กฎหมายเกี่ยวกับการผลิตอาหาร

8 เมษายน 2565

รวม 6 กฎหมายสำคัญ

ที่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการด้านอาหาร ต้องรู้

เพื่อทราบการกำหนดนโยบาย ขั้นตอน-การขอใบอนุญาต
และการกำหนดโทษ

พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522

มุ่งคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหลัก

ควบคุมคุณภาพของอาหาร

-การขออนุญาต

– การตรวจสอบ

– การขึ้นทะเบียน

– การโฆษณาเกี่ยวกับอาหาร

โทษทางอาญา

-ฝ่าฝืนผลิตอาหารที่ห้ามผลิต หรือนำเข้า

โทษจำคุก 6 เดือน – 2 ปี และ ปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท

-ฝ่าฝืนตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต

โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-ฝ่าฝืนผลิตอาหารไม่บริสุทธิ์

โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2561

กำหนดกระบวนการตรวจสอบ และเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร

-พืช สัตว์ ประมง

-เพื่อควบคุมและส่งเสริมสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัยแก่ประชาชน

กําหนดการควบคุมกิจกรรมอื่นที่ต่อเนื่องจากการผลิตสินค้าเกษตร

-การขนส่งสินค้าเกษตร

-คลังสินค้าเกษตร

-สะพานปลา

-โรงฆ่าสัตว์

ให้อำนาจสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

-มอบหมายให้หน่วยงานอื่นของรัฐมีอำนาจออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ

กำหนดให้ผู้ผลิตสินค้าเกษตรบางขนาดหรือลักษณะของกิจการ ยกเว้น
ไม่ต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต

-ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอรับการตรวจสอบและได้รับใบรับรองตามมาตรฐานบังคับจากผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน

พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558

มุ่งหมายเพื่อจัดระเบียบการประมง ในประเทศไทยและน่านน้ำ

-ป้องกันการประมงผิดกฎหมาย

-รักษา ทรัพยากรสัตว์น้ำ ให้เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์

-รักษาสภาพสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมตามมาตรฐานสากล

-คุ้มครองสวัสดิภาพของคนประจําเรือ และป้องกันการใช้แรงงานผิดกฎหมาย

โทษ สำหรับบุคคลผู้กระทำการฝ่าฝืน เช่น

การใช้เรือไร้สัญชาติทำประมง มีโทษเปรียบเทียบปรับตามขนาดของเรือ

-โทษสูงสุดเป็นเรือ 150 ตันกรอส มีโทษปรับ 5 – 30 ล้านบาท หรือปรับจำนวน 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่จับได้ ขึ้นกับจำนวนที่มากกว่า

จ้างแรงงานผิดกฎหมาย มีโทษปรับไม่น้อยกว่า 4 – 8 แสนบาทต่อราย

-ผู้ประกอบกิจการโรงงาน หากเกิดกรณีเดียวกัน นอกจากปรับ 2 แสนบาทถึง 2 ล้านบาท หรือโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละ 1-5 แสนบาทตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน

พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ. 2550

เพื่อควบคุมและคุ้มครองให้เกษตรกรได้ใช้พันธุ์พืชที่ดีในการเพาะปลูกอย่างเพียงพอ

-กำหนดหลักเกณฑ์การนำเข้า-ส่งออก สินค้าพืชให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากพืชที่นำเข้ามาในประเทศ รวมถึงการส่งออกพืชไปยังตลาดต่างประเทศด้วย

กำหนดให้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยพันธ์พืช ในการค้าเมล็ดพันธุ์ควบคุม พืชสงวน และพืชต้องห้าม
-เพื่อให้การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ควบคุม กํากับดูแลพืชสงวน และพืชต้องห้ามเป็นไปอย่างทั่วถึง

กําหนดคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตรวบรวม ขาย นําเข้า หรือส่งออกเมล็ดพันธุ์ควบคุม
-เพื่อการค้า ต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดเพื่อความเหมาะสม

กำหนดเกณฑ์ของขอความที่ระบุในฉลาก สําหรับภาชนะบรรจุเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้า
-ให้แสดงจํานวนเมล็ดพันธุ์ควบคุมหรือหน่วยวัดอื่นๆ ของพืชแต่ละชนิด ให้เป็นไปตามหลักสากล

พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559

เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคเนื้อสัตว์

-เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ถูกสุขอนามัย

ควบคุมการชําแหละและตัดแต่งเนื้อสัตว์ และสถานที่ชําแหละตัดแต่งเนื้อสัตว์

-เพื่อให้ครอบคลุมทุกห่วงโซ่การผลิตสินค้าปศุสัตว์และปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ควบคุมการขนส่งสัตว์และเนื้อสัตว์

-เพื่อป้องกันและควบคุมโรคระบาด หลักสวัสดิ์ภาพสัตว์

-เพื่อให้เนื้อสัตว์มีคุณภาพ ตั้งแต่โรงฆ่าสัตว์ถึงผู้บริโภค
ตามหลัก From Farm Fork

กำหนดขั้นตอนขออนุญาตและออกใบอนุญาต เพื่อประกอบกิจการฆ่าสัตว์

-ต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจก่อน เพื่อออกใบอนุญาตประกอบกิจการฆ่าสัตว์

กําหนดอายุของใบขออนุญาต เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์

-มีอายุ 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต

พ.ร.บ.คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ

กำหนดนโยบาย และกำหนดยุทธศาสตร์ด้านอาหาร

-ด้านคุณภาพ

-ความปลอดภัยของอาหาร

-ความมั่นคงอาหาร

-ศึกษาด้านอาหารโดยครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน

-เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ เช่น

-ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพอาหาร ความปลอดภัยด้านอาหาร ความมั่นคงด้านอาหาร
และอาหารศึกษา

-จัดให้มี ส่งเสริม สนับสนุนให้มีกระบวนการในการพัฒนานโยบาย
และยุทธศาสตร์ด้านคุณภาพอาหาร ความปลอดภัยด้านอาหาร
ความมั่นคงด้านอาหาร และอาหารศึกษา

-เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย

กฎหมาย

(อังกฤษ: law หรือ legislation) คือ กฎอันมีที่มาจากการตราขึ้นโดยสถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ หรือจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ ใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ

ความจำเป็นในการมีกฎหมาย

กฎหมายเป็นเครื่องควบคุมประพฤติการณ์ในสังคม พัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม กับทั้งเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเป็นไปโดยราบรื่น สนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ดังภาษิตละตินที่ว่า "ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นมีสังคม ที่ใดมีสังคม ที่นั้นมีกฎหมาย ด้วยเหตุนั้น ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นจึงมีกฎหมาย" (ละติน: Ubi homo, ibi societas. Ubi societas, ibi jus. Ergo ubi homo, ibi jus) ด้วยเหตุนี้กฎหมายจึงได้ชื่อว่าเป็น "ปทัสถานทางสังคม" (อังกฤษ: social norms) ซึ่งบางทีก็เรียก "บรรทัดฐานของสังคม"

กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาหาร

            อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ รัฐบาลจึงได้มีบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยตรากฎหมายขึ้นเรียกว่า  พระราชบัญญัติอาหาร  ดังนั้นนักศึกษาและประชาชนทั่วไปจึงควรให้ความสนใจในสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ด้วย

การควบคุมอาหาร

            เพื่อประโยชน์ในการควบคุมอาหารให้ถูกสุขลักษณะ หรือให้ปราศขากอันตรายแก่ผู้ริโภค พระราชบัญญัติอาหาร  มาตราที่  30  กำหนดให้  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  มีอำนาจสั่งให้งดผลิตหรืองดนำเข้าซึ่งอาหารที่ผลิตโดยไม่รับอนุญาต  หรืออาหีที่ปรากฏจากผลการตรวจว่าเป็นอาหารที่ไม่ควรแก่การบริโภค  นอกจากนี้ถ้ามีการตรวจพบว่าอาหารรายใดไม่บริสุทธิ์  เป็นอาหารปลอม  เป็นอาหารผิดมาตรฐานหรือเป็นอาหารที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรืออนามัยของประชาชนแล้ว  ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหารนั้นให้ประชาชนทรายด้วย

ความสำคัญของการควบคุมอาหาร

เนื่องจากประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนจากประเทศเกษตรกรรมไปเป็นประเทศอุตสาหกรรมขนาดย่อมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังจะเห็นจากจำนวนโรงงานอุตสาหรรมได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กล่าวคือในปี พ.ศ. 2493 มีโรงงานอุตสาหกรรมของเอกชนได้จดทะเบียนกับกระทรวงอุตสาหรรมเพียง 290 โรงเท่านั้น ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2506 จำนวนโรงงานได้เพิ่มขึ้นเป็น 27,336 ในปี พ.ศ. 2511 ได้เพิ่มถึง 45,317 โรง และในปี พ.ศ. 2515 ได้เพิ่มถึง 65,228 โรง ปัจจุบันนี้มีถึง 200,000 กว่าโรงงานทั่วประเทศ และนับวันแต่จะเพิ่มต่อไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะโรงงานทำอาหารชนิดต่างๆ นับวันจะมีมากขึ้น ดังนั้นเราควรจะได้วางมาตรการในการผลิตและจำหน่ายอาหารไว้ให้แน่นอนเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นไว้ก่อน ไม่ใช่จะคอยแต่จะแก้ปัญหาเมื่อผลิตอาหารนั้นออกมาจำหน่ายแล้ว อาหารบางประเภทเราอาจจะทำการเอง ได้เพื่อทดแทนอาหารที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง แต่เพราะเหตุว่าอาหารของต่างประเทศนั้นได้สร้างความเชื่อถือในเรื่องคุณภาพ มาตรฐาน ความสะอาด มากกว่าอาหารที่ผลิตภายในประเทศของเรา ทั้งๆ ที่ประเทศไทยเรามีอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ เราก็น่าจะทำได้ดีไม่ด้อยกว่าอาหารที่สั่งมาจากอาหารต่างประเทศ ประกอบกับขณะนี้ เราก็ได้ผลิตนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร (Food Science) ออกมาปีละ 100 กว่าคน ได้ออกไปทำงานกระจัดกระจายอยู่ตามโรงงานและหน่วยราชการต่างๆ เป็นจำนวนมาก ควรที่จะได้ใช้นักวิทยาศาสตร์การอาหารเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์

วัตถุประสงค์ในการควบคุมอาหาร

เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ได้จำแนกวัตถุประสงค์ออกได้ดังนี้ คือ

1. เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ถูกสุขลักษณะมีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัย ตลอดจนไม่ถูกหลอกองในเรื่องคุณภาพมาตรฐานและการเจือปนสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

2. เพื่อควบคุมให้อาหารที่ผลิตมีคุณภาพมาตรฐานตามกฎหมาย

3. เพื่อควบคุมโรงงานผลิตอาหารและสถานที่นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งอาหารที่ควบคุมให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนมีลักษณะถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้

4. เพื่อควบคุมการผลิตอาหาร การขายอาหาร การนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหาร พ.ศ. 2507

5. เพื่อแนะนำผู้ผลิตอาหารได้ปรับปรุงแก้ไขกรรมวิธีการผลิต การควบคุมคุณภาพของอาหารให้มีคุณภาพ มาตรฐานเท่ากับหรือสูงกว่ามาตรฐานอาหารสากล

6. เพื่อพัฒนาอุตสาหรรมอาหารในประเทศให้เจริญรุ่งเรือง สามารถผลิตอาหารที่ได้คุณภาพมาตรฐาน และเพียงพอต่อการบริโภค ตลอดจนมีอาหารไว้ในกรณีฉุกเฉิน นอกจากนี้ยังช่วยให้ประชาชนมีงานทำอีกด้วย

7. เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้วัตถุดิบในประเทศให้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น สามารถเก็บหรือถนอมอาหารให้สามารถอยู่ได้นานโดยไม่เสื่อมคุณภาพ

8. เพื่อส่งเสริมให้มีการส่งอาหารไปจำหน่ายในต่างประเทศ เป็นการช่วยลดดุลการค้าและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศชาติให้ดีขึ้น

ที่มา  :  หนังสือ กฎหมายควบคุมอาหารและมาตรฐานอาหาร

Food  Legislation  &  Standardization.รองศาสตราจารย์พัฒน์  สุจำนง