มาตรฐานความ ปลอดภัย ทางไฟฟ้าในสถาน ที่ ทํา งาน พ ศ 2557 pdf

หน้าหลัก / หนังสือ / ไฟฟ้า / มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในสถานที่ทำงาน (2565)

มาตรฐานความ ปลอดภัย ทางไฟฟ้าในสถาน ที่ ทํา งาน พ ศ 2557 pdf

มาตรฐานความ ปลอดภัย ทางไฟฟ้าในสถาน ที่ ทํา งาน พ ศ 2557 pdf

0 จาก 5

ราคาสมาชิก

฿350.00   ฿260.00

ผู้แต่ง

คณะกรรมการมาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในสถานที่ทำงาน

บทนำในการพิมพ์ปรับปรุง พ.ศ. 2565

การปฏิบัติงานกับไฟฟ้าถือว่าเป็นการปฏิบัติงานที่มีอันตรายสูง เนื่องจากไฟฟ้านั้นมองไม่เห็น การป้องกันอันตรายจึงต้องคาดการณ์ล่วงหน้าและป้องกันไว้ก่อน ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องรู้และเข้าใจวิธีการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากไฟฟ้า วิธีการควบคุมความเสี่ยง และการเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ถูกต้อง รวมทั้งสถานประกอบการต้องนำไปบังคับใช้และสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายด้านความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าของกระทรวงแรงงาน สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้ปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในสถานที่ทำงานนี้ โดยมีความตั้งใจให้เกิดความปลอดภัยอย่างแท้จริง

มาตรฐานฯ ฉบับนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับการอบรมและมีความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยทางไฟฟ้าอย่างแท้จริงเท่านั้น ผู้ใช้มาตรฐานฯ ควรใช้อย่างระมัดระวังและมีวิจารณญาณ กรณีที่ไม่มั่นใจควรขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินใจ วสท. ไม่รับผิดชอบต่อทรัพย์สินส่วนบุคคลใด ๆ รวมทั้งการบาดเจ็บหรือความเสียหายอื่น ๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม ที่เกิดจากการเผยแพร่การใช้หรือการปฏิบัติตามมาตรฐานฯ และไม่รับประกันความถูกต้องหรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใด ๆ ในมาตรฐานฯ ฉบับนี้

สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอขอบคุณคณะกรรมการทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้ ที่ได้ร่วมกันจัดทำมาตรฐานฯ ฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน หากมีข้อเสนอแนะประการใดเกี่ยวกับมาตรฐานฉบับนี้ โปรดแจ้งให้ วสท. ทราบด้วยเพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุงในโอกาสต่อไป

                                              สารบัญ

บทที่ 1     ข้อปฏิบัติในการทำงานด้วยความปลอดภัย                          

ตอนที่ 100 คำจำกัดความ

ตอนที่ 110 ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการปฏิบัติและขั้นตอนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความ
ปลอดภัยทางไฟฟ้า

ตอนที่ 120 ข้อกำหนดการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้มีความปลอดภัยทางไฟฟ้า          ตอนที่ 130 ข้อกำหนดสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับอันตรายทางไฟฟ้า

บทที่ 2     ข้อกำหนดการบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย        

ตอนที่ 200 ทั่วไป

ตอนที่ 205 ข้อกำหนดความต้องการทั่วไปสำหรับการบำรุงรักษา

ตอนที่ 210 สถานีย่อย ชุดประกอบสวิตช์เกียร์ แผงสวิตช์ แผงย่อย ศูนย์ควบคุมมอเตอร์
และสวิตช์แยกวงจร

ตอนที่ 215 การเดินสายไฟฟ้าภายใน

ตอนที่ 220 อุปกรณ์ควบคุม

ตอนที่ 225 ฟิวส์และเซอร์กิตเบรกเกอร์

ตอนที่ 230 เครื่องจักรกลชนิดหมุน

ตอนที่ 235 บริเวณอันตราย (จำแนกประเภท)

ตอนที่ 240 แบตเตอรี่และห้องแบตเตอรี่

ตอนที่ 245 บริภัณฑ์และเครื่องมือไฟฟ้าชนิดหยิบยกได้

ตอนที่ 250 อุปกรณ์ความปลอดภัยและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล                   บทที่ 3     ข้อกำหนดความต้องการความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์พิเศษ    

ตอนที่ 300 ข้อกำหนดทั่วไป

ตอนที่ 310 ว่าง

ตอนที่ 320 ข้อกำหนดความต้องการความปลอดภัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่และห้องแบตเตอรี่

ตอนที่ 330 ว่าง

ตอนที่ 340 ข้อปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย: อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง

                                                                                            หน้า

ภาคผนวก                                                                                   

ภาคผนวก  ก.    ตัวอย่างฉลากป้ายเตือนอันตราย

ภาคผนวก  ข.    ตัวอย่างระยะขอบเขตป้องกันไฟฟ้าดูดและขอบเขตพื้นที่ป้องกัน
ประกายไฟจากการอาร์ก

ภาคผนวก  ค.    วิธีการคำนวณพลังงาน Incident และขอบเขตพื้นที่ป้องกันประกายไฟ
จากการอาร์ก

สารบัญตาราง

 บทที่ 1       ข้อปฏิบัติในการทำงานด้วยความปลอดภัย                      

ตารางที่ 1.1(ก)  ขอบเขตพื้นที่การเข้าใกล้ส่วนของวงจรไฟฟ้าหรือตัวนำไฟฟ้าที่มีไฟ
เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด สำหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับ

ตารางที่ 1.1(ข)  ขอบเขตพื้นที่การเข้าใกล้ส่วนของวงจรไฟฟ้าหรือตัวนำไฟฟ้าที่มีไฟ
เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด สำหรับระบบไฟฟ้ากระแสตรง

ตารางที่ 1.2      การประเมินความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์อันตรายจากประกายไฟ
จากการอาร์กสำหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับและระบบไฟฟ้ากระแสตรง                                         ตารางที่ 1.3      การเลือกเครื่องนุ่งห่มทนพิกัดอาร์กและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยอื่เมื่อใช้วิธีการวิเคราะห์พลังงาน Incident

ตารางที่ 1.4(ก)  แรงดันใช้งานสูงสุดสำหรับถุงมือฉนวนยาง

ตารางที่ 1.4(ข)  คาบเวลาสูงสุดของการทดสอบอุปกรณ์ฉนวนยาง

ตารางที่ 1.5(ก)  วิธีประกายไฟจากการอาร์ก PPE Category (Arc-Flash PPE Category)

                    สำหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับ

ตารางที่ 1.5(ข)  วิธีประกายไฟจากการอาร์ก PPE Category (Arc-Flash PPE Category)

                    สำหรับระบบไฟฟ้ากระแสตรง

ตารางที่ 1.5(ค)  อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE)

  • Additional information