การบริหารความเสี่ยงมี องค์ประกอบ อะไร บ้าง

1. การนำการบริหารความเสี่ยงมาใช้เป็นเครื่องมือทางกลยุทธ์ เพื่อช่วยสนับสนุนการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

2. การทำให้การบริหารความเสี่ยงมีความสอดคล้องและรวมอยู่ในกระบวนการดำเนินงานที่มีอยู่ในปัจจุบันขององค์กร ทั้งนี้รวมถึงการกำหนดให้การบริหารความเสี่ยงเป็นขั้นตอนหนึ่งในการจัดทำแผนภารกิจ การกำหนดงบประมาณ การตัดสินใจลงทุน และการบริหารโครงการ

3. การบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุมถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในภาพรวมและความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ นอกจากนี้องค์กรควรเพิ่มความสนใจต่อความเสี่ยงทั้งที่เป็นความเสียหาย ความไม่แน่นอน และการเสียโอกาส

4. คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงต้องสนับสนุนและเน้นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งแสดงความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยง

5. การใช้คำนิยามเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เป็นที่เข้าใจและใช้ร่วมในองค์กร

6. การมีกระบวนการในการบ่งชี้ วิเคราะห์ จัดการ ติดตาม และรายงานความเสี่ยง

7. องค์กรต้องมีความมุ่งมั่นและพยายามอย่างจริงจัง ในการบ่งชี้และบริหารความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการนำการบริหารความเสี่ยงเข้ามาปรับใช้ภายในองค์กร

8. มีการสื่อสารให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง ประเด็นความเสี่ยงที่ควรต้องได้รับการจัดการทันที และการปรับปรุงแผนการดำเนินงานที่จำเป็น

9. การวัดผลความเสี่ยงทั้งในเชิงคุณภาพ เช่น ชื่อเสียง การขาดบุคลากรหลักในการดำเนินงาน และในเชิงปริมาณ เช่น ผลดำเนินงาน รายได้หรือค่าใช้จ่ายที่อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง

10. การจัดให้มีการฝึกอบรมและใช้กลไกการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติที่เหมาะสม

11. การจัดให้มีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยง เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือในการดำเนินการ การสนับสนุนการนำการบริหารความเสี่ยงมาปฏิบัติ และการพัฒนาความสามารถในการบริหารความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่

12. ผู้ตรวจสอบภายในมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นใจว่าองค์กรมีการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดการความเสี่ยง และในกรณีที่จำเป็น ผู้ตรวจสอบภายในควรเสนอแนะประเด็นที่ควรได้รับการปรับปรุง

จากครั้งที่แล้ว ผมได้พูดถึงเรื่องของกระบวนการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร ซึ่งมีขั้นตอนค่อนข้างเยอะ แต่ผมก็ได้พยายามอธิบายในลักษณะเป็นขั้นเป็นตอนพร้อมรูปภาพประกอบในแต่ละขั้น คงทำให้หลายท่านพอจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ

สำหรับวันนี้ ผมจะกล่าวถึงเรื่ององค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (ERM – Enterprise Risk Management) ซึ่งเป็นแนวทางการบริหารความเสี่ยงตามหลักการของ COSO ที่ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ 8 ประการ ได้แก่

1. สภาพแวดล้อมภายใน – ฝ่ายบริหารต้องกำหนดปรัชญาเกี่ยวกับความเสี่ยงและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ขึ้นมา สภาพแวดล้อมภายในจะกำหนดพื้นฐานเพื่อใช้ในการวิธีการจัดการความเสี่ยงและควบคุม หลักสำคัญขององค์กรคือบุคลากรและสภาพแวดล้อมการทำงาน เช่น โครงสร้าง วัฒนธรรมการทำงาน เป็นต้น

2. การกำหนดวัตถุประสงค์ – ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ก่อน ฝ่ายบริหารจึงจะสามารถระบุสถานการณ์ที่อาจทำให้ไม่บรรลุผลสำเร็จได้ ERM จะสร้างความแน่ใจให้กับฝ่ายบริหารว่ามีกระบวนการกำหนดวัตถุประสงค์และเลือกวัตถุประสงค์ที่สนับสนุนและสอดคล้องกับภารกิจ/วิสัยทัศน์และมีความเสี่ยงในระดับที่องค์กรยอมรับได้

3. การระบุสถานการณ์ – ปัจจัยในการระบุสถานการณ์ประกอบด้วย ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติและการบรรลุวัตถุประสงค์

4. การประเมินความเสี่ยง – การระบุความเสี่ยงเป็นพื้นฐานนำมาวิเคราะห์ว่าจะจัดการกับความเสี่ยงอย่างไร

5. การตอบสนองความเสี่ยง – ฝ่ายบริหารต้องเลือกวิธีการจัดการกับความเสี่ยงที่ประเมินได้ให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ วิธีการจัดการกับความเสี่ยงประกอบด้วย การหลีกเลี่ยง การยอมรับ การลดและการกระจายความเสี่ยง

6. กิจกรรมการควบคุม – เป็นนโยบายและวิธีการที่สร้างขึ้นมาและใช้ในการช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถจัดการกับความเสี่ยงที่อย่างมั่นใจ

7. ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร – มีการระบุ จัดการและสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องในรูปแบบและช่วงเวลาที่สามารถทำให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบได้ ข้อมูลสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นในทุกระดับขององค์กรในการระบุ ประเมิน และตอบสนองความเสี่ยง

8. การติดตาม – ต้องมีการติดตามดูแลกระบวนการ ERM ขององค์กร และดัดแปลงเท่าที่จำเป็น การติดตามดูแลต้องทำเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่อง แยกออกมาจากการประเมินผลกระบวนการ ERM หรือผสมผสานทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน

อธิบายไปครบทั้ง 8 ประการแล้ว เราไปดูแผนภาพของส่วนประกอบของ ERM ให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นกันครับ

การบริหารความเสี่ยงมี องค์ประกอบ อะไร บ้าง

องค์ประกอบของ ERM 8 ประการ

ความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์และองค์ประกอบของ ERM สามารถแสดงให้เห็นได้ใน 3 มิติ ในลักษณะของลูกเต๋าดังภาพ

การบริหารความเสี่ยง คือ กระบวนการดำเนินงานขององค์กรที่เป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้องค์กรลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย ให้ระดับของความเสียหายและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กรเป็นสำคัญ 

ความเสี่ยงจำแนกได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
          1) ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR)
          2) ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial Risk : FR)
          3) ความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk : OR)
          4) ความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย และข้อกำหนดผูกพันองค์กร (Compliance Risk : CR)


ปัจจัยความเสี่ยง (Risk Factor)
          ปัจจัยความเสี่ยง หมายถึง ต้นเหตุ หรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยง ที่จะทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยต้องระบุได้ด้วยว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ไหน เมื่อใดและจะเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไม ทั้งนี้สาเหตุของความเสี่ยงที่ระบุควรเป็นสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้วิเคราะห์และกำหนดมาตรการความเสี่ยง ในภายหลังได้อย่างถูกต้อง

ปัจจัยความเสี่ยงพิจารณาได้จาก
          1) ปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย ฯลฯ
          2) ปัจจัยภายใน เช่น กฎระเบียบ ข้อบังคับภายในองค์กร ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ ระบบการทำงาน ฯลฯ


การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
          การประเมินความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และผลกระทบ (Impact)
          1) โอกาสที่จะเกิด (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ ความเสี่ยง
          2) ผลกระทบ (Impact) หมายถึง ขนาดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิด เหตุการณ์ความเสี่ยง
          3) ระดับของความเสี่ยง (Degree of Risk) หมายถึง สถานะของความเสี่ยงที่ได้จากประเมินโอกาสและผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก


การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
          การบริหารความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการบริหารจัดการให้โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงหรือผลกระทบของความเสียหายจากเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ซึ่งการจัดการความเสี่ยงมีหลายวิธีดังนี้
          1) การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) เป็นการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่คุ้มค่า ในการจัดการควบคุมหรือป้องกันความเสี่ยง
          2) การลด/การควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction) เป็นการปรับปรุงระบบการทำงานหรือการออกแบบวิธีการทำงานใหม่เพื่อลดโอกาสที่จะเกิด หรือลดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
          3) การกระจายความเสี่ยง หรือการโอนความเสี่ยง (Risk Sharing) เป็นการกระจายหรือถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งความรับผิดชอบไป
          4) เลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) เป็นการจัดการความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงมากและหน่วยงานไม่อาจยอมรับได้ จึงต้องตัดสินใจยกเลิกโครงการ/กิจกรรมนั้น


การควบคุม (Control)
          การควบคุม หมายถึง นโยบาย แนวทาง หรือขั้นตอนปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งกระทำเพื่อลดความเสี่ยง และทำให้การดำเนินบรรลุวัตถุประสงค์ แบ่งได้ 4 ประเภท คือ
          1) การควบคุมเพื่อการป้องกัน (Preventive Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยง และข้อผิดพลาดตั้งแต่แรก
          2) การควบคุมเพื่อให้ตรวจพบ (Detective Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อค้นพบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว
          3) การควบคุมโดยการชี้แนะ (Directive Control) เป็นวิธีการควบคุมที่ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
          4) การควบคุมเพื่อการแก้ไข (Corrective Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องหรือเพื่อหาวิธีการแก้ไขไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำอีกในอนาคต

ที่มา : เว็บไซต์ การบริหารความเสี่ยง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ


แนวทางการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (PDF)

การบริหารความเสี่ยงคณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ดำเนินการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในตามแนวทางข้างต้น โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานบริหารความเสี่ยง และ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการ/ควบคุม