ตัวอย่าง การวิจัยประยุกต์ (Applied Research)

ตัวอย่าง การวิจัยประยุกต์ (Applied Research)

ตัวอย่าง การวิจัยประยุกต์ (Applied Research)

            การวิจัยจำแนกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้เป็นหลักในการแบ่ง ผู้ทำวิจัย       ควรศึกษาประเภทของการวิจัยให้เข้าใจ เพื่อจะได้เลือกประเภทของการวิจัยได้ถูกต้องเหมาะสมกับประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษาวิจัย มีดังต่อไปนี้ (สิริลักษณ์ ตีรณธนากูล. 2554 )

          1.  ประเภทของการวิจัยจำแนกตามระเบียบวิธีการวิจัย

                 การใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นเกณฑ์การแบ่งการวิจัยนิยมใช้กันมาก แบ่งได้เป็น          3 ประเภท คือ

                 1.1  การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความรู้ความจริงจากเรื่องราวในอดีต โดยวิธีการศึกษาเป็นการรวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์เหตุการณ์จากหลักฐาน เอกสาร คำบอกเล่าที่เกี่ยวกับเรื่องราวในอดีต วัตถุโบราณ เช่น ศึกษา   การปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

     1.2  การวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความรู้ ความจริง ในสภาพปัจจุบัน เช่น การสำรวจความคิดเห็น การศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปร  การศึกษาการพัฒนาการ การศึกษารายกรณี

     1.3  การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความรู้ความจริงเฉพาะตัวแปร เพื่อทราบว่าตัวแปรใดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผล ผลที่ได้เกิดจากตัวแปรที่ศึกษาหรือไม่ การวิจัยประเภทนี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลและผลที่ต้องมีการจัดกระทำ (Treatment) ตัวแปรที่จะศึกษา และควบคุมตัวแปรที่ไม่ต้องการจะศึกษา เช่น  การเปรียบเทียบวิธีสอน 2 วิธี ที่มีผลต่อการเรียนวิชาภาษาไทย

2.  ประเภทของการวิจัยจำแนกตามลักษณะของข้อมูล

     การวิจัยจำแนกตามลักษณะของข้อมูลเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งการวิจัยได้เป็น  2 ประเภท คือ

     2.1 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งค้นคว้าข้อเท็จจริงต่างๆ เพื่อหาข้อสรุปในเชิงปริมาณหรือตัวเลข โดยอาศัยข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างอ้างอิงไปใช้กับประชากรโดยอาศัยเทคนิคทางสถิติ ข้อมูลที่รวบรวมมานั้นโดยอาศัยการส่งแบบสอบถาม แบบทดสอบ การสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง เป็นต้น

     2.2 การวิจัยเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Research) การวิจัยเชิงคุณลักษณะ หรือที่นิยมเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าการวิจัยเชิงคุณภาพ  เป็นการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ จะอาศัยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีการสรุปบรรยายในรูปของข้อความที่ไม่มีตัวเลข

3. ประเภทการวิจัยจำแนกตามประโยชน์การนำไปใช้

    การวิจัยจำแนกตามประโยชน์การนำไปใช้ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท

    3.1 การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) หรือการวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งแสวงหาความรู้หรือความจริงที่เป็นกฎ สูตร ทฤษฎี เพื่อที่จะขยายพื้นฐานความรู้ทางวิชาการ ให้กว้างขวางออกไปโดยไม่คำนึงว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ในแง่ใดหรือไม่ โดยมากมักจะเป็นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการหรือห้องทดลอง

                3.2  การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่ได้นำผลจากข้อความรู้ทฤษฎีที่มีผู้ศึกษาไว้แล้วมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ เพื่อแก้ปัญหาหรือเพื่อการตัดสินใจ ผลการวิจัยอาจเป็นเทคนิควิธี นวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ

    3.3  การวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นครั้งๆ ไป ผลของการวิจัยใช้ได้ในขอบเขตของปัญหานั้นๆ จะอ้างอิงไปใช้กลุ่มอื่นไม่ได้เพราะมองในวงจำกัด

ตัวอย่าง การวิจัยประยุกต์ (Applied Research)
ตัวอย่าง การวิจัยประยุกต์ (Applied Research)
ตัวอย่าง การวิจัยประยุกต์ (Applied Research)