วิจัยในชั้นเรียน สังคมศึกษา เศรษฐกิจ พอ เพียง

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

 วิชาเศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                            การศึกษาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาคนคนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า ดังนั้นการจะพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้านั้นต้องเห็นความสำคัญของการศึกษาเป็นอันดับแรก  ตามพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้การฝึกการอบรมการสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากความหมายดังกล่าวถือว่าการศึกษามีลักษณะเป็นนามธรรมยากต่อการเรียนรู้ได้โดยตรง จะต้องมีกระบวนการถ่ายทอดความรู้ การฝึก และการอบรมซึ่งก็คือกระบวนการจัดการเรียนการสอนนั่นเอง และเมื่อกล่าวถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอน สิ่งที่จะต้องนึกถึงเป็นลำดับแรก ก็คือ ผู้เรียน ซึ่งตามมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2542,หน้า 12) กล่าวไว้ว่า  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นต้องพัฒนาตัวกลางระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนขึ้น นั่นก็คือ สื่อการเรียนการสอน ซึ่งถือเป็นตัวกลางที่จะช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาการเรียนรู้เพื่อเกิดผลอย่างถาวร    

                หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 เป็นหลักสูตรที่มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาให้เป็นคนที่สมบูรณ์และสมดุลทั้งด้านจิตใจและ   และร่างกาย  สติปัญญา อารมณ์ และสังคม  โดยมุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ทั้งด้านวิชาการ วิชางาน และวิชาชีวิต  เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขพึ่งตนเองได้  อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์  พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม กรมวิชาการ(2544, หน้า 1) และการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ต่างๆ มีกระบวนการและวิธีการที่หลากหลาย  ผู้สอนต้องคำนึงถึงพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญา  วิธีการเรียนรู้ ความสนใจ และความสามารถของผู้เรียนเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง  ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ควรใช้รูปแบบและวิธีการที่หลากหลายเน้นการเรียนการสอนตามสภาพจริง  การเรียนรู้ด้วยตนเอง  การเรียนรู้ร่วมกัน  การเรียนรู้จากธรรมชาติ   การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง   และการเรียนรู้แบบบูรณาการ กรมวิชาการ ( 2544, หน้า 21)  ซึ่งช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีคุณค่าน่าสนใจ ชวนคิด  ชวนติดตามเข้าใจได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการแสวงหาความรู้   เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง  ลึกซึ้งและต่อเนื่องตลอดเวลา (กรมวิชาการ, 2544, หน้า 23)  

                สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่นักเรียนต้องเรียนตลอด  12  ปี   ประกอบมาจากหลายแขนงวิชา  จึงมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ  โดยนำวิทยาการจากแขนงวิชาต่าง ๆ ในสาขาสังคมศาสตร์มาหลอมรวมเข้าด้วยกัน  ได้แก่  ภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์   เศรษฐศาสตร์  นิติศาสตร์  จริยธรรม  ประชากรศึกษา  สิ่งแวดล้อมศึกษา  รัฐศาสตร์  สังคมวิทยา  ปรัชญาและศาสนา  จึงเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมศักยภาพการเป็นพลเมืองดีให้แก่ผู้เรียน  โดยมีเป้าหมายของการพัฒนาความเป็นพลเมืองดี (กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ, 2545, หน้า  3)      ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและสังคมวัฒนธรรม  มีทักษะและกระบวนการที่จะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต  การมีส่วนร่วมในสังคมในฐานะพลเมืองดี  นำความรู้ทางจริยธรรม  หลักธรรม  มาพัฒนาตนเองและสังคม  และทำให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

                เศรษฐศาสตร์เป็นสาระหนึ่งในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรมที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ เป็นสาระที่ว่าด้วยเรื่องซึ่งเป็นพื้นฐานที่สุดของชีวิตมนุษย์ในสังคม เศรษฐศาสตร์ศึกษาถึงชีวิตทางเศรษฐกิจของมนุษย์ ประกอบด้วย การผลิต การบริโภคและการแลกเปลี่ยน ปัญหาพื้นฐานของชีวิตมนุษย์ถึงทรัพยากรที่มีจำกัด ขณะที่ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด เศรษฐศาสตร์จึงเป็นสาระวิชาที่ต้องศึกษาเพื่อให้เข้าใจการแจกจ่ายทรัพยากรในการผลิตทั้งสังคม (ปรีชา เปรี่ยมพงศ์สานต์, 2538, หน้า 4) ความคิดแกนกลางของเศรษฐศาสตร์ คือ ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความขาดแคลนซึ่งมาจากความต้องการที่ไม่สิ้นสุด แต่ทรัพยากรมีจำกัด แม้นักเรียนเยาว์วัยที่สุดก็พร้อมจะเข้าใจในความคิดนี้  จากความขาดแคลนนำไปสู่การผลิต ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนทรัพยากรให้เป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเงิน จากการผลิตเชื่อมโยงไปถึงความชำนาญเฉพาะทางและการแบ่งงานกันทำ

                หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้กำหนดสาระหลักที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์ไว้ในสาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส. 3.1 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิต และการบริโภค การใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รวมทั้งเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพและ มาตรฐาน ส.32 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจระบบและสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ของระบบเศรษฐกิจ และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก  (ถวัลย์  มาสจรัส, 2550, หน้า 21)

                การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาระเศรษฐศาสตร์นั้นนอกจากผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมการเรียน   การสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  2544  แล้ว  ครูผู้สอนทุกคนจะต้องขับเคลื่อนปรัชญาพระราชทาน “เศรษฐกิจพอเพียง”  สู่การจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม  ดังจะเห็นได้จากสาระที่ มาตรฐาน  3.1  โดยตั้งจุดมุงหมายไว้ว่า  ช่วงชั้นที่  3-4  ครูผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับระบบและวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์กับชีวิตประจำวันได้  ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้ในหลักสูตรอย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน  เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ เน้นการปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตนที่เหมาะสมในวิถีชีวิตประจำวัน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ จัดการ การเผชิญสถานการณ์ การแก้ปัญหา ฯลฯ ที่เริ่มจากชีวิตประจำวัน ที่เชื่อมโยงสู่ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และสังคมโลก  จัดกระบวนการเรียนรู้ โดยเน้นการทดลอง   การปฏิบัติจริงทั้งในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา ทั้งในรูปของการจัดทำโครงการ โครงงาน และอื่น ๆ ทั้งการศึกษารายบุคคลและเป็นกลุ่ม วัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทั้ง  3 ด้าน ได้แก่ ความรู้ (Knowledge) ทักษะกระบวนการ(Process) และเจตคติ (Attitude)

                ผู้ศึกษาเป็นครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา  ได้น้อมนำเอาหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่การจัดการเรียนการสอน  ในระยะแรกได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยบูรณาการเข้าไปในเนื้อหาที่สอนผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่คาดหวัง  ต่อมาในปีการศึกษา  2550  โรงเรียนมีนโยบายให้ครูผู้สอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม  ปรับกิจกรรมการเรียนการสอน  และรายละเอียดของเนื้อหา  ที่เกี่ยวข้องกับ  “เศรษฐกิจพอเพียง”  ให้เข้มข้นขึ้น  รวมทั้งปรับปรุง  เลือกใช้สื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม  (ถวัลย์  มาสจรัส, 2550, หน้า 90)   ผู้ศึกษาในฐานะที่เป็นผู้สอนได้ตระหนักในเรื่องนี้  จึงได้พัฒนาหลักสูตรรายวิชา ส 30205  เศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้น ซึ่งเป็นสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  โดยมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  กิจกรรมการเรียนใช้กระบวนการกลุ่ม  เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์  เป็นสำคัญ  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแต่ยังไม่บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้  สาเหตุเนื่องจากสื่อการเรียนการสอนที่นำมาใช้ไม่มีประสิทธิภาพ    ผู้ศึกษาในฐานะที่เป็นครูผู้สอนได้ตระหนักในปัญหาดังกล่าว  จึงได้หาแนวทางปรับปรุงและพัฒนาโดยทำการศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวสื่อประเภทต่าง ๆ ที่คาดหวังว่าเมื่อนำมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้วจะสามารถทำให้นักเรียนบรรลุผลตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  ผลจากการศึกษาพบว่า  สื่อที่มีความเหมาะสมกับเนื้อหา  เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  และผู้ศึกษาสามารถสร้างได้ด้วยตนเอง  คือชุดกิจกรรม  ทั้งนี้เพราะ  การเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรม ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ไปตามลำดับขั้น ตามคำแนะนำที่กำหนดไว้ในชุดกิจกรรมโดยครูเป็นผู้ชี้นำแนวทางให้แก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในแนวเดียวกัน ผู้เรียนมีอิสระที่จะพัฒนาตนเองไปตามลำดับขั้นเร็วหรือช้าตามความสามารถของตนเองได้กระทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ ได้ฝึกหาคำตอบด้วยตนเองอีกทั้งยังก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน และเพื่อเป็นแนวทางไปสู่การคิดเป็นทำเป็นและแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้  (วาสนา  ชาวหา , 2535,หน้า 139)และชุดกิจกรรมยังช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอน ทำให้ครูผู้สอนมีเวลาในการปรับปรุงและเตรียมการสอนได้มากขึ้น

                จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ผู้ศึกษาสนใจที่จะสร้างชุดกิจกรรมเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้และตระหนักในการบริโภคและการใช้บริการเพื่อไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ตลอดจนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน และคาดหวังว่าชุดกิจกรรมที่สร้างขึ้นนี้  จะทำให้นักเรียนได้เรียนรู้  เข้าใจและสามารถคิดวิเคราะห์ตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงได้อย่างถูกต้อง  มีทักษะพื้นฐานการดำรงชีวิต  พึงตนเองได้ตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันบนวิถีแห่งความพอเพียง  ได้อย่างเหมาะสม  เป็นคนดี  คนเก่ง  มีความสุขเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม  ประเทศชาติต่อไป

จุดประสงค์ของการศึกษา

1.        เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   วิชา  ส 30205  เศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่

2.        เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  

3.    เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ ชุดกิจกรรม  เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพีย

ขอบเขตของการศึกษา

1.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

 ประชากร  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่  สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัด เชียงใหม่ ปีการศึกษา 2553

กลุ่มตัวอย่าง  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ที่ลงทะเบียนเรียน วิชา  ส 3020เศรษฐศาสตร์ ในปีการศึกษา  2553   จำนวน 25 คน

2 ตัวแปรที่ศึกษา

                    2.1  ตัวแปรต้น  คือ  วิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง  เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตาม

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  วิชา  ส 30205  เศรษฐศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่

                      2.2   ตัวแปรตาม  คือ  ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  วิชา  ส 30205  เศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่  ปีการศึกษา 2553   

3.   ด้านเนื้อหา

 เนื้อหาที่ใช้ในการสร้างชุดกิจกรรมครั้งนี้เป็นเนื้อหาในสาระเศรษฐศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม ประกอบด้วยเรื่องต่อไปนี้

         3.1  แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์

         3.2  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการ  

         3.3  การบริโภค

         3.4  การคุ้มครองตนเองของผู้บริโภค 

         3.5  การดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานราชการ

         3.6  การออมและการลงทุนตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

4. เวลาที่ใช้ในการศึกษา 

ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2553 

สมมุติฐานในการศึกษา

                ในการศึกษาครั้งนี้  ผู้ศึกษาได้ตั้งสมมติฐานในการศึกษาไว้ดังนี้

1.        ชุดกิจกรรม  เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง            วิชา  ส 30205  เศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่   มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80

2.        เมื่อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่  ได้เรียนวิชา ส30205  เศรษฐศาสตร์  ด้วยชุดกิจกรรมเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  แล้ว  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจะสูงกว่าก่อนเรียน ที่ระดับนัยสำคัญ .01

3.        ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้     ชุดกิจกรรมเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพีย  อยู่ในระดับมากขึ้นไป

นิยามศัพท์เฉพาะ

                ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  ผู้ศึกษาได้กำหนดนิยามศัพท์เฉพาะไว้ดังต่อไปนี้

                ชุดกิจกรรมเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง    ชุดกิจกรรม ที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้น  โดยใช้หลักการสร้างชุดการสอน  ประกอบไปด้วย คู่มือการใช้ชุดกิจกรรม คู่มือครู คู่มือนักเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน  6 ชุด ได้แก่

ชุดกิจกรรม   ชุดที่ 1แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์  

ชุดกิจกรรม  ชุดที่ 2  เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการ

ชุดกิจกรรม  ชุดที่ การบริโภค

ชุดกิจกรรม  ชุดที่ การคุ้มครองตนเองของผู้บริโภค

ชุดกิจกรรม  ชุดที่ การดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานของรัฐ

ชุดกิจกรรม  ชุดที่ การออมและการลงทุนตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร      ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี


                ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง  (Self Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่นซึ่งต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อนมีความพอกินพอใช้สามารถพึ่งพาตนเองได้  ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าและฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศได้

    ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม   หมายถึง  คะแนนที่วัดได้จากเครื่องมือทดสอบคุณภาพของ        ชุดกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับที่น่าพอใจ  โดยกำหนดให้เป็นร้อยละเฉลี่ยของคะแนนกิจกรรมระหว่างเรียนต่อเปอร์เซ็นต์ของคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนทั้งกลุ่ม  โดยกำหนดคะแนนตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80

                80  ตัวแรก  หมายถึง  คะแนนเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการวัดผลการปฏิบัติงานและกระบวนการทำงานของนักเรียนในกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด  คิดเป็นร้อยละ 80

                80  ตัวหลัง  หมายถึง  คะแนนเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน   คิดเป็นร้อยละ  80

                   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  หมายถึง  คะแนนของนักเรียนที่ได้จากการทดสอบก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม  เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  วิชา  ส 30205  เศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่          

                 ความพึงพอใจ   หมายถึง ความรู้สึกและความคิดเห็นในด้านต่างๆ ของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม  เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   วิชา ส 30205  เศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา

1.       ได้ชุดกิจกรรมเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ที่มีประสิทธิภาพ  และใช้สำหรับการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.       นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่  ที่เรียนวิชา ส30205  เศรษฐศาสตร์  ด้วยชุดกิจกรรมเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง      มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น  

3.       นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรม  เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพีย   

สามารถอ่านต่อได้จากลิ้งข้างล่าง........