การขับร้องเพลงไทยให้เกิดความไพเราะถูกต้องนั้นมีแนวทางการปฏิบัติอย่างไร

สิ่งที่เรียนรู้ (what) : เทคนิคการร้องเพลงให้ไพเราะ

วิธีการเรียนรู้ (How) : เนื่องจากในการร้องเพลงต่างๆ บางคนอาจจะมีปัญหาในเรื่องการออกเสียง การควบคุมลมหายใจ อาจมีปัญหาในเรื่องการร้องผิดคีย์ ทำให้พลังเสียงในการร้องเพลงไม่ดีเท่าที่ควร หรืออาจทำให้เสียงสั่น ทำให้เสียงที่ออกมาไม่ไพเราะน่าฟังเท่าใดนัก กระผมจึงสร้างสมุดบันทึกนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ และเพื่อเป็นการฝึกร้องเพลงให้ถูกวิธีให้กับตนเองอีกด้วย

เทคนิคการร้องเพลงให้ไพเราะมีดังนี้

      การร้องเพลงมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากมาย ซึ่งถ้าเราเรียนรู้องค์ประกอบต่างๆแล้ว ก็สามารถที่จะนำมาใช้ในบทเพลงได้ การที่จะร้องเพลงสักเพลงหนึ่ง การควรที่จะศึกษาบทเพลงนั้นๆ ด้วยความละเอียดอ่อน อาจจะร้องทีละวรรค พิจารณา ความหมาย, ทำนอง, จังหวะ รวมไปถึงอารมณ์ของบทเพลง การฝึกซ้อมกัยบทเพลงจริงๆนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นการนำสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้ จากทฤษฎี มาฝึกปฏิบัตให้เกิดความเคยชิน สามารถนำเทคนิคต่างๆ มาใช้ได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ครอบคลุมไปถึง ความถูกต้องในการใช้สระและพยัญชนะในภาษา การควบคุมลมหายใจ การสร้างพลังในการขับร้อง การควบคุมระดับความสูงต่ำของเสียงไม่ให้เพี้ยน คุณภาพของเนื้อเสียง ความหนัก-เบา ในการใช้น้ำเสียง 

การขับร้องเพื่อให้ได้เสียงที่มีคุณภาพ
การขับร้องให้ได้เสียงที่มีคุณภาพ นั้น หมายถึง การขับร้องให้ได้เสียงที่ชัดเจน ทั้งระดับเสียงที่คงที่ไม่แกว่ง ระดับความสูงต่ำของโน้ตที่ถูกต้องตามเมโลดี้ การควบคุมจังหวะในการร้องเพลง ความหมายที่ถ่ายทอดออกมา ฯลฯ 

การสร้างเสียงให้ได้คุณภาพนั้นเราสามารถทำได้โดย เน้นให้เสียงแต่ละเสียงที่ถูกเปล่งออกมา เป็นไปตามขั้นตอนดังนี้

1.ขณะที่เราร้องเพลง ควรรู้สึกว่าเสียงที่เปล่งออกมานั้น ให้ความรู้สึกที่พุ่งออกไปข้างหน้า (Projection) และมีจุดรวมกันอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งบนบริเวณใบหน้า หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (Registration) แล้วแต่ Tone ของเสียงที่เราจะเปล่งออกมา Registration ของเสียงจะเปลี่ยนไปตาม Tone ของเสียงนั้นๆ แต่ควรระวังไม่ให้ Registration ของเสียงไปตกอยู่ที่ลำคอหรือจมูก เพราะจะทำให้เกิดอาการเกร็งไปโดยอัตโนมัติ ทำให้เสียงที่ได้เกิดความกระด้าง ไม่น่าฟัง

2.ควรยืนให้ลำตัวตรง (Hold body) หลังตรง ยืดอก ไหล่ผาย หน้าตรง ไม่เกร็งส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อให้ปอด กระบังลม ลำคอ ปาก ลิ้น ขากรรไกร ทำงานได้อย่างสะดวก ปกติ และเต็มประสิทธิภาพ และนอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมให้เรา เป็นนักร้องที่มีบุคลิกภาพที่ดีอีกด้วย

3.คิดถึงบรรยากาศ สร้างจินตนาการ (Imagination) ตามความหมายของเนื้อเพลงเพื่อให้เสียงที่เปล่งออกมา สามารถสื่ออารมณ์ได้อย่างมีชีวิตชีวา

4.ถ่ายทอดอารมณ์ตามบทเพลง เพลงแต่ละเพลง จะแสดงออกถึงความรู้สึกของผู้ประพันธ์เพลงต่างกัน ผู้ขับร้องจึงควรถ่ายทอดอารมณ์จากบทเพลงให้ถูกต้อง ตามความหมายของบทเพลงแต่ละเพลง เพลงรักก็ต้องร้องให้อยู่ในอารมณ์รัก สามารถใช้น้ำเสียงสื่อถึงความหมาย และอารมณ์ของบทเพลง ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกคล้อยตามได้ ดังนั้นก่อนที่นักร้องจะเริ่มทำการขับร้อง จึงควรศึกษาความหมายของบทเพลง ให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง เพื่อที่จะสามารถขับร้องออกมา ได้ตามความหมายของบทเพลง 

ผลการเรียน (outcome) : ทำให้ไ้ด้รู้จักวิธีการร้องเพลงที่ถูกต้อง รวมถึงเทคนิคต่างๆ ที่ ทำให้เราร้องเพลงได้อย่างไพเราะและน่าฟังมากขึ้น

ข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์ (reflection) : การฝึกฝนและรู้จักพัฒนาตนเอง จะส่งผลให้เรามีประสิทธิภาพในเรื่องนั้นๆ มากขึ้น หากเราเป็นคนที่รู้จักเรียนรู้ตลอดเวลา ก็จะทำให้เราเป็นคนที่หมั่นฝึกฝนและมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

เอกสารหรือสื่ออ้างอิง (references)

http://board.palungjit.com/f188/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87-awey-g-220871.html

http://community.thaiware.com/index.php/topic/292601-cooaoaaeiaaa/

ภาคผนวก (appendix) :

http://www.youtube.com/watch?v=_rp3GUp7YYU&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=C6Y_IV97HTQ

       

การขับร้อง  เป็นการเปล่งเสียงร้องที่มีทำนอง  มีจังหวะแน่นอน  และมีบทร้องในการขับร้องโดยการขับร้องนั้นเมื่อแยกคำทั้ง ๒ ออกจากกัน  แต่ละคำก็จะมีความหมายในตัวเอง ดังนี้
        การขับ  หมายถึง การเปล่งเสียงสูง - ต่ำ เป็นทำนองดำเนินไปตามบทเพลงหรือบทกวีนิพนธ์เป็นการดำเนินอย่างลำนำ  คือ เปล่งเสียงร้องของบทเพลงให้เป็นทำนอง  ถือบทแห่งถ้อยคำเป็นสำคัญ ความสั้น - ยาวของเสียงและจังหวะจึงไม่กำหนดให้แน่นอน เช่น การแหล่ การขับกล่อม การขับเสภา  การขับลำ การขับซอ การแอ่ว  เป็นต้น
     การร้อง หมายถึง การเปล่งเสียงออกมาเป็นทำนองตามบทเพลง  มีจังหวะแน่นอน  ในวงการดนตรีไทยถือว่าส่วนสำคัญของการร้องเพลง คือ ทำนองในบทเพลงที่มีบทร้องที่เป็นถ้อยคำจึงต้องปรับเข้าหาทำนอง  ซึ่งจะเห็นตัวอย่างได้จากการขับร้องเพลงไทยประเภทต่างๆ

      ๑. ประเภทของการขับร้องเพลงไทย
      การขับร้องเพลงไทย สามารถจัดแบ่งได้หลายประเภทแตกต่างกันออกไป โดยจะขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง  สำหรับในที่นี้จะจัดแบ่งประเภทการขับร้องออกเป็น ๒ ประเภท คือ
      ๑) การขับร้องเดี่ยว  เป็นการขับร้องอิสระคนเดียว  มิได้หมายถึงการขับร้องหรือบรเลงเดี่ยว เพื่อ                แสดงความสามารถ หรือเทคนิคพิเศษแต่อย่างใด
      ๒) การขับร้องหมู่  เป็นการร้องเพลงหร้อมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป  ซึ่งมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ การร้อง                ทำนองเดียวกัน เป็นการขับร้องเพลงที่มีเนื้อร้องและทำนองเพลงเดียวกัน ดังนั้นผู้ขับร้องทุกคน              ต้องร้องให้มีระดับเสียงเท่ากัน เนื้อร้อง ทำนองเพลงจะต้องถูกต้องแม่นยำและพร้อมเพรียงกัน                ส่วน  การขับร้องหมู่อีกลักษณะหนึ่งคือ การร้องประสานเสียง เป็นการร้องเพลง เพลงเดียวกัน แต่            ร้องคนละแนว หรือคนละทำนองตามที่ได้เรียบเรียงเสียงประสานไว้ซึ่งการขับร้องหมู่นี้อาจจะมี                ดนตรีประกอบ หรือไม่มีดนตรีประกอบก็ได้

     ๒.หลักการขับร้องเพลงไทย
      ในการขับร้องเพลงไทยมีความแตกต่างจากการขับร้องเพลงสากลตรงที่การขับร้องเพลงไทยมีลักษณะเด่นอยู่ที่มีการเอื้อนจากทำนองสั้นๆ ง่ายๆ จนคล่องก่อน  แล้วจึงเริ่มต่อเพลงที่มีทำนองเอื้อนเล็กน้อย  จากนั้นจึงค่อยๆต่อเพลงที่มีทำนองเอื้อนยาวขึ้นตามลำดับ
      จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่า การขับร้องโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ การขับร้องเดี่ยวและการขับร้องหมู่ ดังนั้นจึงขอแยกอธิบายหลักการขับร้องเพลงไทยเป็น ๒ ประเภทตามประเภทของการขับร้อง ดังนี้
       ๑) หลักการขับร้องเดี่ยวเบื้องต้น   ผู้ขับร้องควรฝึกการออกเสียงให้เต็มเสียง  แบ่งระยะการหายใจ  ผู้ขับร้องสามารถกำหนดระดับเสียงได้ตามต้องการ  แต่ต้องรักษาระดับเสียงใ้หเป็นไปตามทำนองที่ถูกต้อง  ไม่ให้เพี้ยนสูงขึ้น หรือต่ำลง และต้องตรงตามจังหวะหน้าทับและจังหวะฉิ่ง  รักษาความยาว หรือสัดส่วนของจังหวะให้เท่าๆกัน ทั้งนี้  ผู้ที่จะขับร้องเพลงไทยได้ดีต้องระมัดระวังการออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี เช่น อักษรควบกล้ำ ตัว  ร,ล การแบ่งคำ  วรรคตอน  ตลอดจนตั้งใจ  ขยันหมั่นฝึกขับร้องซ้ำเพลงละหลายๆเที่ยว เพื่อให้เกิดความแม่นยำด้วย

       ๒) หลักการขับร้องหมู่เบื้องต้น  ที่ผู้เรียนควรฝึกปฏิบัติจะมีความคล้ายคลึงกับขับร้องเดี่ยว  แต่มีหลักการที่ควรเน้นย้ำ คือ ผู้ขับร้องควรฝึกออกเสียงให้เต็มเสียง  แต่มิใช่การตะโกนหรือออกเสียงดังเกินกว่าผู้อื่น  ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงความกลมกลืนของเสียงทั้งหมู่คณะและขับร้องให้มีระดับเสียงเดียวกัน  ไม่ว่าจะขึ้นสูง หรือลงต่ำ  ต้องขึ้น หรือลงให้เหมือนกัน
      ทั้งนี้ การฝึกหัดขับร้องหมู่  ผู้ขับร้องทุกคนต้องสามัคคีกัน  ไม่ชิงดีชิงเด่นกัน  ตั้งใจขยันหมั่นฝึกขับร้องซ้ำหลายๆเที่ยว  เพื่อความพร้อมเพรียงกัน

      ๓. เทคนิคในการขับร้องเพลงไทย
     การขับร้องเพลงไทยให้ไพเราะเพราะพริ้งนั้น  นอกจากการขับร้องให้ถูกต้องตามทำนอง  จังหวะและเนื้อร้องของเพลงแต่ละเพลงแล้ว  ผู้ขับร้องจำเป็นต้องใส่เทคนิคต่างๆ ในการขับร้องเพลงไทยลงไปด้วย เพื่อเพิ่มเสน่ห์และความน่าสนใจให้กับบทเพลง  ซึ่งเทคนิคสำคัญในการขับร้องเพลงไทยที่ผู้เรียนควรทราบ จะแบ่งตามประเภทของการขับร้องเพลงไทยได้ดังนี้
    ๑) เทคนิคในการขับร้องเดี่ยว  ผู้ขับร้องต้องคำนึงถึงหลักการขับร้องอย่างเคร่งครัดในตอนขึ้นต้นบทร้องต้องตั้งเสียงให้ถูกต้อง  มิฉะนั้นเมื่อร้องไปจนหมดท่อนเพลงแล้วดนตรีบรรเลงรับจะทำให้เสียงเพี้ยน  ไม่ไพเราะ  ทำให้เสียอรรถรสของทำนองเพลงไป  ควรร้องให้เต็มเสียงรู้จักตกแต่งทำให้ไพเราะขึ้น ตามความสามารถและน้ำเสียงของตนเอง

    ๒) เทคนิคในการขับร้องหมู่  จะเน้นความพร้อมเพรียง  ผู้ขับร้องไม่สามารถตกแต่งทำนอง หรือลีลาให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ได้  การหลบเสียงสูง - ต่ำ การเอื้อน รวมทั้งการแบ่งถ้อยคำ  วรรคตอน ต้องเหมือนกันทุกคนและต้องมีความแม่นยำในทำนองทางร้องเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผู้ขับร้องทุกคนควรใส่อารมณ์ตามบทร้องนั้นๆ ให้คล้อยตามกันด้วย

ผลิตภัณฑ์ WINKWHITE

สิ่งสำคัญที่จะทำให้การขับร้องเพลงไทยมีความไพเราะมากยิ่งขึ้น คืออะไร

เทคนิคการขับร้องเพลงไทย มีดังนี้ - การกระทบสียง คือ การเอื้อนทำนองสูงต่ำในสองพยางค์สุดท้าย โดยใช้เสียงที่สั้นก่าปกติหรือรวบทำนองเอื้อน - การโหนเสียง คือ การร้องด้วยลีลาที่ต่อเนื่องจากเสียงสูงไปหาเสียงต่ำ หรือเสียงต่ำไปหาเสียงสูง จะทำให้การขับร้องมีความไพเราะนุ่มนวลยิ่งขึ้น

ขั้นตอนในการปฏิบัติตัวก่อนขับร้องเพลงไทยมีข้อควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง

ตั้งตัวให้ตรง เพื่อประโยชน์ในการออกเสียง อ้าปากเล็กน้อย พร้อมกับเปล่งกระแสเสียงออกจากคอให้ดังพอสมควร บังคับเสียงให้มีน้ำหนักที่คอแรงหน่อย กระดกปลายลิ้นขึ้นไม่ให้โดนฟันล่าง และบน เพื่อให้เสียงโปร่งและชัดเจน ระบายเสียงออกไปเรื่อยๆอย่าให้ฟันบนและฟันล่างกระทบกันการใช้กำลังเสียงควรเป็นระดับเดียวกัน โดยไม่ต้องขยับคาง

ขณะร้องเพลงไทยเดิมผู้ร้องควรปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะเหมาะสมมากที่สุด

2. หายใจเข้า-ออก ให้สอดคล้องกับช่วงจังหวะ ทำนอง และเนื้อเพลง 3. ออกเสียงพยัญชนนะ สระ คำควบกล้ำ ตามอักขรวิธี 4. ร้องให้ถูกต้องตามวรรคตอนของเนื้อเพลง เพราะหากร้องไม่ถูกวรรคตอน อาจทำให้ความหมายคลาดเคลื่อนได้

การขับร้องหมู่ที่ดีต้องปฏิบัติอย่างไร

การขับร้องของนักร้อง หรือนักร้องประสานเสียง ควรพัฒนาเทคนิคการขับร้องเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่การวางท่าทางที่ถูกต้อง การใช้ลมอย่างสมบูรณ์ การเปล่งเสียงที่ถูกวิธี ซึ่งพื้นฐานเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ร้องมีเทคนิคการร้องที่ดี ป้องกันการร้องเพี้ยน ซึ่งจะทำให้เจ็บคอ เจ็บกล้ามเนื้อ จนไปถึงไม่สามารถร้องเพลงได้