หลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรองมีลักษณะสำคัญแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ (History Evidences)

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แบ่งตามลำดับเวลาและความสำคัญ มี 2 ประเภท คือ

      1.  หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ (Primary Sources) คือ หลักฐานที่เกิดร่วมสมัยกับเหตุการณ์ หรือเป็นหลักฐานที่มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ตัวอย่างเช่น เอกสารสนธิสัญญาของรัฐบาล, สมุดบันทึกชีวประวัติส่วนตัวของบุคคลสำคัญหรือบุคคลทางประวัติศาสตร์, บันทึกหรือคำบอกเล่าของบุคคลร่วมสมัย, นอกจากนี้ยังรวมถึงหลักฐานวัตถุทางโบราณคดีต่าง ๆ อีกด้วย 

       2.  หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ (Secondary Sources) คือ หลักฐานที่ทำขึ้นภายหลังเหตุการณ์ หรือเป็นหลักฐานที่เขียนขึ้นโดยบุคคลที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง โดยมีการเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การบันทึกเรื่องตำนาน การบันทึกเรื่องราวย้อนหลังต่าง ๆ การเขียนประวัติศาสตร์ในภายหลัง เป็นต้น

       ทั้งนี้ไม่มีหลักการไหนที่ยืนยันได้ว่าหลักฐานประเภทใดมีความน่าเชื่อถือมากกว่ากัน เพราะ หลักฐานทุกชนิดล้วนมี "อคติ" (Bias) ของผู้สร้างหลักฐานปรากฏอยู่ทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงควรศึกษาและค้นหาข้อเท็จจริงจากหลักฐานเหล่านั้น ผ่านการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยปราศจากความลำเอียง มีความระมัดระวัง รอบคอบ มีเหตุผล และมีความเป็นกลาง ซื่อสัตย์ต่อข้อมูลตามหลักฐานที่สืบค้นมา จึงจะเหมาะสมที่สุด 


หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แบ่งตามลายลักษณ์อักษร มี 2 ประเภท คือ

        1.  หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร หมายถึง หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือ เช่น จารึก พงศาวดาร จดหมายเหตุ ตำนาน และกฎหมาย

              1.1 จารึก เป็นหลักฐานที่นักประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญมาก เพราะเป็นหลักฐานที่คงทนไม่ถูกทำลายง่าย และข้อความไม่ถูกบิดเบือนโดยคนรุ่นหลัง ซึ่งใช้วิธีเขียนเป็นรอยลึก ถ้าเขียนเป็นรอยลึกลงบนแผ่นหิน เรียกว่า ศิลาจารึก เช่น ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 จารึกพ่อขุน รามคำแหง ถ้าเขียนลงบนวัสดุอื่น ๆ เช่น แผ่นอิฐ เรียกว่า จารึกบนแผ่นอิฐ แผ่นดีบุก เรียกว่า จารึกบนแผ่นดีบุก และการจารึกบนใบลาน นอกจากนี้ยังมีการจารึกไว้บนปูชนียสถานและปูชนียวัตถุต่าง ๆ เช่น จารึกบนฐานพระพุทธรูป

    เรื่องราวที่จารึกไว้บนวัสดุต่าง ๆ ที่พบในดินแดนประเทศไทย ส่วนมากจะเป็นเรื่องราวของพระมหากษัตริย์และศาสนา โดยจารด้วยภาษาต่าง ๆ เช่น สันสกฤต, บาลี, ไทย, มอญ, เขมรโบราณ, ทมิฬ  โดยอักษรปัลลวะเป็นอักษรบนจารึกที่เก่าแก่ที่สุดในไทย*

หลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรองมีลักษณะสำคัญแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

จารึกอักษรปัลลวะ 

             1.2 ปูม บันทึก และจดหมายเหตุร่วมสมัยหลักฐานประเภทนี้ ต้องใช้ความระมัดระวัง ความรอบคอบ เพราะผู้เขียนมักสอดแทรกความคิดของตนด้วย โดยเฉพาะบันทึกชาวต่างชาติที่มีมุมวัฒนธรรมต่างกัน เช่น จดหมายเหตุจีน ที่บันทึกถึงการเดินทางของคณะราชทูตของอาณาจักรต่าง ๆ บันทึกการเดินทางของชาวเปอร์เซีย บันทึกการเดินทางของชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้าในสมัยอยุธยา
              จดหมายเหตุ ในสมัยโบราณให้ความหมายไว้ว่า เป็นการจดบันทึกข่าวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเวลานั้น แต่ในปัจจุบันได้ให้ความหมายใหม่ว่า คือ เอกสารราชการทุกประเภท เมื่อถึงสิ้นปีจะต้องนำเอกสารที่ไม่ใช้แล้วไปรวบรวมเก็บรักษาไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ แต่ยังคงมีประโยชน์ในด้านการค้นคว้าอ้างอิงและเอกสารเหล่านี้ เมื่อมีอายุตั้งแต่ 25-50 ปีไปแล้วจึงเรียกว่า จดหมายเหตุหรือบรรณสาร
             การบันทึกจดหมายเหตุของไทยในสมัยโบราณ ส่วนมากบันทึกโดยผู้ที่รู้หนังสือและรู้ฤกษ์ยามดี โดยมีการบันทึกวัน เดือน ปี และฤกษ์ยามลงก่อนจึงจะจดเหตุการณ์ที่เห็นว่าสำคัญลงไว้ โดยส่วนมากจะจดในวัน เวลา ที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น หรือในวัน เวลา ที่ใกล้เคียงกันกับที่ผู้จดบันทึกได้พบเห็นเหตุการณ์นั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ เอกสารประเภทนี้จึงมักมีความถูกต้องในเรื่องวัน เดือน ปี มากกว่าหนังสืออื่น ๆ เช่น จดหมายเหตุของหลวง เป็นจดหมายเหตุที่ทางฝ่ายบ้านเมืองได้บันทึกไว้เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และบ้านเมือง จดหมายเหตุโหร เป็นเอกสารที่เกิดขึ้นเนื่องจากโหรซึ่งเป็นผู้ที่รู้หนังสือและฤกษ์ยามจดไว้ตลอดทั้งปี และมีที่ว่างไว้สำหรับใช้จดหมายเหตุต่างๆ ลงในปฏิทินนั้น เหตุการณ์ที่โหรจดไว้ โดยมากเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับดวงดาว

             1.3 ตำนานและพงศาวดาร ตำนาน เป็นหลักฐานที่บอกเล่าสืบต่อกันมานานแล้ว แต่ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลัง ส่วนใหญ่เป็นนิทาน, นิยาย, ความเชื่อ, มีเรื่องเหลือเชื่อ, อภินิหาร เช่น ตำนานจามเทวีวงศ์ เป็นต้น
             พงศาวดาร เป็นบันทึกที่ราชสำนักจัดทำขึ้น เน้นเรื่องพระมหากษัตริย์ โดยไม่มีเรื่องราวของประชาชน ทำให้สามารถทราบถึงเรื่องของราชวงศ์มากกว่าด้านอื่น ๆ เช่น พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (ตั้งตามชื่อผู้ที่ค้นพบพงศาวดารฉบับนี้) เขียนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยได้รับการยอมว่าข้อมูลมีความแม่นยำ ทำให้ทราบเหตุการณ์ตั้งแต่ก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาจนถึงเหตุการณ์ที่พระนเรศวรยกทัพไปตีพม่า

             1.4 วรรณกรรมร่วมสมัยงานเขียนประเภทร้อยแก้วร้อยกรอง นวนิยาย เรื่องสั้น ซึ่งสะท้อนสภาพสังคม ความเป็นอยู่ของสังคมในสมัยนั้น ที่ผู้เขียนได้พบเห็น เช่น ขุนช้างขุนแผน เป็นต้น

             1.5 หนังสือพิมพ์ วารสาร และนิตยสาร จะบอกเล่าถึงความเคลื่อนไหวเหตุการณ์ต่าง ๆ ในบ้านเมืองอย่างหลากหลายสิ่งพิมพ์เหล่านี้เป็นหลักฐานชั้นต้นที่ให้ข้อมูลในทุก ๆ ด้าน แต่จะเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด ต้องตรวจสอบกับเอกสารอื่น ๆ

             1.6 วิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยทาประวัติศาสตร์ เป็นงานที่ผ่านการวิเคราะห์ตีความตามกระบวนการทางประวัติศาสตร์มาแล้วทำให้มีประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก

             1.7 หลักฐานกฎหมายโบราณ เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ สภาพสังคม จารีต ประเพณี เช่น กฎหมายตราสามดวง หรือมังรายศาสตร์ของล้านนา

             1.8 หลักฐานด้านภาษา สัทศาสตร์ และวรรณกรรม เป็นหลักฐานที่บ่งบอกถึง หลักฐานของภาษา และสำเนียงท้องถิ่น รวมทั้ง เรื่องสั้น ร้อยแก้ว ร้อยกรองและประเภทบอกเล่า สะท้อนสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในแต่ละยุคสมัย ดังเช่นวรรณกรรม “นิราศ” ของสุนทรภู่ ที่นำมาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้

         2.  หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหมายถึง หลักฐานต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ยกเว้นหลักฐานที่มีตัวอักษร เช่น หลักฐานทางโบราคดี ศิลปกรรม สิ่งก่อสร้าง วัด เจดีย์ พระพุทธรูป ถ้วยชามสังคโลก โสตทัศน์ นาฏศิลป์ ดนตรี เพลงพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียมประเพณี แบ่งประเภทได้ ดังนี้

               2.1 หลักฐานทางโบราณดคี นักโบราณคดีศึกษาวัตถุสิ่งของ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมมนุษย์ในอดีต เช่น ซากอาคาร, โบราณสถาน, ศิลปวัตถุอันเกี่ยวเนื่องกัน เช่น เจดีย์, พระพุทธรูป, เครื่องดับ, ภาชนะ, ตลอดจนหลักฐานทางสิ่งแวดล้อม เช่น คูน้ำ, คันดิน, แม่น้ำลำคลอง

               2.2 หลักฐานทางศิลปกรรม ประกอบด้วย
               สถาปัตยกรรม จะศึกษารูปแบบของสถาปัตยกรรมให้ข้อมูล ทั้งในแง่อายุของสถานที่และวัตถุประสงค์ของการก่อสร้าง อาทิเช่น อาคารสิ่งก่อสร้าง ย่านประวัติศาสตร์ อาคารสัญลักษณ์ของเมือง นครประวัติศาสตร์
               ประติมากรรม ศึกษาเรื่องราวพฤติกรรม ของมนุษย์ในอดีตได้เป็นอย่างดี เช่น ประติมากรรมการเล่นดนตรีบ้านคูบัว
               จิตรกรรม ศึกษาร่องรอยความคิดความเชื่อ เช่น ภาพพุทธประวัติ ปริศนาธรรม ตามผนังโบสถ์ ภาพบุคคลที่ปรากฎ ชีวิตการแต่งกาย การติดต่อค้าขาย

               2.3 หลักฐานประเภทโสตทัศน์ ได้แก่ ภาพถ่าย, แผ่นเสียง, โปสเตอร์, แถบบันทึกเสียง, และภาพยนต์

               2.4 นาฏศิลป์ ดนตรี เพลงพื้นบ้าน ท่าทางร่ายรำ เนื้อร้อง ทำนองดนตรี สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นเช่น เพลงกล่อมเด็กของนครศรีธรรมราช ที่บอกเล่าเรื่องราวของพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช

               2.5 หลักฐานประเภทบอกเล่า แบ่งออกเป็นประเพณีจากการบอกเล่า และประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า ข้อจำกัดคือ อาจคลาดเคลื่อนได้ง่าย ตามอคติของผู้เล่าจึงต้องมีการตรวจสอบกับเอกสารอื่น ๆ อย่างเป็นระบบ

หลักฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิแตกต่างกันอย่างไร

แหล่งปฐมภูมิเป็นแหล่งของข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ได้รับมาโดยตรง เช่น การได้ข้อมูลข่าวสารมาจากการสัมภาษณ์หรือสอบถามจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง เป็นต้น สำหรับแหล่งทุติยภูมินั้นเป็นแหล่งของข้อมูลข่าวสารที่ไม่ได้รับมาโดยตรง แต่ได้มีการบันทึกหรือมีการเผยแพร่อีกต่อหนึ่ง

จุดเด่นของหลักฐานชั้นต้น คืออะไร

1. หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ เป็นหลักฐานที่มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ โดยมีการบันทึกของผู้ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์โดยตรง หรือผู้ที่รู้เหตุการณ์นั้นด้วยตนเอง ดังนั้นหลักฐานช่วงต้น จึงเป็นหลักฐานที่มีความสำคัญและน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะบันทึกของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือผู้อยู่ในเหตุการณ์ ...

จุดเด่นของหลักฐาน Primary Sources คืออะไร

1. หลักฐานชั้นต้น (primary sources) หมายถึง หลักฐานที่บันทึกและบอกเล่าโดยผู้เกี่ยวข้อง โดยตรง หรือรู้เห็นเหตุการณ์นั้นด้วยตนเอง

หลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรองหมายถึงอะไร

1.หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐาน ปฐมภูมิ เป็นหลักฐานที่มาจาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น จริงๆ โดยมีการบันทึกของผู้ที่ เกี่ยวกับเหตุการณ์โดยตรง หรือผู้ ที่รู้เหตุการณ์นั้นด้วยตนเอง จึงเป็นหลักฐานที่มีความส าคัญ และน่าเชื่อถือมากที่สุด 2. หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐาน ทุติยภูมิ เป็นหลักฐานที่เขียนขึ้น โดยบุคคลที่ไม่ได้มีส่วน ...