs และ Start-Up แตกต่างกันอย่างไร?
    • แตกต่างที่ขนาดธุรกิจ
    • รูปแบบการทำธุรกิจที่แตกต่างกัน
    • ที่มาของเงินทุนแตกต่างกัน
    • รูปแบบของทรัพย์สินที่แตกต่างกัน
    • การเติบโตของธุรกิจที่แตกต่างกัน
  • ตัวอย่างธุรกิจ SMEs และ Start-Up
  • SMEs และ Start-Up แบบไหนดีกว่ากัน?

SMEs และ Start-Up แตกต่างกันอย่างไร?

แตกต่างที่ขนาดธุรกิจ

ในขณะที่ SMEs มีขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดกลาง มีพนักงานแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับธุรกิจ แต่Start-Up จะมีขนาดเล็กมาก ถึงขั้นที่มีพนักงานในบริษัท ไม่ถึง 10 คน ไปจนถึง 100 คนแต่มีรายได้มหาศาล 

รูปแบบการทำธุรกิจที่แตกต่างกัน

SMEs เป็นสินค้าหรือบริการที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด ปรับปรุง พัฒนาจากเทคโนโลยีเดิมที่มี และมีกระบวนการผลิตที่รวดเร็วตอบสนองต่อความต้องการที่มีอยู่แล้วในตลาด

ในขณะที่ Start-Up เป็นสิ่งใหม่ๆที่ไม่ค่อยมีในตลาด ใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา และปรับเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมผู้บริโภค

ที่มาของเงินทุนแตกต่างกัน

SMEs มักจะเป็นการลงทุนธุรกิจที่มาจากเจ้าของกิจการ หรือการกู้ยืมจากธนาคาร แต่ Start-Up มักจะมาจากการลงทุนของนักลงทุน หรือผู้ที่สนใจในรูปแบบธุรกิจนั้นๆ เพื่อให้ผลประโยชน์ในอนาคต

รูปแบบของทรัพย์สินที่แตกต่างกัน

SMEs เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้ แต่ Start-Up เป็นทรัพย์สินทางปัญญา

การเติบโตของธุรกิจที่แตกต่างกัน

SMEs มักจะมีรูปแบบคงที่ และมีต้นทุนคงที่จากการผลิตการดำเนินงาน และมีการผันแปรของต้นทุนต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้มีการเติบโตช้า และยากในการเข้าถึงของผู้บริโภค

แตกต่างกัน Start-Up สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ เพราะเป็นนวัตกรรมที่จะอยู่ที่ไหนก็สามารถใช้ได้ และแก้ปัญหาต่อการใช้ชีวิตของคนในวงกว้าง

ตัวอย่างธุรกิจ SMEs และ Start-Up

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแตกต่างกันอย่างไร

SMEs และ Start-Up แบบไหนดีกว่ากัน?

ข้อดี ของธุรกิจ SMEs 

  1. ได้รับการสนุบสนุนจากนโยบายของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งเงินกู้ สิทธิประโยชน์ทางภาษี และความรู้ในการประกอบธุรกิจจากกรมพัฒนาธุรกิจด้านการค้า (DBD) สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เป็นต้น
  2. ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเอกชนชั้นนำ เพื่อประโยชน์ด้านสังคม และเป็นการสร้างคอมมูนิตี้
  3. สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์กรได้อย่างรวดเร็ว
  4. มีการสื่อสารภายในองค์กรรวดเร็ว

ข้อดี ของธุรกิจ Start-Up

  1. ได้รับการสนับสนุนเชิงนโยบายจากรัฐบาล ได้แก่ สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากร การสนับสนุนกิจการหรืออุตสาหกรรมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และดิจิทัล เป็นต้น
  2. การสนับสนุนสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม เช่น การวางมาตรฐานและกฎเกณฑ์ที่จำเป็น ความปลอดภัยจากการคุกคามโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และ Startup Thailand
  3. การสนับสนุนสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมจากภาคเอกชน เช่น True Digital Park, 500TukTuks, KBTG, InVent by Intouch เป็นต้น
  4. ไม่ต้องเสี่ยงลงทุนด้วยตนเอง เพราะมักจะมีนักลงทุนคอยให้การสนับสนุนอยู่เสมอ
  5. เติบโตไว เพราะมีการสนับสนุนจาก Start-Up เช่น WONGNAI X LINEMAN

ข้อเสีย ของธุรกิจ SMEs

  1. SMEs ถูกต่อยอดจากธุรกิจครอบครัวเป็นส่วนใหญ่และมีการจัดการระบบแบบเก่า จึงค่อนข้างปรับเปลี่ยนยาก 
  2. มีต้นทุนการบริหารงานจำนวนมาก และต้องใช้กำลังมากในการสร้างกลุ่มเป้าหมาย

ข้อเสีย ของธุรกิจ Start-Up

  1. การลงทุนมีความเสี่ยง จึงต้องมีการทำการตลาดค่อนข้างมาก เพื่อเพิ่มการสร้างการรับรู้ และจำนวนผู้ใช้งาน
  2. ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไว และนวัตกรรมบางอย่างอาจไม่ตอบโจทย์ 
  3. ไม่มีทรัพย์สินถาวร หากไม่ประสบความสำเร็จก็ไม่สามารถนำทรัพย์สินอื่น ๆ ไปขายทอดตลาดได้เหมือนกับ SMEs เรียกได้ว่าไม่มีมูลค่าทางธุรกิจนั่นเอง

ถึงแม้ SMEs และ Start-Up จะมีความแตกต่างกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นก็คือ “การตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า” และต้องรับมือให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมผู้บริโภค เพราะหากไม่มีการปรับตัว ก็อาจทำให้ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน

ธุรกิจในยุคนี้มีหลายรูปแบบ โดยเฉพาะแนวคิดการสร้างธุรกิจที่แตกต่างจากในอดีตมากมาย เดี๋ยวนี้ไม่จำเป็นต้องมีการลงทุนมโหฬารในการสร้างธุรกิจ ไม่จำเป็นต้องลงทุนในสิ่งที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น ธุรกิจใหม่จึงเกิดง่าย และเมื่อไหร่จับถูกจุด ก็สามารถเติบโตได้อย่างไร้ขีดจำกัด เจ้าของธุรกิจหน้าใหม่ วัยน้อยลง เพราะเกิดขึ้นง่ายด้วยระบบและแนวคิดการทำธุรกิจอย่างคนรุ่นใหม่ ทั้ง ธุรกิจ sme และธุรกิจ Startup ที่มาแรงขึ้นทุกทีๆ

ธุรกิจ sme คืออะไร

          SME นั้น เป็นคำย่อของ Small and Medium Enterprise  หากจะแปลตรงตัวจึง “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” แต่ก็ยังมีคำอธิบายเพื่อให้เห็นภาพธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อไปว่า เป็นกิจการที่มีคุณสมบัติดังนี้

  1. เป็นธุรกิจประเภทผลิตและจำหน่ายที่มีทรัพย์สินถาวรมูลค่าไม่เกิน สองร้อยล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน 200 คน
    2. ถ้าเป็นกิจการประเภทค้าส่ง ต้องมีทรัพย์สินถาวรไม่เกิน หนึ่งร้อยล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน 50 คน
    3. ถ้าเป็นกิจการประเภทค้าปลีก จะเป็นธุรกิจที่มีทรัพย์สินถาวรไม่เกิน 60 ล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน 30 คน

          นั่นคือ ขนาดของทรัพย์สินและปริมาณคนทำงานเป็นเครื่องบอกขนาดธุรกิจว่าเป็นประเภท SME หรือไม่ ส่วนประเภทของธุรกิจนั้นค่อนข้างครอบคลุม เพราะเป็นได้ทั้งผลิต จำหน่าย ค้าส่ง ปลีก รวมถึงบริการ

ธุรกิจ Startup คืออะไร

เป็นการรวมตัวของธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกันในแง่ของการนำความรู้มาใช้ให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลกัน โดยมีจุดเริ่มต้นที่มารวมตัวกันอยู่ในพื้นที่ทำการเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการสร้างคอนเน็กชั่น

ในนิยามของคำว่า startup จะเน้นการเติบโตแบบก้าวกระโดด ใช้เทคโนโลยีแบบชาญฉลาด บนพื้นที่แบบ co-working space ที่สำคัญ มีแผนรายได้ชัดเจน แต่กลับไม่สามารถกำหนดรายได้แบบตายตัว เรื่องการจ้างงานก็ไม่ตายตัวเช่นกัน เป็นธุรกิจของคนรุ่นใหม่ พร้อมเสี่ยงบนความไม่แน่นอน แต่มุ่งเติบโตแบบอัศจรรย์ ส่วนใหญ่จึงเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ IT

ธุรกิจประเภทนี้ที่เด่นชัดเช่น facebook ที่โตแบบก้าวกระโดด ไม่หยุดยั้ง หรือธุรกิจประเภทเว็บตลาดขายของออนไลน์

ธุรกิจ startup  และ sme แตกต่างกันอย่างไร

      1. เงินลงทุน ธุรกิจ startup ไม่เน้นเรื่องการลงทุนสูง ส่วนธุรกิจ sme เงินลงทุนต้องอยู่ในกรอบของนิยาม ไม่เช่นนั้นก็เปลี่ยนไปเป็นธุรกิจขนาดอื่นๆ

  1. ธุรกิจ startup เน้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องมาก เติบโตแบบก้าวกระโดดและมีความเสี่ยงสูง แต่ธุรกิจ sme เป็นธุรกิจค่อยเป็นค่อยไปตามครรลองของธุรกิจที่ต้องอาศัยความรอบคอบ
  2. ธุรกิจ startup อาศัยการลงทุนร่วม และพึ่งพาความรู้เฉพาะทางจากธุรกิจที่ co-working space แต่ธุรกิจ sme มักเป็นธุรกิจเจ้าของคนเดียว เงินลงทุนเป็นของตัวเองหรือกู้ยืม และอาศัยการจัดจ้างดำเนินการตามแต่ธุรกิจของตัวเอง