เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของหนังแท้มีอะไรบ้าง

ระบบผิวหนัง ทำความรู้จักไปพร้อมกันว่า ระบบผิวหนังประกอบไปด้วยอะไรบ้าง แต่ละส่วนมีหน้าที่ในการทำงานแตกต่างกันอย่างไร

 

ระบบผิวหนัง ทำหน้าที่ปกคลุมห่อหุ้มร่างกายทั้งหมด ซึ่งภายใต้ผิวหนังมีต่อมรับความรู้สึกอยู่มากมายเพื่อรับรู้การสัมผัส แรงกด ความเจ็บปวด และอุณหภูมิภายนอก ผิวหนังยังมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายและยังมีบทบาทในการขับเหงื่อและไขมันอีกด้วย

ระบบผิวหนัง ประกอบไปด้วยอวัยวะอย่าง ผิวหนัง เส้นผม ขน เล็บ และต่อมมีท่อ ถึงแม้ว่าผิวหนังมีความหนาเพียงแค่ไม่กี่มิลลิเมตร แต่จัดว่าเป็นอวัยวะที่มีพื้นที่มากที่สุดของร่างกาย น้ำหนักรวมของผิวหนังในคนทั่วไปมีน้ำหนักมากถึง 5 กิโลกรัม และมีพื้นที่รวมกันกว่า 2 ตารางเมตร หน้าที่หลักของผิวหนังคือการเป็นด่านป้องกันไม่ให้อวัยวะภายใต้ได้รับอันตรายจากสารเคมี เชื้อโรค และแสงแดด ขณะที่เส้นผมและเล็บงอกช่วยเสริมการปกป้องอวัยวะใต้ผิวหนัง โดยส่วนใหญ่แล้ว ผิวหนังจะสามารถเลื่อนไปเลื่อนมาได้ ยกเว้นบางบริเวณ เช่น หนังศีรษะด้านนอกของใบหู ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และตามรอยพับของข้อต่อต่างๆ

 

ผิวหนังประกอบไปด้วย 3 ส่วน

  • หนังกำพร้า (Epidermis)
  • หนังแท้ (Dermis)
  • ชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat Layer)
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของหนังแท้มีอะไรบ้าง
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของหนังแท้มีอะไรบ้าง
ภาพแสดงโครงสร้างชั้นต่างๆ ของผิวหนัง

หนังกำพร้า (Epidermis)

หรือเป็นที่รู้จักอีกชื่อว่า “ผิวหนังชั้นตื้น” หนังกำพร้าเป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของผิวหนังที่ปกคลุมไปเกือบทั้งหมดของร่างกาย หนังกำพร้านั้นไม่มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยง จึงต้องรับสารอาหารจากหนังแท้เท่านั้น ในชั้นหนังกำพร้ามีเซลล์ที่ชื่อ เมลาโนไซด์ (Melanocyte) มีหน้าที่ในการสร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ที่ทำให้สีผิวของแต่ละคนมีสีที่แตกต่างกัน หน้าที่หลักของหนังกำพร้าคือ การป้องกันอวัยวะภายในจากแสงแดด น้ำ และสารพิษต่างๆ รวมถึงเชื้อโรค ไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย อีกทั้งยังมีหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายด้วยการขับเหงื่ออีกด้วย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการขับของเสียออกจากร่างกายด้วย

 

หนังแท้ (Dermis)

เป็นชั้นผิวหนังที่อยู่ถัดจากชั้นหนังกำพร้า มีความหนามากกว่าหนังกำพร้า ในชั้นหนังแท้จะประกอบไปด้วยโปรตีน 2 ชนิด ได้แก่ เนื้อเยื่อคอลลาเจน (Collagen) และเนื้อเยื่ออีลาสติน (Elastin)

เนื้อเยื้อคอลลาเจนจะมีส่วนช่วยทำให้ผิวหนังแข็งแรง และช่วยในการซ่อมแซมผิวหนังที่สึกหรอ ซึ่งถ้าสร้างในปริมาณที่มากเกินไปก็จะเกิดเป็นแผล ในส่วนของเนื้อเยื่ออีลาสตินจะช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น และในเนื้อเยื่อส่วนนี้ยังเป็นที่อยู่ของ หลอดเลือด เส้นประสาท ต่อมไขมัน และต่อมเหงื่อ โดยต่อมเหงื่อมีส่วนสำคัญในการปรับอุณหภูมิในร่างกาย การขับเหงื่อมีส่วนช่วยในการระบายความร้อนออกจากร่างกาย ในขณะที่อาการขนลุกนั้นเป็นการป้องกันการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกาย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเมื่ออากาศร้อน เราจึงถึงเหงื่อออก และในขณะที่อากาศหนาว จึงเกิดอาการขนลุกเกิดขึ้น

เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของหนังแท้มีอะไรบ้าง
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของหนังแท้มีอะไรบ้าง
ขนลุก เกิดจากการตอบสนองชั่วคราวของระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติก ทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อรอบขนขนาดเล็กซึ่งเกาะอยู่ที่บริเวณรูขุมขนทั่วร่างกายจนเกิดการตั้งชันของเส้นขน โดยอาการขนลุกอาจเกิดจากสิ่งเร้า เช่น อากาศหนาว หรืออารมณ์ความรู้สึก เช่น ความกลัว

ชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat Layer or Hypodermis) 

มีอีกชื่อเรียกว่า “ชั้นไขมัน” ประกอบไปด้วยเซลล์ไขมันเป็นหลัก ชั้นใต้ผิวหนังแต่ละคนมีขนาดไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนปริมาณไขมันสะสมของคนแต่ละคน ชั้นใต้ผิวหนังทําหน้าที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยลดแรงกระแทกจากภายนอกอีกด้วย ชั้นไขมันจะพบเจอได้มากในบริเวณสะโพก เอว ต้นขา หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “เซลลูไลต์” (Cellulite) โดยเซลลูไลต์ก็สามารถพบเจอได้ในบุคคลที่มีรูปร่างผอมด้วยเช่นกัน

 

หน้าที่ของผิวหนัง 

นอกจากจะมีหน้าที่ในการปกป้องร่างกายจากอันตรายภายนอก และขับถ่ายออกเสียแล้ว ผิวหนังยังมีหน้าที่ในการรับความรู้สึกอีกด้วย โดยผิวหนังจะรับความรู้สึกแล้วส่งข้อมูลไปยังสมอง เพื่อให้สมองสั่งการให้ร่างกายตอบสนองอีกทีหนึ่ง นอกจากนี้ผิวหนังยังสามารถทำหน้าที่ดูดซึมสารบางชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้อีกด้วย เช่น ยาทาบรรเทาอากาศแก้ปวด อีกทั้งผิวหนังยังทำหน้าที่รายงานความผิดปกติของร่างกายอีกด้วย โดยจะแสดงออกมาให้เห็นได้ทางผิวหนัง เช่น อาการหน้าแดง ผืนแดงขึ้นเนื่องจากการแพ้ยาหรือการแพ้อาหาร

เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของหนังแท้มีอะไรบ้าง
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของหนังแท้มีอะไรบ้าง
การบริโภควิตามิน เอ ในปริมาณที่มากจนเกินไป อาจจะทำให้สีผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือในบางรายอาจเปลี่ยนเป็นสีส้ม

 

ระบบผิวหนัง เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม ระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาแต่กำเนิด (Innate Immunity)

ระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาแต่กำเนิด หมายถึง ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ถูกสร้างขึ้นเองและติดตัวมาตั้งแต่เกิด เช่น ส่วนของผิวหนัง เยื่อบุ และเยื่อเมือกต่าง ๆ ซึ่งเป็นปราการด่านแรกในการป้องกันเชื้อโรค และเป็นภูมิคุ้มกันโรคที่ได้รับการถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม ซึ่งส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติต่อโรคบางชนิด เช่น โรคคอตีบ โรคหัด และไข้ทรพิษ ซึ่งคงอยู่ได้ราว 3 เดือน ดังนั้น ความสมบูรณ์ของร่างกายของแต่ละบุคคล ตลอดจนเชื้อชาติ เพศ และอายุ จึงมีผลต่อระดับของภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาติระบบนี้

ในส่วนของลักษณะการทำงาน ระบบผิวหนัง มีกลไกการทำงานแบบ ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (Non-Specific Defense Mechanism) หมายถึง ระบบการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายที่ไม่มีเป้าหมายเฉพาะและสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ พันธุกรรม ฮอร์โมน และความสมบูรณ์ทางร่างกายของแต่ละบุคคล ซึ่งส่งผลให้ระบบดังกล่าวมีความสามารถในการป้องกันและทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมอย่างจำกัด

ระบบผิวหนังใช้กลไกในส่วน การป้องกันทางกายวิภาค ในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย โดยการกีดขวางตามธรรมชาติของร่างกาย เช่นเดียวกับส่วนของเยื่อเมือกที่บุตามผิว และขนอ่อนตามอวัยวะต่าง ๆ