พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี ม.2 ppt

พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี ม.2 ppt
Download

พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี ม.2 ppt

Skip this Video

Loading SlideShow in 5 Seconds..

สื่อประกอบการสอนประวัติศาสตร์ PowerPoint Presentation

พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี ม.2 ppt
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี ม.2 ppt

สื่อประกอบการสอนประวัติศาสตร์

สื่อประกอบการสอนประวัติศาสตร์. เรื่องพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี. ครูสุดเฉลิม อ่อนเปี่ยม. โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม อ.เมือง จ.พะเยา. ประวัติศาสตร์ธนบุรี.

Uploaded on Aug 14, 2014

พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี ม.2 ppt

Download Presentation

พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี ม.2 ppt

สื่อประกอบการสอนประวัติศาสตร์

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - E N D - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Presentation Transcript

  1. สื่อประกอบการสอนประวัติศาสตร์สื่อประกอบการสอนประวัติศาสตร์ เรื่องพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี ครูสุดเฉลิม อ่อนเปี่ยม โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม อ.เมือง จ.พะเยา

  2. ประวัติศาสตร์ธนบุรี อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตากทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนาถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชาแด่ศาสนา สมณะ พระพุทธโคดมให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปีสมณะพราหมณ์ ปฏิบัติ ให้พอสมเจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชมถวายบังคม รอยบาท พระศาสดาคิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้าชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนาพระพุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตราพระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน

  3. กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรของคนไทยเป็นระยะเวลา ยาวนาน 417 ปี (พ.ศ.1893 -2310) พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา คือ พระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 อาณาเขตของกรุงศรีอยุธยา แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางมากที่สุดในรัชสมัยของพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133-2148) อาณาจักรกรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การค้าขาย และการเจริญไมตรีกับต่างประเทศ ในรัชสมัยของพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199 - 2231)

  4. สภาพโดยทั่วไปของพระนครศรีอยุธยาสภาพโดยทั่วไปของพระนครศรีอยุธยา

  5. สภาพก่อนเสียกรุงฯ(ครั้งที่2)สภาพก่อนเสียกรุงฯ(ครั้งที่2)

  6. ความเสื่อมของอยุธยา กรุงศรีอยุธยาเสียเอกราชให้แก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราชเมื่อ พ.ศ.2112 และครั้งที่ 2 ในรัชสมัย สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) เมื่อ พ.ศ.2310

  7. สาเหตุการเสื่อมอำนาจของกรุงศรีอยุธยาสาเหตุการเสื่อมอำนาจของกรุงศรีอยุธยา 1. ความเสื่อมอำนาจทางการเมืองมีการแก่งแย่งชิงอำนาจใหม่ในหมู่ขุนนางข้าราชการ และพระบรมวงศานุวงศ์อยู่เนืองๆ มีการกำจัดศัตรูทางการเมือง ทำ ให้กำลังทหารถูกบั่นทอนความเข็มแข็งลงไปมาก 2. ความอ่อนแอของพระมหากษัตริย์ พระเจ้าเอกทัศน์ทรงขาดความสามารถในด้านการเป็นผู้นำ กองทหารไม่ได้รับการฝึกฝนให้เตรียม พร้อมในการทำศึกสงคราม และมีปัญหาวินัยหย่อนยาน

  8. 3.การที่ไทยว่างเว้นจากสงครามมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความประมาทในการป้องกันพระราชอาณาจักร ขาดการฝึกปรือกำลังทัพและการวางแผนการยุทธที่ดี ทำให้เกิดความไร้ประสิทธิภาพในการทำสงครามป้องกันพระนคร เมื่อพม่ายกกำลังมาล้อมกรุงศรีอยุธยาก่อนจะเสียกรุงใน พ.ศ.2310 4.พม่าเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ไปจากเดิม คือ ยกทัพกวาดต้อนผู้คน สะสมเสบียงอาหารลงมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือและขึ้นมาจากหัวเมืองฝ่ายใต้ ตัดขาดหัวเมืองรอบนอกมิให้ติดต่อและช่วยเหลือเขตราชธานีได้ และพร้อมที่จะรบตลอดทั้งปีโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นฤดูฝนหรือฤดูน้ำหลาก ซึ่งแผนยุทธศาสตร์นี้ต่างไปจากเดิมที่มักจะยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์และเข้ามาทางเดียว และเมื่อถึงฤดูน้ำเหนือหลากลงมาท่วมก็ยกทัพกลับ ทำให้ไทยวางแผนการตั้งรับผิดพลาดหมด

  9. 5.กรุงศรีอยุธยาถูกปิดล้อมทางเศรษฐกิจโดยกองทัพพม่า ทั้งจากทางเหนือและใต้ รวมทั้งต้องทำศึกระยะยาวนานนับปี ทำให้กรุงศรีอยุธยาเกิดขาดแคลนเสบียงอาหารอันนำไปสู่ความอ่อนแอต่อกำลังทัพและผู้คนของไทย

  10. การกอบกู้เอกราช ในขณะที่ไทยกับพม่ากำลังทำสงครามอยู่นั้น พระยาตากเกิดความท้อใจในการรบ เพราะขาดความคล่องตัวในการตัดสินใจ และสถานการณ์รบที่อยุธยาอยู่ในวิกฤตอย่างหนัก ถ้าหนีไปตั้งหนักที่อื่นก็อาจมีโอกาสกลับมากอบกู้สถานการณ์ได้ ดังนั้นพระยาตากจึงรวบรวมกำลังพลได้ประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมของพม่าไปเส้นทางตะวันออก

  11. สาเหตุที่พระยาตากเลือกเส้นทางตะวันออกสาเหตุที่พระยาตากเลือกเส้นทางตะวันออก เส้นทางดังกล่าวปลอดจากการคุกคามของพม่า ทำให้ง่ายต่อการสะสมและรวบรวมทั้งผู้คน อาวุธและเสบียงอาหาร สามารถค้าขายบริเวณหัวเมืองชายทะเลทั้งด้านอาหาร อาวุธ กับพ่อค้าชาวจีนได้

  12. เส้นทางการเดินทัพของพระยาตากเส้นทางการเดินทัพของพระยาตาก

  13. หลังจากที่พระยาตากได้ตั้งตนเป็นใหญ่ที่ระยองและจันทบุรี และสะสมเสบียงอาหาร อาวุธ ผู้คนได้มากแล้ว จึงตัดสินใจยกทัพเรือจากจันทบุรี สู่อยุธยาเพื่อกอบกู้เอกราช โดยยกกองทัพเรือเข้ามาถึง สมุทรปราการแล้ว พระยาตากนำกำลังกองทัพเรือเข้ายึดเมืองธนบุรี เมืองหน้าด่านที่พม่าให้นายทองอิน คนไทยรักษาอยู่ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2310 ซึ่งได้รับชัยชนะโดยง่าย แล้วพระยาตากก็ยกทัพตามโจมตีกองทัพพม่าไปจนถึง ค่ายโพธิ์สามต้น ที่ สุกี้พระนายกองของพม่ารักษาการณ์อยู่ และสามารถตีค่ายของพม่าแตก พร้อมทั้งขับไล่ทหารพม่าออกจากอยุธยา และ ยึดกรุงศรีอยุธยา คืนได้ภายในเดือนเดียวกัน รวมเวลาในการกอบกู้เอกราชเพียง 7 เดือน

  14. พระยาตากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์พระยาตากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ เมื่อขับไล่พม่าออกไปจากกรุงศรีอยุธยา และกอบกู้เอกราชให้แก่คนไทยแล้ว พระยาตากได้เลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยไม่ทรงเลือกกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีหรือเมืองหลวง

  15. เหตุผลที่ไม่เลือกกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเหตุผลที่ไม่เลือกกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 1.ความเสียหายย่อยยับจากสงคราม ยากแก่การบูรณะปฏิสังขรณ์ 2.มีอาณาเขตกว้างใหญ่เกินกำลังไพร่พลของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่จะรักษา 3.ข้าศึกรู้เส้นทางเดินทัพ รู้สภาพภูมิประเทศของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างดี 4.ทำเลที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากทะเลมากเกินไป ไม่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ

  16. ความเหมาะสมของกรุงธนบุรีเป็นราชธานีความเหมาะสมของกรุงธนบุรีเป็นราชธานี 1.กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะกับไพร่พลในขณะนั้น 2.ทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเล สะดวกแก่การค้าขายกับต่างประเทศ และสามารถเคลื่อน ทัพเรือกลับสู่เมืองจันทบุรีได้สะดวก เมื่อถึงคราวคับขัน 3.มีป้อมปราการที่มั่นคงแข็งแรง คือป้อมวิไชยประสิทธิ์และ ป้อมวิไชยเยนทร์ใช้ ป้องกันข้าศึกได้ดี 4.ความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหาร มีดินดี น้ำอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่ง เพาะปลูกที่สำคัญ 5.ที่ตั้งทางยุทธศาสตร์เป็นเมืองหน้าด่าน ควบคุมการเดินเรือทะเลที่เข้าออกปากอ่าว ไทย จึงเท่ากับช่วยควบคุมหัวเมืองเหนือใต้ให้ต้องพึ่งกรุงธนบุรี ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจและการซื้ออาวุธจากต่างประเทศ

  17. ภายหลังจากสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสร้างความมั่นคง เป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศชาติ ดังนี้ 1. การสร้างขวัญและกำลังใจแก่ทหารและประชาชน การปูนบำเหน็จแก่แม่ทัพนายกอง โดยเฉพาะสองพี่น้องผู้ที่เป็นกำลังสำคัญคือ พระราชวรินทร์ (ทองด้วง และพระมหามนตรี(บุญมา) การแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน โดยการซื้อข้าวสารและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม แจกจ่ายประชาชนที่อดอยากและขาดแคลน กระตุ้นให้ราษฏรที่หลบซ่อนตามป่าเขาให้กลับสู่มาตุภูมิลำเนาเดิม กำลังของบ้านเมืองจึงเพิ่มมากขึ้น

  18. 2. การฟื้นฟูบ้านเมืองให้กลับคืนสู่ปกติ การรวบรวมกำลังคนให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน สนับสนุนให้ผู้คนที่หลบหนีภัยสงครามตามท้องที่ต่างๆ ให้มารวมกันในราชธานี เพื่อประโยชน์ในการเกณฑ์กำลังคนในยามศึกสงครามและการก่อสร้างราชธานีใหม่ การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะการค้าทางเรือสำเภากับจีน มีพ่อค้าชาวจีนเข้ามาค้าขายในไทยมากกว่าชาติอื่นๆ นอกจากนี้ ยังทรงสนับสนุนให้ขุนนางคุมกำลังไพร่พลไปทำนารอบๆ พระนคร เพื่อเพิ่มผลผลิต การฟื้นฟูทางสังคมมีการฟื้นฟูระบบไพร่ที่เคยมีในสมัยอยุธยาขึ้นใหม่ โดยการสักข้อมือไพร่ทุกกรมกองเรียกว่า กฏหมายสักเลก เพื่อประโยชน์ในการเกณฑ์แรงงานและการป้องกันประเทศ และป้องกันการหลบหนีของไพร่อีกด้วย

  19. 3. การปราบปรามชุมนุมคนไทยเพื่อรวบรวมอาณาจักรคนไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ภายหลังที่ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว จึงทรงดำเนินการปราบปรามชุมนุมคนไทยที่ไม่ยอมอ่อนน้อมทั้ง 4 ชุมนุมในช่วงพ.ศ.2311-2313 ดังนี้

  20. แผนผังที่ตั้งชุมนุมต่าง

  21. ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก กองทัพธนบุรียกกำลังไปปราบเป็นชุมนุมแรกแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาถูกชุมนุมพระฝางตีแตกและผนวกเข้ากับชุมนุมของตน ชุมนุมเจ้าพิมายกรมหมื่นเทพพิพิธผู้นำชุมนุมไม่ยอมอ่อนน้อม จึงถูกกองทัพธนบุรีปราบ เป็นผลให้ดินแดนภาคอีสานตกอยู่ภายใต้อำนาจของราชธานีตั้งแต่นั้นมา

  22. ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เจ้านครไม่สามารถต้านทานกำลังกองทัพบกและกองทัพเรือจากกรุงธนบุรีได้ อาณาเขตของกรุงธนบุรีจึงแผ่ขยายไปถึงหัวเมืองปักษ์ใต้ ชุมนุมเจ้าพระฝาง หัวหน้าชุมนุมเป็นพระสงฆ์ที่ทรงคุณไสยและเป็นชุมนุมสุดท้ายที่ปราบปรามสำเร็จในปี พ.ศ.2313 ทำให้ได้หัวเมืองเหนือไว้ในพระราชอาณาเขต

  23. 4. การทำสงครามต่อต้านการรุกรานของพม่าตลอดสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานีไทยต้องทำสงครามกับพม่า เพื่อป้องกันเอกราช รวมถึง  9  ครั้ง ครั้งที่สำคัญที่สุดคือ ศึกอะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318

  24. 5. การทำสงครามขยายอาณาเขต ในสมัยกรุงธนบุรี กองทัพไทยยกไปตีกรุงกัมพูชาเป็นประเทศราชใน พ.ศ.2314 และหัวเมืองล้านนาและลาว ใน พ.ศ.2317

  25. พัฒนาทางการทางด้านเศรษฐกิจ 1. ภาวะเศรษฐกิจตอนต้นรัชกาล สภาพบ้านเมืองในตอนต้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินต้องประสบปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างหนัก  ขาดแคลนข้าวปลาอาหาร การทำไร่ทำนาต้องหยุดชะงัก เพราะภัยสงครามซ้ำเกิดการแพร่ระบาดของหนูนาออกมากินข้าวในยุ้งฉาง สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงแก้ไขปัญหาดังนี้ การซื้อข้าวสารจากพ่อค้าชาวต่างชาติ นำมาแจกจ่ายให้ราษฎร การเกณฑ์ข้าราชการทำนาปรัง (ทำนานอกฤดูกาล) ประกาศให้ราษฎรช่วยกันกำจัดหนูในนา การเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวใกล้พระนคร โดยปรับปรุงพื้นที่ที่เคยเป็นป่าให้เป็นท้องนา

  26. 2 การวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เศรษฐกิจสมัยกรุงธนบุรี เป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพ การทำนาเป็นอาชีพหลักของราษฎรในสมัยนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศดังนี้

  27. การพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอแก่การบริโภคภายในโดยการเกณฑ์แรงงานคนไทย จีน และเชลยศึกสงครามให้ช่วยบุกเบิกพื้นที่ทำไร่ทำนามากขึ้น การสร้างความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจในหัวเมือง เช่น สนับสนุนให้คนจีน คนลาวไปประกอบอาชีพตั้งถิ่นฐานในหัวเมืองต่างๆ เช่น สระบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ชลบุรีและจันทบุรี เพื่อให้เกิดการขยายตัวของชุมชน การนำความรู้ใหม่ ๆ จากชาวต่างประเทศ มาใช้พัฒนาความเจริญของบ้านเมืองโดยเฉพาะความรู้จากชาวจีนที่เข้ามาค้าขายและตั้งถิ่นฐานในเมืองไทยสมัยนั้น เช่น ความรู้ในการค้าขาย การช่าง การต่อเรือ และการแปรรูปสินค้าเกษตรกรรม ทั้งกิจการโรงสี โรงเลื่อยจักรและโรงน้ำตาล เป็นต้น การส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ มีการส่งเรือสำเภา ไปค้าขายยังประเทศจีน อินเดีย และประเทศใกล้เคียง สินค้าที่ส่งออก ได้แก่ ดีบุก พริกไทย ครั่ง ไม้หอม ซึ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของไทย

  28. พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครอง การจัดระเบียบการปกครองของไทยสมัยธนบุรี ยังคงใช้รูปแบบเดิมที่เคยมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เนื่องจากบ้านเมืองกำลังอยู่ในระยะเริ่มฟื้นตัวใหม่ๆ จึงยังไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ

  29. การปกครองส่วนกลาง (ภายในราชธานี) มีอัครมหาเสนาบดี 2 ฝ่าย     -ฝ่ายทหาร คือ สมุหกลาโหม     -ฝ่ายพลเรือน คือ สมุหนายกนอกจากนี้ยังมีเสนาบดีจตุสดมภ์อีก 4 ฝ่าย ได้แก่ พระนครบาล(กรมเมือง), พระธรรมาธิกรณ์(กรมวัง), พระโกษาธิบดี(กรมคลัง) พระเกษตราธิการ(กรมนา)

  30. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ระดับ คือ     -หัวเมืองชั้นใน เป็นเมืองขนาดเล็กอยู่รายรอบราชธานี เจ้าเมืองเรียกว่า "ผู้รั้ง"    -หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองขนาดใหญ่และอยู่ห่างไกลจากราชธานีออกไปแบ่งออกเป็นหัวเมืองเอก โท ตรี ตามลำดับความสำคัญ    -หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาให้เจ้านายปกครองกันเองแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย ได้แก่ ลาว เขมร และเชียงใหม่

  31. พัฒนาการทางด้านสังคมและวัฒนธรรม 1.พัฒนาการทางด้านศาสนา หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา ทรงมีพระราชดำริที่จะทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปกติสุขเช่นที่เคยเป็นมาก่อน จึงได้โปรดเกล้าฯให้ตั้งพระอาจารย์ดี วัดประดู่กรุงเก่า ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้สูงและมีอายุพรรษามากด้วย ขึ้นเป็นพระสังฆราช และตั้งพระเถระอื่น ๆ ขึ้นเป็นพระราชาคณะฐานานุกรมน้อยใหญ่ เหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยาให้สถิตอยู่ในพระอารามต่างๆ ในกรุงธนบุรี ใ ห้สั่งสอนคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ แก่ภิกษุสามเณรโดยทั่วไป นอกจากนั้นพระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สืบหารวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกที่หลงเหลืออยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงกรุงกัมพูชา แล้วเอามาคัดลอกสร้างเป็น พระไตรปิฎกฉบับหลวงไว้ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน

  32. 2. พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม โครงสร้างทางสังคมไทยสมัยธนบุรีประกอบด้วยชนชั้นต่างๆ ได้แก่ -พระมหากษัตริย์ เป็นผู้ที่มีพระราชอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน -พระบรมวงศานุวงศ์ ได้แก่ราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่บรรดาพระราช โอรสและพระราชธิดา -ไพร่ ได้แก่ คนธรรมดาสามัญที่เป็นชายฉกรรจ์ ส่วนเด็ก ผู้หญิงหรือคนชราถือเป็นบริวารของไพร่ -ทาส หมายถึง บุคคลที่มิได้เป็นไทแก่ตนเองโดยสิ้นเชิง -พระสงฆ์ เป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเป็นผู้อบรมสั่ง สอนคนในสังคมให้เป็นคนดี

  33. 2.1 สภาพสังคมสมัยธนบุรี เนื่องจากบ้านเมืองตกอยู่ภาวะสงคราม ทางราชการจึงต้องควบคุมกำลังคนอย่างเข็มงวดเพื่อเตรียมสำหรับต้านภัยพม่า มีการลงทะเบียนชายฉกรรจ์เป็นไพร่หลวง โดยการ สักเลก ที่แขนเพื่อป้องกันการหลบหนี

  34. การฟื้นฟูพระพุทธศาสนา สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีความเสื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ทรงฟื้นฟูกิจการพระพุทธศาสนาเพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจแก่ราษฎร ดังนี้

  35. การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระสังฆราช และพระราชาคณะ ขึ้นปกครองคณะสงฆ์ และให้มีการชำระความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์ทั้งหมด พระสงฆ์ที่มีการประพฤติ ไม่อยู่ในพระวินัยก็ให้สึกออกเสีย การสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ เช่น วัดบางยี่เรือใต้ วัดแจ้งและวัดบางหว้าใหญ่ เป็นต้น  การตรวจสอบและคัดลอกพระไตรปิฏก เพื่อให้พระธรรมวินัยมีความบริสุทธิ์ โดยใช้ต้นฉบับพระไตรปิฏกจากวัดพระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช

  36. วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม)

  37. 2.3 งานสร้างสรรค์ศิลปะและวรรณกรรม ความเจริญรุ่งเรืองด้านศิลปแขนงต่างๆ ในสมัยธนบุรีไม่ปรากฏเด่นชัดนัก เนื่องจากบ้านเมืองตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดรัชกาล ความบีบคั้นทางเศรษฐกิจและบรรดาช่างฝีมือถูกพม่ากวาดต้อนไปจำนวนมาก งานสถาปัตยกรรม  ส่วนใหญ่เป็นงานบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ และงานก่อสร้างพระราชวังเดิม งานวรรณกรรม ได้แก่ รามเกียรติ์(พระราชนิพนธ์บางตอนในสมเด็จพระเจ้าตากสิน),ลิลิตเพชรมงกุฏ (หลวงสรวิชิต),และโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี(นายสวนมหาดเล็ก) เป็นต้น

  38. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศความสัมพันธ์กับต่างประเทศ แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศแถบตะวันตก

  39. กัมพูชา       เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปีพุทธศักราช 2310 กัมพูชาซึ่งถือเป็นเมืองขึ้นของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ส่งผลให้ไทยต้องจัดทัพไปตีเมืองเขมรหลายครั้งหลายคราว จนกระทั่งพุทธศักราช 2324 สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระราชประสงค์จะผนวกดินแดนเขมรเข้ามารวมอยู่ในพระราชอาณาจักรไทย โดยเด็ดขาด แต่ยังมิทันสำเร็จสมดังพระราชประสงค์ก็สิ้นสมัยธนบุรีลงเสียก่อน

  40. การขยายอาณาเขตของธนบุรีการขยายอาณาเขตของธนบุรี

  41. พม่า       ในช่วงระยะเวลา 10 ปีแรกของการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ไทยกับพม่าต้องทำสงครามขับเคี่ยว กันถึง 9 ครั้ง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าเป็นไปอย่างศัตรูคู่อาฆาตตลอดสมัย กรุงธนบุรี

  42. มลายู       หัวเมืองมลายูซึ่งมีแคว้นที่สำคัญได้แก่ ปัตตานี ไทรบุรี เประ กลันตัน และตรังกานู เป็นประเทศราช ของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก แคว้นเหล่านี้ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ และเนื่องจากเป็นช่วงเวลา เดียวกับที่พระเจ้าตากสินทรงติดพันศึกกับพม่าและการฟื้นฟูประเทศ หัวเมืองมลายูจึงเป็นอิสระจากไทยจน กระทั่งสิ้นรัชกาล

  43. ลาว       ลาวในขณะนั้นแบ่งแยกเป็น 3 แคว้น คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ขยายอำนาจไปยังดินแดนลาว 2 ครั้ง ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2319 กองทัพไทยตีได้เมืองจำปาศักดิ์ เมืองโขง อัตปือ ทั้งยังเกลี้ยกล่อมได้เขมรป่าดง คือเมืองตะลุง สุรินทร์ สังขะ และขุขันธ์ จึงทำให้ดินแดนลาว ทางใต้อยู่ใต้อิทธิพลของไทยทั้งหมด ส่วนครั้งที่ 2 ในปี พุทธศักราช 2321 ไทยยกทัพไปตีเวียงจันทน์ พร้อมทั้งอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบางมายังกรุงธนบุรี ฝ่ายแคว้นหลวงพระบาง ซึ่งเป็นศัตรูกับแคว้น เวียงจันทน์ได้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อไทย ลาวจึงมีฐานะเป็นประเทศราชของไทยจนสิ้นรัชกาล

  44. ล้านนา      หัวเมืองล้านนาที่สำคัญ ได้แก่เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ และน่าน ซึ่งเป็นแคว้นอิสระที่ปกครองตนเอง โดยเจ้าผู้ครองนคร มีความสำคัญในแง่ยุทธศาสตร์ ทั้งแก่ไทยและพม่า ทำให้ทั้งไทยและพม่าได้ต่อสู้กันเพื่อที่ จะเข้าไปปกครองดินแดนแห่งนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา

  45. นครศรีธรรมราช       หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินยกทัพไปตีได้เมืองนครศรีธรรมราชในพุทธศักราช 2312 ได้คืนอำนาจให้แก่กลุ่มท้องถิ่น โดยโปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะของเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นเป็นเมืองประเทศราช อีกเมืองหนึ่งให้เจ้าเมืองมีฐานะเป็น "พระเจ้านครศรีธรรมราช" ซึ่งเปรียบได้กับพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง และมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันตลอดรัชกาล

  46. ญวน ในสมัยกรุงธนบุรีความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวน แบ่งได้เป็น 2 ระยะคือ       ระยะแรก ญวนเป็นมิตรกับไทยเพราะญวนหวังพึ่งไทยในการขจัดความยุ่งยากที่เกิดขึ้นภายในประเทศ       ระยะต่อมา ไทยมีเรื่องบาดหมางกับญวนในกรณีกัมพูชา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวน ในตอนปลายรัชกาลตึงเครียด จนเกือบต้องทำสงครามกัน

  47. จีน สัมพันธภาพระหว่างสมเด็จพระเจ้าตากสินและราชวงศ์ชิง อาจจำแนกได้เป็น 3 ระยะ ตามกาลเวลาและ พัฒนาการของเหตุการณ์      1. พุทธศักราช 2310 – 2313 ราชวงศ์ชิงปฏิเสธการรับรอง เนื่องจากในระยะนั้นจีนได้รับรายงานที่ไม่เป็นความจริงจาก ม่อซื่อหลิน แห่งพุทไธมาศ จึงไม่ยอมรับรองกรุงธนบุรี     2. พุทธศักราช 2313 – 2314 ราชสำนักชิงเริ่มรู้สึกถึงเบื้องหลังรายงานที่ไม่เป็นความจริงของม่อซื่อหลิน และไม่ให้ความเชื่อถือ ดังนั้น ราชสำนักชิงจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงและมีท่าทีเป็นมิตรต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน      3. พุทธศักราช 2314 – 2325 ราชสำนักชิงให้การรับรองอย่างเป็นทางการต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน รวมทั้งให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ

  48. การค้าขายกับจีน ในสมัยธนบุรี มีสำเภาของพ่อค้าจีนเข้ามาติดต่อค้าขายด้วยตลอดรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินได้โปรดเกล้าฯ ให้ส่งสำเภาหลวงบรรทุกสินค้า ออกไปค้าขายกับจีนอยู่เสมอจึงนับได้ว่าจีนเป็นชาติสำคัญที่สุดที่ไทย ค้าขายด้วย       ความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่าง ไทยกับจีนเริ่มต้นจากการค้าข้าวเป็น สำคัญ ต่อมาได้ขยายเพิ่มขึ้นโดยประเทศจีนได้ส่งสินค้าพื้นเมืองจากแต้จิ๋วมาขาย ที่สำคัญ คือ เครื่องลายคราม ผ้าไหม ผักดอง และเสื่อ เป็นต้น เที่ยวกลับก็จะซื้อสินค้าจากไทย อาทิ ข้าว เครื่องเทศ ไม้สัก ดีบุก ตะกั่ว กลับไปยังเมืองจีนด้วย เช่นกัน นอกจากนั้น ในปีพุทธศักราช 2320 ได้มีหนังสือจีน ฉบับหนึ่งในสมัยราชวงศ์ ไต้เชงแห่งแผ่นดิน เฉียงหลง ปีที่ 42 ได้บันทึกไว้ว่า "สินค้าของไทยมี อำพัน ทอง ไม้หอม งาช้าง กระวาน พริกไทย ทองคำ หินสีต่าง ๆ ทองคำก้อน ทองคำทราย พลอยหินต่างๆ และตะกั่วแข็ง เป็นต้น"

  49. แผนที่แสดงอาณาเขตสมัยธนบุรีแผนที่แสดงอาณาเขตสมัยธนบุรี

  50. การค้าขายกับอังกฤษ ประเทศที่ไทยติดต่อซื้ออาวุธที่สำคัญที่สุดคือ ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่อินเดีย ในปี พุทธศักราช 2319 ชาวอังกฤษชื่อฟรานซีส ไลท์ หรือ กัปตันเหล็ก ซึ่งอยู่ที่ปีนัง ได้ส่งปืนนกสับเข้ามาถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นจำนวนพันสี่ร้อยกระบอก พร้อมกับสิ่งของเครื่องราชบรรณาการต่างๆ ต่อมาไทยจึงสั่งซื้ออาวุธปืน จากอังกฤษโดยฟรานซีส ไลท์เป็นผู้ติดต่อมีการแลกเปลี่ยนพระราชสาส์นกันและเมื่อพุทธศักราช 2320 นายยอร์จ สแตรตัน ผู้สำเร็จราชการแห่งมัทราสในขณะนั้น ได้ส่งสาส์นพร้อม กับดาบทองคำประดับพลอย มาถวายสมเด็จพระเจ้าตากสิน