อยากเป็นนักวิชาการสาธารณสุขต้องสอบอะไรบ้าง

นักสาธารณสุขชุมชน คำนี้เริ่มเป็นประเด็นในระบบสุขภาพของไทยตั้งแต่ปี 2556 เมื่อ พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน  มีผลบังคับใช้ ทำให้นักสาธารณสุขชุมชนเป็นวิชาชีพใหม่ใหม่ในระบบสุขภาพไทย จากวันนั้นถึงวันนี้เราได้เห็นการขับเคลื่อนของวิชาชีพนี้มาโดยตลอด  ทั้งการเรียกร้องการเปิดตำแหน่งใหม่แยกจากสายงานนักวิชาการสาธารณสุข ทั้งการเรียกร้องการบรรจุโดยเฉพาะช่วงโควิด รวมถึงการเคลื่อนไหวเมื่อ รพ.สต. ต้องถ่ายโอนไปสู่ท้องถิ่น ผีเสื้อขยับปีกสนทนากับ ริซกี สาร๊ะ เลขาธิการชมรมนักวิชาการสาธารณสุข (ประเทศไทย) กรรมการฝ่ายยุทธศาสตร์ชมรมผู้อำนวยการ รพ.สต.(ประเทศไทย) ถึงปัจจุบันและอนาคตของวิชาชีพนี้

 

สถานการณ์ของวิชาชีพนักสาธารณสุขชุมชน

ต้องบอกว่านักวิชาการสาธารณสุขในดั้งเดิมยังไม่ใช่วิชาชีพ แต่เป็นสายงานที่ กพ. กำหนดมา แต่ตั้งแต่เป็น พรบ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชนในปี 2556 เราก็พยายามวางกรอบตามรูปแบบวิชาชีพ  คือต้องเป็นวุฒิเฉพาะที่ทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ มีมาตรฐานตามวิชาชีพ มีจรรยาบรรณ มีกฎหมายลูกรองรับ มีการขึ้นทะเบียนการสอบวิชาชีพ ซึ่งเราทำมาโดยตลอด ตอนนี้เหลือขั้นตอนสุดท้ายคือการขอตำแหน่งใหม่กำหนดวิชาชีพเฉพาะเป็นนักสาธารณสุข ต่อไปเราก็จะคัดเฉพาะคนที่จบสายงานนี้เข้ามา ในส่วนของนักวิชาการสาธารณสุข ตำแหน่งเดิมก็คงไว้เป็นตำแหน่งกลาง สำหรับใครก็ได้ที่ต้องการเลื่อนระดับสูงขึ้น แล้วในกรอบวิชาชีพตนเองไม่มีตำแหน่งนั้นก็สามารถใช้ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขได้

 

ตำแหน่งใหม่ที่ขอเปิดจะกระทบกับโครงสร้างการบริหารบุคลากรในปัจจุบันหรือไม่

ก็ไม่ได้กระทบอะไรกับตำแหน่งเดิม  ถ้าไปดูกรอบของมาตรฐานตำแหน่งเดิม จะพบว่าบางสายงาน บางวุฒิไม่สามารถทำงานสาธารณสุขได้ เช่นจบคณิตศาสตร์ จบเกษตรศาสตร์มา อาจทำงานในบางกรม บางหน่วยงานได้ แต่ไปอยู่ใน รพ.สต. ไม่ได้ เพราะไม่สามารถฉีดวัคซีน หรือทำการดูแลสุขภาพ สิ่งแวดล้อมได้

ในกรอบของการทำงานตอนนี้มีการกำหนดมาตฐาน 5 ด้าน วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน  ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การดูแลที่เกี่ยวกับสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ การบำบัดโรคเบื้องต้น  อาชีวอนามัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม  รวมถึงงานคุ้มครองผู้บริโภค  และเรื่องกฎหมายสาธารณสุข ตอนนี้เราแยกมาตรฐานเป็น 5 ด้าน  สายงานนักวิชาการสาธารณสุขเนื่องจากจบหลากหลาย แต่ละคนจะมีความเชี่ยวชาญต่างกัน มันมีความหลากหลายมากเกินไปทำให้วิชาชีพนี้ไม่สามารถเติบโตได้

 

มีงานไหนที่พยาบาลวิชาชีพทำไม่ได้

งานด้านดูแลสุขภาพ มันจะมีสองด้านคือซ่อมกับสร้าง  ซ่อมกับสร้างจะเป็นแพทย์ พยาบาลเป็นหลัก ของเราจะเน้นการควบคุมโรค ดูแลเรื่องอนามัยสิ่งแวดล้อม  เพราะฉะนั้นมุมการทำงานถ้าถามว่าคาบเกี่ยวไหม มันคาบเกี่ยวกันหมด แพทย์ก็จ่ายยาได้ พยาบาลก็จ่ายยาได้  คาบเกี่ยวกับเภสัชกร พยาบาลเจาะเลือดได้ก็คาบเกี่ยวกับเทคนิคการแพทย์  ทุกอาชีพมันมีความคาบเกี่ยวกัน แต่ความเป็นเฉพาะของวิชาชีพมันก็มีอยู่  หากพยาบาลคนไหนอยู่ รพ.สต. ก็จะเรียนรู้อนามัยชุมชน อนามัยสิ่งแวดล้อมได้ แต่งานหลักของพยาบาลก็จะอยู่ที่โรงพยาบาล การรักษาพยาบาล  มันก็เป็นเรื่องของจำเป็นตามพื้นที่  แต่ถ้าไปดูกรอบวิชาชีพมันก็มีการแบ่งกันอยู่

ตอนที่คุยกันเรื่องหมออนามัย หรือวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน  คนก็จะมองว่าไม่จำเป็นต้องมี เพราะเราขยายเป็นเมืองไปหมดแล้ว  ส่งไป รพช. ไปต่างๆ คนไม่มา รพ.สต. แล้ว แต่ถ้าดูภาพรวมประเทศ ไทยยังเป็นพื้นที่กันดารเป็นชนบทเป็นส่วนใหญ่นะครับ เรายังมีคนที่อยู่ตามชายแดน ตามป่าต่างๆ เยอะมาก  ลองไปดูตามคลิปตามข่าวสาร ดู ยังต้องไปฉีดวัคซีนคนบนดอย มีข้ามน้ำ ข้ามเกาะ

 

การขับเคลื่อนเพื่อการบรรจุ

เรื่องการบรรจุมีตั้งแต่ก่อนโควิด -19 ตอนนั้นนักวิชาการสาธารณสุขเป็นสายงานที่ต้องสอบแข่งขัน ในขณะที่สายงานอื่นเป็นการสอบคัดเลือก  การสอบแข่งขันนานๆ กพ. ถึงจะเปิดสอบ และเมื่อสอบได้กว่าจะเรียกบรรจุก็ใช้เวลานานพอสมควร  บางทีก็ไม่ได้เรียกทั้งหมดที่สอบได้  คนที่สอบคัดเลือกทั้งที่เป็นนักเรียนทุนเองก็ไม่มีตำแหน่งให้บรรจุ  ก็มีการเรียกร้องประเด็นนี้มาตลอด  จนมีการบรรจุโควิดรุ่นแรกๆ แต่ก็ไม่ครอบคลุมกลุ่มจ้างเหมารายวัน  ที่แม้จะทำงานโควิดแต่ไม่มีเลขตำแหน่งก็ไม่ได้รับการบรรจุ ก็คาดว่าน่าจะได้รอบนี้

 

ทำไมในยุคปัจจุบันยังอยากเป็นข้าราชการ ในเมื่อ 30 บาทก็ดูแลสวัสดิการรักษาพยาบาล

เรื่องเงินเดือน การขึ้นเงินเดือนที่ต่างกัน  และสิทธิประโยชน์ต่างๆ  โดยหลักๆ น่าจะเรื่องครอบครัวด้วย  ข้าราชการพ่อแม่ ลูก ภรรยา/สามี ได้รับการดูแลด้วย   และความมั่นคงในเรื่องของคุณภาพชีวิต รายได้  อนาคต  ข้าราชการอย่างน้อยมีเครดิตเวลาจะสร้างบ้าน ภาระหนี้สิน  สามารถขยายโอกาสตัวเองได้  แต่ลูกจ้างไม่ได้  มันมีความแตกต่าง  และที่สำคัญ เป็นเรื่องของการเกษียณแล้ว ข้าราชการมีบำเหน็จ บำนาญที่พอเลี้ยงชีพได้  แต่ลูกจ้างไม่มีตรงนี้ บุคลากรสาธารณสุขหลายส่วนยังไม่สามารถไปทำงานส่วนอื่น ได้ เพราะเอกชนก็รับได้แค่บางสายงาน  เช่น แพทย์ พยาบาล  มันไม่ใช่ทุกวิชาชีพด้านสาธารณสุขจะไปรับงานภาคเอกชนได้ ช่องทางของคนที่จบด้านสาธารณสุขเลยพุ่งเป้ามาที่การรับราชการเป็นส่วนใหญ่

อยากเป็นนักวิชาการสาธารณสุขต้องสอบอะไรบ้าง

 

มีการตั้งข้อสังเกตว่ากำลังการผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุขสูงเกินไป

ตอนนี้หากพิจารณากรอบกระทรวงทั้งนักวิชาการสาธารณสุขและนักสาธารณสุข  เขายังรับได้อีกเยอะ เพียงแต่ว่ารูปแบบการเข้าสอบการคัดเลือก และงบประมาณในการจ้างไม่เพียงพอ  ยกตัวอย่าง รพ.สต. ตามกรอบที่กำหนดให้มี 7 – 12 -14 คน แล้วแต่ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่  แต่ถ้าไปดูทั่วประเทศจะอยู่ที่ประมาณ 3 คนโดยเฉลี่ย บางที่อยู่คนเดียวเลย  อาจจะมี10 คน เป็น รพ.สต. ขนาดใหญ่ก็มี เพราะฉะนั้นหากดูตามกรอบจริงๆ อัตรากำลังยังต้องการคนเข้ามาช่วยทำงานอีกเยอะ  แต่รูปแบบการคัดเลือก รูปแบบการสอบแข่งขันไม่ได้เอื้อให้คนตรงนี้เข้ามาสู่ระบบได้มาก  ประเด็นที่สองคือคนจบวุฒิอะไรก็สามารถเข้ามาสู่ตำแหน่งนี้ คนที่จบวุฒิจริงตามสายงานก็เข้ามาสู่ระบบไม่ได้  หากไปเอาตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขมาแยกตามวุฒิที่จบมาจะพบว่ามีหลายสาขามาก

 

การถ่ายโอน รพ.สต. รอบนี้จำนวนที่อยากถ่ายโอนมีมากกว่าเดิมเยอะมาก

ต้องแยก 2 ประเด็น คือคนที่อยากไปมีเหตุผลคือ เรื่องของ Career path  ไม่ใช่แค่นักวิชาการสาธารณสุข  มันจะมีคนที่เติบโตสู่ระดับสูงกว่าได้น้อยมาก  หากไม่ได้ขึ้นเป็นสาธารณสุขอำเภอ ไม่ได้เป็นผู้บริหารระดับเขต ระดับกรม ก็จะเกษียณที่ระดับชำนาญการ นี่คือสาเหตุหลักว่าคนส่วนใหญ่ที่อยู่ รพ.สต. หรือหน่วยงานอื่นก็มีความน้อยเนื้อต่ำใจ  หากลองเปรียบเทียบกระทรวงอื่น เช่น ครู สามารถเติบโตได้เทียบเท่าชำนาญการพิเศษ ทั้งสายบริหารและสายวิชาการ  แต่ รพ.สต.  ทั้งประเทศหมื่นกว่าตำแหน่งมีผู้อำนวยการ รพ.สต. จังหวัดละ 1 คนเท่านั้นที่เป็นชำนาญการพิเศษ เพราะฉะนั้นเวลาไปเจอในงาน  ผอ. รพ.สต. ก็เรียก ผอ. และ ผอ. โรงเรียน ก็เรียก ผอ. แต่ว่าศักดิ์และศรีไม่เท่ากัน เงินประจำตำแหน่งก็ไม่มี เรื่องของความก้าวหน้าก็ไม่มี   ที่ผมกล่าวในตอนแรกคือบุคลากร หากเรียกรวมๆ คือ คน เงิน ของ จำกัดมาก คนส่วนใหญ่ก็มีแค่ 3 คน ไม่ได้เป็นไปตามกรอบ

แล้วก็เรื่องของประเดินงบประมาณกระทรวงสาธารณสุขจัดสรรผ่านคัพ ผ่าน คปสอ. ขณะที่ รพ.สต. ไม่ได้เป็นหน่วยงานภูมิภาคในโครงสร้างกระทรวง เพราะโครงสร้างหยุดแค่ สสอ. รพสต เป็นติ่งหนึ่งของ สสอ. ไม่มีอำนาจบริหารจัดการงบประมาณเอง เวลา สปสช. หรือกระทรวง กรม มีงบมาก็ต้องผ่าน รพ. ซึ่งก็จะมีวิธีการจัดสรรตามเกณฑ์ตามรูปแบบ แล้วเรื่องวัสดุอุปกรณ์  แม้ รพ.สต. จะมีศักยภาพ มีคน แต่อุปกรณ์ที่เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ใหญ่ๆ อย่างยูนิตทำฟันกว่าจะได้มายากมาก  และอุปกรณ์บางทีกว่าจะครบทุก รพ.สต.  ของเก่าที่เคยใช้ก็ชำรุดหมดแล้ว เมื่อเปรียบเทียบ รพ.สต. ที่ย้ายไปอยู่กับ อปท. ก่อนหน้านี้ หลายแห่งก้าวหน้า บางแห่งเป็นโรงพยาบาลขนาดย่อมในพื้นที่เลย จ้างแพทย์ จ้างนักกายภาพบำบัดมาประจำได้ บุคลากรเกือบถึง 50 คนก็มี  มีครบทุกสายงานที่ รพ.สต.ของกระทรวงไม่มี และเขามี on top ให้ รพ.สต 1.2-1.5 ล้านบาท ตามขนาด  ซึ่งตอนอยู่กับกระทรวงสาธารณสุขมีงบให้ระดับนี้น้อยมาก ส่วนใหญ่ได้แค่ไม่กี่หมื่นต่อปี ประเด็นสำคัญคือเรื่องภาระงานเยอะมาก กระทรวงสาธารณสุขมีหน่วยงานเจ้าภาพหลายกรม หลายกอง  ทุกกรมกอง มาลงที่ รพ.สต. ทั้งหมด  อยากได้เงินเพิ่มต้องคีย์ตัวชีวัดให้ทัน  ผลคือไม่สามารถลงชุมชนได้เต็มที่ กลายเป็นหมอหน้าจอมากกว่าหมอชุมชน

ถ้ามองเรื่องการทำงาน  เรื่องประชาชน ท้องถิ่นเขาซัพพอร์ตได้ดีกว่า ที่น่าจะมีปัญหาคือการเมือง ความผันผวนทางการเมือง การเปลี่ยนขั้วผู้บริหาร  หรือทำงานแล้วขัดแย้งกับขั้วการเมืองก็อาจมีปัญหาได้  การประคองการทำงานของตัวเองก็จะลำบากหน่อย

สอง ที่อาจจะมีปัญหาคือความเชื่อมโยงของบริการสาธารณสุขแต่ละระดับ การส่งออกจาก รพ.สต. ไป รพช. ไป  รพท. รพศ. หรือการประสานงานด้านสุขภาพ นโยบายสำคัญถ้าอยู่ท้องถิ่น นายแพทย์ สสจ. หรือ ผอ.รพ.  อาจจะสั่งการ ผอ.รพ.สต.  โดยตรงไม่ได้ ทำได้แค่เป็นพี่เลี้ยง ไปดูแลได้  แต่สั่งการไม่ได้ และถ้าผู้บริหารท้องถิ่นไม่ได้เอาด้วยก็จะยิ่งลำบาก แต่อาจจะมีการปรับตัว อาจมีการประสานทำ MOU ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีระดับบนคอยเชื่อมประสาน มันต้องมีรูปแบบในอนาคตที่สุดท้ายจะลงตัว  และผมมองว่าประชาชนจะได้ประโยชน์  อปท. ก็จะมีกองสาธารณสุขที่มีคนที่มีประสิทธิภาพไปช่วยเสริม

 

อาจจะมีการเอา รพช. กับ รพท. ตามไป

อันนี้ยาก  ผมมองว่า ที่ รพ.สต. อยากไปเยอะเพราะผู้บริหาร รพ.สต. อยากไป เพราะอยู่กับกระทรวงฯ ไม่มีความก้าวหน้า แต่ รพช.  ผู้บริหารคือแพทย์   แพทย์อยู่กระทรวงสาธารณสุขกับกระทรวงอื่น คุณว่ากระทรวงไหนดีกว่ากัน  ศักดิ์ศรีความเป็นวิชาชีพแพทย์อยู่กระทรวงสาธารณสุขมันดีกว่าอยู่แล้ว

 

การถ่ายโอนเมื่อเทียบกับการย้ายไป อปท. ระดับพื้นที่ อย่าง อบต. หรือเทศบาลกับ อบจ.

ผมเห็นด้วยกับรูปแบบเดิมมากกว่าเพรามันเป็นลักษณะ 1:1 ตำบลกับตำบล แต่ที่ผ่านมามันไม่สามารถถ่ายโอนได้ เพราะความพร้อมของ อปท. เอง  บางแห่งแค่งบบริหารบุคลากร 40% ตามกรอบก็จำกัดจำเขี่ยแล้ว  ดูแลตัวเองไม่ได้  แล้วจะมาดูแล รพ.สต. ก็ยิ่งไม่ได้  บางพื้นที่มีความพร้อมแต่มองว่าเป็นภาระที่ต้องรับผิดชอบ เนื่องจากเรื่องของ อปท.  เขาจะเน้นเรื่องโครงสร้างเป็นหลัก  น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก  ไม่เน้นเรื่องสุขภาพ  แต่รอบนี้ถ่ายโอนให้ อบจ.  ซึ่งเกือบทั้งประเทศมีศักยภาพสูง แล้วมีเรื่องของงบประมาณ ผมว่าผู้บริการที่มีวิสัยทัศน์ เขาอยากได้บุคลากรสาธารณสุขไปอยู่ในสังกัดเพื่อจะทำให้ฐานเสียงดี สุขภาพเป็นคะแนนเสียงสำคัญนะ    หลาย อปท. อยากทำเรื่องคุณภาพชีวิต การดูแลเด็ก คนชรา แต่ขาดบุคลากรที่จะลงไปทำ แต่คราวนี้ได้มาทั้งก้อน ทั้งอาคาร ทั้งคน ทั้งงประมาณ เงินเดือนรายหัว  ผมว่าวินวิน กับคนที่อยากย้าย และกับมหาดไทย ที่ได้รับ เงิน คน ของ  ไปตอบโจทย์เรื่องการกระจายอำนาจ เรื่องคุณภาพชีวิตประชาชน  ซึ่งรอบนี้ดูวินๆ

นักวิชาการสาธารณสุข ต้องสอบ อะไรบ้าง

1. ด้านการปฏิบัติการ ... .
2. ด้านการวางแผน ... .
3. ด้านการประสานงาน ... .
4. ด้านการบริการ ... .
1.1 วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล (คะแนนเต็ม 30 คะแนน) ... .
1.2 วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 30 คะแนน) ... .
1.3 วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) ... .
1.4 วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 20 คะแนน).

นักวิชาการสาธารณสุขต้องเรียนอะไรบ้าง

ตอบ : คณะสาธารณสุขศาสตร์จะเรียนเกี่ยวกับการดูแลและจัดการสุขภาพทั้งหมดของชุมชน ตามการวิเคราะห์ด้านสุขภาพของประชากร เพื่อการมีสภาพชีวิตทั้งทางกายภาพ จิตใจและทางสังคมที่สมบูรณ์ แข็งแรง โดยจะศึกษา ค้นคว้า วิจัย การบริการด้านสาธารณสุข และศึกษาทางด้านการป้องกันโรค การควบคุมโรค และการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนทั่วไป

นักวิชาการสาธารณสุข ต้องสอบไหม

ยินดีกับ คนที่จะได้บรรจุเป็นข้าราชการในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข โดยไม่ต้องสอบแข่งขัน

วิชาชีพสาธารณสุขต้องทำอะไรบ้าง

1. รักษาพยาบาลเบื้องต้น และฟื้นฟู และป้องกันโรคให้กับคนในชุมชน 2. สร้างเครือข่ายการทำงานในการดูแลสุขภาพกับภาครัฐและภาคประชาสังคม เช่น งานส่งเสริมสุขภาพอนามัย งานสุขาภิบาล 3. ให้ความรู้ทางด้านสาธารณสุขมูลฐานแก่ชุมชน เช่น การดูแลสุขภาพตนเอง การรักษาความสะอาด การป้องกันโรค